WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, December 9, 2008

ชัยชนะของพันธมิตรฯ บนค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึง

ที่มา ประชาทรรศน์

คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

โดย ศรัทธา สารัตถะ
ที่มา : ประชาไท


สื่อ โดยเฉพาะพวกอ้างว่าเป็นสื่อสาธารณะ ที่ชอบเปิดพื้นที่ให้นักวิชาการ ราษฎรอาวุโส ส.ว. ลากตั้ง รวมถึงโจรปล้นชาติทั้งหลายแก้ตัว ว่าการยึดสนามบินสุวรรณภูมิของกลุ่มพันธมิตรฯ “เป็นเรื่องไม่เหมาะสม แต่ก็น่าเห็นใจ” เพราะทำเพื่อประโยชน์ของชาติ ควรหุบปากได้แล้ว!!

ความจริงแล้ว ท่านที่อ้างว่ารักชาติทั้งหลาย ควรจะเสนอให้มีการศึกษาผลกระทบของการยึดสนามบินทั้งสองแห่งทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม และเพื่อหาข้อยุติให้กับขอบเขตที่เหมาะสมในการใช้สิทธิชุมนุม น่าจะเป็นประโยชน์กว่าการยึดสนามบินนานาชาติเปรียบเสมือนการปิดประเทศ จึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ที่พูดแบบมักง่ายว่า “คืนให้แล้ว ก็แล้วกันไป” อย่างที่ท่านผู้ทรงเกียรติทั้งหลายกำลังแถในเวลานี้

สนามบินนานาชาติอย่างสุวรรณภูมิเป็นพื้นที่พิเศษ เพราะเป็น hybrid space ซึ่งผู้คน ทุน สินค้า บริการ ความรู้ ความคิด วัฒนธรรมและสัญลักษณ์จากที่ต่างๆ ทั่วโลกเดินทางมาพบปะและแลกเปลี่ยนกัน สนามบินนานาชาติจึงเป็นประตูเชื่อมต่อประเทศหนึ่งๆ กับอีกภูมิภาคหนึ่ง ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม เพราะเหตุนี้ประเทศต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สนามบิน เพราะรู้ดีว่าการมีสนามบินที่ดี มีระบบการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มีความมั่นคงปลอดภัย จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประเทศ ความเชื่อมั่นไว้วางใจเป็นพื้นฐานสำคัญของการแลกเปลี่ยน การค้า และการลงทุน

จริงอยู่ที่ว่าในทางกายภาพ สนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิตั้งอยู่บนแผ่นดินไทย ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่า การปิดหรือเปิดสนามบินขึ้นอยู่กับอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนไทยเท่านั้น ดังที่กลุ่มพันธมิตรฯ เมื่อครั้งที่ปิดสนามบินในภาคใต้เคยอ้างว่า การปิดสนามบินนานาชาติภูเก็ตและหาดใหญ่เป็นการใช้สิทธิในฐานะพลเมืองเพื่อประท้วงรัฐบาล ความคิดดังกล่าวมองข้ามความจริงว่า สนามบินเป็น hybrid space เป็นพื้นที่ทับซ้อนของอำนาจหลายระดับ ซึ่งอยู่เหนืออำนาจการควบคุมของอำนาจในรัฐไทย

การชุมนุมของพันธมิตรฯ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากชุมนุมประท้วงของภาคประชาชนที่ผ่านมา เพราะก้าวข้ามหลักการอันชอบธรรม 3 ประการ ได้แก่ การใช้สิทธิตามจารีตประเพณี การใช้สิทธิตามกฎหมาย และการใช้สิทธิตามข้อตกลงร่วมของสังคม การประท้วงของกลุ่มพันธมิตรฯ หลายครั้งละเมิดสิทธิของคนอื่นโดยตรงและโดยอ้อม แต่สังคมส่วนใหญ่กลับเพิกเฉย เพราะเกรงอิทธิพลที่หนุนหลังพันธมิตรฯ หรืออาจเป็นเพราะความไม่ชัดเจนระหว่างการใช้สิทธิในฐานะพลเมืองกับการปฏิบัติตามกฎหมาย คนในสังคมบางกลุ่มถึงกับให้ท้ายการกระทำของพันธมิตรฯ อย่างไม่แยกแยะ ปฏิกิริยาของสังคมจึงมีส่วนรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำของพันธมิตรฯ

