WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 5, 2010

5พฤษภาห้าร้อยเก้าแดดลบเงาจางหาย เขาตายอยู่ข้างทางเกวียน ศพคนนี้นี่หรือคือจิตร ภูมิศักดิ์

ที่มา Thai E-News




จิตร ภูมิศักดิ์ (25 กันยายน พ.ศ. 2473 ต. ประจันตคาม อ. ประจันตคาม จ. ปราจีนบุรี — 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ต. บ้านหนองกุง อ. วาริชภูมิ จ. สกลนคร)


ที่มา วิกิพีเดีย
5 พฤษภาคม 2553

เป็นนักคิดด้านการเมือง นักประวัติศาสตร์ และนักภาษาศาสตร์ นับเป็นนักปราชญ์และนักปฏิวัติทางความคิดและวิชาการคนสำคัญของประเทศไทย

จิตรเป็นนักวิชาการคนแรกๆ ที่กล้าถกเถียงและคัดค้านปราชญ์คนสำคัญ ด้วยวิธีคิดที่มีเหตุผลและลุ่มลึก มีความโดดเด่นจากผลงานการค้นคว้าทางวิชาการที่แปลกใหม่และลึกซึ้ง ขณะเดียวกันจิตรยังมีความคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำนาจกดขี่ของชนชั้นสูงมาโดยตลอด

จิตรเป็นบุตรของ นายศิริ ภูมิศักดิ์ และนางแสงเงิน ภูมิศักดิ์ มีชื่อเดิมว่า สมจิตร ภูมิศักดิ์ แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น จิตร เพียงคำเดียว ตามนโยบายตั้งชื่อให้ระบุเพศชายหญิงอย่างชัดเจน ของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม

การศึกษา

เมื่อปี พ.ศ. 2479 จิตรติดตามบิดา ซึ่งรับราชการเป็นนายตรวจสรรพสามิต เดินทางไปรับราชการยังจังหวัดกาญจนบุรี และเข้ารับการศึกษาชั้นประถม ที่โรงเรียนประจำจังหวัดแห่งนั้น

จิตรย้ายมาอยู่ที่สมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. 2482 บิดาของจิตรย้ายไปรับราชการในเมืองพระตะบอง ซึ่งสมัยนั้นเป็นเมืองในการปกครองของไทย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของกัมพูชา) จิตรจึงย้ายตามไปด้วย และได้เข้าศึกษาชั้นมัธยมที่นั่น

ถึงปี พ.ศ. 2490 ประเทศไทย ต้องคืนดินแดนเมืองพระตะบองให้กัมพูชา จิตรจึงอพยพตามมารดากลับเมืองไทย ส่วนบิดานั้นไปเริ่มชีวิตครอบครัวใหม่กับหญิงอื่น ระหว่างที่ครอบครัวภูมิศักดิ์ ยังอยู่ที่พระตะบอง นางแสงเงินเดินทางไปค้าขายที่จังหวัดลพบุรี

ขณะที่จิตรและพี่สาว เดินทางมาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร โดยจิตรเข้าเรียนที่โรงเรียนเบญจมบพิตรหรือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน และสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในที่สุด

แนวคิดและการต่อสู้

ชื่อเสียงของ จิตร ภูมิศักด์ น่าจะโด่งดังในสาธารณชนวงกว้างเป็นครั้งแรก จากกรณี โยนบก เมื่อครั้งที่เขาเป็นสาราณียากร ให้กับหนังสือประจำปี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2496

ในครั้งนั้นเขาได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่ "ซ้ำ ๆ ซาก ๆ" ของหนังสือประจำปี โดยลงบทความสะท้อนปัญหาสังคม ประณามผู้เอารัดเอาเปรียบในสังคม ซึ่งรวมถึงรัฐบาลด้วย รวมทั้งชี้ให้เห็นค่านิยมอันไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้คนนับถือกันมานาน โดยบทความเหล่านั้น มีทั้งที่จิตรเขียนเอง ร่วมแก้ไข หรือเพื่อน ๆ คนอื่นเขียน

ผลก็คือ ระหว่างการพิมพ์หนังสือได้ถูกตำรวจสันติบาลอายัด และมีการ "สอบสวน" จิตรที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเหตุการณ์นั้น จิตรถูกกลุ่มนิสิตที่นำโดยนายสีหเดช บุนนาค คณะวิศวกรรมศาสตร์ตั้งศาลเตี้ยจับ "โยนบก" ลงจากเวทีหอประชุม ทำให้จิตรได้รับบาดเจ็บต้องเข้าโรงพยาบาลและพักรักษาตัวอยู่หลายวัน ต่อมาทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโทษและมีมติให้จิตร ภูมิศักดิ์ถูกพักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี คือในปี พ.ศ. 2497

ระหว่างถูกพักการเรียน จิตรได้ไปสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนอินทร์ศึกษา แต่สอนได้ไม่นาน ก็ถูกไล่ออกไป เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีหัวก้าวหน้ามากเกินไป จิตรจึงไปทำงานกับหนังสือพิมพ์ไทยใหม่ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ที่จิตรได้สร้างสรรค์ผลงานการวิจารณ์ที่มีคุณค่าต่อวงวิชาการไทยหลายเรื่อง เช่น การวิจารณ์วรรณศิลป์ วิจารณ์หนังสือ วิจารณ์ภาพยนตร์ โดยใช้นามปากกา "บุ๊คแมน" และ "มูฟวี่แมน"

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2508 จิตรได้เดินทางสู่ชนบทภาคอีสาน เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในนาม สหายปรีชา และถูกกระสุนปืน PSG-1ของเจ้าหน้าที่ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ที่ บ้านหนองกุง ตำบลวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

