ที่มา ประชาทรรศน์
ศิษย์เก่า"ลูกแม่โดม-นิด้า"สุดทนอธิการบดีจิตใจฝักใฝ่เผด็จการ ร่อนแถลงการณ์วางพวงหรีดขับไล่ "สุรพล-สมบัติ" พ้นเก้าอี้ หลัง"สมคบคิดพันธมารฯ ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย-หนุนกองทัพกดดันรัฐบาลเลือกตั้ง" ประกาศหากยังหนาไม่ไขก็อก เตรียมส่งมอบคืนปริญญาประท้วง
หลังจากที่ ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาธรรมศาสตร์ มีทัศนคติฝักใฝ่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ทำการยึดทำเนียบรัฐบาล สนามบินสุวรรณภูมิ และ ท่าอากาศยานดอนเมือง ทำให้ประเทศชาติเสียหายนับแสนล้านบาท และล่าสุดได้ออกมาแนะนำให้ผู้นำเหล่าทัพออกมากดดันรัฐบาลจากการเลือกตั้งให้ยุบสภา
ล่าสุด วันนี้ (1 ะ.ค.) ประชาคมและลูกศิษย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับนิด้าได้ออกมาประณามอธิการบดีทั้ง 2 สถาบันอย่างรุนแรงทั้งการวางหรีดดำไว้อาลัย และเรียกร้องให้มีมโนสำนึกลาออก ทั้งนี้ ชมรมศิษย์เก่านิด้าประชาธิปไตย ออกแถลงการณ์ว่า ตามที่ ศ.ดร.สมบัติ มีพฤติการณ์ที่เกื้อหนุนเผด็จการ ต่อต้านประชาธิปไตยมาโดยตลอด ล่าสุดได้สมคบคิดเสี้ยมสอนศิษย์เก่าอย่าง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)ให้หลงทางไปอย่างผิดๆในเรื่องของหลักประชาธิปไตย ให้ท้ายกลุ่มพันธมิตรฯ แล้วกดดันนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ศิษย์เก่าอีกรายให้พ้นตำแหน่ง ทั้งที่ นายสมชายมาตามระบอบประชาธิปไตย และพยายามปกป้องประชาธิปไตยไว้อย่างถึงที่สุด
อธิการบดีนิด้า ได้ทำตนเป็นพวกปากคาบคัมภีร์ ตอนที่สอนนักศึกษาในห้องเรียน และออกข้อสอบก็เน้นย้ำ เรื่องหลักประชาธิปไตยว่าต้องประกอบด้วยหลักการต่อไปนี้ แต่ตอนนี้ก็ทำตรงข้ามทุกข้อ อาทิ หลัก*People sovereignty -อธิปไตยของปวงชน แต่ตอนนี้ศ.ดร.สมบัติไปยกให้เป็นของกลุ่มพันธมิตรฯ ทรราชเสียงข้างน้อย หลัก *Liberty-หลักเสรีภาพ ตอนนี้มีเสรีภาพเฉพาะกลุ่มพันธมิตรฯ และให้ละเมิดเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และชาวต่างชาติอย่างไร้ยางอาย
หลัก *Equity-หลักเสมอภาค ตอนนี้กลุ่มพันธมิตรฯ กลับมีความเสมอภาคกว่าคนอื่นในสังคมแล้ว หลัก *Rule of law-หลักนิติรัฐนิติธรรม ตอนนี้บ้านเมืองไร้ขื่อแปแล้ว แต่ ศ.ดร.สมบัติก็ยังถือหางอย่างน่าเกลียด หลัก *Majority rule&Minority rights-เคารพเสียงข้างมากไม่ละเมิดเสียงข้างน้อย อันนี้ผิดมหันต์ เพราะ ศ.ดร.สมบัติไปหนุนทรราชย์เสียงข้างน้อยมีการกระทำเผด็จการฟาสซิสต์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และชาวต่างชาติที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ใดๆ
