WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 10, 2008

อ้าแขนรับทุกฝ่ายเป็นกรรมาธิการ ร่วมศึกษาแก้รธน.

พปช. เดินหน้ายื่นญัตติตั้งกรรมาธิการศึกษาแก้ไข รธน.50 ในสัปดาห์นี้ พร้อมแบ่งโควตาแต่ละพรรคการเมืองลงตัวครบ 60 คน ระบุพร้อมอ้าแขนรับทุกฝ่ายเข้ามาร่วมเป็นกรรมาธิการ ไม่เว้นพันธมิตรฯ หรือ คปพร. ขณะที่หอบชื่อ “โภคิน-อุกฤษ” เข้าหารือในที่ประชุมพรรควันนี้ เพื่อหนุนนั่งเป็นประธาน

นายสามารถ แก้วมีชัย เลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ที่ผ่านมา ถึงการยื่นญัตติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ว่า จำนวนคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เบื้องต้นวิปยังคงยืนยันจำนวน 60 คน โดยเป็นสัดส่วนของพรรคพลังประชาชน 29 คน พรรคประชาธิปัตย์ 21 คน พรรคชาติไทย 4 คน พรรคเพื่อแผ่นดิน 3 คน ส่วนพรรคการเมืองที่เหลือจะมีตัวแทนพรรคละ 1 คน โดยสัดส่วนกรรมาธิการฯ ของพรรคร่วมรัฐบาล จะมีบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นตัวแทนด้วย และคาดว่าพรรคร่วมรัฐบาลคงจะมีการหารือเรื่องดังกล่าวในพรรค และยื่นญัตติได้ในสัปดาห์นี้ เพื่อพิจารณาญัตติในสัปดาห์หน้า

นอกจากนี้ในที่ประชุมวิปรัฐบาลยังจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญที่จะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยวิปรัฐบาลได้มอบหมายให้อนุกรรมการกลั่นกรองไปพิจารณาแล้ว โดยจะนำผลการพิจารณาเข้าสู่การประชุมพร้อมทั้งเชิญเจ้าหน้าที่มาชี้แจงด้วย

ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า พรรคพลังประชาชนจะเชิญ นายโภคิน พลกุล อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือ นายอุกฤษ มงคลนาวิน อดีตประธานรัฐสภา เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ นั้น นายสามารถ กล่าวว่า รายชื่อที่ปรากฏออกมาเป็นเพียงความเห็นส่วนตัว โดยพรรคพลังประชาชนจะมีการประชุมในวันพรุ่งนี้ (10 มิ.ย.) เพื่อกำหนดตัวบุคคลที่จะมาเป็นกรรมาธิการ โดยแบ่งเป็นสัดส่วนที่ ส.ส. ของพรรคจะมาเป็นเอง และสัดส่วนที่จะให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นกรรมาธิการ รวมถึงจะพิจารณาตัวประธานกรรมาธิการ ส่วนตัวอยากได้บุคคลที่ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชน อยากได้บุคคลที่เป็นกลาง สามารถประสานงานได้กับกรรมาธิการทุกฝ่าย

"ตัวแทนของสถาบันพระปกเกล้าก็คงมี แต่จะมาเป็นประธานหรือไม่ต้องรอดูอีกครั้ง เพราะมีหลายท่านที่เหมาะสม ผมคงตอบไม่ได้ แต่วันนี้เราอยากให้สังคมมั่นใจการแก้ไขรัฐธรรมนูญของเราว่า เราจะไม่ไปทำอะไรที่มีปัญหา ฉะนั้นเราต้องพิถีพิถันในการหาตัวประธาน ถ้าได้ตัวบุคคลที่สังคมร้องยี้แล้ว ทุกสิ่งที่ทำมาอาจไม่ได้รับการยอมรับ" นายสามารถ กล่าว

