ที่มา ข่าวสด
คอลัมน์ คอลัมน์ที่13
การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มคนเสื้อแดงให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.53 ถึงวันนี้ก็เป็นเวลาเกือบ 2 เดือน
เป็น 2 เดือนที่เต็มไปด้วยความตึงเครียด หวาด ระแวง และเกิดความรุนแรงขึ้นในหลายกรณี
ขณะที่ประเด็นการ "ยุบสภา" ในเมืองไทย ดูเหมือนจะเป็นเรื่องใหญ่ คล้ายจะชี้เป็นชี้ตายประเทศ
แต่ในประเทศต้นแบบประชาธิปไตยอย่างอังกฤษ การยุบสภาเป็นกลไกการเมืองธรรมดาๆ ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้บ้านเมืองเสียหาย
นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการชื่อดังของสังคมไทย อธิบายลักษณะของสภาอังกฤษไว้ว่า
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2344 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นของสภาแห่งราชอาณาจักรเป็นต้นมา สภาอังกฤษเคยมีวาระตั้งแต่ 3-10 ปี
จนปี พ.ศ.2454 สภาอังกฤษจึงมีวาระตามกฎหมาย 5 ปีเรื่อยมา
แต่การที่รัฐบาลอังกฤษโดยมากมักถวายคำแนะนำแก่กษัตริย์อังกฤษให้ยุบสภาในเวลา 4 ปี
หลายคนในเมืองไทยจึงเข้าใจว่า สภาอังกฤษมีระยะเวลาเพียง 4 ปี
นายนิธิตั้งข้อสังเกตว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สภาอังกฤษมักสิ้นสุดลงโดยการยุบสภาเกือบทั้งสิ้น
กล่าวคือในสภา 55 สมัย มีสภาที่อยู่ครบวาระตามกฎหมายเพียง 2 สมัย
และทั้ง 2 สมัยล้วนเป็นสภาที่อยู่ในระหว่างภาวะสงคราม
ได้แก่สภาสมัยที่ 30 ซึ่งอยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และสภาสมัยที่ 37 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเพณีการปกครองของอังกฤษมักจะไม่นับวันเลือกตั้งไปจนครบวาระพอดิบพอดี แต่รัฐบาลมักจะเลือก "ยุบสภา" ก่อนครบวาระตามกฎหมาย
ซึ่งอาจจะยุบก่อนได้ถึง 3 ปี (เมื่อวาระของสภาตามกฎหมายคือ 7 ปี) ไปจนถึงไม่กี่เดือนก่อนหน้า
หากนับสภาสมัยที่สามารถอยู่ได้ถึง 4 ปีหรือใกล้ๆ 4 ปี ว่าเป็นสภาที่อยู่ครบ "วาระ" ตามประเพณี
ในสภา 55 สมัย รัฐบาลอังกฤษ "ยุบสภา" ก่อนวาระอันควรตามประเพณีถึง 19 สมัย
โดยในช่วงที่สภาอังกฤษมีวาระ 7 ปี รัฐบาล "ยุบสภา" ก่อน 5 ปี ถึง 7 สมัย และยุบสภาในเวลาต่ำกว่า 3-4 ปีอีก 13 สมัย
เหลือสภาที่อยู่ครบวาระตามประเพณี 8 สมัย ในขณะที่ช่วงที่สภาอังกฤษมีวาระตามกฎหมาย 5 ปี สภาถูกยุบไปก่อนครบ 4 ปีถึง 9 ครั้ง
สาเหตุที่รัฐบาลอังกฤษประกาศยุบสภา นายนิธิบอกว่า มีตั้งแต่รัฐบาลไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภา นำกฎหมายสำคัญผ่านสภาไม่ได้ พรรคร่วมถอนตัวจนคะแนนเสียงในสภามีไม่พอ
หรือแม้ขณะที่รัฐบาลกำลังได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนสูงขึ้น นายกรัฐมนตรีก็อาจประกาศยุบสภา เพื่อจะได้มีที่นั่งในสภามากขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งใหม่
ในส่วนของเมืองไทย ดร.นิธิแสดงความเห็นว่า สภามัก "ถูกปิด" มากกว่า "ถูกยุบ"
โดยการปิดรัฐสภาซึ่งผิดรัฐธรรมนูญนี้ เริ่มมาตั้งแต่สภาสมัยที่หนึ่งในรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
และหลังจากนั้นกองทัพก็ปิดสภาด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญอยู่เรื่อยมา
