WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 31, 2008

2 ปี นวมทอง ไพรวัลย์ พลีชีพ : ประชาธิปไตย สู้ตาย!


คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

โดย สุวิทย์ เลิศไกรเมธี

กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย

“ชาติหน้าเกิดมาคงไม่พบเจอการปฏิวัติอีก”
ยังจำประโยคนี้ได้ไหม ยังจำชายชราคนที่ขับแท็กซี่ชนรถถังได้ไหม ฯลฯ และยังจำได้ไหมว่า นักวิชาการสันติวิธีผู้โด่งดังแห่งรั้วธรรมศาสตร์ เคยกล่าวว่า รัฐประหารไม่รุนแรง แล้วการตายของ ลุงนวมทอง ไพรวัลย์ จะเรียกว่าอะไรดี การตายของ ณรงศักดิ์ กรอบไธสง จะให้เรียกว่าอะไร รวมทั้งของฝ่ายพันธมิตรฯ อีก 2 ศพบาดเจ็บอีกหลายร้อย จะให้เรียกว่าอะไร ยังไม่นับความเลวร้ายที่ฝ่ายเผด็จการทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้าอีกมากมาย ทั้งหมดนี้คือผลพวงของการรัฐประหารและการต่อสู้ของ 2 ฝ่า ยตลอด 2 ปีเศษที่ยังคงก่อความรุนแรงอย่างลึกซึ้งมาถึงทุกวันนี้ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่ได้มีแต่ทางกายภาพเท่านั้น แต่มีความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม บลาๆๆๆ อย่างที่นักสันติวิธีและราษฎรอาวุโสชอบใช้ภาษาทำนองนี้

ผมเชื่อว่าการตายของลุงนวมทองสร้างความสะเทือนใจแก่ผู้รักประชาธิปไตยไม่น้อย และผมก็เชื่อว่าการพลีชีพครั้งนั้นสร้างแรงบันดาลใจในการต่อสู้ไม่น้อยเช่นกัน แต่ก็เป็นการตบหน้าพวกนักสันติวิธี นักประชาธิปไตย และนักสิทธิมนุษยชนจอมปลอมทั้งหลาย นักวิชาการ สื่อมวลชน นักการเมือง ชนนั้นนำ รวมทั้งเหล่าทรราชภาคประชาชน และอีกมากมายหลายวงการที่สนับสนุนการรัฐประหาร คนพวกนี้ล้วนมีส่วนทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการฆ่าลุงนวมทองทั้งสิ้น ที่เลวร้ายไม่แพ้กันคือ หลังจากลุงนวมทองตายไปแล้วก็ยังถูกกระทำย่ำยีใส่ร้ายป้ายสีบิดเบือนซ้ำอีก นับเป็นการฆ่าซ้ำสองอย่างเลือดเย็น ต่างกันลิบลับกับการตายและเจ็บของฝ่ายพันธมิตรฯ ที่ก่อเหตุรุนแรงเมื่อ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมา
ผมเดาว่าความตายของลุงนวมทองอาจจะไม่เกิดขึ้นก็เป็นได้ หากมีการต่อต้านรัฐประหารเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทันทีจากหลายๆ ฝ่าย แต่กลับตาลปัตร มีการต่อต้านน้อยมาก มีแต่ฝ่ายสนับสนุนเป็นส่วนใหญ่ เราจึงได้เห็นปฏิบัติการเดิมพันชีวิตสู้ตายกับเผด็จการด้วยการขับแท็กซี่พุ่งชนรถถัง หลังจากนั้นอีกไม่กี่วันก็ตามมาด้วยการผูกคอตายประท้วงที่หน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ผมเดาเอาว่ารัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คงทำให้ลุงนวมทองตายไปเกือบจะพร้อมๆ กับระบอบประชาธิปไตย ก่อนหน้าวิญญาณจะออกจากร่างเมื่อคืนสุดท้ายของเดือนตุลาคมเสียอีก

