WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, March 17, 2008

เสน่ห์! รถไฟไทยถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง [17 มี.ค. 51 - 18:50]

"ถึงก็ช่าง...ไม่ถึงก็ช่าง"สโลแกนรถไฟไทย ที่พูดกันแบบสนุกปาก แต่กลับกลายเป็นจุดแข็ง เพราะให้ความปลอดภัยได้สูงสุด

“เข้ากรุงเทพฯ มาเรียนหนังสือตั้งแต่ปี 39 ก็อาศัยรถไฟไปกลับมาตลอด ถึงจะช้าหน่อยก็ไม่เป็นไร”

กาญจนา สุขสมาน หรือ แอ๊ด อายุ 30 ปี แฟนพันธุ์แท้รถไฟไทยมานาน 12 ปีเต็ม บอก

เทียบกับรถทัวร์...รถไฟปลอดภัยกว่าเยอะ คนขับรถทัวร์ไว้ใจไม่ได้ ไม่รู้จะวูบไปตอนไหน

ที่พูดอย่างนี้ แอ๊ดมีประสบการณ์เฉียดตายในรถทัวร์มาแล้ว... ตอนแรกรุ่นนั่งรถทัวร์ผ่านเขาใหญ่ คนขับหลับใน ขับลงข้างทางเสยต้นไม้ไปหลายต้น โชคดีที่รู้สึกตัวหักหลบทัน ไม่อย่างนั้นคงตกเขาตายกันทั้งคัน

วันนั้นถึงจะไม่มีใครเป็นอะไร แต่ก็กลัวรถทัวร์มาตลอด บางคนอาจจะไม่ชินเสียงดัง ของรถไฟเวลาวิ่ง ฉึก...ฉักๆ ฉึก...ฉักๆ แต่สำหรับแอ๊ดเสียงดังไม่ใช่ปัญหา แม้กระทั่งเวลานอน

เทียบกับเครื่องบิน ในแง่ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย สมัยนี้เครื่องบินย่อมดีกว่า ยิ่งเทียบราคากับสายการบินราคาประหยัด หลากหลายยี่ห้อกับตั๋วรถไฟชั้นหนึ่ง ถ้าไปเชียงใหม่ก็ต่างกันแค่ไม่กี่ร้อย

เครื่องบินได้เปรียบเรื่องเวลาเดินทาง แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ต้องเลือก แต่ถ้าไปเที่ยวเฮฮาเป็นหมู่คณะ ต้องการสัมผัสธรรมชาติ บรรยากาศสองข้างทาง มีเวลา ไม่รีบร้อน รถไฟย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

“บางจุดหมายปลายทาง เครื่องบินไปไม่ถึง แต่รถไฟไปถึง ยังไงก็ต้องใช้บริการรถไฟ” แอ๊ดว่า

เส้นทางที่ใช้บริการบ่อยที่สุด...รถไฟสายอีสาน เดินทางกลับบ้านที่จังหวัดสุรินทร์เดือนละครั้งสองครั้ง ขนาดช่วงสงกรานต์ คนใช้บริการเยอะ แอ๊ดจะรอไปอีกวันสองวัน คนน้อย...ที่นั่งว่างนั่นแหละ...ถึงจะกลับบ้าน

รถดีเซลรางปรับอากาศ จากหัวลำโพงถึงสุรินทร์ ใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง แอ๊ดตีตั๋วตั้งแต่ราคา 200 บาทต้นๆ...มาจนถึงปัจจุบัน 300 กว่าบาท

สายนี้ไม่ใช่ชั้น 1 เป็นเหมือนบริการภาคบังคับ ไม่มีตัวเลือก มีผ้าห่มให้กันหนาว รับประกันระดับความสะดวกสบาย เทียบมาตรฐานรถไฟไทยด้วยกันเองอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้

เที่ยวทางรถไฟ...จากหัวลำโพงไปสุดที่หนองคาย ถ้าลงใต้ก็ไปถึงจังหวัดตรัง

“สายหนองคายนั่งยาว 12 ชั่วโมง ทางเลือกเดียวที่ดีที่สุดคือตั๋วชั้นหนึ่ง ตู้นอน สะดวกสบาย สะอาดสะอ้าน ผ้าปูนอนสีขาว ผ้าห่มก็แพ็กใส่ห่อมาอย่างดีไม่มีรอยเปิด”

เส้นทางนี้แอ๊ดบอกว่า ประทับใจที่สุด ไปต่ออีกหน่อย...ก็ข้ามไปได้ถึงประเทศลาว ไปเที่ยวเวียงจันทน์

