WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, September 1, 2008

ปารากวัยไล่ทหาร (คอลัมน์: วิเทศทรรศน์)

คอลัมน์: วิเทศทรรศน์

เอ่ยถึงปารากวัย คงจะหาคนที่รู้จักและติดตามความเคลื่อนไหวของประเทศนี้ได้ยากเต็มที เพราะนอกจากจะเป็นเพียงประเทศเล็กๆ ในอเมริกาใต้แล้ว ยังแทบไม่มีบทบาทอะไรเกี่ยวกับโลกเลย แต่เล็กพริกขี้หนูเม็ดนี้ล่ะครับที่น่าสนใจนัก เพราะเขาเพิ่งจะใช้น้ำดีของระบอบประชาธิปไตยล้างคราบสกปรกของเผด็จการทหารออกได้อย่างหมดจด ด้วยการเลือกตั้งประธานาธิบดีจากฝ่ายประชาชน ไม่ใช่นอมินีของพญามารในเครื่องแบบทหารที่ดูดเลือดของชาวปารากวัยมานานถึง 61 ปี

เผด็จการปารากวัยเกิดขึ้นคล้ายๆ กับจุดกำเนิดเผด็จการของทวีปอเมริกาใต้ นั่นคือเมื่อปลดแอกตนเองจากเจ้าอาณานิคมทั้งหลายโดยเฉพาะสเปนแล้ว ก็กลับแตกแยกกันในประเทศ เปิดโอกาสให้คนถืออาวุธและสวมเครื่องแบบทหารเข้ามาสวมอำนาจที่ควรเป็นของประชาชน ซึ่งเป็นทางออกง่ายๆ ของสังคมที่สิ้นคิด

ปรากฏการณ์เผด็จการทหารที่คณะนี้เข้ามาโค่นคณะโน้น ตัวละครมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาเข้ามาเกี่ยวข้องแทรกแซงในจุดที่ตนได้รับประโยชน์ และท้ายที่สุดคือประชาชนเดือดร้อนถูกเข่นฆ่าหรือละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ นานา กลายเป็นภาพที่ชาชินของภูมิภาคนี้เป็นเวลาที่ยาวนานหลายสิบปี

ผู้เผด็จการตัวใหญ่ที่สุดของปารากวัยคือ นายพลอัลเฟรโด สเตริสเนอร์ ที่ถูกขับไล่จนตกเก้าอี้ในปี พ.ศ.2532 แต่มาตายจากไปในปี พ.ศ.2549 ระหว่างถูกเนรเทศ

แต่เราต้องเข้าใจว่าระบอบเผด็จการมักไม่สิ้นฤทธิ์ไปตามตัวผู้เผด็จการ เพราะมักมีพรรคพวกที่วางไว้ในตำแหน่งแห่งอำนาจ ทั้งในระดับการเมืองและราชการประจำมากมาย โดยเฉพาะกองทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จะเดินเกมรวมศูนย์ผลประโยชน์และสกัดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนกันต่อไป อันเป็นแบบฉบับของระบอบอำมาตยาธิปไตย ในปารากวัยจึงปรากฏว่า กว่าอิทธิพลของนายพลสเตริสเนอร์จะหมดสิ้นไปอย่างแท้จริง การเมืองปารากวัยก็แบ่งออกเป็นหลายขั้ว รองประธานาธิบดีถูกลอบสังหารไปหนึ่ง ประธานาธิบดีลาออกจากตำแหน่งไปอีกหนึ่ง และมีความพยายามก่อรัฐประหารกันอีก

ทั้งหมดนี้เกี่ยวกับพรรคการเมืองแนวขวาจัด-อนุรักษนิยมที่สเตริสเนอร์ตั้งขึ้น นั่นคือเนชั่นแนล รีพับลิกัน แอสโซซิเอชั่น-โคโลราโด ที่เมื่อตัวผู้เผด็จการพ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็ยังอยู่ คอยทำหน้าที่ทิ่มแทงให้สังคมเกิดความระส่ำระสายไปทั่ว

การทำให้สังคมแตกแยกแตกร้าวเพื่อจะได้ปกครองง่าย เป็นสูตรสำเร็จที่ผู้เผด็จการตัวจริงในหลายประเทศเขายังใช้กันอยู่

ปารากวัยเป็นสังคมเกษตรกรรม เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่าเขา ประชากร 6 ล้านคนเศษเป็นชาวพื้นเมืองผสมเลือดสเปนคือเมสติโซ (Mestizos) เป็นส่วนใหญ่ ภาษาที่พูดก็คือกัวรานี อันเป็นภาษาพื้นเมือง บางส่วนเท่านั้นที่พูดสเปนได้หรือพูดได้ทั้งสองภาษา อัตราความยากจนถึง 60% ของประชากรทั้งหมด คนญี่ปุ่นที่มาตกค้างอยู่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองก็ยังรวมตัวกันเป็นประชาคมใหญ่ สภาพเศรษฐกิจทั่วไปเป็นแบบเกษตรกรรมล้าหลัง ส่งผลให้การเมืองแบบอุปถัมภ์เฟื่องฟูรุ่งโรจน์ แต่วิกฤติเศรษฐกิจแห่ง พ.ศ.2540 ที่กระหน่ำไปที่อาร์เจนตินามีผลต่อเนื่องอย่างแรงถึงปารากวัยถึงขั้นต้องสละเอกราชทางการเงินและการคลังให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศเหมือนทาสทั้งหลายในเอเชีย

