WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 5, 2010

ปรองดองของนายกฯอภิสิทธิ์ ?

ที่มา Thai E-News




สันติภาพ-อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศแผนปรองดอง โดยจะจัดเลือกตั้งใหม่ภายใน 14พ.ย. เป็นความหวังจะนำไปสู่การสิ้นสุดวิกฤตการณ์การเมืองที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 27 ราย ขณะที่แกนนำเสื้อแดงแถลงขานรับข้อเสนอ แต่ขอรายละเอียดที่ชัดเจนว่านายอภิสิทธิ์จะยุบสภาวันไหนแน่ ก่อนจะตัดสินใจยุติการชุมนุมต่อไป


โดย แนวร่วมคนเสื้อแดง
4 พฤษภาคม 2553

เมื่อคืนวาน( 3 พฤษภาคม 2553) ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แถลงถึง กระบวนการปรองดอง ประกอบด้วย 5องค์ประกอบสำคัญ

และด้วยความหล่อเหลา คำพูดนิ่มนวล คารมคมคาย วาทศิลป์ที่สวยงามของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ อาจทำให้ผู้ฟังเคลิ้ม หรือ ดูดีไปหมด แต่ผู้เขียนชวนกันพินิจ คำพูดกับการปฎิบัติ วาทศิลป์กับความเป็นจริงหรือว่านายกรัฐมนตรีตอแหลหรือไม่ ?

และมีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบ 5 ประการว่า

องค์ประกอบที่หนึ่ง นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ บอกว่าประเทศไทยโชคดีที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่คอยหลอมรวมจิตใจคนไทยทั้งชาติ น่าเสียดายที่ในระยะหลังมีคนจำนวนหนึ่งทำให้สถาบันถูกดึงลงมาในความขัดแย้งทางการเมือง

คำถามก็คือว่า ใครเป็นคนดึงสถาบันฯมาสร้างความขัดแย้ง ? มาใส่ร้ายคนเสื้อแดงเสมือนไม่มีความจงรักภักดี ? ผูกขาดความรักสถาบันเพียงฝ่ายเดียว ขณะที่รัฐบาลอภิสิทธิ์นั่นเองมิใช่หรือ? เป็นผู้ทำลายความชอบธรรมของคนเสื้อแดงโดยกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดี ทั้งๆคนเสื้อแดง มีข้อเรียกร้องที่ชัดเจนต้องการให้สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

พวกเขาต้องการให้อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน พวกเขาวิพากษ์ถึงระบอบอำมาตย์ ที่มีองคมนตรี กองทัพ ระบบราชการต่างๆในการแทรกแซงการเมืองไทยมาตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทย ทำให้สังคมไทยล้าหลัง ไม่พัฒนาประชาธิปไตยอย่างที่ควรจะเป็น จึงไม่ได้เป็นการจาบจ้วงแต่อย่างใด

องค์ประกอบที่สอง ใครๆก็พูดได้ว่า จะปฏิรูปประเทศไทย รัฐบาลบริหารประเทศมานานพอสมควร แต่ก็ไม่ได้มีนโยบายปฏิรูปประเทศไทยอย่างที่กล่าวถึงเลย

การปฏิรูปประเทศไทยของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ จึงเป็นเพียงการเบี่ยงเบนประเด็นเท่านั้นเอง และการปฏิรูปประเทศไทยเป็นเรื่องการเมืองโดยตรงที่จะนำสู่การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำในสังคม

ที่สำคัญอุปสรรคในการปฏิรูปประเทศไทยคือระบอบอำมาตย์ ทั้งรูปการจิตสำนึกและผลประโยชน์ของระบบอำมาตย์เอง อาทิเช่น ผลประโยชน์ด้านการจัดสรรงบประมาณของกองทัพ ของราชการต่างๆฯลฯ รูปการจิตสำนึกที่มองคนไม่เท่ากัน มองคนจนว่าโง่ถูกซื้อ คนจนในชนบทไม่มีสิทธิ์เสียงเท่าคนชั้นกลางในเมือง คนจนไม่มีความรู้ไม่ได้จบปริญญาจึงไม่เข้าใจประชาธิปไตย ถูกนักการเมืองหลอก ฯลฯ

เครือข่ายอำมาตย์หลายองค์กรหลายส่วนโดยเฉพาะองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่ม 40 สว. TPBS สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สภาองค์กรชุมชน ฯลฯ ทั้งหลาย ที่มักคับแคบทางความคิดให้ความหมายปฏิรูปประเทศไทย เท่าปัญหาเรื่องที่ดิน เขื่อน ป่าไม้ และปัญหาเหล่านี้ก็น่าจะรู้ดีกันว่าต้องมีการปฏิรูปการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยการมีส่วนร่วมของ”ชุมชน-สังคม”

และอุปสรรคที่สำคัญก็คือระบบราชการส่วนสำคัญของระบอบอำมาตย์ เช่น กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมที่ดิน ฯลฯ มักรวมศูนย์อำนาจ จึงต้องแก้ไขกฎหมายต่างๆที่ให้อำนาจกับราชการ ซึ่งต้องผ่านเวทีรัฐสภา และพรรคประชาธิปัตย์นิยมระบบอำมาตย์ของที่มีหัวหน้าพรรคชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มักปฏิเสธ หรือมีจุดยืนเดียวกับระบบราชการนั่นเอง

