WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, March 18, 2008

วิจารณ์ “คำวิจารณ์ของนักวิชาการ” กรณีศาลวินิจฉัยยุบพรรค ทรท.

มีข้อน่าสนใจและน่าศึกษาอย่างยิ่งว่า นักวิชาการมีการประเมินคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3-5/2550 (ที่ให้ยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบเป็นเวลา 5 ปี) อย่างชนิดแตกต่างแบบตรงกันข้าม ในที่นี้ขอหยิบยกกรณีการประเมินว่าคำวินิจฉัยนี้มีคุณภาพ ของท่าน ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ มาประเมินวิจารณ์อีกต่อหนึ่ง
ความจริงถ้าเป็นสังคมที่วัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์สถิตอยู่แล้ว คงไม่จำเป็นต้องเขียนย่อหน้านี้

ผู้เขียนมีความเคารพในตัวท่าน ศ.อมร แม้ไม่ได้รู้จักท่านเป็นการส่วนตัวก็ตาม ในการวิจารณ์นี้ผู้เขียนจะวิจารณ์ตรงเฉพาะงานในส่วนที่ท่านวิจารณ์คำวินิจฉัยเท่านั้น

ผู้เขียนเข้าใจว่างานวิจารณ์-ประเมินของท่านชิ้นนี้ น่าจะสะท้อนความคิด-ความเชื่อร่วมกันไม่น้อยของคนจำนวนหนึ่งทีเดียว (จากการดูในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ หรือพูดคุยกับผู้ที่เคยเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ) และเนื่องจากตั้งแต่ในอดีต ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานกฎหมายมหาชนของไทย งานของท่านส่วนนี้จึงน่าจะมีอิทธิพลต่อนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในคณะนิติศาสตร์ของสถาบันต่างๆ ไม่น้อย ด้วยเหตุนี้ การพิจารณาและวิจารณ์งานของท่านในฐานะเป็นตัวอย่างที่สำคัญ จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนนิติศาสตร์ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ในสังคมไทย ตลอดจนการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางแนวคิด-มุมมองของคนในสังคมไทยในปัจจุบัน แต่ก่อนจะเข้าสู่การวิจารณ์ ผู้เขียนขออ้างอิงข้อความที่เป็นงานเขียนของท่านเสียก่อน เพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่าน ซึ่งนอกจากช่วยในการพิจารณาตรวจสอบร่วมกันแล้ว ยังเป็นการช่วยตรวจสอบการวิจารณ์ของผู้เขียนได้อีกด้วย

ในบทความขนาดยาวล่าสุดของท่าน เรื่อง สภาพทางวิชาการทางกฎหมายของประเทศไทย: สาเหตุแห่งความล้มเหลวของการปฏิรูปการเมือง ครั้งที่ 2 (กรณีศึกษา-case study: “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชุดที่ 2 พ.ศ.2550)* ท่านกล่าววิจารณ์คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า


“ในเดือนพฤษภาคม (วันที่ 30) ที่ผ่านมานี้ เราเพิ่งได้มีตัวอย่างคำพิพากษาที่ดี (มาก) หนึ่งฉบับ คือ คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ – ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ชี้ขาดให้ยุบพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ที่เราคนไทยตื่นเต้นกับ “คุณภาพ” ของคำวินิจฉัยดังกล่าว

ผู้เขียนคิดว่า เพียงแต่ท่านผู้อ่าน “อ่าน” และนำ “สาระ” ของคำวินัจฉัยดังกล่าวไป เปรียบเทียบกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีซุกหุ้น (คำวินิจฉัย ที่ 20/2544 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2544) หรือกับคำวินัจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กรณีคุณหญิงจารุวรรณ – ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (คำวินิจฉัยที่ 47/2547 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2547) หรือกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (เดิม) ที่สำคัญๆ ในช่วงก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 ผู้เขียนก็เชื่อว่าท่านผู้อ่าน (แม้จะไม่ใช่นักกฎหมาย) ก็สามารถ “รู้สึก” ถึงความแตกต่างในคุณภาพของคำวินิจฉัย (ซึ่งตามความจริง คือ คุณภาพของตัวบุคคลที่เป็นตุลาการฯ) ได้โดยไม่ต้องมีผู้ใดมาอธิบาย เพราะเป็นกรณีที่ชัดแจ้ง ถือเป็น self – explanation”
(จาก
www.pub-law.net/publaw/View.asp?publawIDs=1124)

