ที่มา Thai E-Newsประการแรกขอให้สหประชาชาติเข้ามาเป็นผู้ควบคุมการเลือกตั้งเหมือนกับประเทศอื่นๆที่เกิดวิกฤติขึ้น เพื่อทำงานแทน กกต. ประการที่สองขอให้รัฐบาลโดยการยอมรับของรัฐสภาเชิญศาลอาญาระหว่างประเทศส่งอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาสอบสวนการใช้กำลังปราบปรามประชาชนในวันที่ 10 เมษายน..
โดย Pegasus
6 พฤษภาคม 2553
กรณีที่รัฐบาลเสนอโรดแม็พให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ย. 53 นี้นั้น และมีกระแสข่าวว่ามีนักธุรกิจและนักการเมืองต่างพยายามที่จะล็อบบี้ทั้งพรรคเพื่อไทยและแกนนำ นปช.ให้ยินยอมรับข้อเสนอ และชักจูงให้มวลชนชาวเสื้อแดงกลับบ้าน
ด้วยว่านักธุรกิจเองก็ต้องการรักษาผลประโยชน์ของตน และทำการค้าขายต่อไปไ ม่ว่าประเทศไทยจะเสียหายอย่างไรก็ตาม
กับนักการเมืองเองก็จะถือโอกาสในการเตรียมพร้อมการเลือกตั้ง โดยไม่ได้เฉลียวใจว่าจะถูกกวาดล้างอย่างไรในภายหลัง ในขณะเดียวกันก็เป็นการวางกับดักของรัฐบาลว่า ถ้าพวกเสื้อแดงไม่เอาด้วย ก็แสดงว่าไม่ยอมเจรจาเอง สมควรที่จะใช้กำลังในการปราบในที่สุด
ในส่วนของแกนนำเอง ก็ต้องเห็นใจว่า ข้อเสนอให้ยกเว้นคดีความต่างๆนั้นก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจเพราะมองไปทางไหนก็เห็นแต่อำนาจของฝ่ายอำมาตย์แฝงเร้นไปจนทั่ว จนท้อใจ ต้องต่อสู้อย่างหัวเดียวกระเทียมลีบ และเสี่ยงแม้แต่ชีวิตของตนเอง
ด้วยความเข้มแข็งของฝ่ายอำมาตย์ ด้วยการชักชวนของนักธุรกิจ นักการเมือง และแม้แต่ความรู้สึกเกรงกลัวหรือเป็นปฏิกิริยาของแกนนำ นปช. แนวทางที่จะมีการยอมๆกันไปนั้น ฟังจากการปราศรัยบนเวทีแล้วมีทางเป็นไปได้มากที่สุด เนื่องจาก คุณวีระฯ ก็บอกชัดเจนว่ามีการเจรจากันเพื่อยุติการชุมนุม
แต่คำถามคือสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้รับหลักประกันไว้ครบถ้วนหรือไม่อย่างไร
กล่าวคือ การปิดสื่อของฝ่ายเสื้อแดงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้แต่เมื่อรัฐบาลประกาศโรดแม็พแล้ว ทหารยังเข้าไปคุกคามและปิดสื่อวิทยุชุมชนต่อไปอย่างไม่ลดละ
การดำเนินคดีอาญาและการกวาดจับแกนนำระดับย่อยจะดำเนินการต่อไป โดยข้ออ้างของรัฐบาลว่า กฎหมายต้องเป็นกฎหมายและการขยิบตาให้ดำเนินการกวาดล้างอย่างเงียบๆต่อไป
นอกจากนั้นเมื่อรัฐบาลนี้ให้สัญญาก็อาจมีการเล่นพลิกแพลงเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีหรือในกรณีที่มีการยุบพรรคการเมือง ก็อาจมีหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ที่ฝ่ายอำมาตย์สนับสนุน เช่นนายชวน หลีกภัย หรือในที่สุดคือมีนายกพระราชทาน