ส่วนการกล่าวถึงระบบสวัสดิการของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ นั่น ใครๆก็พูดได้ และเป็นลักษณะนโยบายสังคมสงเคราะห์มากกว่า การต้องการสร้างความเสมอภาคให้กับสังคมไทย ซึ่งต้องดูแลสวัสดิการพื้นฐานให้ประชาชนเท่าเทียมถ้วนหน้า ซึ่งต้องสร้างรัฐสวัสดิการ โดยการเก็บภาษีที่ก้าวหน้าเหมือนเช่นประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่น สวีเดน และอีกหลายประเทศ

ภาษีที่ก้าวหน้านั้น ต้องไม่เน้นภาษีบริโภคอย่างปัจจุบันที่คนจนเสียภาษีมากกว่าคนรวยด้วยซ้ำ ต้องมีภาษีรายได้ มีภาษีที่ดินที่ก้าวหน้า และ ต้องทำเหมือนครั้งหนึ่งของนโยบายของคณะราษฎร นำโดย นายปรีดี พนมยงค์ ที่มีการออกกฎหมายภาษีมรดก แต่ก็ถูกยกเลิกไป เมื่ออำนาจทางการเมืองของคณะราษฎรต้องถูกระบบอำมาตย์โค่นล้มลง

แน่นอนว่า ไม่ใช่ชื่อ “ภาษีก้าวหน้า” แต่เนื้อแท้กลับ “ล้าหลัง” ไม่คุ้มค่าจ้างพนักงานไปเก็บอย่างนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังปัจจุบัน

องค์ประกอบที่สาม การพูดถึงสังคมข่าวสารของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ และต้องสนับสนุนเสรีภาพของสื่อมวลชน แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์เองกลับกระทำในทางตรงกันข้าม ใช้สื่อรัฐทั้ง NBT และวิทยุของรัฐ ให้ข้อมูลด้านเดียวอยู่ตลอด เพื่อใส่ร้าย ป้ายสี เติมแต่ง “คนเสื้อแดง” เหมือนเป็น “คนอื่น” ไม่ใช่ “คนไทย” ใช่หรือไม่?

ขณะเดียวกัน ได้ปิดกั้นสื่อฝ่ายประชาธิปไตย ปิดเวปไซค์ ปิดวิทยุชุมชนจำนวนมาก และ ทีวีพีเพิลชันแนลของคนเสื้อแดง หรือกล่าวได้ว่า “เสรีภาพของสื่อมวลชน”จึงเป็นได้เฉพาะสื่อเชียร์รัฐบาลเท่านั้นเอง

องค์ประกอบที่สี่ นายกรัฐมตรีอภิสิทธิ์พูดถึง เหตุการณ์ความรุนแรง เมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ว่ากระทบกระเทือนต่อจิตใจคนไทยเสมือนตนเองไม่มีส่วนเกี่ยงข้องแต่อย่างใดกับในชีวิตผู้คนที่ต้องสูญเสีย จากอาวุธสงคราม ทั้งๆที่ พรบ.ฉุกเฉินร้ายแรงที่นำสู่การ “ปราบปราม”ประชาชน แม้จะใช้คำให้ดูดีว่า “ขอพื้นที่คืน” ก็ตาม นั่นก็มาจากคำสั่งนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ นั่นเอง ใช่หรือไม่? และใครเป็นทรราชย์ ? ใครเป็นฆาตรกรสั่งฆ่าประชาชน ?

องค์ประกอบที่ห้า นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ กล่าวอ้างว่า เกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรมในหลายด้าน ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับกติกา เช่น รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายบางฉบับ หรือการเพิกถอนสิทธิในวงการเมือง ถึงเวลาที่ต้องนำสิ่งเหล่านี้มาวางเพื่อให้มีกลไกระดมความเห็นทุกฝ่าย เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า กลไกระดมความเห็นทุกฝ่าย คงเป็นเพียงข้ออ้าง และเป็นเพียงกลไกเพียงฝ่ายนายกรัฐมนตรีที่ได้คุยวาแผนกันเรียบร้อยแล้วเท่านั้นเอง

เนื่องจากที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์เองก็ยืนยันไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ และถ้ารัฐบาลต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ต้องใช้กระบวนการแบบรัฐธรรมนูญ 40 ภายหลังการยุบสภา จึงจะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายโดยแท้จริง

ท้ายสุด ผู้เขียนคิดว่า การยุบสภา จะเป็นจุดการเริ่มต้นสู่จุดหมายปลายทาง ทั้งการปฏิรูปประเทศไทย การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ การให้เสรีภาพประชาชน เสรีภาพสื่อ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตลอดทั้งเป็นแนวทางปรองดองที่แท้จริง ภายใต้การต่อสู้กันทางการเมืองของทุกฝ่ายอย่างแนวทางสันติวิธี

โดยอำนาจเสียงสวรรค์มาจากประชาชน จะเป็นผู้กำหนดอนาคตสังคมไทยได้อย่างแท้จริง