WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, December 9, 2008

นายกฯรักษาการยุบสภาได้ไหม ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์หมดสมาชิกภาพเมื่อพรรคถูกยุบหรือไม่

ที่มา Thai E-News

โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
9 ธันวาคม 2551

การห้ามยุบสภาปรากฏในรัฐธรรมนูญเพียงในช่วงระยะเวลาที่มีการยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๕๘ วรรคหนึ่ง เท่านั้น ฉะนั้น นายกฯรักษาการหลังจากที่มีการยุบพรรคจึงมีอำนาจเต็มเหมือนตัวจริงทุกอย่างรวมถึงการยุบสภาฯก็ย่อมกระทำได้อย่างแน่นอน ส่วนว่าจะเหมาะสมหรือไม่ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง


ประเด็นที่คอการเมืองทั้งหลายกำลังเถียงกันหน้าดำหน้าแดงกันอยู่ในปัจจุบันที่ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาปวดหัวที่ต้องตีความนั้นมีอยู่หลายประเด็น แต่ประเด็นที่ที่ค่อนข้างจะมีความเห็นแตกเป็นหลายฝ่ายก็คือ นายกรัฐมนตรีรักษาการยุบสภาได้หรือไม่ สส.แบบบัญชีรายชื่อเมื่อถูกยุบพรรคแล้วหมดสมาชิกภาพไปด้วยหรือไม่ ฯลฯ

ประเด็นแรก นายกรัฐมนตรีรักษาการยุบสภาได้หรือไม่

๑) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ มาตรา ๔๑ และ มาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า

มาตรา ๔๑ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้คณะคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ใดดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๔๘ ให้ผู้รักษาราชการแทนตามความในพระราชบัญญัตินี้ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน

๒) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๕๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๘๐ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๘๑ บัญญัติไว้ว่า

มาตรา ๑๕๘ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตติดังกล่าวต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปซึ่งเป็นบุคคลตามมาตรา ๑๗๑ วรรคสองด้วย และเมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้ว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้

มาตรา ๑๘๐ รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตำแหน่งเมื่อ

(๑) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๘๒
(๒)อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
(๓)คณะรัฐมนตรีลาออก...

มาตรา ๑๘๑ คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๘๐(๒)(อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร-ผู้เขียน) คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ดังต่อไปนี้

(๑)ไม่กระทำการการอันเป็นการใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
(๒)ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
(๓)ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป
(๔)ไม่ใช้ทรัพยากรขอรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง และไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

ความเห็น

นายกรัฐมนตรีที่รักษาการมีอำนาจเต็มทุกอย่างที่นายกรัฐมนตรีตัวจริงมี ยกเว้นตามข้อห้ามในมาตรา ๑๘๐(๒) ที่นายกฯรักษาการในกรณีที่มีการยุบสภาหรือสภาหมดอายุ ซึ่งการรักษาการนายกฯในกรณีถูกยุบพรรคนั้นไม่อยู่ในข่ายตามมาตรา ๑๘๐(๒) แต่อย่างใดและการห้ามยุบสภาปรากฏในรัฐธรรมนูญเพียงในช่วงระยะเวลาที่มีการยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๕๘ วรรคหนึ่ง เท่านั้น ฉะนั้น นายกฯรักษาการหลังจากที่มีการยุบพรรคจึงมีอำนาจเต็มเหมือนตัวจริงทุกอย่างรวมถึงการยุบสภาฯก็ย่อมกระทำได้อย่างแน่นอน ส่วนว่าจะเหมาะสมหรือไม่ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง

ประเด็นที่สอง สส.แบบบัญชีรายชื่อเมื่อถูกยุบพรรคแล้วหมดสมาชิกภาพไปด้วยหรือไม่

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๐๖(๘) บัญญัติว่า

มาตรา ๑๐๖ สมาชิภาพของสมาชิกสภาผู้แทนสิ้นสุดลงเมื่อ

(๘)ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก และไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหกสิบวันนั้น

ความเห็น

ในเมื่อขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญ สส.เหล่านั้นถือว่าเป็น สส.แล้ว ก็ต้องยังคงมีสภาพเป็น สส.ต่อไปและย่อมที่จะสามารถหาพรรคใหม่สังกัดได้ เว้นเสียแต่ว่าเกิดโชคร้ายหาพรรคใหม่ไมได้หรือเกิดความเบื่อหน่ายไม่อยากเป็น สส.ต่อไป เลยไม่สังกัดพรรคใหม่ภายใน หกสิบวันจึงจะถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพ การที่จะถือว่า สส.บัญชีรายชื่อเหล่านี้ได้มาเพราะเหตุที่ประชาชนเลือกพรรคเดิม เมื่อพรรคเดิมถูกยุบก็ต้องสิ้นสภาพไปด้วยนั้น ผมไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการตีความขยายเกินกว่ารัฐธรรมนูญกำหนด

หลักของการตีความกฎหมายนั้นต้องเป็นการตีความเพื่อให้ปฏิบัติได้ มิใช่การตีความเพื่อให้เกิดผลประหลาด หรือสภาวะสุญญากาศตามมา

ซึ่งเราเรียกว่า “การตะแบง”มิใช่การตีความกฎหมายแต่อย่างใด