WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, December 9, 2008

จุดยืนของขบวนการประชาธิปไตย

ที่มา ประชาทรรศน์

คอลัมน์ : สิทธิประชาชน

โดย จรัล ดิษฐาอภิชัย


นับตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย และตัดสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารทั้งสามพรรค โดยเฉพาะ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จึงทำให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีของท่านสิ้นสุดลง และกำลังมีการช่วงชิงจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งมีข่าวคราวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนนี้ กลุ่มนั้นจากพรรคพลังประชาชน กลุ่มโน้นจากพรรคร่วมรัฐบาลเดิมไปร่วมตั้งรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ บรรดาผู้รักประชาธิปไตยที่เข้าร่วมการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาตั้งแต่การต่อต้านรัฐประหาร มาจนถึงการปกป้องรัฐบาลประชาธิปไตยจำนวนไม่น้อยรู้สึกไม่พอใจ ผิดหวังกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองดังกล่าว ผมเห็นใจและเข้าใจ แต่ใคร่ขอแสดงความคิดเห็น ทรรศนะและท่าทีต่อสถานการณ์นี้สองสามประการ

ก่อนอื่น คงต้องตอกย้ำอีกครั้งว่า การสั่งยุบพรรคการเมือง 3 พรรคของศาลรัฐธรรมนูญมิใช่เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม หากเป็นรัฐประหารโดยตุลาการ (judicial coup) ซึ่งผมเคยเขียนในคอลัมน์นี้มาหลายครั้งแล้ว รัฐประหารแบบนี้เคยทำกับรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช ผมคาดว่าต่อไปจะเกิดขึ้นอีก จึงขอให้ติดตาม ศึกษา ค้นคว้าลักษณะและสภาพของรัฐประหารโดยตุลาการ เพื่อจะได้คัดค้าน ต่อต้านอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ด้วยรัฐประหารดังกล่าวไม่ค่อยเกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว การคัดค้าน ต่อต้าน จะยากลำบากค่อนข้างมาก เพราะสังคมโดยทั่วไปมักเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ ความถูกต้องของกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม

ต่อมา การจัดตั้งรัฐบาล เป็นไปสิทธิ อำนาจ และหน้าที่ของพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามกระบวนการประชาธิปไตยรัฐสภา แต่ประชาชนย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น วิพาษ์วิจารณ์การจัดตั้งรัฐบาล เช่น บุคคลใดควรเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี รัฐบาลควรมีนโยบายอะไร ยิ่งสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ยังเป็นวิกฤติที่หนักหน่วงรุนแรง ประชาชนผู้รักชาติรักประชาธิปไตยยิ่งต้องเสนอความคิดเห็นต่อการจัดตั้งรัฐบาลให้มากยิ่งขึ้น กล่าวเฉพาะการเมือง สถานการณ์ขณะนี้ยังเป็นการต่อเนื่องของความขัดแย้งและการต่อสู้ทางความคิดทางการเมืองระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยและอำมาตยาธิปไตย ซึ่งฝ่ายหลังยังคงมีชัย สามารถยุบพรรครัฐบาล 3 พรรค ล้มรัฐบาลประชาธิปไตย 2 ชุดได้ และกำลังแทรกแซงการจัดตั้งรัฐบาลทั้งลับและเปิดเผย จุดยืนของขบวนการประชาธิปไตยจะต้องต่อต้านอำมาตยาธิปไตยทุกกลุ่มทุกระดับให้มากขึ้น แล้วหากรัฐบาลใหม่แม้จะมาจากพรรคการเมืองซึ่งมีที่นั่งในสภาและนายกรัฐมนตรีมาจากการคัดเลือกของสภาผู้แทนราษฎรมีโฉมหน้าและนโยบายโน้มเอียงไปทางอำมาตยาธิปไตย ขบวนการประชาธิปไตยจะต้องวิพากษ์วิจารณ์ กระทั่งคัดค้าน ต่อต้าน และประท้วง

สุดท้าย ขอตอกย้ำจุดยืนของนักประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเคยต่อสู้มายาวนานหรือช่วงหลังรัฐประหาร 19 กันยายน จุดยืนพื้นฐานของเรา คือ การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อให้มีระบอบ หลักการและกระบวนการประชาธิปไตยที่แท้จริง มิใช่ต่อสู้เพื่อบุคคล กลุ่มนักการเมืองใด และพรรคการเมืองใด เฉพาะหน้า คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ที่ได้ทำกันมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 โดยเผยแพร่ความคิดเห็น และรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจำนวนกว่า 7 หมื่นคน จนเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ของคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 255) ต่อรัฐสภาเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม แต่เนื่องจากถูกต่อต้านจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกวุฒิสภาสรรหา และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี 2 ครั้ง รัฐสภาจึงยังมิได้พิจารณา ฉะนั้น ไม่ว่าพรรคใดมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลและผู้ใดเป็นนายกรัฐมนตรี ขบวนการประชาธิปไตยโดยเฉพาะ “พลังสีแดง” จะต้องเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนโยบายทางการเมืองประการหนึ่ง หากรัฐบาลใหม่ไม่มีนโยบายนี้ ขบวนการประชาธิปไตยจะต้องเคลื่อนไหวเรียกร้องและผลักดันรัฐสภาให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมาพิจารณา แล้วเราจะต้องถือว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ เป็นชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ของขบวนการประชาธิปไตย

นอกจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 แล้ว ขบวนการประชาธิปไตยยังมีจุดยืนเพื่อต่อต้านรัฐประหาร ประการหลังนี้ถือว่าสำเร็จ เพราะจนขณะนี้กลุ่มนายทหารที่จะทำรัฐประหารยังไม่กล้า

นี่คือ จุดยืนที่คงเส้นคงวาของขบวนการประชาธิปไตย อย่าหวั่นไหวกับการเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองและนักการเมืองใดเลย