WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 2, 2008

เลิกถามหานักศึกษา นักวิชาการ ปัญญาชน ฯลฯ เสียที (1)

คอลัมน์ : รายงานพิเศษ

สถานการณ์การเมืองขณะนี้ จะติดตามหรือวิเคราะห์กันวันต่อวัน บางทีก็ยังอาจจะช้า…

ชั่วโมงต่อชั่วโมง หรือนาทีต่อนาที ก็ไม่แน่ด้วยซ้ำว่า จะทันกาลเสมอไป

สิ่งที่พอจะทำกันได้ ก็คือการ “พยากรณ์” กันล่วงหน้า โดยอาศัยความพยายามในการล้วงลึกเข้าไปในจิตใจตัวละครทางการเมืองทั้งหลายทั้งที่เล่นอยู่หน้าฉาก…

และที่ “หลบ” อยู่ “หลังฉาก”

อย่าว่าแต่การนัดประชุมกันแต่ละครั้งของเหล่านักการเมือง ตำรวจ ทหาร ฯลฯ จะเรียกความสนใจอย่างตื่นตัวสุดขีดจากนักข่าวได้มากเท่านั้น

แค่เดินหลบเข้าห้องน้ำ เดินผ่านสนามบิน หรือเฉียดตู้โทรศัพท์ ก็อาจนำไปสู่การตีความหาคำอธิบายสู่ทางออกของบ้านเมืองได้ทั้งสิ้น

ใครติดตามประวัติศาสตร์การเมืองมาโดยตลอดย่อมรู้ว่านี่ไม่ใช่เรื่องเกินเลย พฤติกรรมที่ดูไม่เกี่ยวข้องหลายครั้งมีความหมาย และสิ่งที่เหมือนจะมีความหมายหลายครั้งก็กลับเป็นเพียงกลลวง ทุกจังหวะการก้าวย่างของทุกคนในขณะนี้ จึงล้วนมีความเป็นไปได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

แต่อย่างน้อยที่สุด ในทางใดทางหนึ่งนั้น ก็คาดการณ์กันไว้ 3 ทาง

หนึ่ง นายกรัฐมนตรีประกาศลาออก

สอง นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา

และทางที่สาม ไม่ยุบ ไม่ออก ใช้คาถา “รัฐบาลของเสียงข้างมาก” คุ้มกระหม่อมกันต่อไปและทำงานกันไปตามสภาพ ศัพท์หมอก็ว่าได้แต่รักษาตามอาการ

จะทุลักทุเลในสายตาใครก็ช่าง ตราบใดยังกุมความชอบธรรม กุมศรัทธาของประชาชนส่วนใหญ่ รัฐบาลก็ยังไม่น่าจะทำร้ายหัวใจประชาชนส่วนนั้น

แต่หากว่ากันให้ถึงที่สุด ไม่ว่า นายกฯ สมัคร สุนทรเวช จะเลือกทางออกใด ก็ไม่มีวันถูกใจกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะไม่ว่าจะลาออก ยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ ค่อนข้างฟันธงได้ว่าประชาชนก็ยังจะเลือกขั้วอำนาจเดิมมาเป็นรัฐบาล แล้วพันธมิตรฯ ซึ่งไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งก็จะออกมาขับไล่ไม่มีที่สิ้นสุด

แต่จะยอมให้พันธมิตรฯ มีส่วนร่วมในการกำหนดหน้าตารัฐบาลเอง เลือกนายกรัฐมนตรีเองอย่างที่ประกาศไว้ ก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะบ้านเมืองนี้หาได้เป็นของกลุ่มพันธมิตรฯ แต่เพียงกลุ่มเดียว

โดยเฉพาะเมื่อวันนี้ ก็ยังมีประชาธิปไตยเป็นการปกครองระบอบใหญ่ จะให้ความพยายามในรูปแบบอนาธิปไตยหรือรูปแบบอื่นใดมาครอบงำหรือสั่งการ เห็นจะเป็นยิ่งกว่าเรื่องเพ้อฝัน