ส่วนเงื่อนไขที่ต้องมีการเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ย.53 เป็นต้นไปก็เพราะต้องการให้มีการแต่งตั้ง ผบ.ทบ. คนใหม่ ที่จะเป็นทายาททางการเมืองและดุลแห่งอำนาจของฝ่ายอำมาตย์ ที่มีหลายคนกล่าวว่า นี่คือ จอมพลสฤษดิ์ฯ คนที่สองที่จะใช้อำนาจในการปกครองประเทศเพื่อยุติบทบาทของฝ่ายประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิงในที่สุด
เงื่อนไขต่างๆเหล่านี้ จะยังเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายอำมาตย์ต่อไปอย่างต่อเนื่องยาวนาน เมื่อฝ่ายมวลชนคนเสื้อแดงถอย และจะมีคำถามตามมาอย่างรุนแรงว่า ถ้าจะมามีการชุมนุมและยุติลงไปง่ายๆอย่างนี้ ทำไมไม่เลิกการชุมนุมไปเสียตั้งแต่มีเหตุการณ์สงกรานต์เลือดเมื่อปี 52 และปล่อยให้ประชาชนเลือกเส้นทางการต่อสู้ของตนเองไปมิดีกว่าหรือ และ หากการชุมนุมครั้งนี้เลิกไปก็แน่นอนว่าจะไม่สามารถรวมมวลชนขึ้นมาได้อีกอย่างแน่นอน เพราะประชาชนส่วนหนึ่งคงจะเลือกแนวทางเหมือนกับพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับความอยุติธรรมจนต้องจับอาวุธในที่สุด
ประการสำคัญคือ แกนนำถ้านำประชาชนยุติการชุมนุมเพียงเพื่อทำตามโรดแม็พที่ฝ่ายรัฐบาลวางกับดักไ ว้และมีเพียงเท่านั้น ซึ่งทุกคนก็เห็นว่าอนาคตประชาธิปไตยจะเป็นอย่างไร และการถูกหักหลังนี้เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ ทำไมแกนนำจะมองไม่เห็นจุดจบเช่นนี้ และแน่นอนว่าแกนนำ นปช. แดงทั้งแผ่นดินจะหาที่ยืนบนแผ่นดินนี้อย่างไร
คำถามที่ประชาชนและมวลชนจะตั้งคำถามกับ แกนนำ นปช.คือ แล้วผู้ที่เสียชีวิตไปในวันที่ 20 เมษายน 53 จะให้คำตอบหรือแม้แต่คำปลอบใจกับครอบครัวและมวลชนคนเสื้อแดงอย่างไร ที่พี่น้องเขาต้องมาเสียชีวิตอย่างไร้ความหมายเช่นนี้
แล้วเรื่องกรณีสองมาตรฐานจะแก้ไขได้อย่างไร ในเมื่อแกนนำคนเสื้อแดงในทุกระดับ สถานีวิทยุชุมชน เวปไซท์ และสื่อต่างๆจะยังถูกคุกคามต่อไป
และประการสำคัญที่สุดคือ ข้ออ้างของแกนนำ นปช.ที่ว่าจะได้มาซึ่งประชาธิปไตยนั้น ประชาชนจะได้มาอย่างไรในเมื่อผู้ที่ใช้อำนาจเผด็จการในการเข่นฆ่าประชาชนยังอยู่สุขสบายดี
คำถามต่างๆที่กล่าวมานี้ต่างหากซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการรับข้อเสนอของรัฐบาล เพราะแม้แต่การเสนอให้มีการยุบสภาภายใน 30 วัน และทำให้มีการเลือกตั้งภายใน 90 วันที่ นปช.เคยเสนอผ่านคณะทูตไปแล้วจึงถูกต่อต้านอย่างรุนแรงและทำให้จำนวนผู้ชุมนุมหายไปเป็นจำนวนมาก และแกนนำถูกต่อว่าอย่างหนักยิ่งจนต้องออกมาชี้แจงจนเป็นระวิง
เอากันอย่างนี้ดีหรือไม่ เพื่อให้เหมือนกับเป็นการwin-win กันทุกฝ่ายอย่างที่ต้องการ ถ้ากำหนดกันว่า วันเลือกตั้งเป็นวันที่ 14 พ.ย. 53 นับถอยหลังไปสองเดือน ก็จะเป็นการยุบสภาในวันที่ 14 กันยายน เพื่อให้สามารถแต่งตั้ง ผบ.ทบ. คนใหม่ได้ ก็ไม่ว่ากัน แต่ว่าขอเพียงเรื่องเล็กๆน้อยๆต่อไปนี้เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่มีการหักหลังในภายหลังได้หรือไม่