ผลงาน

จิตรมีความสามารถในด้านภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์อย่างมาก และยังมีความสามารถระดับสูงในด้านอื่น ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ถือว่าเป็นอัจฉริยะบุคคลของไทยคนหนึ่ง

ในด้านภาษาศาสตร์นั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญในภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร โดยเฉพาะภาษาเขมรนั้น จิตรมีความเชี่ยวชาญทั้งภาษาเขมรปัจจุบันและภาษาเขมรโบราณด้วย นอกจากนี้ จิตรได้เขียนพจนานุกรมภาษาละหุ (มูเซอ) โดยเรียนรู้กับชาวมูเซอขณะอยู่ในคุกลาดยาว ในตอนแรก ชาวมูเซอไม่สามารถพูดภาษาไทยได้, จิตรเองก็ไม่สามารถพูดภาษามูเซอได้เช่นกัน แต่ด้วยความสามารถ เขาสามารถเรียนรู้ระบบของภาษา และนำมาใช้ได้อย่างน่าอัศจรรย์.

งานเขียนชิ้นเด่น

หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ", 2519*
หนังสือ "ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม" (ต่อมาพิมพ์รวมเล่มกับ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" เป็น "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และ ขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ฉบับสมบูรณ์")
หนังสือ "โฉมหน้าศักดินาไทย"*
หนังสือ "ภาษาและนิรุกติศาสตร์"
หนังสือ "ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย"
หนังสือ "โองการแช่งน้ำ และ ข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา", 2524
หนังสือ "สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา", 2526
หนังสือ "ตำนานแห่งนครวัด"
เพลง "ภูพานปฏิวัติ"
เพลง "แสงดาวแห่งศรัทธา"
บทกวี "เธอคือหญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน"
บทกวี "อะไรแน่ ศาสนา ข้าสงสัย"
บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์*
ผลงานที่มี * ข้างท้าย หมายถึงถูกคัดเลือกให้อยู่ใน หนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน

นามปากกา
นามปากกาของจิตรมีเป็นจำนวนมาก เช่น นาคราช1, ศูลภูวดล1, ศรีนาคร, ทีปกร, สมสมัย ศรีศูทรพรรณ1, ศิลป์ พิทักษ์ชน, สมชาย ปรีชาเจริญ, สุธรรม บุญรุ่ง, ขวัญนรา, สิทธิ ศรีสยาม1, กวีการเมือง, กวี ศรีสยาม, บุคแมน, มูฟวี่แมน (มูวี่แมน) , ศิริศิลป์ อุดมทรรศน์1, จักร ภูมิสิทธิ์2

หมายเหตุ: 1 หมายถึง ใช้เพียงครั้งเดียว, 2 เป็นคำผวนของชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์

**********

เพลง จิตรภูมิศักดิ์
ศิลปิน คาราวาน

เขาตาย.ในชายป่า
เลือดแดงทา.ดินเข็ญ.
ยากเย็น ค่นแค้น.อับจน.

และถึงวันพราก
เขาลงมาจาก.ยอดเขา
ใต้เงา.มหานกอินทรีย์
ล้อมยิงโดยกระหยิ่ม
อิ่มในเหยื่อตัวนี้.
โชคดี สี่ขั้น.พันดาว

เหมือนดาวร่วงหล่น
ความเป็นคนล่วงหาย
ก่อนตายจะหมายสิ่งใด

แสนคนจนยาก
สิบคนหากรวยหลาย
อับอาย.แก่หล้าฟ้าดิน

เขาจึงต่อสู้ อยู่ข้างคนทุกข์เข็ญ
ได้เห็น.ได้เขียนพูดจา.
คุกขังเขาได้
แต่หัวใจอย่าปรารถนา.
เกิดมา.เข่นฆ่า.อธรรม..

แล้วอำนาจเถื่อน
มาบิดเบือนบังหน
กี่คน.ย่อยยับ.อัปรา..

สองพัน.ห้าร้อยแปด
เมฆดำปกคลุมฟ้า.
ด้วยฤทธา มหา.อินทรีย์

ร้างเมือง.ไร้บ้าน
อยากทำการป่าเขา
เสี่ยงเอา ชีวีมลาย..

พฤษภา.ห้าร้อยเก้า
แดดลบเงาจางหาย
เขาตาย.อยู่ข้างทางเกวียน

ศพคนนี้นี่หรือคือจิตร ภูมิศักดิ์
ตายคาหลักเขตป่ากับนาคร
ศพคนนี้นี่หรือคือจิตร ภูมิศักดิ์
ศพคนนี้นี่หรือคือจิตร ภูมิศักดิ์

ตายคาหลักเขตป่ากับนาคร
เขาตายในชายป่า
เลือดแดงทาดินอีสาน
อีกนาน อีกนาน อีกนาน

เขาตายเหมือนไร้ค่า
แต่ต่อมาก้องนาม
ผู้คน ไถ่ถามอยากเรียน

ชื่อจิตร ภูมิศักดิ์
เป็นนักคิด.นักเขียน
ดั่งเทียน.ผู้ถ่องแท้.แก่คน

เขาตายในชายป่า
เลือดแดงทาดินอีสาน
อีกนาน อีกนาน อีกนาน

เขาตายเหมือนไร้ค่า
แต่ต่อมาก้องนาม
ผู้คน ไถ่ถามอยากเรียน

ชื่อจิตร ภูมิศักดิ์
เป็นนักคิด.นักเขียน
ดั่งเทียน.ผู้ถ่องแท้.แก่คน