WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, May 6, 2010

ชำแหละแผนโรดแม็ปแก้วิกฤต

ที่มา ข่าวสด


รายงานพิเศษ




สมชาย ปรีชาศิลปกุล/พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์/ไพบูลย์ พลสุวรรณา

แผนปรองดองโรดแม็ปทั้ง 5 ข้อที่นายกฯ เสนอ ประกอบด้วย

1.เทิดทูนสถาบัน 2.ปฏิรูปประเทศแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม 3.ปฏิรูปสื่อ 4.ตั้งกรรมการอิสระสอบข้อเท็จจริงการชุมนุม และ 5.ปฏิรูปการเมือง

รวมถึงการประกาศวันเลือกตั้ง 14 พ.ย.

ได้รับความเห็นชอบจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะคู่กรณีกลุ่มเสื้อแดง และพรรคร่วมรัฐบาล

แต่หากลงลึกในรายละเอียด ทั้ง 5 แนวทางเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน แล้วนักวิชาการมีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร



สมชาย ปรีชาศิลปกุล

อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



แผนปรองดองโรดแม็ป 5 ข้อที่นายกฯ เสนอ เป็นทางออกจากปัญหา มีแนวโน้มสันติวิธี สังคมควรสนับสนุน

แต่กังวลว่าสิ่งที่เสนอ หลายเรื่องไม่น่าจัดการได้ภายในเวลาอันสั้น เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเรื่องของคนจำนวนมาก การแก้ ไขระบบแบ่งเขต

แล้วทั้ง 5 เรื่องหากทำไม่ได้ จะต้องทำอย่างไร รัฐบาลมองว่าจะอยู่ต่อไปใช่หรือไม่ หรือจะไม่ยุบสภาหากแก้ไขไม่ได้ เช่น หากเลือกตั้งเสื้อแดงชนะ เสื้อเหลืองจะยอมหรือไม่ ควรพูดให้ชัดเจน

แต่ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียด เป็นแค่จุดเริ่มต้น บางเรื่องอาจไม่เสร็จในรัฐบาลชุดนี้ หากเป็นเช่นนั้นรัฐบาลใหม่ควรนำไปสานต่อ ประชาชนอย่าคาดหวังว่าจะแก้ปัญหาประเทศในเวลาอันสั้นได้

ขอวิเคราะห์ข้อเสนอทั้ง 5 ข้อ


1.สถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ควรนำลงมาสู่ความขัดแย้งทางการเมือง ขณะนี้ก็ถกเถียงกันโดยเฉพาะบางกลุ่มที่เสนอให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ขณะที่บางส่วนเห็นว่าควรมีไว้ แต่รวมๆ แล้วสถาบันควรหลุดพ้นจากการเมืองเพราะเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนเทิดทูน

2.ปฏิรูปประเทศขจัดความไม่เป็นธรรม เป็นเรื่องใหญ่ ไม่สามารถจัดการได้ภายใน 4 เดือน เช่น รัฐสวัสดิการ ต้องมีคนจ่าย อาจต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้นแล้วใครจะยอมจ่าย ขนาดภาษีที่ดินที่รัฐบาลชุดนี้พยายามจะผลักดัน ยังทำไม่สำเร็จ

การทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันต้องใช้เงินมาก แล้วประชาชนจะยอมจ่ายหรือไม่

3.การปฏิรูปสื่อ ผมแปลกใจที่นายกฯ พูดว่า จะจัดการกับขบวนการแทรกแซงสื่อ เพราะที่ผ่านมา ช่อง 11 นายกฯ พูดหลายครั้งก็ยังจัดการไม่ได้ มีเสียงครหาตามมา จึงไม่คิดว่าสามารถทำได้ภายใน 4 เดือน

มองในแง่ดีอาจต้องการปรับทั้งสื่อของรัฐและทีวีไทย แต่ขณะเดียวกันสื่อของแต่ละสีจะทำอย่างไร ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา สื่อมีอิทธิพลต่อสังคมไทยอย่างมาก

