WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 12, 2008

นักวิชาการเรียงหน้าวิพากษ์พลิกขั้วแก้ปัญหาแค่ชั่วคราว

ที่มา ประชาทรรศน์

“นักวิชาการ” เรียงหน้าออกมาวิพากษ์การจับขั้วการเมืองใหม่เพื่อผ่าทางตันการเมืองไทย โดยยังไม่เชื่อว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์จะทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบได้ และคิดว่าจะเป็นการแก้ปัญหาได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น แนะให้มองปัญหาพื้นฐานของบ้านเมือง มากกว่ามองว่าขั้วไหนจะได้เป็นรัฐบาล เพราะไม่อย่างนั้นคงทะเลาะกันไม่เลิก ด้าน “หมอประเวศ” กลับลำค้านรัฐบาลแห่งชาติ

การพลิกขั้วทางการเมืองยังเป็นที่จับตาและมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง โดยในส่วนของนักวิชาการก็ได้มีการแสดงความคิดความเห็นเอาไว้อย่างหลากหลาย

ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ มองว่า แม้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลบ้านเมืองก็จะไม่สงบอยู่ดี สาเหตุเชิงลึกคือการเมืองไทยปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ ส่วนความขัดแย้งในสังคมจากเสื้อแดงและเสื้อเหลืองตีกัน เป็นแค่ปรากฏการณ์ ตราบใดที่การเมืองไทยยังไม่สามารถหาสูตรที่ทำให้ระบบการเมืองรองรับความหลากหลายในสังคมได้ ก็ไม่เกี่ยวกับว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคเพื่อไทยที่ได้เป็นรัฐบาล

“ไม่ว่า 2 พรรคนี้ใครเป็นรัฐบาลบ้านเมืองก็ไม่สงบ เพราะระบบการเมืองยังปรับตัวไม่ทัน การเมืองทุกวันนี้ยังไม่ใช่การเมืองที่ตอบสนองความเปลี่ยนแปลง สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจไทยได้สะท้อนออกมาในระบบการเมืองในแบบที่คนกรุงเทพฯหรือคนในเมืองไม่เคยเจอมาก่อน กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงพยายามเสนอสูตรการเมืองแบบ 70:30 ก็มาจากการที่ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯเริ่มรู้สึกว่าหมดอำนาจในการกำกับรัฐบาล จึงต้องขอโควตาเพื่อดันคนของตัวเองเข้าไปนั่งในสภา” นายนิธิ กล่าว

รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กล่าวว่า การเมืองในช่วงต่อไปภายใต้การบริหารโดยพรรคประชาธิปัตย์ จะเป็นการเมืองที่มีราคาแพงที่สุด เพราะเปลี่ยนแค่คนที่จ่ายเงิน และเปลี่ยนกลุ่มที่จ่ายเงิน จึงเป็นการเมืองที่มีราคา

"ผมเห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองที่มีแนวคิดนำตัวละครที่เป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เพราะถ้าแก้ปัญหาด้วยระบบรัฐสภาไม่ได้ ก็ต้องจับคู่ขัดแย้งทางการเมืองมาเจรจากัน ซึ่งที่ผ่านมารัฐธรรมนูญไทยมีความก้าวหน้ามาเป็นระยะๆ ยกเว้นฉบับปี 2550 และการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.49 สิ่งที่จะทำให้สังคมไทยสงบราบคาบได้คือไข้หวัดนกเท่านั้น"

ขณะที่ รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การเมืองที่เปลี่ยนขั้วโดยพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล เป็นแค่การเมืองชั่วคราว แม้ประชาธิปัตย์จะได้เป็นรัฐบาลก็แก้ปัญหาของประเทศไม่ได้

ด้านรศ.สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า โจทย์ในสังคมขณะนี้ดูจะยังเหมือนเดิม คือยังอารมณ์ค้าง ยึดกระแสตัวบุคคลมากกว่าสาระที่แท้จริงของประเทศชาติ จึงอยากชวนให้สังคมมองไปข้างหน้า ให้หลุดจากอารมณ์ค้างเก่าๆ ไปสู่ปัญหาพื้นฐานของบ้านเมือง ซึ่งน่าจะสำคัญกว่าประเด็นที่ว่าขั้วไหนจะได้เป็นรัฐบาล เพราะถ้ายังมีอารมณ์แบบนี้กันอยู่ สุดท้ายก็หนีไม่พ้นต้องทะเลาะกัน

"เราจะไม่ได้อะไรเลย ถ้าเราสาละวนกันอยู่แต่เรื่องเดิมๆ สุดท้ายก็ไม่มีแรงไปตรวจสอบรัฐบาลใหม่ เขากำลังแย่งชิงอำนาจกัน ปรากฏการณ์แบบนี้ไม่เป็นผลดีทั้งตอนนี้และขั้นต่อไป โจทย์ของบ้านเมืองควรเป็นโจทย์เชิงเนื้อหาสาระ จะได้มีพื้นที่ของการก้าวไปข้างหน้าบ้าง ไม่อย่างนั้นที่เหนื่อยยากกันหลายเดือนก็เหนื่อยเปล่าและไร้ความหมาย"