ประการแรกขอให้สหประชาชาติเข้ามาเป็นผู้ควบคุมการเลือกตั้งเหมือนกับประเทศอื่นๆที่เกิดวิกฤติขึ้น เพื่อทำงานแทน กกต.และระบบการเลือกตั้งอื่นๆ เพื่อต้องการความมั่นใจสองประการคือ หนึ่งจะไม่มีการพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงการยุบสภาอีก และประการที่สองคือจะได้เป็นที่ยอมรับทุกฝ่ายว่าการเลือกตั้งมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมกัน ซึ่งจะเป็นการตอบโจทย์ข้อแรกในเรื่องของการได้มาซึ่งประชาธิปไตย แม้จะยังไม่สมบูรณ์แต่ก็น่าจะทำให้คนเสื้อแดงพอใจได้ในระดับหนึ่ง
ประการที่สองขอให้รัฐบาลโดยการยอมรับของรัฐสภาเชิญศาลอาญาระหว่างประเทศส่งอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาสอบสวนการใช้กำลังปราบปรามประชาชนในวันที่ 10 เมษายน 53 และมาสร้างหลักประกันด้านกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นหน้าที่ของ ศาลอาญาระหว่างประเทศหรือที่รู้จักกันในนามของศาลโลกในคดีบุคคลกระทำการผิดกฎหมายอาญาต่อมนุษยชาติ ซึ่งกรณีนี้จะเป็นการตอบโจทย์ข้อที่สองในเรื่องของกระบวนการยุติธรรมและกรณีสองมาตรฐาน ซึ่งหากเป็นชาวต่างประเทศซึ่งไม่มีส่วนได้เสียในประเทศไทยมาควบคุมดูแล ทุกฝ่ายก็จะยอมรับความยุติธรรมและความเป็นธรรมได้
ประการที่สามขอให้รัฐบาลยอมรับให้สหประชาชาติส่งผู้สังเกตการณ์หรือผู้แทนของสหประชาชาติมาทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยแทนทหารและตำรวจ เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคมไทย
ประการที่สี่ขอให้รัฐบาลยอมรับการเสนอตัวของ ประธานาธิบดีติมอร์ เลสเต้ ในการเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ความขัดแย้งในประเทศไทย เพื่อให้เหตุผิดปกติในประเทศไทยมีการรายงานถึงสหประชาชาติและชุมชนโลกอย่างหมดเปลือก
ดังนั้นขอย้ำเตือนต่อแกนนำ นปช.ว่าการใช้กำลังปราบปรามประชาชนของรัฐบาลจะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป ไม่ว่าประชาชนทั่วไปหรือคนชั้นกลางที่นิยมความสบาย หรือแม้แต่คนกรุงเทพฯจะสนับสนุนรัฐบาลให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาดแค่ไหนก็ตาม หากการชุมนุมยังยืดเยื้อต่อไป เนื่องจากเวลายิ่งผ่านไป นานาชาติ และ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ที่มีอำนาจในการใช้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาสอบสวน และดำเนินคดีกับผู้นำทางหน่วยงานความมั่นคง และคณะรัฐมนตรีจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกทีๆ เนื่องจากการไปลงนามในพันธกรณีต่างๆกับสหประชาชาติซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นๆเช่น พม่าหรือจีน ดั
