WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 18, 2010

ประเวศชี้สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาปฏิรูปประเทศไทยได้....!!!

ที่มา ประชาไท


ราษฎรอาวุโสระบุวิกฤติครั้งนี้เข้าใจยากที่สุด ถ้าจะปฏิรูปสังคมต้องไม่ใช้สมองส่วนหลังแก้ไข ย้ำประชานิยมสร้างปัญหา ถ้าประชาสังคมเขยื้อนภูเขาได้ ชุมชนจะเข้มแข็งโดยไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากภายนอกแต่ต้องใช้สังคมานุภาพเป็นเลเซอร์ทางสังคมชี้ทาง ย้ำเคลื่อน รธน.40สำเร็จมาแล้ว

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ที่อิมแพ็คเมืองทองธานี มูลนิธิพัฒนาไท โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดเวทีระดมความเห็นเพื่อหาแนวทางปฏิรูปประเทศไทย โดยมีกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน นักวิชาการ ภาคเอกชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐ เข้าร่วมกว่า 500 คน ทั้งนี้ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง “การปฏิรูปประเทศไทย” ว่า ปัญหา ที่เกิดขึ้นขณะนี้คือวิกฤตการณ์ลูกที่ 4 ของกรุง รัตนโกสินทร์ เป็นเรื่องที่เข้าใจยากที่สุด แก้ไขยากที่สุด เพราะเป็นวิกฤติแห่งความซับซ้อนเชิงโครงสร้าง ซึ่งอำนาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นจึงต้องใช้สังคมนำและการ เมืองตาม เพราะหากใช้การเมืองนำ ก็จะถูกคัดค้านจากฝ่ายค้าน แต่ถ้าสังคมนำและการเมืองตามจะง่ายขึ้น

นพ.ประเวศ กล่าวว่า หากเราดูเรื่องการเคลื่อนของ อำนาจนั้น เริ่มจากอำนาจรัฐ ตามด้วยอำนาจเงิน ซึ่งอำนาจจะไม่ลงตัว แต่สิ่งที่อยากเห็นคืออำนาจทางสังคม หรือสังคมานุภาพ เป็นตัวเชื่อมอำนาจรัฐ และอำนาจเงิน ซึ่งจะไม่ทำร้ายกัน แต่เป็นตัวเชื่อมกันให้เกิดความลงตัว และควรใช้สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ซึ่งจะมีพลังในการทำเรื่องที่ยากๆ และเคยทำสำเร็จมาแล้วในการเคลื่อนไหว ของรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เป็นเรื่องที่ยากที่สุดก็สามารถ ทำได้สำเร็จ สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ประกอบด้วย 3 พลัง คือ พลังทางปัญญา พลังทางสังคม และพลังของอำนาจรัฐ ที่เชื่อมโยงกัน เพราะในกรณีของประธานาธิบดีอาคีโน ของฟิลิปปินส์ ที่มีทั้งพลังจากอำนาจรัฐและพลังทางสังคม เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจาก ประชาชน แต่ไม่สามารถทำเรื่องการแก้ไขความยากจนและความอยุติธรรม ทางสังคมได้สำเร็จ เพราะยังขาดพลังทางปัญญา เช่นเดียวกับประธานาธิบดีคลินตัน ของสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการทำเรื่องปฏิรูประบบสุขภาพ แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะมีพลังอำนาจรัฐและพลังทางปัญญา แต่ยังขาดพลังทางสังคม ดังนั้นการทำมุมใดมุมหนึ่งก็ไม่สำเร็จ ซึ่งคุณทักษิณ ถือว่ามีอำนาจมากที่สุดทั้งอำนาจรัฐและอำนาจเงิน ก็ไม่สำเร็จ

ศ.นพ.ประเวศ กล่าวว่า การปฏิรูปประเทศไทย ต้องใช้พลังทางสังคม โดยสังคมต้องเป็นฝ่ายนำ ซึ่งตอนนี้มีนิมิตหมายที่ดีที่คน ในสังคมเริ่มตื่นตัวกันมากขึ้น หากมีการรวมตัวในทุกพื้นที่ ในทุกเรื่อง สังคมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างเชิงดิ่ง เป็นเชิงราบ เรียกว่า “ประชาสังคม” ดังนั้นการเคลื่อนไหวของประชาสังคมต้องหนุนให้เกิดขึ้นอย่างอิสระ ไม่ขึ้นตรงกับใคร และต้องมีความหลากหลาย แต่สิ่งที่น่าทำคือ ควรมีการรับรู้ว่ากลุ่มไหนคิดอะไร ควรรับฟังมาทั้งหมด แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นเรื่องหลักๆว่าสิ่งที่ประชาสังคมเสนอมี เรื่องอะไรบ้าง แล้วนำกลับไปที่สังคมจนเกิดเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วม กัน ซึ่งจะเป็นแสงเลเซอร์ทางสังคม ที่ไม่มีอะไรมายุติได้ เช่น การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ด้วยการปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปภาษี ซึ่งถือเป็นเจตนารมณ์ทางสังคมทั้งหมด ไม่ว่าฝ่ายรัฐจะเป็นใคร ก็จะต้องทำตามเจตนารมณ์ทางสังคม

