ที่มา ข่าวสด
รายงานพิเศษ
วันที่ 6 พ.ค. ในการสัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาส เปิดตัวหนังสือหลากมิติกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ "จากกฎหมายหมิ่น ถึงขบวนการล้มเจ้า" ที่ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โดยโครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มธ. ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดอภิปรายหัวข้อ "บทวิพากษ์ขบวนการล้มเจ้าฉบับศอฉ." โดยนักวิชาการวิเคราะห์ถึงข้อกล่าวหาของศอฉ. เกี่ยวกับขบวนการล้มเจ้า โดยสรุปไว้ดังนี้
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ขบวนการล้มเจ้าสัมพันธ์กับการใช้กฎหมาย ตรรกะของคนที่ใช้กฎหมายจะบอกว่ากฎหมายมีเยอะดี อยู่ที่รัฐจะใช้ป้องกัน ถ้ารัฐดีก็ใช้ได้ แต่มีประเด็นแทรกว่าการตั้งข้อหาล้มเจ้าเพื่อยกระดับการใช้กฎหมาย จากนี้เราอาจจะเห็นการเลือกตั้งภายใต้การชุมนุมหรือใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
สังคมไทยเป็นสังคมที่เรารู้ความจริงแล้วอาจจะจัดการอะไรไม่ได้ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจเดินหน้า มีประชาธิปไตย ทำไมกระแสเรื่องแบบนี้แรง ในเชิงโครงสร้างเรากำลังเกิดอะไรขึ้น เช่น หากมองสังคมขาดแคลนจุดร่วมที่คุยกันรู้เรื่อง ขาดจิตวิญญาณร่วม เป็นเพราะความเป็นรัฐจินตนาการรูปแบบไม่ได้ หรือคิดทางเลือกอื่นไม่ได้แล้ว
ปิยบุตร แสงกนกกุล
อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
แผนผังล้มเจ้าของศอฉ.เป็นเรื่องไร้สาระ เมื่อปี 2552 นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ซึ่งขณะเป็นเลขา ธิการป.ป.ท. เคยเสนอให้เพิ่มโทษหมิ่นสถาบัน
แต่วันนี้ผังล้มเจ้าของศอฉ.กำลังฉกฉวยมาตรา 112 ที่นายธาริต เคยเสนอนำมาเล่นงานฝ่ายตรงข้าม ใช้ประโยชน์ทิ่มแทงคนอื่นหรือไม่ ฝากบอกรัฐบาลและศอฉ.ให้พิจารณาด้วย ขณะที่นายธาริต ซึ่งตอนนี้มีชื่อเสียงโด่งดังก็ไม่ได้คัดค้าน
ในยุโรปประเทศที่เจริญแล้วได้เลิกกฎหมายไปแล้ว หรือบางประเทศใช้แค่กฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดา หรือมีแค่โทษปรับเท่านั้น ขณะที่ของไทยไม่เหมือนใครในโลก เพราะบอกว่าสถาบันกษัตริย์ของไทยเป็นเรื่องเฉพาะ แต่นำมาใช้ทำลายล้างกัน ปัจจุบันมีโทษสูง 3-15 ปี มากกว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เสียอีก
สาวตรี สุขศรี
อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ขบวนการล้มเจ้าฉบับขายหัวเราะตามที่พูดกัน พยายามให้เชื่อมโยงขบวนการล้มเจ้า ว่าไม่สามารถแยกจากมาตรา 112 ได้เลย
ข้อหาล้มเจ้าของ ศอฉ.ตั้งต้นโดยสืบค้นคนที่ถูกโยงใย เคยมีพฤติกรรมในสื่อตามเว็บบอร์ดแล้วสืบย้อนพฤติกรรม
ขณะที่มีการพูดว่ามาตรา 112 คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แยกจากพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี 2550 ไม่ได้เพราะมีการใช้ข้อหาในกฎหมายนี้ทั้งสิ้น
เช่น กรณีเจ้าของเว็บประชาไทที่โดน 10 ข้อหา โทษจำคุก 50 ปี เนื่องจากไม่ยอมลบข้อความที่รัฐคิดว่ามีความผิด ตามมาตรา 15 กฎหมายคอมพิวเตอร์