งนั้นข้อเกรงกลัวที่ว่ารัฐบาลจะใช้กำลังปราบปรามก็ควรจะลดน้อยลงหรือหากเกิดการปราบปรามขึ้นจริงก็จะเป็นผลดีต่อประชาธิปไตยในระยะยาวอย่างสมบูรณ์และแน่นอนว่ามวลชนจะมีการเตรียมการป้องกันตัวอย่างเพียงพอแล้วอย่างแน่นอน
สิ่งที่นายกฯทักษิณควรจะทำเพื่อพี่น้องประชาชนคือการประกาศรัฐบาลพลัดถิ่นเมื่อเกิดการปราบปรามขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนต้องสูญเสียไปมากกว่านี้ ซึ่งหากไม่มั่นใจว่าจะมีประเทศไหนรับรอง รัสเซียในฐานะหนึ่งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือเยอรมนีซึ่งเป็นผู้นำในทวีปยุโรปซึ่งถูกประเทศไทยกล่าวหาอย่างเสียหายและมีความไม่พอใจอย่างยิ่งมาแล้ว การมีรัฐบาลพลัดถิ่นง่ายๆคือสามารถทำให้ข้าราชการเปลี่ยนข้างได้ ทหาร ตำรวจ ประชาชนสามารถเลือกข้างได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งมีความสำคัญมากในการรักษาชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ไว้
สิ่งที่ควรสังเกตคือ เหตุการณ์ในไทยเป็นความขัดแย้งทางการเมืองสำคัญครั้งแรกๆใน ศตวรรษที่ 21 ที่มีองค์ประกอบและตัวแสดงต่างๆมากมาย ครบเครื่อง อย่างที่สหประชาชาติต้องการเพื่อใช้เป็นตัวแบบในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในประเทศอื่นๆและป้องกันการที่คนๆหนึ่งหรือคณะบุคคลคณะหนึ่งๆจะเข่นฆ่าและล้างผลาญประชาชนในประเทศของตนได้เช่นนี้
ดังนั้นแน่นอนว่าทั่วโลกกำลังจับตาดูอยู่และคันไม้ คันมืออยากเข้ามาแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆในประเทศไทยอย่างที่สุดและคงเป็นบทสรุปสำหรับฝ่ายอำนาจในประเทศไทยที่จะหมดอำนาจอย่างสมบูรณ์และผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยตามคติของสังคมและชุมชนระหว่างประเทศอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง และไม่ใช่ประโยชน์เฉพาะคนไทย แต่เพื่อชะตากรรมของชาวโลกในพื้นที่อื่นๆด้วย
ทั้งเหตุและผลดังกล่าวแล้วจึงสมควรที่แกนนำ นปช. จะต้องระมัดระวังในการยอมรับข้อเสนอของรัฐบาลโดยไม่ได้มีการระแวดระวังและพิจารณาไว้ให้รอบคอบ มิฉะนั้นจะตอบคำถามและเสียงเรียกร้องของประชาชน และ เสียงร่ำร้องของผู้ที่เสียชีวิตคนแล้วคนเล่าตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประชาธิปไตยไทยไม่ได้ และวันนั้นท่านจะไม่มีแม้แต่ที่จะยืนในประเทศไทย
อย่างไรก็ตามตราบจนทุกวันนี้ ท่าทีของแกนนำ นปช. ยังไว้ใจได้ มีคำมั่นว่าจะพิจารณาอย่างรอบคอบ และรู้เท่าทันเทคนิควิธีของประชาธิปัตย์ที่จะทำให้ผู้ชุมนุมลดน้อยลง หรือการพลิกแพลงหักหลังเอาทีหลัง ดังนั้น คนเสื้อแดงขอให้ยึดมั่นการชุมนุมต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
จนกว่าจะถึงวันยุบสภาที่ฝ่ายเสื้อแดงเป็นผู้กำหนดเกม
**************