รศ.สุริชัย กล่าวต่อว่า อยากให้สังคมคิดในโจทย์เนื้อหา ไม่ใช่แค่ขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาปากท้อง แต่ต้องเรียกร้องมากกว่านั้น เช่น ต้องไม่รังแกคนชายขอบด้วย

"สังคมต้องไม่ขอแค่ให้ได้ทีมเศรษฐกิจเฉยๆ เพราะถ้าได้บ้าๆ บอๆ ก็ไปรังแกชาวบ้านอีก เราต้องมีวาระเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง อารมณ์ของสังคมน่าจะก้าวไปข้างหน้า ส่วนที่เหลือเป็นโจทย์ประกอบ ใจคอจะได้เย็นลงหน่อย แน่นอนว่ามีพวกเอาเงินทุ่ม โทร.สายตรงถึงกลุ่มโน้นกลุ่มนี้เพื่อดูดไปดูดกลับ แต่วิธีเช่นนี้ควรปล่อยให้เป็นอดีตของประเทศไทยได้แล้ว ไม่อย่างนั้นประเทศพังหมด"
รศ.สุริชัย เสนอว่า โจทย์ในแง่เนื้อหาที่สังคมต้องช่วยกันคิดมีอยู่ 3 ระดับ คือ

โจทย์ในเวทีโลก คนไทยต้องขยับทั้งขบวน เช่น ไทยอาจจะไม่ได้จัดประชุมอาเซียนแล้ว จะแก้อย่างไร อย่ามองแค่แพ้ชนะกันในทางการเมือง เพราะแพ้ก็แพ้ไม่กี่เดือน หรือชนะก็ชนะไม่กี่เดือน ต้องสร้างเงื่อนไขเพื่อตกลงกันให้ได้

โจทย์ระดับชาติ เช่น เรื่องการเมืองใหม่ เนื้อหาคืออะไร ไม่ใช่นิยามฝ่ายเดียว หรือการจะแก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ ตรงนี้ต้องตกลงกันให้ได้ ไม่ใช่ผลักไปยืนกันคนละด้าน แล้วเล่นกันคนละขั้วเหมือนที่ผ่านมา

โจทย์แท้ๆ ของสังคมไทย คือเรื่องความเป็นธรรม ความอยุติธรรมในการพัฒนา ที่ผ่านมาตายกันไปกว่า 2 พันศพ กระบวนการสอบสวนค้นหาความจริงได้หรือไม่ หรือปัญหาภาคใต้ ตอนนี้ไม่มีใครสนใจ เด็กรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นมาไม่มีทางเลือกว่าจะเข้าข้างโจรดี หรือนั่งเซ็งอยู่กับบ้านดี ถ้าจะให้พ้นภัยต้องให้พ่อกู้เงินมาเรียนกรุงเทพฯหรือเปล่า

"โจทย์ประเภทนี้อยู่ชายขอบ เป็นเรื่องของคนทุกข์ยากอย่างแท้จริง เป็นโจทย์เรื่องความเป็นธรรมที่หายไปนาน เพราะเราสาละวนกันแต่ปัญหาระดับชาติอย่างอึกทึกครึกโครม"

ด้าย นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวถึง สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ที่อยู่ในช่วงการแข่งขันจัดตั้งรัฐบาลระหว่างพรรคเพื่อไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ ว่า ไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามาเป็นรัฐบาล นายกรัฐมนตรีจะต้องไม่เป็นนอมินีของใคร ส่วนปัญหาความแตกแยกของคนไทยเชื่อว่าจะแก้ไขได้ เพราะเป็นเรื่องไม่ยากที่ประชาชนจะกลับมาคืนดีกัน โดยมีบทเรียนความเจ็บปวดทางสังคมเป็นตัวเชื่อมประสานให้กลับมาคืนดีกัน ซึ่งสังคมก็จะช่วยกำกับไม่ให้เกิดความรุนแรงด้วย

ทั้งนี้ นพ.ประเวศ ยังย้ำว่าการฟื้นฟูประเทศนั้นประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมไม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว นอกจากนี้ น.พ.ประเวศ ยังกล่าวถึงรัฐบาลแห่งชาติว่าการใช้กลไกนอกสภาในขณะนี้เป็นเรื่องยากควรใช้กลไกในหลักรัฐสภาร่วมกันคิดหาทางออกให้ดีที่สุด ทั้งนี้ย้ำว่านักการเมืองจะต้องมีอิสระไม่ต้องขึ้นกับพรรคการเมืองใดซึ่งจะเป็นไปตามประชาธิปไตยอย่างแท้จริง