เป็นชนวนนำความพินาศมาสู่บ้านเมืองหลายต่อหลายครั้ง
การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มคนเสื้อแดงให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค.53 ถึงวันนี้ก็เป็นเวลาเกือบ 2 เดือน
เป็น 2 เดือนที่เต็มไปด้วยความตึงเครียด หวาด ระแวง และเกิดความรุนแรงขึ้นในหลายกรณี
ขณะที่ประเด็นการ "ยุบสภา" ในเมืองไทย ดูเหมือนจะเป็นเรื่องใหญ่ คล้ายจะชี้เป็นชี้ตายประเทศ
แต่ในประเทศต้นแบบประชาธิปไตยอย่างอังกฤษ การยุบสภาเป็นกลไกการเมืองธรรมดาๆ ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้บ้านเมืองเสียหาย
นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการชื่อดังของสังคมไทย อธิบายลักษณะของสภาอังกฤษไว้ว่า
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2344 ซึ่งเป็นปีเริ่มต้นของสภาแห่งราชอาณาจักรเป็นต้นมา สภาอังกฤษเคยมีวาระตั้งแต่ 3-10 ปี
จนปี พ.ศ.2454 สภาอังกฤษจึงมีวาระตามกฎหมาย 5 ปีเรื่อยมา
แต่การที่รัฐบาลอังกฤษโดยมากมักถวายคำแนะนำแก่กษัตริย์อังกฤษให้ยุบสภาในเวลา 4 ปี
หลายคนในเมืองไทยจึงเข้าใจว่า สภาอังกฤษมีระยะเวลาเพียง 4 ปี
นายนิธิตั้งข้อสังเกตว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สภาอังกฤษมักสิ้นสุดลงโดยการยุบสภาเกือบทั้งสิ้น
กล่าวคือในสภา 55 สมัย มีสภาที่อยู่ครบวาระตามกฎหมายเพียง 2 สมัย
และทั้ง 2 สมัยล้วนเป็นสภาที่อยู่ในระหว่างภาวะสงคราม
ได้แก่สภาสมัยที่ 30 ซึ่งอยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และสภาสมัยที่ 37 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเพณีการปกครองของอังกฤษมักจะไม่นับวันเลือกตั้งไปจนครบวาระพอดิบพอดี แต่รัฐบาลมักจะเลือก "ยุบสภา" ก่อนครบวาระตามกฎหมาย
ซึ่งอาจจะยุบก่อนได้ถึง 3 ปี (เมื่อวาระของสภาตามกฎหมายคือ 7 ปี) ไปจนถึงไม่กี่เดือนก่อนหน้า
หากนับสภาสมัยที่สามารถอยู่ได้ถึง 4 ปีหรือใกล้ๆ 4 ปี ว่าเป็นสภาที่อยู่ครบ "วาระ" ตามประเพณี
ในสภา 55 สมัย รัฐบาลอังกฤษ "ยุบสภา" ก่อนวาระอันควรตามประเพณีถึง 19 สมัย
โดยในช่วงที่สภาอังกฤษมีวาระ 7 ปี รัฐบาล "ยุบสภา" ก่อน 5 ปี ถึง 7 สมัย และยุบสภาในเวลาต่ำกว่า 3-4 ปีอีก 13 สมัย
เหลือสภาที่อยู่ครบวาระตามประเพณี 8 สมัย ในขณะที่ช่วงที่สภาอังกฤษมีวาระตามกฎหมาย 5 ปี สภาถูกยุบไปก่อนครบ 4 ปีถึง 9 ครั้ง
สาเหตุที่รัฐบาลอังกฤษประกาศยุบสภา นายนิธิบอกว่า มีตั้งแต่รัฐบาลไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภา นำกฎหมายสำคัญผ่านสภาไม่ได้ พรรคร่วมถอนตัวจนคะแนนเสียงในสภามีไม่พอ
หรือแม้ขณะที่รัฐบาลกำลังได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนสูงขึ้น นายกรัฐมนตรีก็อาจประกาศยุบสภา เพื่อจะได้มีที่นั่งในสภามากขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งใหม่
ในส่วนของเมืองไทย ดร.นิธิแสดงความเห็นว่า สภามัก "ถูกปิด" มากกว่า "ถูกยุบ"
โดยการปิดรัฐสภาซึ่งผิดรัฐธรรมนูญนี้ เริ่มมาตั้งแต่สภาสมัยที่หนึ่งในรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
และหลังจากนั้นกองทัพก็ปิดสภาด้วยการฉีกรัฐธรรมนูญอยู่เรื่อยมา
เป็นชนวนนำความพินาศมาสู่บ้านเมืองหลายต่อหลายครั้ง