หรือการระบุว่าบทความเกี่ยวกับสถาบัน ทำให้หุ้นตก เกิดความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ มีคนถูกจับไป 4 ราย ทั้งที่หุ้นตกก่อนหน้าอีก
กฎหมายคอมพิวเตอร์กำลังเป็นตัวขยาย มาตรา 112 และมีความคลุมเครือไม่ยิ่งหย่อนกว่ามาตรา 112 ซึ่งมีปัญหาการตีความสารบัญญัติ เช่น การดูหมิ่นหมายถึงอะไร การตีความเป็นเรื่องอัตวิสัยของผู้ตัดสิน ไม่มีข้อยกเว้นโทษแม้วิจารณ์โดยสุจริต โทษสูงเกินไปหรือไม่ในยุคสมัยนี้ หรือใครฟ้องคดีก็ได้
ปัญหายังไม่ได้แก้ไขเป็นข้อยุติ การจะลดหรือเพิ่มโทษหรือยกเลิกไปเลยคงไม่ได้รับการตอบสนอง
มาตรา 14 (3) ของกฎหมายคอมพิวเตอร์ ยังขยายมาตรา 112 อ้างอิงการกระทำผิดเกี่ยวกับความมั่นคงโดยตรง แต่ไม่ระบุว่าความมั่นคงอะไร สร้างความตื่นตระหนกอะไรให้ประชาชน ทั้งยังมอบดุลพินิจให้เจ้าหน้าที่รัฐ มีแนวโน้มใช้อำนาจขัดกฎหมาย ตีความตามอำเภอใจ เพราะกฎหมายไม่ชัด ใครขึ้นมามีอำนาจก็อาจตีความอีกอย่างได้
นอกจากนั้น มาตรา 20 มีมาตรการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพการทำงานของสื่อ โดยเฉพาะสื่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งรมว.ไอซีที มีบทบาทมากในคดีหมิ่นสถาบัน ร่วมมือปิดเว็บไปแล้วกว่า 17,000 เว็บ ประมาณ 11,000 เว็บเกี่ยวกับความมั่นคง
ช่วง 2 เดือน มีการอาศัยพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปิดเว็บแล้ว กว่า 100 เว็บ มีการปิดลับๆ ถึงวันละ 400 เว็บ โดยส่งหนังสือไปให้ผู้บริการเซิร์ฟเวอร์ปิดช่องทาง
คำสั่งไม่มีการให้เหตุผลเลยว่าปิดทำไม ให้เหตุผลแค่ความมั่นคง วันนี้อาจปิดไปแล้วถึง 3-4 หมื่นเว็บ โดยมีงบ 50-100 ล้านลงไปให้ไอซีที ตำรวจ ดีเอสไอ ติดตามไล่ปิดทุกอย่าง เป็นไปโดยชอบหรือไม่
ผังล้มเจ้าของศอฉ.บอกแค่เป็นการวิเคราะห์ ทั้งที่ข้อหาขบวนการล้มเจ้ารุนแรง เมื่อเทียบโทษมาตรา 112 แต่กลับบอกว่าไม่มีหลักฐาน บอกแต่ว่าเสื้อแดงเหยียบแสนเป็นขบวนการล้มเจ้า ทำให้คนตื่นตระหนก มีผลทางกฎหมาย
มองว่า ศอฉ.จะผิดมาตรา 14 (2) เพราะคลุมเครือ พฤติกรรมทำให้ประชาชนตื่นตระหนก ผิดกฎหมายแน่นอน ศอฉ.อาจไม่ได้หวังผลดำเนินคดีกับคนจริงๆ แต่หวังผลปลุกกระแสให้เกิดการลงโทษโดยคนในสังคม หวังเป็นเครื่องมือ โดยมีสิ่งที่สอดรับ คือการลงโทษทางสังคมทางอินเตอร์เน็ต
มียุทธการลงโทษ ใช้ชื่อ "ล่าแม่มดออนไลน์" เป็น กลุ่มทางเฟซบุ๊กที่ตามหาเฟซบุ๊กคนอื่น วิพากษ์วิจารณ์คนที่ไม่ชอบ ไปเอาชื่อที่อยู่ ชื่อบิดามารดา มาแปะในเฟซบุ๊กเสียบประจาน รุมด่าหรือโทรศัพท์ขู่ฆ่า และเกิดในฟอร์เวิร์ดเมล์ด้วย ซึ่งทำกันเป็นกระบวนการ
สิ่งเหล่านี้เกิดหลังจากการปลุกกระแสขบวนการล้มเจ้า รัฐใช้วิธีอ้อมๆ จัดการคนที่ไม่นิยมเจ้า โดยอาศัยมือคนนิยมเจ้ามาเล่นงานกันเอง ศอฉ.ได้สร้างความรุนแรง ศอฉ.ไม่ได้สร้างแค่ความหวาดกลัว แต่กำลังสร้างความเกลียดชังขึ้นในสังคม อาศัยมือประชาชนด้วยกันมา สร้างความรุนแรง
อยากขอรัฐว่าให้หยุดสร้างผีขบวนการล้มเจ้า สร้างบรรยากาศเกลียดชังเกินกรอบกฎหมาย เพราะจะเกิดความรุนแรงที่คาดไม่ถึง
ขอให้รัฐทบทวนกฎหมายอาญา มาตรา 112 และกฎหมายคอมพิวเตอร์ ให้สอดคล้องวิธีคิดประชาธิปไตย
หากไทยยอมรับระบบนิติรัฐก็ไม่ควรเห็นดีเห็นงามกับการลงโทษที่เกินกรอบกฎหมาย เพราะสุดท้ายจะเข้าสู่ยุคมิคสัญญี
อนุธีร์ เดชเทวพร
เลขาธิการ สนนท.