ทั้งนี้เลขานุการวิปรัฐบาลยังกล่าวยินดีหากทุกฝ่ายจะเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการ ไม่ว่าจะเป็นพันธมิตร หรือ นพ.เหวง โตจิราการ นักวิชาการอิสระ และ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ 2550 แต่จะเข้ามาในโควตาของพรรคใดก็ได้ พรรคพลังประชาชนก็ยินดีต้อนรับ เพราะเมื่อเข้าสภาแล้วก็ไม่ได้เป็นของพรรคใดพรรคหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ทุกพรรคจะต้องเตรียมรายชื่อกรรมาธิการมาเสนอพรุ่งนี้ ด้านกรณีที่กลุ่มพันธมิตรฯ ประกาศจะเคลื่อนมาชุมนุมหน้ารัฐสภาหากมีการยื่นญัตติตั้งกรรมาธิการวิสามัญฯ นายสามารถ กล่าวว่า ไม่มีปัญหา คงมาด้วยเจตนาดี ไม่ทันจะแก้เลยแค่จะศึกษา ซึ่งเปิดกว้างเชิญกลุ่มพันธมิตรฯ ด้วย รัฐสภายินดีต้อนรับ

ด้านนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ระหว่างการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ จะมีการเสนอญัตติขอตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งขึ้นอยู่กับประธานสภาผู้แทนราษฎรว่าจะนำขึ้นมาพิจารณาหรือไม่ ทั้งนี้เห็นว่า สัดส่วนของแต่ละพรรคการเมืองเป็นไปตามข้อบังคับอยู่แล้วจึงไม่มีปัญหา ส่วนสัดส่วนคนนอกนั้น แต่ละพรรคจะพิจารณาตามความเหมาะสม ซึ่งพรรคพลังประชาชนยังไม่ได้หารือว่าจะเชิญนายโภคิน พลกุล และนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ มาเป็นประธานกรรมาธิการหรือไม่ แต่ยอมรับมีความเห็น 2 ฝ่ายว่า ประธานควรเป็น ส.ส.หรือคนนอก เพื่อช่วยลดความขัดแย้ง

สำหรับการสรรหาประธานวิปรัฐบาลแทน นายชัย ชิดชอบ จนถึงขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป ซึ่งจะนำเข้าหารือในการประชุมวิปรัฐบาลวันนี้ ส่วนตัวเห็นว่า หลายคนมีความเหมาะสม รวมถึงนายสามารถ แก้วมีชัย เลขานุการวิปรัฐบาลด้วย

ส่วนการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมขึ้นมาศึกษาร่างรัฐธรรมนูญนั้นทางวิปรัฐบาลมีความชัดเจนอย่างไร นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ให้แต่ละพรรคไปร่างญัตติและให้ไปดู ท้ายสุดให้ลงชื่อเสนอกัน ก็มีเพียงแค่นี้ ซึ่งฟังดูในวิปรัฐบาลต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าให้ยื่นญัตติ ส่วนพรรคไหนจะยื่นเมื่อไร เวลาไหน ตนเข้าใจว่า 1-2 วันคงจะมีการยื่น สำหรับสัดส่วนกรรมาธิการก็เป็นไปตามข้อบังคับสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับ ไม่มีปัญหา แต่ก็มีการมองกันว่าอาจจะมีคนนอกแต่ถ้ามีคนนอก ก็สุดแต่ว่าแต่ละพรรคจะไปดึงคนนอกเข้ามา ซึ่งจะถือว่าอยู่ในโควตาของพรรคนั้น

นายชูศักดิ์กล่าวเสริมถึงการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 และกฎหมายสำคัญที่ค้างอยู่ว่า ในที่ประชุมวิปรัฐบาลคงจะได้มีการหารือกันว่าจะเอาระเบียบวาระอะไรพิจารณาก่อนและหลัง แต่ที่พิจารณาไปแล้วคือกฎหมายวิธีพิจารณาของผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยจะพิจารณาเรื่องรายละเอียดของกฎหมาย ทางวิปรัฐบาลคงจะไปคุยกันว่าจะจัดลำดับอย่างไร

ทั้งนี้กฎหมายที่สำคัญที่จำเป็นต้องทำก็คือกฎหมายวิธีพิจารณา เพราะมีระยะเวลา ส่วนกฎหมายประชามติก็อยากจะเร่งรัด แต่ก็มีระยะเวลาอยู่เหมือนกัน และมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งองค์กรอิสระต้องนำเสนอ แต่ก็ยังไม่นำเสนอมาหลายฉบับ กฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ที่จะต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน สิ่งเหล่านี้จะต้องพิจารณาทั้งหมด รวมไปถึงเรื่องท้ายสุดคือการพิจารณางบประมาณ