31 ตุลาคม 2551 ครบ 2 ปีการจากไปของ ลุงนวมทอง ไพรวัลย์ น่าจะได้มีการผลักดันอะไรบางอย่างให้เกิดขึ้นบ้าง เท่าที่สติปัญญาผมพอจะคิดออก ซึ่งผมได้เคยเสนอไปบ้างแล้วตอนที่ขึ้นเสวนาที่สนามหลวงเมื่อคืนวันที่ 23 ธันวาคม 2550 โดยผมได้นำเสนอต่อแกนนำ นปช. เพื่อไปเสนอต่อรัฐสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเช่นกัน และจะขอนำเสนอในที่นี้อีกครั้ง

ผมอยากจะพุ่งเป้าเสนอไปที่รัฐสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาผู้แทนราษฎร (วุฒิสภาจะเอาด้วยผมก็ไม่ขัดข้อง) ควรจะได้ร่วมกันมีมติยกย่องเชิดชูเกียรติคุณลุงนวมทองเป็น "รัฐบุรุษหรือวีรบุรุษประชาธิปไตย" ทำนองเดียวกับการมีมติให้วันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันประชาธิปไตย (ต่อมามีมติเปลี่ยนเป็นวัน 14 ตุลา ประชาธิปไตย) เพื่อเป็นการยืนยันว่าลุงนวมทองคือบุคคลสำคัญของประเทศที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย โดยหวังว่าจะกลายเป็นประเพณีที่รัฐสภายกย่องเชิดชูบุคคลสำคัญที่ทำประโยชน์ให้กับระบอบประชาธิปไตย และประเทศชาติในอนาคตข้างหน้าต่อไป สมควรอย่างยิ่งที่รัฐสภาต้องยกย่องคนธรรมดาสามัญที่จิตใจยิ่งใหญ่ไม่แพ้รัฐบุรุษจอมปลอมบางคน ที่ทั้งชีวิตไม่เคยอยู่ข้างประชาธิปไตย มีบางคนเสนอมาว่าให้รัฐสภามีมติให้วันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญ อาจใช้ชื่อว่าวันนวมทอง หรือวันต้านรัฐประหารแห่งชาติอะไรทำนองนี้ด้วยซ้ำ เหตุที่ผมพุ่งเป้าไปที่รัฐสภาเพราะรัฐสภาเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความชอบธรรมสูงสุดในระบอบประชาธิปไตย เพราะมีมือของประชาชนทั้งประเทศหนุนหลังอยู่นั่นเอง การยกย่องด้วยวิธีนี้จึงสมศักดิ์ศรีสมเกียรติสูงสุดยิ่งกว่าการยกย่องจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ

สิ่งที่ควรจะตามมาหลังจากรัฐสภามีมติยกย่องแล้วก็คือ การสร้างสิ่งที่สามารถรำลึกถึงได้ เช่น สร้างอนุสรณ์สถาน ณ บริเวณสะพานลอยหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ทำบริเวณนั้นให้เป็นสถานที่สำคัญ อาจจะเปลี่ยนชื่อสะพานเป็นสะพานนวมทองก็ยังได้ ทุกครั้งที่คนเดินผ่านสะพานลอยจะได้นึกถึงวีรกรรมของลุงนวมทอง จัดสรรงบประมาณตามสมควรให้จัดงานทุกปี ฯลฯ การสร้างอะไรต่อมิอะไรที่ผมกล่าวมา รัฐสภาควรเป็นเจ้าภาพร่วมกับหลายฝ่าย เช่น องค์กรประชาธิปไตย ประชาชนทุกกลุ่มที่ประสงค์จะมีส่วนร่วม รวมทั้งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐด้วยที่ลุงนวมทองให้เกียรติมาเสียชีวิตที่นั่น ไม่เว้นแม้แต่พรรคการเมืองและนักการเมืองทั้งที่อยู่ในประเทศและที่ไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ เพราะนักการเมืองทุกคนได้รับประโยชน์โดยตรงจากการต่อสู้ของผู้รักประชาธิปไตยมาตลอด การร่วมกิจกรรมทางการเมืองทำนองนี้ถือเป็นการขอบคุณประชาชนผู้รักประชาธิปไตยไปด้วยในตัว

