WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 11, 2008

Thai Court Rewards Criminality ... ศาลไทย ตบรางวัลให้แก่กลุ่มคนที่ทำผิดกฎหมาย

ที่มา Thai E-News

โดย คุณ bbb
ที่มา เวบบอร์ด ประชาไท
10 ธันวาคม 2551

แปลจาก Thai court rewards criminality จาก ลิงก์

ประวัติศาสตร์ได้ซ้ำรอยอีกครั้ง เมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของไทย ได้ทำการยุบพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุด รวมถึงอีกสองพรรคร่วมรัฐบาล และห้ามหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารของพรรค ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง

ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ถูกสืบทอดหน้าที่ จากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่ได้วินิจฉัยและสั่งยุบพรรคไทยรักไทย เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ ในการยุบพรรคร่วมรัฐบาล 3 พรรค จากการทำผิดมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญปี 50

ตามมาตราที่น่าทึ่งนี้ ซึ่งเขียนขึ้นโดยคณะบุคคลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และเขียนในนามของกลุ่มที่กระทำการรัฐประหาร พรรคการเมืองต้องถูกยุบ ถ้าปรากฏให้เห็นว่า พรรคไม่สามารถป้องกันการทำความผิดของกรรมการบริหารพรรค ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง

ถ้าเทียบกับเกมส์ฟุตบอลแล้ว นี่คือกฎระเบียบที่ว่า ถ้านักเล่นได้ใบแดง ทั้งทีมจะถูกตัดสิทธิ์จากลีค รวมทั้งกัปตันทีมและโค๊ช ถูกสั่งให้เกษียนก่อนอายุ

คำพิพากษานั้น ยินยอมให้พวกที่หัวรุนแรงทางการเมือง ที่นำคนไปห้อมล้อมสนามบินสุวรรณภูมิอยู่หนึ่งอาทิตย์ สามารถที่จะประกาศชัยชนะ และกลับบ้านทันวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของในหลวงพอดี

โดยไม่คำนึงถึงว่า ความผิดแท้จริงนั้น คืออะไร แต่ดูจากจังหวะเวลาและเนื้อหานั้น มันถูกมองว่า เป็นการรับรองอุดมการณ์ และเป้าหมายของกลุ่มหัวรุนแรง ผลที่เกิดขึ้นคือ ศาลนั้นได้แสดงให้เห็นว่า ในขณะที่การซื้อเสียงนั้นไม่ได้ถูกยอมรับ แต่การปล้น (hijack) สถานที่/สิ่งอำนวยความสะดวกของสาธารณะ การทำลายทรัพย์สิน และการยิงเข้าไปในผู้คน และยานพาหนะ การกักขังพลเมืองด้วยกันเองแบบผิดกฎหมาย การบุกจู่โจมเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการตั้งกองกำลังตำรวจเป็นตัวแทนของตนเองนั้น นอกจากศาลจะยอมให้เกิดขึ้นได้แล้ว ศาลยังตบรางวัลให้เสียอีกด้วย

บางทีอาจจะเป็นการควรซะด้วยซ้ำ ที่คำพิพากษานั้น จะถูกประณามด้วยผู้ประท้วงหน้าศาล และผู้พิพากษาก็สมควรจะถูกประณามว่า เป็นหุ่นเชิด และถูกบังคับให้เปลี่ยนสถานที่ และทำลายเครื่องผลิตไฟฟ้าเพื่อทำการปิดระบบไฟฟ้าการก่อกวนศาล และเจ้าหน้าที่อย่างก้าวร้าว มันผิดธรรมดาสำหรับประเทศไทย ไม่ว่าจะหมายถึงความรุนแรงของความขัดแย้ง หรือการที่ผู้ได้เสียผลประโยชน์ ได้ดึงเอากระบวนการยุติธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ครั้งนี้

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นได้วินิจฉัยแล้วว่า นักการเมืองนั้นได้กระทำความผิด ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากสั่งยุบพรรคทั้ง 3 พรรค แต่นั่นมันจริงหรือ? พวกเขาไม่สามารถที่จะเปลี่ยนคำวินิจฉัยหรือ?

อย่างน้อยที่สุด ก็ด้วยหลักจรรยาบรรณ ปัญหาหนี่งก็คือ ศาลนั้นได้ถูกแต่งตั้งให้มาตัดสินคดีความ ที่โดยตัวมันเองแล้ว ถูกวินิจฉัยจากเหตุการณ์ทางการเมือง และคดีความต่างๆ ที่เกิดขึ้น ต่อเนื่องมาเป็นลำดับในอดีตสองปีที่ผ่านมา

ศาลสูงสุดนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย เพื่อโต้ตอบการทำรัฐประหารของทหารเมื่อปี 2549 ซึ่งก็ไม่ผิดจากประเพณีไทยในอดีต และยังยินยอมเป็นเครื่องมือให้ถูกใช้ ในการทำให้มันบรรลุเป้าหมายการตัดสิน เดือนพฤษภาปี 2550 เป็นการรับรองเผด็จการโดยปริยาย และศาลที่วินิจฉัยคดีอาทิตย์ที่ผ่านมานี้ ก็ถูกตั้งมาจากรัฐธรรมนูญที่ล้าหลัง และเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ก็มีการตัดสินที่ไม่น่าเป็นจริงได้ คือการไล่นายกรัฐมนตรีออกเพราะไปทำรายการอาหารออกโทรทัศน์

ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถจะวินิจฉัยคดี ต่างจากคำวินิจฉัยครั้งก่อนๆ และไม่สามารถจะตั้งคำถาม เกี่ยวกับบทบัญญัติที่จะตัดสินความอยู่รอดของรัฐบาล ซึ่งรัฐสภาพยายามจะแก้ไข เมื่อเดือนที่แล้ว

แต่นั้นไม่ได้หมายถึงว่า ศาลไม่มีทางเลือกอื่น ผู้พิพากษาในโลก ได้เคยปฏิเสธการพิพากษาคดีเร่งด่วนที่เกี่ยวกับการเมือง และตระหนักดีว่า การพิพากษาคดีความนั้นๆ อาจทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชน ที่เปราะบางในกระบวนการยุติธรรมนั้นถูกทำลาย และอาจคุกคามความซื่อตรงของพวกเขา

คดีที่สำคัญที่คล้ายคลึงกัน คือคดีที่วินิจฉัย George W. Bush ช่วงเทอมแรกที่เป็นประธานาธิบดี

ถึงแม้ว่าศาลสูงสุดจะรับหน้าที่ ที่จะแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากบัตรเลือกตั้งที่ฟลอริด้า แต่มีผู้พิพากษา 4 คนที่ไม่เห็นด้วย ได้เตือนไว้ว่า พวกเขาได้ถูกลากเข้ามามีส่วน ในปัญหาที่ไม่สามารถถูกแก้ได้อย่างน่าพอใจและเป็นที่ๆไม่ใช่พวกเขาควรเกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้น Justice Stephen Breyer ได้นำเรื่องในอดีต ที่ควรเป็นบทเรียนมาอธิบายให้ฟัง

ในปี 1876 มีคณะทำงานถูกตั้งขึ้น เพื่อมาตัดสินว่า ใครเป็นผู้ชนะในการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ห้าใน15 สมาชิกเป็นผู้พิพากษา พวกเขาถูกคาดหวัง (เหมือนในเมืองไทยหลายๆ เรื่องตอนนี้) ที่จะให้ความเที่ยงตรง และไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

หนึ่งในผู้พิพากษา ออกเสียงให้กับผู้ชนะ และพรรคที่แพ้ ก็กล่าวหาว่า เขารับสินบน และเขาก็ถูกประณามอย่างกว้างขวาง แต่ไม่ว่า เขาจะซื่อสัตย์หรือไม่นั้น ไม่ใช่เป็นประเด็น แต่การอ้างนี้ ก็เพื่อเป็นบทเรียน Breyer กล่าวอย่างชัดเจนว่า ที่สำคัญคือ การที่มีผู้พิพากษา รวมอยู่ในคณะดังกล่าว ไม่ได้ทำให้คณะนั้น มีความชอบธรรมมากขึ้น

"และไม่ได้หมายถึงว่า มันจะให้ความเชื่อมั่นกับประชาชนว่า มันเป็นกระบวนการที่ตรงไปตรงมา และนำทางโดยกฎหมาย" เขาได้เขียนไว้ "แต่ที่แน่ๆ คือ มันนำให้บุคลากรของศาล เข้าไปมีส่วนร่วมกับความขัดแย้งของพรรคการเมือง ซึ่งบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรม"

ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ว่า Breyer และผู้ที่ไม่เห็นด้วยนั้น คิดถูก และความเคารพต่อศาลสูงสุดในสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น ตกต่ำถึงขีดสุดในรอบ 10 ปี ซึ่งเกิดจากการคำพิพากษา ที่ออกจะเข้าข้าง Bush มากกว่า Gore ศาลอาจส่งใครก็ได้ เข้าไปบริหารประเทศ แต่ในปี 1876 ศาลไม่ได้สร้างความน่าเชื่อถือต่อบุคคล หรือรัฐบาลนั้น พวกเขาได้นำเอาการติเตียน และข้อพิพาท มาอยู่หน้าประตูของกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น

ศาลรัฐธรรมนูญของไทยนั้น ได้เอาบุคคลออกจากรัฐบาล แต่เขาก็ไม่ได้เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับใคร หรืออะไรทั้งนั้น แต่กลับกัน พวกเขาได้แสดงบทบาทเป็นตัวตลก และได้ทำให้ขบวนการยุติธรรมนั้น ถูกล้อเลียน

พวกเขามีทางเลือกอื่นไหม? แน่นอนพวกเขาสามารถที่จะ และควรจะ ปฏิเสธการให้คำวินิจฉัย และที่ไม่ทำ ก็ไม่ใช่ว่า ต้องการจะให้มีทางเลือกอื่น แต่ที่ไม่ทำ เพราะไม่ต้องการให้มีทางเลือกเลย

( Awzar Thi เป็นนามปากกาของสมาชิกของ Asian Human Rights Commission เขามีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี ในการสนับสนุนสิทธิมนุษยชน และ rule of law ของประเทศไทยและพม่า Blog : Rule of Lords ของเขาอ่านได้ที่ http://ratchasima.net )