ที่มา ประชาไท กระบวนการปรองดอง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบสำคัญ หนึ่ง ประเทศไทยโชคดีที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่คอยหลอมรวมจิตใจคนไทยทั้งชาติ น่าเสียดายที่ในระยะหลังมีคนจำนวนหนึ่งทำให้สถาบันถูกดึงลงมาในความขัดแย้งทางการเมือง การที่จะทำให้สังคมไทยมีปกติสุข ทุกคนมีภาระหน้าที่ช่วยกันให้สถาบันไม่ถูกดึงลงมาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ทุกฝ่ายต้องร่วมกันทำงาน เพื่อที่จะเทิดทูน เชิดชูสถาบันกษัตริย์ ช่วยกันสร้างความเข้าในที่ถูกต้อง ดูแลมิให้มีสื่อใดจาบจ้วงหรือดึงสถาบันมาสู่ความขัดแย้งทางการเมือง สอง เป็นหัวใจของการปฏิรูปประเทศที่กำลังพูดถึงกัน ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอาจถูกมองว่ามาจากเรื่องการเมือง แต่รากฐานมาจากความไม่เป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจ ผู้ชุมนุมจำนวนมากก็รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับโอกาส ถูกรังแกจากผู้มีอำนาจ ในอดีตรัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัยอาจมีนโยบายแก้ปัญหา แต่ไม่สามารถทำให้เกิดความเป็นธรรมทั้งโครงสร้างได้ ถึงเวลาที่จะมีระบบสวัสดิการที่ดีและสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกัน ประชาชนที่ทุกข์ร้อนเป็นพิเศษ คนไม่มีที่ทำกิน หนี้สินท่วมตัว ต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบ โดยจะดึงเอาทุกภาคส่วนเข้ามาดำเนินการที่จะแก้ปัญหานี้ และจะมีมาตรการรูปธรรมอย่างเป็นระบบ และมีเป้าหมายที่ชัดเจน ประเมินผลได้ว่าจะยกระดับรายได้ให้ประชาชน และให้ทุกรัฐบาลต้องดำเนินการเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม สาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคปัจจุบัน สังคมเราเป็นสังคมข้อมูลข่าวสาร จริงอยู่ที่จะต้องสนับสนุนและยืนยันสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวาสร แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า อำนาจของสื่อที่นำเสนอข่าวสาร ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมือง อาศัยช่องว่างทางกฎหมายดำเนินการทั้งการใช้อินเตอร์เน็ต สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม วิทยุชุมชน แม้กระทั่งสถานีโทรทัศน์ของรัฐเองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าสร้างความขัดแย้ง เกลียดชัง เรายังยืนยันว่าสื่อต้องมีสิทธิเสรีภาพ แต่ต้องมีกลไกอิสระเข้ามากำกับอย่างแท้จริงว่า แม้จะมีอิสระแต่ต้องไม่เสนอข้อมูลข่าวสารที่มุ่งความเกลียดชัง และความรุนแรงต่อกัน ถ้าดูแลเรื่องการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ สังคมก็จะกลับมาปรองดองกันได้ สี่ หลังจากมีการชุมนุมเคลื่อนไหวครั้งล่าสุด ได้เกิดหลายเหตุการณ์ที่มีความรุนแรง ความสูญเสีย ทำให้เกิดข้อกล่าวหาต่างๆ นานา อาจนำไปสู่ความแตกแยกมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าเหตุการณ์ 10 เมษา หรือที่ถนนสีลม หรือที่ดอนเมือง ล้วนแล้วแต่กระทบกระเทือนจิตใจประชาน หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ที่รพ.จุฬาฯ ก็สร้างความกระทบกระเทือนจิตใจให้ประชาชนจำนวนมาก ทุกเหตุการณ์ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ต้องมีคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย และให้ความจริงกับสังคม ห้า เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรง ความขัดแย้งทางการเมืองสี่ห้าปีนี้ทำให้เกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรมในหลายด้าน ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับกติกา เช่น รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายบางฉบับ หรือการเพิกถอนสิทธิในวงการเมือง ถึงเวลาที่ต้องนำสิ่งเหล่านี้มาวางเพื่อให้มีกลไกระดมความเห็นทุกฝ่าย เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ครอบคลุมตั้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไปจนถึงการชุมนุมในช่วงประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ต้องมีการให้ความเป็นธรรม กระบวนการนี้ไม่อาจบรรลุเป้าหมาย หากไม่ได้รับการร่วมมือจากทุกฝ่าย หากเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ ทุกกลุ่มเข้าร่วม ทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่ ไม่มีการขัดขวาง เคลื่อนไหวรุนแรง มั่นใจว่าจะใช้เวลาไม่นานนัก ก็สามารถนำความปรองดอง ปกติสุขคืนสู่สังคม ถ้าเป็นเช่นนั้น รัฐบาลพร้อมจัดการเลือกตั้งใหม่ ให้ประชาชนตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง ถ้าบ้านเมืองสงบ การเลือกตั้งจัดให้มีขึ้นในในวันที่ 14 พ.ย.นี้ แต่ถ้าบ้านเมืองยังไม่สงบ กระบวนการดังกล่าวก็จะดำเนินไป แต่อาจล่าช้า และไม่อาจตอบได้ว่าการเลือกตั้งที่นำสู่การปรองดองจะเกิดขึ้นได้เมื่อไร และหากผู้ชุมนุมไม่รับข้อเสนอนี้ ก็จะยังพยายามทำต่อไป โดยไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีการเลือกตั้งเมื่อไร อย่างไร ข้อเสนอเพื่อความปรองดองอาจไม่ถูกใจฝ่ายใดเลย เพราะไม่มีใครได้ทุกสิ่งที่ตนต้องการ แต่ต้องอาศัยความเสียสละ และยอมถอยคนละก้าว หวังว่าข้อเสนอนี้จะได้รับการตอบรับจากทุกฝ่าย และในวันพุธที่จะถึงนี้พวกเราจะได้มีความสุขในการเฉลิมฉลองวันฉัตรมงคล
เพื่อไทย
Tuesday, May 4, 2010
‘อภิสิทธิ์’ เสนอ 5 ข้อแผนปรองดอง ลั่นถ้าทุกฝ่ายยอมรับจะมีเลือกตั้ง 14 พ.ย.
3 พ.ค.53 เวลาประมาณ 21.15 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ระบุว่า คืนนี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมที่จะพูดถึงแนวทางของรัฐบาลที่จะคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายสาเหตุ เป็นการสะสมปัญหามาหลายปี บางเรื่องเป็นการเมืองโดยตรง บางเรื่องเป็นปัญหาเศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย และเรื่องอื่นๆ ที่สะสมมาทั้งหมดทำให้ความขัดแย้งเกิดความแตกแยกร้าวลึก คำตอบทางการเมืองที่อยากนำเสนอในวันนี้ และขอเชิญชวนทุกกลุ่มเข้ามาแก้ไข คือ การสร้างกระบวนการปรองดองขึ้นมา โดยกระบวนการนี้ฟังจากประชาชนทุกกลุ่ม