นอกจากนั้น รัฐบาลควรดูแลครอบครัวลุงนวมทองให้ดีที่สุด ให้สมกับที่ได้เสียสละอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อชดเชยกับความสูญเสียให้กับครอบครัว ผมจำได้ว่ารัฐบาลเผด็จการสมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เคยไปสัญญิงสัญญาเอาไว้ว่าจะให้ความช่วยเหลือ ก็ไม่รู้ว่าได้มีการช่วยเหลือจริงหรือไม่ ผมคิดว่าคงไม่มีใครไปต่อว่าอะไรถ้ารัฐบาลจะทำการช่วยเหลือเยียวยากรณีนี้ ขนาดว่ามีการจัดสรรงบประมาณเยียวยาให้กับผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม ยังทำมาแล้ว ถ้าจะทำเรื่องนี้อีกก็ไม่เห็นจะเสียหาย เพราะพูดกันให้ถึงที่สุดแล้วต้องบอกว่าการเสียชีวิตของลุงนวมทองมีสาเหตุโดยตรงมาจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 นั่นเอง

ข้อเสนอที่กล่าวมาทั้งหมด ที่จริงแล้วไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการคืนความเป็นธรรมให้กับลุงนวมทอง (และครอบครัว) ที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีบิดเบือนมาตลอดตั้งแต่ขับรถแท็กซี่ชนรถถังใหม่ๆ จนกระทั่งตายไป เช่น หาว่าแกถูกจ้างมาบ้างล่ะ หาว่าสติไม่ดี เมา และอีกสารพัดคำดูถูกดูแคลน นักหนังสือพิมพ์ใหญ่บางคนถึงขนาดเขียนแสดงความรู้สึกขำขัน พร้อมกับดูถูกดูแคลนการพลีชีพว่าเป็นวีรชนง่ายเกินไป เป็นวีรบุรุษประชาธิปไตยง่ายไป ฯลฯ

นักประวัติศาสตร์บางคนเห็นว่าการพลีชีพของลุงนวมทองน่าจะเป็นกรณีแรกที่จงใจพลีชีพเพื่อประชาธิปไตย (ประท้วงเผด็จการ) ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีการพลีชีพที่มีลักษณะจงใจเช่นนี้มาก่อน จะมีแต่การพลีชีพด้วยเหตุผลอื่น เช่น กรณี คุณสืบ นาคะเสถียร ชาวนาผูกคอตายประท้วงรัฐบาล เป็นต้น การคืนความเป็นธรรมด้วยการเขียนประวัติศาสตร์เสียใหม่ให้ถูกต้องจึงสำคัญที่สุดเสียยิ่งกว่าการสร้างอนุสรณ์ใดๆ แม้จะไม่สามารถนำชีวิตลุงนวมทองกลับคืนมาได้ แต่ก็เปรียบได้กับการเกิดใหม่ของลุงนวมทองในหน้าประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และลุงนวมทองจะมีชีวิตอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์นี้ไปอีกนาน และผมก็ยังหวังอีกว่าจะมีการชำระประวัติศาสตร์คืนความเป็นธรรมให้กับคนและเหตุการณ์อื่นๆ ในอดีตด้วยเช่นกัน

ขอปิดท้ายเพื่อเป็นการรำลึกถึงวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของลุงนวมทองอีกครั้ง ด้วยบทกวี “เขาชื่อ...นวมทอง” ของ จิ้น กรรมาชน

นวมทองขอพลีชีพ จุดประทีปแห่งสมัย
เกิดมาเพื่อรับใช้ พิทักษ์ไว้อุดมการณ์
เชื่อมั่นต่อจุดยืน เขาลุกขึ้นอย่างกล้าหาญ
คัดค้านเผด็จการ รัฐประหารน่าชิงชัง
เป็นเพียงสามัญชน พุ่งรถยนต์ชนรถถัง
หนึ่งคนมิอาจยั้ง เกินกำลังจะประลอง
วีรชนไม่ตายเปล่า หากปลุกเร้าเราทั้งผอง
คนซื่อชื่อนวมทอง จักเรียกร้องความเป็นธรรม

และสุดท้ายของสุดท้าย ผมก็หวังเช่นเดียวกับลุงนวมทองว่า “ชาติหน้าเกิดมาคงไม่พบเจอการปฏิวัติอีก” แต่อย่างไรเสีย ชาตินี้ขอสู้ตายเพื่อประชาธิปไตยก่อนก็แล้วกัน
//////////////////////////////////
หมายเหตุ : บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของกลุ่ม