ปัญหาที่เราได้ยินจนเจนหู ก็มาหนักอยู่ที่ปารากวัย ธุรกิจขนาดใหญ่เข้าครอบงำการเกษตร ป่าไม้ถูกทำลายในอัตราเร่ง และประชากรเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นปากท้องที่ต้องเลี้ยงดูกันทั้งนั้น ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดครอบครัวเกษตรกรรมที่ขาดที่ทำกินอยู่ทั่วประเทศและทำให้ยากจนหนักหน่วงลงไปอีก การอพยพเข้าเมืองจนเกิดเป็นสลัมเมือง ในขณะที่ชนบทก็อยู่กันแบบเพิงหมาแหงน กลายเป็นภาพอันประจำ

การทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นวิถีปกติเรื่อยมา เหมือนสังคมของคนกินเนื้อคน แถมปารากวัยยังกลายเป็นศูนย์กลางลับลอบนำเข้าและส่งออกสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ โดยเฉพาะยาเสพติด ธุรกิจฟอกเงิน และองค์กรอาชญากรรม ซึ่งล้วนทำให้คนธรรมดาที่เดินดินกินข้าวแกงต้องเดือดร้อนด้วยปัญหาที่ติดตามมาอีกมาก ที่ต้องอึดกันตลอดมานั้นก็เพราะไม่เห็นความสว่างใดๆ ที่ปลายอุโมงค์

แต่แล้วฝ่ายประชาธิปไตยก็งอกงามขึ้นมาได้ในความมืดมิด เมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ได้กระชากชัยชนะออกจากมือของระบอบเผด็จการคณะเดิม เพราะประชาชนลุกขึ้นมาต่อสู้อย่างแท้จริงในขณะที่เผด็จการอำมาตยาธิปไตยอ่อนแรงลงตามวงจรธรรมชาติ

เขาผู้นี้มีชื่อว่า เฟอร์นานโด ลูโก อาชีพเดิมเป็นพระ คือเป็นบาทหลวงในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก ความสนใจทางการเมืองจึงเริ่มต้นอย่างเชื่องช้า เขาบวชเป็นพระเมื่อมีอายุได้ 26 ปี ธุดงค์ไปเผยแพร่ศาสนาอยู่ในเอกวาดอร์นาน 5 ปี จนได้เป็นระดับสังฆราชาในหลายสิบปีต่อมา ผลงานหลักอยู่ที่การช่วยเหลือสงเคราะห์คนจน โดยเฉพาะที่ซานเปโดรที่มีคนจนอยู่มาก ขนานนามเขาว่า “บาทหลวงของคนจน” เลยทีเดียว

จนถึงปี พ.ศ.2549 นั่นเองที่เขาเห็นว่าการเมืองเท่านั้นที่จะปรับเปลี่ยนประเทศได้โดยตรง เขาก็เข้ามาช่วยพรรคการเมืองฝ่ายค้านรณรงค์หาเสียงในนครหลวงอาซันซิโอน

ครั้นจะลาสึกเพื่อมาลงการเมืองเต็มตัวก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในตอนแรกสำนักวาติกันไม่ยอมรับใบลาออกของเขา อ้างว่าความเป็นพระคือภารกิจชั่วชีวิตที่จะลาออกมิได้ ในที่สุดเมื่อเดือนกรกฎาคมนี่เอง สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิคที่ 16 ก็ตัดสินพระทัย “ยกเว้น” ให้เป็นกรณีพิเศษ ลูโกจึงพ้นจากความเป็นพระ และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของปารากวัยได้ทันที

เขาได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงเกือบกึ่งหนึ่ง แต่ด้วยความที่รัฐธรรมนูญของปารากวัยไม่ได้ยืนยันกว่าเสียงต้องเกินกึ่งหนึ่ง ชัยชนะของเขาเหนือผู้สมัครของพรรครัฐบาล บลังกา โอวิลาร์ จึงถือเป็นชัยชนะอย่างเด็ดขาด

งานแรกของประธานาธิบดีเฟอร์นันโด ลูโกคือการปลดผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกจากตำแหน่ง และตั้งคนใหม่ที่เป็นนายทหารหัวใจประชาธิปไตยเข้าไปแทน
เพื่อให้อำนาจที่ใช้ทำลายประชาธิปไตยมาตลอดประวัติศาสตร์กลับคืนมาเป็นของประชาชนโดยแท้จริง

เขาไม่รอเวลา ไม่ประนีประนอม และไม่สมานฉันท์

และนี่คือบทแรกเท่านั้น

จักรภพ เพ็ญแข