WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 31, 2008

‘บาฮามาส’ยก'ทักษิณ'เป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์

รัฐบาลบาฮามาส ออกโรงจี้รัฐบาลอังกฤษไม่ควรส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณกลับไทยในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน มั่นใจรัฐบาลจะดูแลทำทุกวิถีทางที่จะปกป้องพลเมืองชั้นดีของบาฮามาส

สถานีโทรทัศน์ ZNS Bahamas ของรัฐบาลบาฮามาส รายงานข่าวโดยระบุว่า นาย ฮิวเบิร์ท อเล็กซานเดอร์ อิงแกรห์ม วัย 61 ปี นายกรัฐมนตรีของบาฮามาส ได้สั่งการให้ นาย ธีโอดอร์ เบรนท์ ซิมโมเน็ทท์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมาย และการเมืองอังกฤษเป็นอย่างดี ให้เตรียมหาช่องทางในการให้ความช่วยเหลือต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย หากถูกทางการอังกฤษตัดสินให้ส่งตัวกลับประเทศไทย ในฐานะของผู้ร้ายข้ามแดน

ทั้งนี้ในรายงาน ระบุว่า นาย อิงแกรห์ม ยืนยันว่า รัฐบาลบาฮามาสจะทำทุกวิถีทาง เพื่อปกป้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งมีสถานะเป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ของบาฮามาส อย่างถึงที่สุด เพราะถือว่าอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เปรียบเสมือนเป็นชาวบาฮามาสไปแล้ว แม้ว่าจะไม่ใช่ชาวบาฮามาส โดยกำเนิดก็ตาม ในเมื่อ ดร. ทักษิณ เป็นพลเมืองบาฮามาส เราก็มีหน้าที่ในการปกป้องพลเมืองของเราอย่างถึงที่สุดและทางอังกฤษไม่มีสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่จะส่งตัวบุคคลที่มีสถานะเป็นพลเมืองบาฮามาสของเรา ไปรับโทษในประเทศอื่น

ก่อนหน้านี้นายเคน แฮรรีย์ คลาร์ก วัย 68 ปี อดีตนายกรัฐมนตรีมหาดไทยของอังกฆษ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างเดือนเมษายนปี 1992-พฤษภาคมปี 1993 ในสมัยของอดีตนายกรัฐมนตรี นายจอห์น์ เมเจอร์ จากพรรคอนุรักษ์นิยม(Conservative Party) ออกมาให้ความเห็นต่อการที่ฝ่ายตุลาการของไทย กำลังมีความพยายามที่จะนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยกลับไปดำเนินคดีในประเทศ ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน ว่า ผู้เกี่ยวข้องของฝ่ายไทย จะต้องพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนก่อนว่า การนำตัวอดีนนายกฯของไทย กลับไปดำเนินคดีในครั้งนี้ไม่ได้มีปัจจัยทางการเมืองซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่อยู่เบื้องหลัง

ทั้งนี้ยังต้องแสดงให้เห้นว่า กระบวนการยุติธรรมของไทย มีมาตรฐานดีเพียงพอ ที่จะให้ความเป็นธรรมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยไม่ถูกชี้นำจากฝ่ายใด หรือสถาบันใด ซึ่งหากไทยไม่สามารถสร้างความกระจาย ในเงื่อนไขทั้ง 2 ประการ ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้ตัวอดีตนายกฯของไทยกลับไปดำเนินคดีในประเทศ