และ “ผู้เขียนอาจจะโชคดีที่ผู้เขียนไม่ต้องไปเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงเหล่านี้ด้วยตนเอง ซึ่งถ้าผู้เขียนต้องทำเช่นนั้น นอกจากจะต้องเหนื่อยเองแล้ว ก็ยังอาจมีข้อโต้แย้งได้ว่า ข้อเท็จจริงที่ผู้เขียนไปรวบรวมมา เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องหรือไม่; แต่เมื่อได้มีการรัฐประหารเกิดขึ้น และทำให้มีการสอบสวนกรณีที่มีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาลชุดก่อน และถูกหมกไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถนำมาอ้างอิงได้ ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอถือโอกาสนี้นำเอาข้อเท็จจริงที่แน่นอน และทางราชการพิสูจน์แล้ว มาบันทึกไว้ในบทความนี้ ซึ่งได้แก่ (ก) เหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ (ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ) ที่ 3-5/2550 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2550 (กรณีระหว่าง อัยการสูงสุด vs พรรคไทยรักไทย เรื่อง การยุบพรรคไทยรักไทย) และ (ข) เหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ในสมุดปกเหลืองของ “คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)”

(ก) คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3-5/2550 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2550:- ข้อเท็จจริงที่สำคัญและชัดเจนที่สุดน่าจะอยู่ในคำวินิจฉัยหน้า 96-98 คือ การวินิจฉัยว่า (อดีต) นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นพรรคที่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 377 คน (ในจำนวน ส.ส. ทั้งหมด 500 คน) ‘...ได้ขายกิจการที่ได้รับสัมปทานจากรัฐให้แก่บริษัทที่เป็นของรัฐบาลต่างชาติเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท โดยไม่เสียภาษีแก่รัฐ และปรากฏว่าก่อนการขายกิจการดังกล่าวเพียง 3 วัน ได้มีการตราพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ที่มีเนื้อหาสาระเป็นการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลที่มีสัญชาติไทย แบบที่ 2 และแบบที่ 3 ออกมาใช้บังคับ อันเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยว่า เป็นกฎหมายที่ตราออกมาเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการขายกิจการดังกล่าว (ดังนั้น) การยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 จึงมีสาเหตุมาจากเรื่องส่วนตัวของ (นายกรัฐมนตรี) หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 (พรรคไทยรักไทย) มิได้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างองค์กรฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ หรือระหว่างพรรคการเมืองในระหว่างฝ่ายบริหารด้วยกัน หรือมีปัญหาอันเกี่ยวด้วยประโยชน์สาธารณะที่สมควรคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมือง (ให้) แก่ประชาชนด้วยการยุบสภา (อีก) ทั้งการผลักดันกฎหมายที่เอื้อต่อธุรกิจของครอบครัวดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า (นายกรัฐมนตรี) หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 (พรรคไทยรักไทย) (มี) อำนาจเหนืออุดมการณ์ของพรรค (ไทยรักไทย) อย่างเด็ดขาด ในการกำหนดความเป็นไปของพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 (พรรคไทยรักไทย) ทั้งการกำหนดวันเลือกตั้ง วันที่ 2 เมษายน 2549...’
ข้อความในคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้ยืนยัน “ข้อเท็จจริง” ที่ชัดเจน...”
(จาก
www.pub-law.net/publaw/View.asp?publawIDs=1144)

จากนั้น ศ.อมร ก็ยกรายงาน คตส. ระบุความเสียหายแก่รัฐต่างๆ 13 กรณี เช่น การขายหุ้นและโอนหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต้องเสียภาษีและเงินเพิ่ม 33,108 ล้านบาท โครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เสียหาย 37,790,398,640.06 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งเป็นรายงานสมุดปกเหลืองที่เผยแพร่ในช่วงมิถุนายน 2550 (และพิมพ์จำนวนมากแจกจ่ายแก่ประชาชนในช่วงสัปดาห์ก่อนเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550) โดยท่านอมรกล่าวว่า เป็นข้อเท็จจริง
(จาก
www.pub-law.net/publaw/View.asp?publawIDs=1144)
ต่อไปนี้เป็นคำวิจารณ์ของผู้เขียน