“รถไฟสายนี้ส่วนใหญ่จะเต็ม ผู้คนใช้บริการมาก โดยเฉพาะคนต่างชาติ บรรยากาศจึงคึกคักเสมอ เวลาจองต้องจองล่วงหน้านาน ยิ่งศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ นักท่องเที่ยวจะมากเป็นพิเศษ”

อีกสายที่ต้องพูดถึง...เชียงใหม่ จากหัวลำโพงกว่าจะถึงใช้เวลาพอๆกับสายหนองคาย แต่เชียงใหม่พิเศษกว่า ได้ชมวิวช่วงตื่นเช้า เห็นป่า ภูเขา สวยงามทั้งสองข้างทาง

“การบริการรถไฟตู้นอนในปัจจุบัน รวมๆแล้วมีรูปแบบค่อนข้างชัดเจน เจ้าหน้าที่จะมาปูที่นอน เอาผ้าห่มมาให้ เวลาสั่งอาหารก็จะมาจด แล้วก็มาส่งให้ถึงที่”

แอ๊ด บอกว่า ปัญหาที่เห็นกับบริการตั๋วชั้นหนึ่งมีน้อย จุดสำคัญคืออุปกรณ์สภาพเก่า โต๊ะทานอาหารตู้เสบียงใช้งานมานาน บางตัวผู้โดยสารไม่สามารถติดตั้งเองได้ ต้องให้เจ้าหน้าที่ประจำโบกี้มาช่วย

“เจ้าหน้าที่จะรู้ดีว่าโต๊ะตัวไหนต้องกางยังไง จะง้างแบบไหนถึงจะใช้การได้ปกติ”

กางโต๊ะอาหารเรียบร้อยแล้ว คราวนี้มาถึงรสชาติ เป็นเรื่องที่แอ๊ดไม่อยากพูดถึง เพราะมีประสบการณ์เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

ปลายปีที่แล้ว ตีตั๋วชั้นหนึ่งไปเที่ยวหนองคาย ออกจากหัวลำโพงเกือบ

สามทุ่ม ปกติจะถึงหนองคายไม่เกินสามโมงเช้า แต่เที่ยวนั้นดีเลย์ ถึงช้าเกือบเที่ยงวัน

ได้เวลาหิว...ก็สั่งอาหาร

แอ๊ดเลือกกะเพราราดข้าว สนนราคาไม่เกิน 80 บาท เพราะถ้าบวกไข่ดาวเพิ่มเข้าไป ราคาจะขยับขึ้นไปเกือบ 100 บาท มื้อนี้ก็ดูจะแพงจนเกินไป

เทียบราคากับร้านทั่วไป รู้กันดีว่าอาหารบนรถไฟค่อนข้างแพง และปริมาณก็น้อยกว่า ก็คิดว่า...เอาแค่ประทังหิวไปมื้อนึง

แอ๊ดคิดว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ใช้บริการรถไฟสายยาวๆ น่าจะคิดเหมือนกัน ก่อนขึ้นรถไฟต้องกินอาหารให้เรียบร้อย แล้วนั่งยาวไปจนลง ต่างกับผู้ชาย หลายคนชอบเดินไปนั่งตู้เสบียง...สั่งเบียร์ดื่ม

แอ๊ดมีประสบการณ์นั่งรถไฟในเวียดนาม รถตู้นอนปรับอากาศ หรือ รถเร็วสปรินเตอร์ ต้องยอมรับว่าเขาดีกว่าเรามาก ภายในตู้นอน ตกแต่งภายในอย่างดี

เทียบเป็นโรงแรม รถไฟเวียดนามห้าดาว...รถไฟไทยแค่สองดาวครึ่ง

แต่ถ้าเป็นตั๋วชั้น 3 รถไฟไทยดีกว่าเวียดนามเยอะ...ของเขาความแออัด ใกล้รถไฟอินเดีย สูบบุหรี่ กิน ทิ้งขยะกันอย่างไม่มีวินัย แอ๊ดเคยเจอมาแล้ว หาที่ซุกก้นไม่ได้เลย เป็นอะไรที่สุดยอด แบบที่ไม่เคยเจอมาก่อน

บรรยากาศชั้น 3 รถไฟไทย สายยาว แอ๊ดนั่งไปเที่ยวจังหวัดตรังเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ความสะดวกสบายต่างกับตู้นอนมากพอดู พ่อค้าแม่ขายก็มีมาก พลุกพล่านด้วยผู้คน ใครจะสูบบุหรี่ตรงไหนก็สูบได้ ในจุดที่ไม่ควรสูบก็ยังสูบ

