WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, October 29, 2008

ความวุ่นวายของเมืองไทยเกิดจากพวกคนแก่ที่ไม่ยอมเข้าวัดปฏิบัติธรรม: ชราธิปไตย

บทความโดย...ลูกชาวนาไทย

ผมไปอ่านบทความที่น่าสนใจบทความหนึ่งในเว็บไซต์ประชาไทย เรื่อง ว่าด้วยการปกครองแบบ ชราธิปไตย” : Gerontocracy ซึ่งเขียนโดยประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งบทความสรุปได้ว่า ปัญหาการเมืองไทยปัจจุบันนี้เกิดจาก “คนแก่” ที่ไม่ได้เคารพในแนวความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยและต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง


ผมคิดว่าวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยที่ดำเนินมากว่า 3 ปีแล้วนี้ เกิดจากภาวะคนแก่ที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง พยายามที่จะยื้อยุดฉุดกระฉากสังคมไทยให้หยุดนิ่งอยู่กับที่ เพื่อที่พรรคพวกลูกหลานของตนที่เป็นอภิสิทธิ์ชนทั้งหลายจะได้ดำรงความเป็นอภิสิทธิ์ชนของตนไว้ต่อไป

เราจะเห็นได้ว่า แกนนำของพวกที่เราเรียกว่า “อำมาตยาธิปไตย” ทั้งหลายนี้เป็น “คนแก่อายุกว่า 80 ปี แล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นมือที่มองไม่เห็น หรือแกนนำทางความคิดที่พยายามชักจูงสังคมทั้งหลาย เช่น นายแพทย์ประเวศ วะสี นายอานันท์ ปันยารชุน หรือคนอื่น คนเหล่านี้ให้สัมภาษณ์หรือชี้นำทางความคิดล้วนแต่ไม่ได้ยืนอยู่บนหลักของ “ประชาธิปไตย” แทบทั้งสิ้น




ลองดูบทสรุปรวบยอดแนวคิดทางการเมืองของ ผู้ชราเหล่านี้ ที่ อ.ประสิทธิ์ พยายามรวมรวมมาเสนอนะครับ


1. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พูดย้ำเรื่องคุณธรรม การเป็นคนดี (ทั้งๆ ที่ตนเองก็ถูกกล่าวหาหลายเรื่อง เช่น เรื่องการมีบทบาทกับโผทหาร รวมทั้งเรื่องการเมืองต่าง ๆ ทั้งที่ตนเองไม่มีตำแหน่งหน้าที่หรืออำนาจทางการเมืองแล้ว)

2.นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ที่เสนอให้คนไทยมีศีลห้า

3 นายอานันท์ ปันยารชุน ที่เห็นว่า การเลือกตั้งมิใช่เป็นสิ่งจำเป็นของระบอบประชาธิปไตย

4 นายแพทย์ประเวศ วะสี กล่าวเรื่อง อารยะประชาธิปไตยที่ดูเป็นนามธรรมเลื่อนลอย ฟุ้งอยู่ในอากาศ (แต่หลายคนคิดว่าเป็นความคิดลึกซึ้ง) รวมถึงทรรศนะคติการเมืองภาคประชาชนที่ท่านเคยกล่าวว่าเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกลายเป็นเครื่องมือที่ให้การศึกษาทางการเมืองอย่างกว้างขวาง อย่างไม่เคยมีมาก่อน คณะรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่เคยสามารถให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชนได้ถึงขนาดนี้ จริงอยู่พันธมิตรอาจจะมีผิดบ้างถูกบ้าง แต่ภาพใหญ่คือการให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง”[1] รวมถึงการสนับสนุนการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์กรณีมาตรา 7

5 อาจารย์ เสน่ห์ จามริกที่เคยกล่าวว่า รัฐประหาร 19 กันยายนเป็นสิ่งที่ไม่มีทางเลือกและอย่ามองว่ามันถอยหลัง

6 อาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ ที่วนเวียนอยู่กับการให้ความสำคัญของชนชั้นนำ (Elite) หรือพวกอภิสิทธิ์ชน (Aristocrat) ทั้งหลาย เเละเสนอว่าสมาชิกสภาผู้เเทนราษฎรไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง

7 คุณสุเมธ ตันติเวชกุล ที่มักเสนอเรื่องความดี คุณธรรม รู้รักสามัคคี หรืออะไรที่ฟังดูเชยๆ

8 คุณปราโมทย์ นาครทรรพ ที่กล่าวหลังจากมีการทำรัฐประหาร 19 กันยายนว่า เราจะต้องประกาศให้โลกเข้าใจดังต่อไปนี้ว่า[2]

1) การปฏิรูปคราวนี้มิใช่การยึดอำนาจ แต่เป็นการใช้กำลังตามความจำเป็นเพื่อป้องกันการใช้กำลังของระบอบทักษิณที่เริ่มขึ้นก่อนโดยการประกาศภาวะฉุกเฉิน เพื่อจะเคลื่อนกำลังตำรวจทหารและกองกำลังท้องถิ่นสนับสนุนรัฐบาลที่ขาดความชอบธรรม

2) การปฏิวัติต้องแปลว่า coup เพราะไม่มีคำอื่น ฝรั่งจึงเข้าใจไขว้เขวว่าเป็นการปฏิวัติเหมือนในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกาหรือประเทศโลกที่ 3 อื่นๆ แต่ของเราไม่เหมือนใคร การปฏิวัติครั้งนี้ไม่เสียเลือดแม้แต่หยดเดียว เป็นเพียงการแสดงพลังให้อีกฝ่ายยอมเสียดีๆ ซึ่งก็ได้ผล ควรจะเรียกว่า coup de grace หรือปฏิบัติการสายฟ้าแลบเพื่อพิชิตแม้วมากกว่า เป็นการแสดงบันเทิงแก่ชาวบ้าน เด็กๆ และนักท่องเที่ยวด้วยซ้ำ ไม่เชื่อก็ดูจากทีวี การปฏิบัติการสายฟ้าแลบซึ่งมิได้กระทบกระเทือนวิถีชีวิต ความเชื่อ และครรลองอื่นใดแบบประชาธิปไตยเลย….” เเละเคยกล่าวบนเวทีพันธมิตรว่า การชุมนุมของพันธมิตรเป็นสิ่งที่สวยงามนานาประเทศกล่าวชื่นชมอะไรทำนองนี้



อ.ประสิทธิ์ ได้สรุปสาระสำคัญของผู้สูงอายุดังกล่าว เอาไว้ดังนี้

(1) ไม่เชื่อในระบบเลือกตั้ง โดยเฉพาะคนต่างจังหวัดที่คนเหล่านี้เห็นว่า ไม่มีความรู้ดีพอที่จะเลือกผู้แทนเข้าไปทำงานจึงต้องมีกลุ่มบุคคลหนึ่งทำหน้าที่ตรงนี้แทน

(2) หลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงหลักความเสมอภาคของคนต่อกฎหมาย

(3) นำเรื่องศีลธรรมจรรยา หลักธรรมในพุทธศาสนามาใช้ในการเมืองไทย โดยเฉพาะความพยายามต้องการเห็นนักการเมืองเป็นคนดี มีศีลธรรม มีคุณธรรม (ข้อเสนอนี้มักจะมีการใช้ถ้อยคำหรือหลักการให้ฟังแล้วดูดี แต่เป็นนามธรรมมากไปจนขาดแผนปฎิบัติการที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมว่าจะทำอย่างไรจึงจะไปสู่เป้าหมายที่ทำให้นักการเมืองเป็นคนดีมีคุณธรรมได้)

(4) มีแนวคิดยึดติดกับ ตัวบุคคลมากกว่าการสร้างระบบหรือองค์กร

(5) คิดว่าประเทศไทยมีลักษณะพิเศษแปลกกว่าประเทศอื่นๆ เป็นประเทศที่มีความสุขสงบแล้วจึงไม่ต้องเลียนแบบหรือเดินตามประเทศอื่นๆ (ดังสะท้อนให้เห็นจากในทางการเมืองได้ปฎิเสธแนวคิดประชาธิปไตยแบบตะวันตกหรือในทางเศรษฐกิจได้ปฎิเสธทุนนิยมหรือโลกาภิวัฒน์ โดยโน้มน้าวให้ประชาชนเห็นว่า ประเทศไทยไม่เหมือนใครในโลก ไทยจึงควรมีระบอบการปกครองเป็นของตนเอง โดยปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมไทยๆ โดยลืมบอกกับประชาชนไทยว่า ระบบที่ตนเองเสนอนั้นมีผลทำให้ระบบชนชั้นอำมาตยดำรงอยู่ต่อไป)