เราในนามของชมรมศิษย์เก่านิด้าประชาธิปไตย จึงขอเรียกร้องต่อศ.ดร.สมบัติดังต่อไปนี้ 1.เพื่อไม่ให้เกียรติภูมิของนิด้าต้องแปดเปื้อนไปกว่านี้ ศ.ดร.สมบัติต้องลาออกจากอธิการบดีนิด้า และหรือกล่าวคำขอขมาสำนึกผิดต่อนิด้า และดวงวิญญาณของวีรชนจิระ บุญมากด้วย 2.หาก ศ.ดร.สมบัติไม่ยอมลาออก และหน้าด้านหน้าทนใช้ชื่อเสียงเกรียรติภูมิของนิด้าไปในทางมิชอบอีกต่อไป ชมรมฯจะขอนำใบปริญญาไปคืนให้นิด้า ที่หน้าหอประชุมจิระ บุญมาก พร้อมนำพวงหรีดอัปยศไปให้อธิการบดีนิด้า ทั้งนี้ ขอเรียกร้องให้ศิษย์เก่านิด้าที่รักชาติ รักประชาธิปไตย ได้ร่วมกันกดดันอย่างเข้มข้นเพื่อทวงศักดิ์ศรีเกียรติภูมิสถาบันกลับคืนมาโดยเร็ว โดยท่านสามารถแจ้งข่าวความไม่พอใจต่อบทบาทนี้ไปยังศ.ดร.สมบัติได้ที่ sombat@nida.ac.th
'สุรพล'เนียนอ้างนั่งสนช.เพื่อแก้วิฤตชาติ
ด้านศ.ดร.สุรพล นิไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวชี้แจงกับตัวแทนกลุ่มประชาคมธรรมศาสตร์ คัดค้านอำนาจนอกระบบ ที่เดิทางมามอบพวงหรีด และยืนแถลงการณ์ไว้อาลัยความคิดทางการเมืองของตน โดยระบุว่าการที่คณะกรรมการติดตามสถานการณ์ร่วม (คตร.) โดยมีพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดาเป็นประธานทำการเชิญตนไปเข้าประชุมนั้นเป็นเพียงการเชิญตนไปในฐานะของนักวิชาการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขวิกฤตของประเทศเท่านั้น ซึ่งตนก็ได้ทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติ เกิดความสงบสุข ทั้งนี้ตนขอปฏิเสธกรณีที่มีการกล่าวหาว่าตนทำการเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีพระราชทานตามมาตรา 7 และตนก็ไม่เคยเห็นด้วยกับการรัฐประหารปี 2549 และการที่ต้องรับตำแหน่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นั้นเป็นเพราะต้องการหาทางออกให้กับประเทศชาติเท่านั้น
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มประชาคมธรรมศาสตร์ คัดค้านอำนาจนอกระบบ นำโดยนายรักนิรันดร์ ชูสกุล นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ปี 3 ม.ธรรมศาสตร์ พร้อมนักศึกษาจำนวนกว่า 50 คนได้ออกแถลงการณ์เรื่อง ขอไว้อาลัยแต่ความคิดทางการเมืองของอะการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีใจความสรุปว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานายสุรพลมีพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองที่ถูกตั้งข้อสงสัยจากสังคมโดยกว้างถึงความยึดมั่นในอุดมการณ์ระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าร่วมประชุมกับคตร. และเห็นพ้องให้ทหารพยายามใช้รัฐประหารเงียบเพื่อกดดันรัฐบาลให้ยุบสภา ทั้งที่ความวุ่นวานเกิดจากกลุ่มพันธมิตรฯ
ดังนั้นทางกลุ่มจึงเล็งเห็นว่าอธิการบดีคนปัจจุบันไม่ได้ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยแต่หากมีฤติกรรมที่น่าสงสัยได้ว่านิยมชมชอบอำนาจนอกระบบ ขัดต่อวัตถุประสงค์การก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งการไว้อาลัยครั้งนี้ชี้ว่าเป็นการหมดศรัทธาในตัวอธิการบดีคนปัจจุบัน อย่างไรก็ตามทางกลุ่มยังมั่งหวังให้อธิการบดีครปุจจุบันทบทวนการนำเสนอความคิดเห็นทางการเมืองของตนเองในที่สาธารณะ โดยตระหนักถึงสถานภาพการเป็นอธิการบดี เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงมายังสถาบัน และเป็นการซ้ำเติมสังคมการเมือง