WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 6, 2008

กลุ่มโดมแดงมธ.ออกแถลงการณ์หนุนรัฐทำประชามติจี้พธม.มอบตัว-ออกพ้นทำเนียบ

แถลงการณ์กลุ่มโดมแดง ฉบับที่ 1/2551

“กล้าทำ กล้ารับ” ตามแนวทางอารยะขัดขืน, ต่อต้านการพราก/ยึดอำนาจในการตัดสินใจของเรา, รักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย

สืบเนื่องจากความพยายามในการขับไล่ “โค่นล้ม” รัฐบาลของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้นำมาซึ่งปัญหาความยุ่งยากและความรุนแรงดังที่ปรากฏ และมีแนวโน้มที่ชัดแจ้งว่า จะนำไปสู่การทำลายหลักการและระบอบประชาธิปไตย อย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

เรา “กลุ่มโดมแดง” เป็นกลุ่มอิสระเล็กๆ ที่เป็นการรวมตัวกันของนักศึกษาธรรมศาสตร์ และศิษย์เก่า ในฐานะสมาชิกของชุมชนทางการเมืองนี้ มีความเห็นและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. ต่อความขัดแย้งทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ความเห็นที่แตกต่างและความขัดแย้งทางการเมืองเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย และสามารถที่จะแสดงออกได้ด้วยวิธีการต่างๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะผู้ที่มีส่วนในความขัดแย้งใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือ/วิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมายของตน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความรุนแรงโดยตรงหรือสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงเพื่อบรรลุเป้าหมาย

2. ต่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การแสดงออก การชุมนุมทางการเมืองเป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้ แต่ต้องเป็นไปโดยสันติและปราศจากอาวุธเท่านั้น ดังนั้น หากพันธมิตรฯ มีความบริสุทธิ์ใจ ต้องปลดอาวุธกองกำลัง/ผู้เข้าร่วมชุมนุมของตนเอง หรืออนุญาตให้เจ้าหน้าที่รัฐทำการปลดอาวุธให้ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมหรือจัดการเองได้
นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลการชุมนุม ต้องปลดอาวุธของตนเอง และกลุ่มอื่นๆ ทุกกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้อาวุธมาห้ำหั่น/เข่นฆ่ากันอย่างที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ เนื่องจากพันธมิตรฯ ระบุว่าการกระทำของตน ไม่ว่าจะเป็นการยึดทำเนียบรัฐบาลหรือสถานีโทรทัศน์ เป็น “อารยะขัดขืน” อันเป็น “การกระทำทางการเมืองซึ่งมีลักษณะเป็นสาธารณะ (public) สันติวิธี (nonviolent) และมีมโนธรรมสำนึก (conscientious) ที่ขัดต่อกฎหมาย (contrary to law) ปกติเป็นสิ่งที่ทำโดยมุ่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย (in the law) หรือนโยบายของรัฐบาล” ซึ่ง “ต้องยอมรับผลที่เกิดขึ้นจากการละเมิดกฎหมายนั้น” ด้วย
ดังนั้น เราขอเรียกร้องให้ผู้นำพันธมิตรฯ หยุดการใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือ เอาชีวิตและเลือดเนื้อของประชาชนเป็นตัวประกัน เพื่อโค่นล้มรัฐบาล ด้วยการแสดงความกล้าหาญและมี “อารยะ” ตามคำกล่าวอ้าง โดยการมอบตัวแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจตามหมายศาล เพื่อเผชิญหน้ากับกระบวนการยุติธรรมตามปกติ ตามหลัก “กล้าทำ ต้องกล้ารับ” ส่วนการชุมนุมประท้วงรัฐบาลยังคงดำเนินต่อไปได้ในที่อื่นที่เหมาะสมกับการแสดงออกตามสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย ไม่เช่นนั้นการกระทำของพันธมิตรฯ ก็ไม่แตกต่างจากการกระทำของอันธพาลการเมืองที่วางอำนาจบาตรใหญ่อยู่เหนือกฎหมาย

3. ต่อประชาชน ข้อเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกโดยไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งการใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือ เอาชีวิตและเลือดเนื้อของประชาชนเป็นตัวประกัน ข่มขู่ กดดัน เพื่อโค่นล้มรัฐบาล ของพันธมิตรฯ และเครือข่ายไม่ว่าจะในนามใด เป็นข้อเรียกร้องและการกระทำที่ขาดความชอบธรรมและฉวยโอกาส แม้ว่าผู้คนอาจจะมีท่าทีต่อรัฐบาลที่แตกต่างกัน แต่การยินยอมให้พันธมิตรฯ ใช้ “กฎหมู่” บีบบังคับรัฐบาล และผู้คนในสังคมให้ยอมรับข้อเรียกร้องของตน เป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตย เป็นการยึด ลิดรอน สิทธิ เสรีภาพ และอำนาจอธิปไตยที่เป็นของเราทุกคนไปพร้อมกันด้วย ดังนั้น หากใครไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพันธมิตรฯ ควรร่วมกันแสดงออกอย่างสันติเพื่อคัดค้านการนำสังคมการเมืองไปสู่ “อนาอารยะ” ของพันธมิตรฯ ทั้งหมดนี้ มิใช่เพื่อปกป้องรัฐบาลที่เราชอบหรือไม่ชอบ แต่เป็นไปเพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตยไว้

4. ต่อรัฐบาล รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องมีความอดทนและระมัดระวังในการดำเนินการหรือบังคับใช้กฎหมาย ป้องกัน ระงับไม่ให้เกิดความรุนแรง และยุติวิธีการใดๆ ที่อาจจะนำไปสู่ความรุนแรง เพราะรัฐมีหน้าที่ในการปกป้อง พิทักษ์ สิทธิ เสรีภาพ ชีวิตและทรัพย์สินของพลเรือน ความรุนแรงจะทำให้รัฐบาลสูญเสียความชอบธรรม และถูกใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายต่อต้านในการล้มล้างรัฐบาล หรือถูกฉกฉวยโดยอำนาจอื่นในการใช้อำนาจนอกระบบมาแทรกแซงหรือทำลายระบอบประชาธิปไตยได้ ดังที่ปรากกฎมาก่อนหน้านี้

สำหรับการริเริ่มของรัฐบาลในการเสนอให้มีการจัดทำประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญในมาตรา 165 (1) นั้น ในทางหลักการ เป็นแนวคิดที่ดี แต่จะต้องมีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจนและมีกระบวนการที่ยุติธรรม เปิดกว้างให้มีการรณรงค์แสดงความคิดเห็นทั้งสนับสนุนและคัดค้านอย่างกว้างขวางตามหลักสากล โดยมีระยะเวลาที่เพียงพอเหมาะสม ไม่ใช่ประชามติแบบ “มัดมือชก” อย่างการประชามติรัฐธรรมนูญฉบับ คมช.

5. ท้ายที่สุด เราเห็นว่า “การใช้สันติวิธีของทุกฝ่าย” ในการรับมือกับความขัดแย้งแม้จะไม่สามารถการันตีผลลัพธ์ที่ต้องการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือยุติความขัดแย้งและความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมืองได้ แต่จะไม่พรากชีวิตของผู้ใดในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองอีก ทำให้เราอยู่กับความขัดแย้งอย่างมีอารยะ และธำรงไว้ได้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยได้
เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย

กลุ่มโดมแดง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5 กันยายน 2551