ผู้เขียนเห็นว่า ปัญหาสำคัญของ ศ.อมร คือการไม่ได้แยกระหว่าง “ข้อเท็จจริงที่ได้มีการกล่าวหา” กับ “ข้อเท็จจริงที่ว่าได้มีการพิสูจน์ข้อกล่าวหานั้นแล้วว่ามีความผิดจริง”

มีคำ วลี หรือข้อความหลายแห่งที่ ศ.อมร ใช้ ซึ่งน่าพิจารณา เช่น “คำพิพากษาที่ดี (มาก)” “...เราคนไทยตื่นเต้นกับ “คุณภาพ” ของคำวินิจฉัย” “ข้อเท็จจริงที่แน่นอน และทางราชการพิสูจน์แล้ว” “ข้อเท็จจริงที่สำคัญและชัดเจนที่สุด” โดยท่านเชื่อว่า ผู้อ่าน (แม้จะไม่ใช่นักกฎหมาย) ก็สามารถ “รู้สึก” ถึงคุณภาพของคำวินิจฉัยนี้ได้ “โดยไม่ต้องมีผู้ใดมาอธิบาย เพราะเป็นกรณีที่ชัดแจ้ง ถือเป็น self – explanation”

ศ.อมร ได้สรุปสาระคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่ท่านเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงที่สำคัญและชัดที่สุด ผมขออ้างอิงสาระหลักๆ ให้เห็นง่ายขึ้น ดังนี้

“...(อดีต) นายกรัฐมนตรี...ได้ขายกิจการที่ได้รับสัมปทานจากรัฐให้แก่บริษัทที่เป็นของรัฐบาลต่างชาติ...ได้มีการตราพระราชบัญญัติ...อันเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยว่า เป็นกฎหมายที่ตราออกมาเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการขายกิจการดังกล่าว (ดังนั้น) การยุบสภาผู้แทนราษฎรจึงมีสาเหตุมาจากเรื่องส่วนตัวของ (นายกรัฐมนตรี)...มิได้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างองค์กรฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ หรือระหว่างพรรคการเมืองในระหว่างฝ่ายบริหารด้วยกัน หรือมีปัญหาอันเกี่ยวด้วยประโยชน์สาธารณะที่สมควรคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมือง (ให้) แก่ประชาชนด้วยการยุบสภา (อีก) ทั้งการผลักดันกฎหมายที่เอื้อต่อธุรกิจของครอบครัวดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า (นายกรัฐมนตรี) มีอำนาจเหนืออุดมการณ์ของพรรค (ไทยรักไทย) อย่างเด็ดขาด…”

เนื่องจากสาระย่อหน้าข้างต้นเป็นเหตุผลประกอบสำคัญที่นำไปสู่การวินิจฉัยคดีดังกล่าว ปัญหาที่ต้องพิจารณาก็คือ การกล่าวซ้ำ “ข้อเท็จจริงที่มีการกล่าวหา” นั้นถือได้ว่าเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอย่างสมเหตุสมผลแล้วหรือ เพราะตุลาการยังไม่ได้พิสูจน์เลย (และตามความจริงในขณะนั้นก็ยังไม่มีการฟ้องร้องในประเด็นนี้ด้วย) เหตุผลเดียวที่เหลืออยู่คือ เพราะมาจากการยืนยันของตัวบุคคลที่เป็นตุลาการที่มีคุณภาพ ผู้เขียนเห็นว่านี่ไม่ใช่การอ้างเหตุผล แต่เพียงเป็นการอ้างผู้รู้ที่มีอำนาจ (authority) เท่านั้น

ในเรื่องหนึ่งๆ Authority อาจถูกก็ได้ ผิดก็ได้ ความถูกผิดในทางกฎหมายขึ้นอยู่กับการพิจารณา-เข้าถึงความจริงในทางกฎหมายในเรื่องนั้น ไม่ใช่ถูกผิดด้วยลำพังเพราะในฐานะ Authority บอก