4.การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น หากให้คนที่อยู่ในสังคมเป็นกรรมการ จะทำได้ยาก หลายฝ่ายอาจไม่ยอมรับเพราะทุกวันนี้คนได้เลือกสีเลือกข้างไปแล้ว

การตั้งคณะกรรมการอิสระ ควรเป็นคนนอกที่ทำงานด้านองค์กรสิทธิมนุษยชน อาจมาจากต่างประเทศ จะเกิดการยอมรับมากขึ้น เรื่องนี้ต้องทำให้ทุกฝ่ายยอมรับ


5.การแก้ไขข้อขัดแย้งทางการเมือง ไม่ว่าเรื่องกฎหมายหรือการแก้รัฐธรรมนูญ ต้องใช้เวลามาก ประเด็นนี้มีความสำคัญหากทำอย่างต่อเนื่องคาดว่าจะสำเร็จได้ โรดแม็ปครั้งนี้ขอให้เป็นจุดเริ่มต้น รัฐบาลชุดหน้าควรสานต่อ

วันเลือกตั้ง 14 พ.ย. เป็นตัวช่วยลดความขัดแย้ง การเผชิญหน้าของคนในสังคมให้ประเทศเดินหน้า แต่ระยะเวลาที่กำหนด ทอดยาวเกินไป กลัวจะยืดออกไปเกินวันที่ 14 พ.ย. เวลาที่เหมาะสมควรอยู่ในกำหนด 3 เดือน ตามที่นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเสนอ

ข้องใจเหมือนกันว่าทำไมนายกฯ ไม่บอกวันยุบสภาที่แน่นอน แต่กลับข้ามขั้นไปบอกวันเลือกตั้ง



พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์

อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

แผนโรดแม็ป 5 ด้าน สำคัญที่สุดคือการปฏิรูปสื่อ นายกฯ พูดถึงการจัดการสื่อที่นำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่เรื่องสำคัญคือมีการปิดสื่อ

ต้องแยกให้ออกว่าสื่อใดไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลแต่เห็นด้วยกับระบอบการปกครอง จะไปปิดสื่อที่แสดงออกว่าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไม่ได้เด็ดขาด หากยังปิดสื่อจนถึงวันยุบสภา เลือกตั้งใหม่ แล้วสื่อที่ไม่ได้เห็นด้วยกับรัฐบาล จะมีเวทีให้สื่อสารหรือตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างไร

รับประกันได้หรือว่ารัฐบาลไม่ใช้กฎหมายบี้สิทธิเสรีภาพสื่อ

ภาพรวมโรดแม็ปมีจุดเด่น 2 ประการคือ มีความชัดเจนเรื่องยุบสภา แม้นายกฯ ยังไม่กำหนดชัดว่าจะยุบวันใด แต่คำพูดที่ออกมาก็จริงจังว่าจะยุบแน่นอน

อีกเรื่องคือ ท่าทียอมรับการตั้งกรรมการกลางตรวจสอบความรุนแรงที่เกิดขึ้นตั้งแต่เสื้อแดงเข้ามาชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อกลางเดือนมี.ค. แต่คาดว่าคงเกิดจากแรงกดดันจากต่างชาติ ไม่ได้เกิดจากแรงกดดันในประเทศ

พิจารณารูปแบบยังมองไม่เห็นว่าจะเป็นอย่างไร แต่จุดสำคัญคือต้องมีกรรมการทั้งจากรัฐบาลและเสื้อแดงเข้าร่วมด้วย

นอกเหนือจาก 2 ข้อที่ผมเห็นว่าพอไปได้แล้ว ที่เหลือเป็นเรื่องของความไม่ชัดเจนทั้งหมด

โดยเฉพาะคำประกาศของนายกฯ จะไม่ดึงสถาบันลงมาพัวพันการเมือง ต้องโยนคำถามกลับไปว่าแล้วสิ่งที่ศอฉ.ทำอยู่ ด้วยการไปไล่ตาม หรือกล่าวหาคนโน้นคนนี้ว่าจ้องจะล้มเจ้า จะตอบคำถามว่าอย่างไร

