WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, January 18, 2009

การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ ( คอลัมน์ : กฎบ้าน กบิลเมือง )

ที่มา ประชาทรรศน์

ผู้เขียนได้นำเสนอบางประเด็นเกี่ยวกับการบังคับใช้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ต่อเนื่องกันมาเท่าที่เห็นว่าน่าสนใจ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้นำไปพิจารณาว่าเรื่องใด ประเด็นใด เป็นเรื่องที่ควรจะหยิบยกขึ้นมาเพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต่อไป
เพราะต้องยอมรับว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ได้ใช้บังคับมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติหลายประเด็น จึงเกิดแนวความคิดว่า สมควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วหรือยัง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นหนทางนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ผู้เขียนจึงขออนุญาตแสดงความคิดเห็นผ่านคอลัมน์นี้ต่อไปอีก แม้ว่ารัฐบาลจะมิได้มีนโยบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ แต่ที่สุดแล้วหากจะให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ การที่จะต้องกลับมาดูว่ากติกาของบ้านเมืองมีปัญหาในทางปฏิบัติอย่างไร ก็นับว่าเป็นสิ่งที่พึงกระทำ และเป็นความจำเป็นไม่น้อยกว่าการแก้ปัญหาเรื่องอื่นๆ
เรื่องแรกที่เห็นว่าสังคมไทยควรจะต้องมีการพูดจาว่ากล่าวกัน ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวและใกล้ชิดประชาชนเป็นอย่างยิ่ง คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะพบว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้เปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งเป็นแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ เขตละไม่เกิน 3 คน
การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์นั้น เป็นการกำหนดเขตเลือกตั้งใหม่ขึ้น กล่าวกันว่าเหตุผลก็เพื่อลดการซื้อสิทธิขายเสียง ประชาชนสามารถเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มากกว่า 1 คน คะแนนที่ประชาชนเลือกสมาชิกสภาผู้แทนอันดับ 2 และ 3 ไม่เสียไป อาจได้ผู้แทนราษฎรที่มีคุณสมบัติดีขึ้น และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเลือกตั้งระบบพรรคการเมือง และนโยบายมากกว่าการเลือกตัวบุคคล แต่ก็มีผลทำให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เท่าเทียมกัน ไม่สามารถแก้การซื้อสิทธิขายเสียงได้ ไม่ส่งเสริมระบบพรรคการเมือง ผู้สมัครหน้าใหม่ยากที่จะได้รับการเลือกตั้ง และสิ้นเปลืองงบประมาณหากมีการเลือกตั้งซ่อม เพราะต้องเลือกตั้งทั้งเขต ดังตัวอย่างที่ปรากฏ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา
นักวิชาการบางท่านเคยมีความเห็นว่าระบบที่เรียกว่า “แบ่งเขตเรียงเบอร์” ที่เคยใช้มาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2517 นั้นเขตใดมี ส.ส. จำนวน 3 คน จะทำให้ประชาชนมี 3 เสียงตามจำนวน ส.ส.ของแต่ละจังหวัดก่อนโดยใช้ฐานจำนวนประชากร ในที่สุดแล้วจังหวัดที่มีจำนวนประชากรมาก ก็จะมีสูตรเป็น สาม-สาม-สอง หรือ บางจังหวัดอาจเป็น สอง-สอง แต่จังหวัดขนาดเล็ก ประชากรน้อยก็จะมีจำนวน ส.ส. เพียงคนเดียว ผลจากระบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ ทำให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเหมือนกัน แต่กลับมีสิทธิเลือก ส.ส. ไม่เท่าเทียมกัน จึงขัดกับหลักความเสมอภาค ที่เป็นหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย
ส่วนที่บอกว่าการแบ่งเขตแบบนี้เป็นการส่งเสริมระบบพรรคการเมืองนั้น นักวิชาการก็กลับมีความเห็นแย้ง เพราะระบบนี้จะทำให้ประชาชนเลือกที่จะเลือกผู้สมัครโดยไขว้พรรคกันอย่างไรก็ได้ ซึ่งนี่คือการเลือกโดยเน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก อันจะทำให้พรรคการเมืองมีความสำคัญน้อยลง และทำให้พรรคการเมืองไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันในทางนโยบาย ดังเช่นที่เคยเป็นของสภาวการณ์พรรคการเมืองของไทยก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญ ปี 2540
ระบบเลือกตั้งแบ่งเขตเรียงเบอร์ จะไม่ได้แก้ปัญหาการซื้อเสียง เนื่องจากผู้ชนะการเลือกตั้งสำหรับเขตเลือกตั้งที่มี ส.ส. จำนวน 3 คน ก็คือผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด 3 คนแรก ซึ่งผู้สมัครรู้ดีว่าการที่จะได้คะแนนติดอันดับสูงสุด 3 คนแรกนั้น ก็คือ การซื้อเสียงแบบ “ลูกโดด” หรือยิงโดด นั่นคือการให้กากบาทเลือกเพียงเบอร์เดียว
ซึ่งจะทำให้น้ำหนักของคะแนนมากขึ้นเป็นเท่าตัว ในการนำพาผู้สมัครคนนั้นทะลุขึ้นไปเป็นสามอันดับแรก ซึ่งการซื้อเสียงแบบให้ลงคะแนนแบบ “ลูกโดด” นี้ เป็นที่รู้กันว่าราคาจะสูงกว่าการซื้อแบบให้ลงคะแนนทั้งสามเบอร์ถึงสามเท่า เพราะถ้าให้เลือกสามคนก็เป็นราคาของสามคน
ถ้าให้เลือกเบอร์เดียว ราคาก็ย่อมแพงกว่าสามเท่า ยิ่งเขตมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็ยิ่งต้องใช้เงินมากขึ้น ระบบนี้จะทำให้การซื้อขายยิ่งแพงขึ้น ทั้งยังทำให้เกิดการทิ้งกัน หักหลังกันเองของผู้สมัครพรรคเดียวกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนรัฐธรรมนูญปี 2540 ใช้บังคับและกลับมาเกิดอีกครั้งในการเลือกตั้งทั่วไปของรัฐธรรมนูญปี 2550 นี้