ตรงกันข้ามกับทรรศนะที่ว่า คำวินิจฉัยนี้ยืนยันข้อเท็จจริงและอย่างชัดแจ้ง ผู้เขียนกลับเห็นว่า

ในตอนนี้ของคำวินิจฉัย ตุลาการใช้วิธีคลุมเครือ ไม่ใช่โดยตรงหรือชัดแจ้ง ดังวลีสำคัญที่ใช้เป็นข้ออ้าง (premise) ที่ว่า “อันเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยว่า” ใน “อันเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยว่า เป็นกฎหมายที่ตราออกมาเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการขายกิจการดังกล่าว” ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปว่า (ดังนั้น) การยุบสภาผู้แทนราษฎรจึงมีสาเหตุมาจากเรื่องส่วนตัวของ (นายกรัฐมนตรี) นอกจากนี้คำวินิจฉัยยังมีความว่า “(อีก) ทั้งการผลักดันกฎหมายที่เอื้อต่อธุรกิจของครอบครัวดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า (นายกรัฐมนตรี) มีอำนาจเหนืออุดมการณ์ของพรรค (ไทยรักไทย) อย่างเด็ดขาด…”

ประเด็นของผู้เขียนมีสั้นๆ คือ เรื่อง “อันเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยว่า” ซึ่งก็คือการออกกฎหมายเอื้อครอบครัวนั้น เป็นข้อกล่าวหา ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์แล้วในทางกฎหมาย การกล่าวซ้ำข้อกล่าวหาโดยไม่ได้พิสูจน์ ถึงอย่างไรก็ยังคงเป็นข้อกล่าวหาอยู่นั่นเอง หาใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงตาม “กระบวนการทางกฎหมาย” ไม่ แม้การกล่าวซ้ำนั้นจะมาจาก “นักกฎหมาย” ก็ตาม

โดยยังไม่ทราบว่าการยุบสภาในกรณีนั้นขัดกับหลักการจริงหรือไม่ จริงหรือไม่ว่าการยุบสภานั้นไม่ได้มีปัญหาอันเนื่องด้วยประโยชน์สาธารณะที่สมควรคืนอำนาจให้ประชาชน หากจะกล่าวเฉพาะหลักทั่วไปของการยุบสภาแล้ว การยุบสภาเป็นการกระทำทางการเมือง ไม่ใช่อยู่ในอำนาจในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของตุลาการ และกฎหมายไทยที่ผ่านมาจนถึงในขณะนั้นก็ไม่ได้ระบุเงื่อนไขของการยุบสภาไว้เลย ยิ่งเมื่อดูธรรมเนียมปฏิบัติในการเมืองไทย กลับพบการยุบสภาที่มีลักษณะเฉพาะอีกด้วย เช่น ในสมัย ฯพณฯ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัย ฯพณฯ นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นต้น

ผู้เขียนจึงเห็นว่า คำวิจารณ์ของ ศ.อมร ตลอดจนคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตรงนี้ มีจุดอ่อนที่ไม่เคร่งครัดอย่างเพียงพอในการแยกแยะความหมายระหว่างข้อกล่าวหา ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ฟ้อง กับการพิสูจน์ข้อกล่าวหาที่เป็นหน้าที่ของตุลาการ

นอกจากนี้ การที่ท่าน อ.อมร กล่าวว่า คนไทยตื่นเต้นกับ “คุณภาพ” ของคำวินิจฉัยนี้ การใช้คำว่า “คนไทย” เป็นการเหมารวมมากเกินไป ตลอดจนการใช้คำว่า “ข้อเท็จจริงที่แน่นอนและทางราชการพิสูจน์แล้ว” ก็มีปัญหาอย่างยิ่ง ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในกรณีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และเช่นกัน ปัญหานี้ก็เกิดกับในกรณีการกล่าวถึงคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ด้วย
******************************************************
*หมายเหตุ อันที่จริง บทความนี้ยังเขียนทยอยลงไม่หมด นับจนถึงวันที่ 3 มีนาคม 2551 ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ได้เขียน ซึ่งหากพิมพ์จากเครื่องปริ๊นเตอร์จะมีจำนวนถึง 107 หน้า แม้ว่าบทความยังไม่จบ แต่เฉพาะในส่วนที่นำมาวิจารณ์นี้จบในตัวแล้ว