ความสะอาดตู้รถไฟชั้น 3 ในภาพรวมที่พอจะจำได้ ไม่สะอาดเท่าไหร่ คนขายน้ำเดินเร่ขายก็ทำน้ำหวานหกลงพื้น เหนียว แฉะเป็นทาง ถ้าที่นั่งเต็มผู้โดยสารก็จะเอาหนังสือพิมพ์ปูนั่งกับพื้น ลุกลงแล้วบางคนก็เก็บ บางคนก็ทิ้งเอาไว้อย่างนั้น

ปัจจุบัน จะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า แอ๊ด บอกว่า ไม่ได้ใช้บริการเส้นทางสายใต้ชั้นสามมานานแล้ว

ข่าวกองทัพตัวเรือดในตู้รถไฟด่วนพิเศษดีเซลรางอุบลราชธานี-กรุงเทพฯ เมื่อไม่กี่วันมานี้...สมัยนั้นไม่มี สาเหตุใหญ่น่าจะมาจากความชื้น และความสะอาด

อีกอย่าง ช่วงนั้นแอ๊ดอาจจะยังเด็กเกินไปที่จะพิจารณารายละเอียดเหล่านี้ ไปเที่ยวกับเพื่อนฝูง เฮฮาสนุกสนาน ก็มีแต่ความรู้สึกประทับใจ

อีกประสบการณ์ตั๋วชั้น 3 นั่งระยะสั้นๆ หัวลำโพง-อยุธยา

“วิ่งสั้นๆ แบบเช้าไปเย็นกลับ มักจะใช้บริการประเภทเส้นทางเฉพาะกิจ เป็นทัวร์ท่องเที่ยว มีเจ้าหน้าที่ดูแลดี ความสะอาดย่อมเป็นที่หนึ่ง”

ผู้โดยสารไม่มีเวลามากพอที่จะมานั่งกิน นั่งดื่ม เบาะที่นั่งส่วนใหญ่มักจะเป็นไม้ บรรยากาศภายในตู้ค่อนข้างคลาสสิก อบอุ่น

ความต่างด้านบริการและความเป็นส่วนตัวตั๋วชั้นหนึ่งกับชั้นสามรถไฟไทยมีมาก แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ...ห้องน้ำ

เคยมีข่าวนานแล้วว่า การรถไฟจะปรับปรุง เก็บสิ่งปฏิกูลไม่ปล่อยเรี่ยราดแบบเปิดโล่ง...ถึงวันนี้ก็ยังเตียนโล่งเห็นพื้นก้อนหิน สิ่งปฏิกูลยังถูกปล่อยทิ้งลงรางรถไฟไม่เปลี่ยนแปลง

“จะมีเพิ่มขึ้นมา ก็กระดาษชำระ สบู่ล้างมือ แต่ของเหล่านี้มีเฉพาะบางเที่ยว บางโบกี้ ผู้โดยสารจะคาดหวังยึดเป็นมาตรฐานไม่ได้”

ด้วยความเตียนโล่ง ไม่แน่นหนาของห้องน้ำ ป้องกันกลิ่นไม่พึงประสงค์โชยมาตามสายลมไม่ได้ ผู้โดยสารตั๋วชั้นสาม ถ้าเลือกที่นั่งได้ก็ต้องห่างห้องน้ำให้มากที่สุด

ตั๋วชั้นหนึ่งตู้นอนไม่ค่อยมีปัญหา จะมีประตูกั้นอีกชั้นระหว่างห้องน้ำกับห้องนอน โอกาสที่กลิ่นฉุนจะโชยเข้ามารบกวนมีน้อย

วิถีชีวิตคนไทยกับรถไฟไทยเคียงคู่กันมานาน แต่รถไฟไทยพัฒนาค่อนข้างช้า จะมีเปลี่ยนแค่ราคาตั๋วที่ปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเท่านั้น

ประเทศเวียดนามพัฒนารอบด้าน ทั้งความเร็ว ความสวยงาม และความสะดวกสบาย ล่าสุดมีโครงการก่อสร้างรถไฟหัวกระสุนความเร็วสูง 200-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เชื่อมภาคเหนือภาคใต้ ระยะทาง 1,630 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท

จาก...กรุงฮานอยไปโฮจิมินห์ รถไฟระบบเดิมใช้เวลา 28-30 ชั่วโมง...ถ้าเป็นรถไฟหัวกระสุนวิ่งแค่ 10 ชั่วโมงเท่านั้น

วันที่ 26 มีนาคม ทุกปี เป็นวันสถาปนากิจการรถไฟ...แก้ปัญหาเหลือบ ไร ในการรถไฟได้แล้ว อยากให้คิดต่อไปถึงการพัฒนา อย่างน้อยๆก็ให้รถไฟไทยวิ่งไปถึงจุดหมายเร็วกว่าเดิม.