หากกลุ่มคนเหล่านี้ฟ้องกลับ ศอฉ.จะรับผิดชอบอย่างไร เรื่องนี้ละเอียดอ่อนมาก ข้ออ้างล้มเจ้าเป็นเรื่องใหญ่ รัฐบาลต้องแสดงให้เห็นก่อน

ส่วนการสอบข้อเท็จจริงการใช้ความรุนแรง เป็นการพูดโดยไม่มีความสัมพันธ์กับสถานการณ์จริง โดยเฉพาะการคงไว้ซึ่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะจะเป็นแรงกดดันให้นำไปสู่การใช้กำลัง

ประเด็นแก้กฎหมายหรือแก้รัฐธรรมนูญ หากกลับไปเพียงเมื่อทำผิดก็ต้องรับโทษ อย่าให้ย้อนหลัง เช่นที่ทำกับพรรคไทยรักไทย กฎหมายก็ไปได้อยู่แล้ว

แต่กรณีพรรคพลังประชาชน และพรรคประชาธิปัตย์มีความจริง ก็ต้องได้รับโทษไป ส่วนนี้หากโทษเป็นของบุคคลก็ควรเอาโทษกับคน ไม่ใช่ไปยุบพรรค เพราะพรรคไม่ได้ผิดอะไร ส่วนการนิรโทษกรรม ควรให้เป็นกระบวนการหรืออำนาจตัดสินของศาล ไม่ใช่อำนาจการเมืองจะมาตัดสินได้

ที่สำคัญใครทำความผิดทางการเมืองตั้งแต่ปิดสนามบิน ปิดราชประสงค์ ต้องเข้าสู่กระบวนการศาลทั้งหมด อย่าละเว้น



ไพบูลย์ พลสุวรรณา

รองปธ.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

โรดแม็ปของนายกฯ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ควรเดินหน้าอย่างเร็วที่สุดคือ ข้อ 2 เร่งปฏิรูปประเทศ แก้ปัญหาให้ประชาชนมีสวัสดิการ มีการศึกษา ได้รับการดูแลด้านสาธารณสุข มีอาชีพ มีรายได้ ไม่มีหนี้สิน

นี่คือรากฐานของปัญหาที่ทำให้เกิดม็อบ และการใช้สิทธิ์ในทางประชาธิปไตยเกินเลย ล้ำสิทธิ์คนอื่น

หากรัฐบาลจริงจังกับการแก้ปัญหานี้ ต้องเร่งสร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิและหน้าที่ว่าเมื่อเกิดมาแล้วต้องทำงาน เสียภาษี ให้รัฐนำไปบริหารจัดการ เงินภาษีคือเงินกองกลางที่ทุกคนมีส่วนใส่ลงไปเพื่อนำไปสร้างถนน สร้างความสะดวก สบายในประเทศ

การเรียกร้องจากรัฐให้ช่วยดูแล สามารถทำได้ แต่อย่ามากเกินไปจนปิดถนนหรือมาขอซ้ำแล้วซ้ำเล่า คนอีกส่วนหนึ่งที่เสียภาษีสร้างถนนเช่นกันกลับถูกละเมิดสิทธิ

เราต้องอยู่กับการรับผิดชอบตัวเองมากกว่าเรียกร้องเกินเลย หากรัฐแก้ปัญหาส่วนนี้ได้ ประชาชนในประเทศจะรู้จักประชาธิปไตย เป็นนักสู้ในชีวิตมากขึ้น

เรื่องตั้งกรรมการสอบการใช้ความรุนแรง ถามว่าอำนาจอยู่ในมือรัฐบาลแล้วยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ แล้วกรรมการที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งซึ่งมีทั้งคนรักและเกลียด จะยุติปัญหาได้อย่างไร

ส่วนข้ออื่นๆ เช่น การปกป้องสถาบัน เป็นการพูดในแง่นามธรรม ไม่มีใครเอื้อมถึงอยู่แล้ว เช่นเดียวกับข้อเรียกร้องปฏิรูปสื่อ ประชาชนแยกแยะได้เองว่าต้องรับสื่อใด รัฐไม่ต้องแยกแยะให้

โลกปัจจุบันการนั่งปิดหูปิดตาหรือจัดการกับสื่อ เป็นเรื่องที่ยากมาก