ผมถูกเรียกไปสอบถามข้อมูลที่กรมทหารราบ 11 โดยขั้นตอนจะสอบถามข้อมูลทั่วไป ตำรวจถามว่าเราเป็นใคร สังกัดองค์กรใด มีแนวคิดอะไรที่ไปร่วมชุมนุม
ในการสอบถาม มีการถามชี้นำเรื่องล้มเจ้า เรื่องก่อการร้ายในการชุมนุม เขามองว่าเราป่วย เป็นเด็กไม่รู้เรื่องอะไร มีหน่วยจิตวิทยามาพูดเกลี้ยกล่อม ทั้งที่มีธงในหัวแล้วว่ากลุ่มเสื้อแดงมีขบวนการล้มเจ้า ก่อการร้าย
เพื่อนผม ที่บ้านไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรม จึงไม่มีโอกาสทำกิจกรรม แต่ถูกเรียกไปในข้อหาเป็นแกนนำแดงสยาม ซึ่งข่าวกรองศอฉ.ค่อนข้างมั่ว เป็นไปได้ว่า ข่าวกรองมั่วจริงหรือจงใจมั่ว ให้มีตราบนหัว ให้ฝ่ายตรงข้ามมีความชอบธรรมในการจัดการศัตรู มีการข่มขู่ โดยเจ้าหน้าที่ดีเอสไอบอกว่าดีแล้วที่มาตามหมายเรียก มิฉะนั้นจะโดนหมายจับ ซึ่งเจ้าของเต็นท์ให้เช่า วินมอเตอร์ไซค์ก็โดนเรียกไปด้วย
การเล่นงานเสื้อแดงของศอฉ. เป็นการเล่นงานขบวน การล้มเจ้า ใครสนับสนุนเสื้อแดงเท่ากับสนับสนุนขบวนการล้มเจ้า ไม่ใช่วิธีคิดที่บริสุทธิ์ใจ แต่มีพื้นฐานมาจากเสื้อแดงอยู่ตรงข้ามกับรัฐ
ทั้งนี้ ในการชุมนุม เราไม่เคยเห็นเรื่องล้มเจ้าในเสื้อแดงเลย แต่พอสถานการณ์สุกงอม สถานการณ์ตึง เครียด รัฐเพลี่ยงพล้ำอย่างหนัก เรื่องล้มเจ้าก็ถูกนำมาประโคมข่าวในสื่อมาก บ่งบอกว่าเป็นไม้ตาย ที่รัฐนำมาใช้ตลอด ตั้งแต่เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ก็เกิดเรื่องนี้ขึ้นในยามรัฐกำลังเพลี่ยงพล้ำ
ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยน กระบวนการต่อสู้ขยายตัว คนรู้ข่าวสารเยอะมาก ข้อหาล้มเจ้า เชื่อว่าปลุกไม่ขึ้น ปลุกได้แต่ในเฟซบุ๊ก ชนชั้นกลาง เทียบกับ 6 ตุลาฯ ระดับการปลุกของข้อหานี้น้อยกว่า 6 ตุลาฯมาก
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ / ปิยบุตร แสงกนกกุล |
โดยโครงการประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มธ. ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดอภิปรายหัวข้อ "บทวิพากษ์ขบวนการล้มเจ้าฉบับศอฉ." โดยนักวิชาการวิเคราะห์ถึงข้อกล่าวหาของศอฉ. เกี่ยวกับขบวนการล้มเจ้า โดยสรุปไว้ดังนี้
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ขบวนการล้มเจ้าสัมพันธ์กับการใช้กฎหมาย ตรรกะของคนที่ใช้กฎหมายจะบอกว่ากฎหมายมีเยอะดี อยู่ที่รัฐจะใช้ป้องกัน ถ้ารัฐดีก็ใช้ได้ แต่มีประเด็นแทรกว่าการตั้งข้อหาล้มเจ้าเพื่อยกระดับการใช้กฎหมาย จากนี้เราอาจจะเห็นการเลือกตั้งภายใต้การชุมนุมหรือใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