อย่างไรก็ตามเรายังขาดความสามารถในการ สังเคราะห์ประเด็นเชิงนโยบายให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ แม้ว่าจะมีหน่วยงานอย่างสภาพัฒน์ สภาพัฒนาการเมือง หรือสภาองค์กรชุมชน แต่ก็ไม่มีพลัง เพราะยังขาดการสังเคราะห์ที่ชัดเจน รวมถึงสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังขาดการสังเคราะห์ประเด็นเชิงนโยบาย ซึ่งเรื่องนโยบายสาธารณะเป็นเรื่อง ที่กระทบแทบทุกอณูทางสังคม ดังนั้นจึงต้องโทษมหาวิทยาลัย ที่ไม่สามารถสังเคราะห์นโยบายสาธารณะ ดังนั้นมหาวิทยาลัยต้องปฏิรูป เพื่อมหาวิทยาลัยเข้าไปหนุนท้องถิ่นทั้งหมด เนื่องจากมหาวิทยาลัยอยู่นอกสังคมไม่รู้ร้อนรู้หนาวทางสังคม ดังนั้นมหาวิทยาลัยต้องสัมผัสชุมชนท้องถิ่น

ศ.นพ.ประเวศ กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ ต้องมีการออกแบบกลไกเพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มในสังคม เพื่อสังเคราะห์เป็นนโยบายและนำกลับสู่สังคม เพื่อให้สังคมมีปัญญา นั่นคือประชาธิปไตยทางตรง เพราะปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ทำให้อยากเข้ามามีส่วนในประชาธิปไตยทางตรงมากขึ้น ซึ่งมาจากการใช้พลังทางสังคมและปัญญา และหากเชื่อมโยงกับประชาธิปไตยโดยอ้อมคือ พลังเชิงนโยบาย ซึ่งนั่นถือเป็นการใช้สามเหลี่ยมเขยื้อน ภูเขา งานของเราจึงไม่รังเกียจการเมือง อย่าไปรอจนกว่าจะมีนักการเมืองที่ ดี เพราะถ้าทำเรื่องพลังทางสังคมและปัญญามาเชื่อมกับนักการเมือง เชื่อว่านักการเมืองก็จะทำในเรื่องที่ดีได้ ดังนั้นอำนาจรัฐที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นั้นควรให้การสนับสนุน ปล่อยให้เป็นอิสระ และไม่ควรครอบงำอำนาจทางสังคม ปล่อยให้มีการเคลื่อนไหวอย่างอิสระหลากหลายจนได้นโยบายที่สามารถปฏิบัติได้ แล้วภูเขาก็จะเขยื้อน เรื่องที่ยากก็จะทำได้

“คนในสังคมปัจจุบันมักคุ้นเคยกับการ ใช้สมองส่วนหลัง คือ ใช้การต่อสู้และการเอาชนะ ตนอยากให้กลับมาใช้สมองส่วนหน้า คือ สติปัญญาให้มากขึ้น เพราะไม่มีปัญหาอะไรที่ไม่สามารถแก้ได้ ตนไม่อยากเห็นคนไทยมองทางลบว่าแก้ ไม่ได้ แต่ทุกอย่างสามารถแก้ได้ด้วยคนไทยด้วยกันเอง”ศ.นพ.ประเวศ กล่าว

ศ.นพ.ประเวศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า ภาระกิจสำคัญคือ การปฏิรูปประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทาง สังคม สร้างความเป็นธรรม แก้ปัญหาความยากจนเป็นหลัก ไม่ใช่การสร้างความปรองดอง เพราะหากปฏิรูปประเทศไทยได้ ความสามัคคี ปรองดองก็จะตามมาเอง ปัญหาเรื่องความเป็นธรรม การเคารพศักดิ์ศรี เป็นสิ่งสำคัญที่สุด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ภาคสังคมควรเร่งสร้างกลไกใน การปฏิรูป โดยมีภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน แต่กลไกต้องเป็นอิสระอย่างแท้จริง ไม่มีภาครัฐ หรือการเมืองมาครอบงำ

ศ.นพ.ประเวศ กล่าวว่า สำหรับการสร้างกลไก สามารถทำได้ โดยจัดตั้งเป็นมติครม. หรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้มีคณะทำงานแก้ปัญหา ซึ่งควรจะจัดทำแล้วเสร็จภายใน 3-4 เดือนนับจากนี้ และต้องมีมาตรการแก้ปัญหาที่เข้มข้นและแรงพอที่จะ สร้างความเป็นธรรมกับสังคมได้ เช่น มาตรการทางภาษี การ กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น การสร้างสังคมสวัสดิการ ระบบยุติธรรม และระบบการศึกษา เป็นต้น ซึ่งกลไกเหล่านี้จะมีความยั่งยืน แม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาลหรือไม่ก็ตาม

“ผมไม่อยากให้สังคมรอให้ภาครัฐจัดโครงการประชานิยมมาช่วยเหลือ เพราะสุดท้ายแล้วการประชานิยมเป็นการทำลายระบบความเข้มแข็งของ สังคม เพราะประชาชนจะมัวรอรับแจก รอความช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยที่ตัวเองไม่ช่วยเหลือตัวเองเลย ในทางกลับกันหากส่งเสริมให้ชุมชน มีกระบวนการรวมตัวของชุมชนอย่างเข้มแข็ง จะเกิดพลังขับเคลื่อนงานทุกอย่างได้ด้วยชุมชนเอง สุดท้ายแล้ว ชุมชนก็จะเข้มแข็ง แก้ปัญหาได้ทุกอย่างด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากใคร” ศ.นพ.ประเวศ กล่าว