ที่มา มติชน
หรือประโยชน์อื่นใดจากการส่งข้อความเอสเอ็มเอสจำนวน17,200,000 เบอร์ ของ 3 บริษัท
มีมูลค่าเกิน 3,000 บาท ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับถือว่าต้องห้ามตามมาตรา 103 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประกอบกับประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2543 ดังนั้น จึงขอโปรดตรวจสอบหากพิจารณาแล้วเห็นว่า
มีมูลตามคำร้องขอให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.
ด้วยการเสนอเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยต่อไปด้วย
นายเรืองไกร กล่าวว่า ตนร้องเรียนมาแล้วเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2552
แต่ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีและนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ตอบกระทู้สดในที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมาโดยสรุปว่า การส่งเอสเอ็มเอสเป็นความตั้งใจของนายอภิสิทธิ์ผ่านทั้ง 3 บริษัท
แต่นายกฯ ไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายหรือค่าบริการ
แต่ในทางกลับกันทำให้ทั้ง 3 บริษัทก็ไม่มีรายได้แต่อย่างใด
ทั้งนี้นายกรณ์ระบุว่า ผู้รับเองจะมีค่าใช้จ่าย
ซึ่งจะถือเป็นรายได้ของบริษัทก็ต่อ
เมื่อต้องการฟังข้อความในวอยซ์ เพจ ที่อัดเสียงนายกฯอภิสิทธิ์ไว้ จึงจะเสียค่าบริการครั้งละ 3 บาท แต่ตรงนี้ตนเห็นว่า เป็นประโยชน์อื่นใดที่ได้รับแล้ว ไม่มีกฎหมายยกเว้นให้
เพื่อไทย
Monday, May 3, 2010
"เรืองไกร"จี้ป.ป.ช.สอบ"มาร์ค"อีกรอบ ส่ง"เอสเอ็มเอส"ขอบคุณปชช.
ที่รัฐสภา นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ตนได้ทำหนังสือประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อขอให้ตรวจสอบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กรณีเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับทรัพย์สิน