มองในแง่หลักการ รัฐบาลจึงได้เปรียบกลุ่มพันธมิตรฯ ชนิดกินขาด ทั้งในฐานะที่เป็นอำนาจรัฐที่มาอย่างถูกต้อง และในฐานะที่เลือกใช้คำสั่งศาลแพ่งในการสั่งการกับผู้ชุมนุม

แต่ในแง่อารมณ์ความรู้สึก โดยเฉพาะสำหรับประชาชนที่เฝ้าติดตามข่าวสารอยู่หน้าจอโทรทัศน์อย่างแทบไม่ให้คลาดสายตา

เหตุใดกระแสจึงเอียงไปข้างที่ว่า รัฐบาลไม่มีความชอบธรรม รัฐบาลต้องลาออก รัฐบาลต้องถอยและรัฐบาลทำเกินกว่าเหตุ…

เหตุใดรัฐบาลจึงไม่มีความชอบธรรมที่จะดำเนินการตามกฎหมายกับกลุ่มผู้ก่อความวุ่นวายด้วยการยึดสถานที่ราชการ ยึดที่ทำงานรัฐบาล ยึดสถานีโทรทัศน์และข่มขู่เจ้าหน้าที่ผู้สื่อข่าว พกพาอาวุธทั้งไม้ มีด อาวุธปืนซึ่งทำให้การชุมนุมกลายเป็นการอยู่นอกกรอบรัฐธรรมนูญทันที…

แทนที่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะจัดการได้ เพื่อสวัสดิภาพความปลอดภัยและผลประโยชน์ของประชาชนอีกที่เหลือซึ่งไม่ได้ร่วมชุมนุมด้วย กลับกลายเป็นว่ารัฐบาลต้องท่องคำว่าประนีประนอมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ท่องคำว่าอดทนอดกลั้นอย่างไม่สามารถตอบได้ว่าจะทนไปถึงเมื่อไรและทำไมต้องทนกับการทำผิดกฎหมาย ต้องท่องคำว่าพวกเขาเหล่านั้นคือประชาชนผู้เสียภาษีโดยที่ไม่สามารถปกป้องประชาชนที่ก็ต้องเสียภาษีอีกหลายสิบล้านคนทั่วทั้งประเทศที่กำลังได้รับผลกระทบจากการกระทำของคนหลักหมื่นนี้ได้

หากติดตามความเคลื่อนไหว จะเห็นว่าผู้ร้ายจะกลายเป็นผู้ดีไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการแก้ต่างให้จาก “คนกลุ่มหนึ่ง” กลุ่มคนที่กระโดดมาออกโรงปกป้องกลุ่มพันธมิตรฯ ด้วยประโยคคลาสสิกว่า “ไม่ได้เห็นด้วยกับการกระทำทั้งหมดของพันธมิตรฯ แต่…” กลุ่มคนกลุ่มนี้ได้ถูกวางสถานะทางสังคมไว้เหนือประชาชนส่วนใหญ่มาตลอดทุกยุคทุกสมัย เป็นกลุ่มคนที่ได้รับความสนใจสอบถามความคิดเห็นเสมอไม่ว่าบ้านเมืองจะเกิดเหตุการณ์วินาศสันตะโรไปทางใดก็ตามและแม้ว่าพวกเขาจะไม่เคยเสนอทางออกเป็นรูปธรรมใดๆ เลยก็ตาม…

และพวกนี้นี่แหละที่ทำให้ “รัฐ” กลายเป็นผู้ร้ายและพันธมิตรฯ กลายเป็นพระเอกผู้ถูกกระทำเพียงชั่วข้ามคืน พวกนี้ไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจมาจากไหน แต่สังคมต้องให้ความสนใจฟังเขา สื่อมวลชนก็ต้องตามหาตัวพวกเขาเพื่อสัมภาษณ์ออกรายการ หนังสือพิมพ์ทุกฉบับต้องตามสัมภาษณ์หรือทำสกู๊ปเกี่ยวกับทัศนคติของคนพวกนี้

พวกที่เป็นนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ หรือเรียกรวมๆ ว่าชนชั้น “ปัญญาชน” ของบ้านเมืองเรานั่นเอง…(อ่านต่อวันพรุ่งนี้)