การที่แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ย่ามใจประกาศทำสงครามม้วนเดียวจบด้วยการยึดสนามบินเป็นตัวประกันนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจนอกระบบ และคำขู่เรื่อง “อย่าใช้ความรุนแรง” ที่เปล่งเสียงประสานจากบรรดาหางเครื่องพันธมิตรฯ อย่างไรก็ดี การปิดสนามบินสองแห่ง พร้อมกับยึดเครื่องบินและผู้โดยสารในสนามบินเป็นตัวประกัน เท่ากับปิดกั้นสิทธิในการเดินทาง และละเมิดสิทธิของผู้โดยสารที่ตกค้างทั้งในและต่างประเทศนับแสนคน การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายการก่อการร้ายสากลอย่างยากจะปฏิเสธ

ความต้องการเพียงชัยชนะอันรวบรัดตัดตอน สร้างผลกระทบที่คาดไม่ถึงให้แก่สังคมโดยรวม ความเสียหายที่เกิดขึ้นทันที คือประเทศไทยสูญเสียรายได้กว่าแสนล้านบาท โดยจำนวนผู้ได้รับผลกระทบจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในระยะยาว เมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการส่งออกได้รับผลกระทบ ยังไม่รวมถึงการสูญเสียความเชื่อมั่นในสายตาชาวโลก จากการที่ไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่อันตรายลำดับ 7 ของโลก

แม้พันธมิตรฯ ประกาศชัยชนะในช่วงแรกที่ยุติการปิดสนามบิน แต่ในเวลาต่อมา เมื่อมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์สูง สุริยะใส กตะศิลา แก้ข้อกล่าวหาว่า “ในช่วงเจ้าหน้าที่การท่าอากาศยานฯ ที่เข้ามาเจรจากับพันธมิตรฯ เพื่อเปิดสนามบินก็รับทราบและยืนยันว่า จะไม่มีการดำเนินคดีเรื่องนี้ถ้าเสียหายจริงก็คงไม่สามารถเปิดสนามบินทั้ง 2 แห่งได้รวดเร็วขนาดนี้ การเตรียมฟ้องเรียกค่าเสียหายจากพันธมิตรฯ หลายหมื่นล้านบาทจากบอร์ดการบินไทย และบอร์ดการท่าฯ จึงเป็นการผิดสัจจะวาจา…ทำให้คุณค่าของการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไม่ได้รับความน่าเชื่อถือจากทั้งสององค์กร ถ้ามีความขัดแย้งในรอบหน้า อาจทำให้การเจรจาเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมืองไม่มีความหมายอีกต่อไป”

ทั้งที่แกนนำพันธมิตรฯ ยืนยันว่าการยึดสนามบินหนึ่งสัปดาห์สร้างความเสียหายไม่มาก ทว่าปฏิกิริยาของสังคมโลกกลับเป็นไปในทิศทางตรงข้าม การยึดสนามบินอย่างง่ายดาย ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับอิทธิพลที่หนุนหลังพันธมิตรฯ เช่น บทบาทของสหภาพการบินไทย ซึ่งเป็นคนในที่รู้ทางหนีทีไล่ในสนามบินเป็นอย่างดี กับการสนับสนุนพันธมิตรฯ ยึดสนามบิน หรือการที่สหภาพรัฐวิสาหกิจใช้อำนาจขู่ตัดน้ำตัดไฟ เพื่อต่อรองทางการเมือง ยังมีคำถามเกี่ยวกับการพยายามควบคุมมวลชนและความพยายามในการหยุดยั้งการกระทำที่ผิดกฎหมายของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ความประหลาดใจเหล่านี้ทำให้สื่อมวลชนต่างชาติพยายามหาคำอธิบายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย

กล่าวได้ว่า การยึดสนามบินนานาชาติของกลุ่มพันธมิตรฯ ประสบความสำเร็จในการยกระดับการจราจลในประเทศให้กลายเป็นปัญหาการก่อการร้ายสากล เพราะความรู้สึกไม่มั่นใจในชีวิตและสวัสดิภาพของผู้โดยสารต่างชาติ ความไม่แน่ใจของนักลงทุนต่างชาติต่อธุรกิจและการลงทุนของพวกเขาในประเทศไทย ทำให้การฟ้องร้องต่อประชาคมโลกดำเนินไปอย่างกว้างขวาง

สหรัฐและสหภาพยุโรป (อียู) ตำหนิการชุมนุมที่ทำให้ผู้โดยสารติดค้างอยู่ในสนามบินว่าเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของไทยอย่างรุนแรง พร้อมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในประเทศไทยหาทางแก้ไขวิกฤติ โดยเคารพกฎหมายและสถาบันประชาธิปไตย ทูตหลายประเทศเรียกร้องให้ไทยคืนสู่การเป็นนิติรัฐ องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ และองค์การแอมเนสตี อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องให้รัฐบาลไทยตั้งคณะกรรมการที่เป็นอิสระเพื่อสอบสวนความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดจากการกระทำของทุกฝ่ายในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และให้นำตัวผู้ที่รับผิดชอบต่อความรุนแรงเหล่านั้นมารับผิด

หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ รายงานว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ สนับสนุนอำนาจนอกระบบให้เข้าแทรกแซงทางการเมือง จึงเป็นการบ่อนเซาะระบอบประชาธิปไตย ขณะที่หนังสือพิมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล เฮรัลด์ ทรีบูน เตือนพันธมิตรฯ ว่ากำลังเล่นเกมอันตราย เพราะนำสถาบันมาอ้าง เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของตน สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้สถาบันต้องระคายเคือง ในแนวทางใกล้เคียงกันกับ หนังสือพิมพ์รอยเตอร์ส เดอะไทมส์ เอ็นบีซีนิวส์ อีโคโนมิคส์ แสดงความไม่เห็นด้วยกับการปิดกั้นและบิดเบือนข่าวสาร รวมถึงการใช้กฎหมายหมิ่นฯ ของไทยที่มีความเข้มงวด แต่กลับมีลักษณะคลุมเครือ เปิดโอกาสให้มีการตีความเพื่อใช้แสวงหาประโยชน์และกลั่นแกล้งทางการเมืองอย่างกว้างขวาง ผลของกฎหมายหมิ่นฯ ทำให้สังคมไทยปิดกั้นตนเองจากโอกาสในการวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง ทำให้ยากที่ประชาชนส่วนใหญ่จะมีส่วนร่วมในการแสวงหาทางออกที่เป็นไปได้โดยสันติ

การประกาศชัยชนะที่เกิดขึ้นอย่างรีบร้อนของกลุ่มพันธมิตรฯ ภายหลังการรวบรัดตัดสินคดียุบพรรคการเมือง กลายเป็นประเด็นคำถามตามมาว่า พันธมิตรฯ เล่นบทกลุ่มกดดันนอกสภา เพื่อปูทางให้กับการใช้อำนาจนอกระบบ เพื่อเข้าแทรกแซงการเมืองในระบบหรือไม่? คำถามต่อมา การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองรอบใหม่ในขณะนี้ เป็นความพยายามล้างไพ่เพื่อช่วยเหลือกลุ่มพันธมิตรฯ และผู้สนับสนุนให้พ้นจากการรับผิด โดยเฉพาะความเสียหายจากการยึดสนามบินหรือไม่?

แม้แกนนำพันธมิตรฯ จะปฏิเสธความรับผิดชอบต่อการยึดสนามบิน แต่สิ่งที่สะท้อนผ่านจากสื่อทั่วโลก กลับยืนยันความผิดที่ยากจะปฏิเสธ ความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ยากจะประเมินค่า ทว่าความเสียหายที่เกิดกับภาพลักษณ์ของประเทศ และความเชื่อมั่นในสายตาประชาคมโลก กลับเป็นเรื่องมองเห็นได้ยาก และประเมินค่าความเสียหายได้ยากกว่า

สังคมทุกแห่งในโลกมีกฎระเบียบและอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของตน แต่ไม่ได้หมายความว่าคนในสังคมหนึ่งจะสามารถใช้สิทธิเหนือดินแดนอย่างไร้ขอบเขต การที่สังคมสมัยใหม่เป็นสังคมที่เคลื่อนไหว (mobile society) มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อน ภายใต้เงื่อนไขการเดินทางข้ามพรมแดนของความรู้ ข่าวสาร ผู้คน ทุน สินค้า บริการ ความคิด และวัฒนธรรม ความพยายามที่จะปิดกั้นพื้นที่ การเดินทาง รวมถึงการเข้าถึงความจริง นอกจากจะไม่ประสบผลสำเร็จแล้ว กลับสร้างผลกระทบที่คาดไม่ถึงในลักษณะเดียวกับการขว้างบูมเมอแรง

การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งท้าทายระเบียบรัฐและไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม กำลังยื่นโจทย์ที่ท้าทายให้กับประชาคมโลกเกี่ยวกับปมปัญหาที่แท้จริงของความขัดแย้งการเมืองไทย ภาพสะท้อนของไทยในสายตาสื่อนอกหลังการยึดสนามบิน ไม่เพียงขัดแย้งกับภาพลักษณ์กลมกลืนของสังคมไทยในอดีต แต่ยังเผยให้เห็นความแย้งระดับลึกของกลุ่มและอำนาจในสังคมไทย ซึ่งในทางเศรษฐกิจดูเหมือนเป็นทุนนิยมเสรี ในทางการเมืองดูเหมือนเป็นประชาธิปไตย แต่เนื้อในกลับเป็นอนุรักษนิยม ศักดินานิยม และอำนาจนิยม