(6) ส่งเสริมหรือเห็นว่าพระราชอำนาจอำนาจของสถาบันว่า เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเมืองไทย และ

(7) ลึกๆ ผู้สูงวัยเหล่านี้โหยหารัฐประหาร หากการเมืองยุ่งยากจริงๆ ก็พร้อมที่จะเห็นด้วยกับการทำ รัฐประหารเพื่อเป็นทางออก[3]


ผมเองเห็นด้วยกับข้อสรุปของ อ.ประสิทธิ์แทบทั้งหมดทีเดียว ถือว่าสรุปได้ชัดเจน และชี้ให้ชัดถึงต้นตอรากเหง้าของแนวความคิดของพวก “แกนนำ” กลุ่มอำมาตยาธิปไตย” โดยแท้


สำหรับผมแล้ว กลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย ที่ยึดทำเนียบรัฐบาลอยู่ โดยไม่เกรงกลัวกฎหมายใดๆ หรือใครก็ตามในประเทศนี้ เป็นเพียง “ตัวแทน” หรือตัวหลอกของกลุ่มอำมาตยาธิปไตย หรือพวกผู้ชราเหล่านี้ทั้งสิ้น แนวคิดการเมืองใหม่คือ ระบอบ 70/30 นั้น สอดคล้องกันได้อย่างลงตัวกับแนวคิดของผู้ชราภาพที่ อ.ประสิทธิ์สรุปมาได้อย่างดีเลยทีเดียว คือ คนพวกนี้ไม่เชื่อมั่นระบบเลือกตั้ง ไม่เชื่อมันคนชั้นล่าง ไม่คิดว่าคนมีความเท่าเทียมกัน คิดว่า “สังคม” ต้องมีผู้มีบุญญาบารมีมาปกครอง ซึ่งเป็นแนวความคิดเก่า ๆ สมัยราชาธิปไตยนั่นเอง


คนไทยรุ่นเราที่เป็นคนยุคใหม่จำนวนมาก ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับผู้ชราเหล่านี้เหมือนกัน เพราะค่านิยมหลักของเราคือ ต้องเคารพคนแก่ ซึ่งมันอาจได้ผลในสังคมเกษตรกรรม ที่สภาพสังคมหยุดนิ่ง การเรียนรู้ถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ของคนสู่คน ซึ่งสังคมแบบนั้นใครอยู่นานกว่าคนนั้นก็มีความรู้มากกว่า แต่สังคมยุคใหม่ ที่มาของความรู้ ประสบการณ์ไมได้ขึ้นกับอายุ แต่ขึ้นกับการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ เช่น อินเตอร์เนต เป็นต้น ซึ่งผมเชื่ออย่างยิ่งว่า คนชราที่มีชื่อข้างต้น ไม่สามารถเรียนรู้หรือแม้แต่เปิดคอมพิวเตอร์เป็น

ตอนนี้ เราก็ได้แต่หวังว่าเมื่อ “คุณปู่หรือคนชราเหล่านี้” จะถึงแก่อายุขัย และตายไป เมื่อนั้นบ้านเมืองก็จะสงบ และการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยก็จะเกิดขึ้น

พวกผู้ชราเหล่านี้แทนที่จะเข้าวัด ปฏิบัติธรรม เพื่อให้ตัวเองหลุดพ้น กลับข้องแวะอยู่กับ “โลกของลูกหลาน” จนวุ่นวายไปหมด ผมหวังว่า เมื่อสิ้นบุญคุณปู่เหล่านี้ บ้านเมืองจะได้สงบสุขเสียที

อ้างอิงจาก : http://www.prachatai.com/05web/th/home/14260



จาก thaifreenews