สังคมไทยเป็นสังคมที่เรารู้ความจริงแล้วอาจจะจัดการอะไรไม่ได้ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เศรษฐกิจเดินหน้า มีประชาธิปไตย ทำไมกระแสเรื่องแบบนี้แรง ในเชิงโครงสร้างเรากำลังเกิดอะไรขึ้น เช่น หากมองสังคมขาดแคลนจุดร่วมที่คุยกันรู้เรื่อง ขาดจิตวิญญาณร่วม เป็นเพราะความเป็นรัฐจินตนาการรูปแบบไม่ได้ หรือคิดทางเลือกอื่นไม่ได้แล้ว
ปิยบุตร แสงกนกกุล
อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
แผนผังล้มเจ้าของศอฉ.เป็นเรื่องไร้สาระ เมื่อปี 2552 นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ซึ่งขณะเป็นเลขา ธิการป.ป.ท. เคยเสนอให้เพิ่มโทษหมิ่นสถาบัน
แต่วันนี้ผังล้มเจ้าของศอฉ.กำลังฉกฉวยมาตรา 112 ที่นายธาริต เคยเสนอนำมาเล่นงานฝ่ายตรงข้าม ใช้ประโยชน์ทิ่มแทงคนอื่นหรือไม่ ฝากบอกรัฐบาลและศอฉ.ให้พิจารณาด้วย ขณะที่นายธาริต ซึ่งตอนนี้มีชื่อเสียงโด่งดังก็ไม่ได้คัดค้าน
ในยุโรปประเทศที่เจริญแล้วได้เลิกกฎหมายไปแล้ว หรือบางประเทศใช้แค่กฎหมายหมิ่นประมาทธรรมดา หรือมีแค่โทษปรับเท่านั้น ขณะที่ของไทยไม่เหมือนใครในโลก เพราะบอกว่าสถาบันกษัตริย์ของไทยเป็นเรื่องเฉพาะ แต่นำมาใช้ทำลายล้างกัน ปัจจุบันมีโทษสูง 3-15 ปี มากกว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เสียอีก
สาวตรี สุขศรี/อนุธีร์ เดชเทวพร |
สาวตรี สุขศรี
อาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ขบวนการล้มเจ้าฉบับขายหัวเราะตามที่พูดกัน พยายามให้เชื่อมโยงขบวนการล้มเจ้า ว่าไม่สามารถแยกจากมาตรา 112 ได้เลย
ข้อหาล้มเจ้าของ ศอฉ.ตั้งต้นโดยสืบค้นคนที่ถูกโยงใย เคยมีพฤติกรรมในสื่อตามเว็บบอร์ดแล้วสืบย้อนพฤติกรรม
ขณะที่มีการพูดว่ามาตรา 112 คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แยกจากพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี 2550 ไม่ได้เพราะมีการใช้ข้อหาในกฎหมายนี้ทั้งสิ้น
เช่น กรณีเจ้าของเว็บประชาไทที่โดน 10 ข้อหา โทษจำคุก 50 ปี เนื่องจากไม่ยอมลบข้อความที่รัฐคิดว่ามีความผิด ตามมาตรา 15 กฎหมายคอมพิวเตอร์
หรือการระบุว่าบทความเกี่ยวกับสถาบัน ทำให้หุ้นตก เกิดความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ มีคนถูกจับไป 4 ราย ทั้งที่หุ้นตกก่อนหน้าอีก
กฎหมายคอมพิวเตอร์กำลังเป็นตัวขยาย มาตรา 112 และมีความคลุมเครือไม่ยิ่งหย่อนกว่ามาตรา 112 ซึ่งมีปัญหาการตีความสารบัญญัติ เช่น การดูหมิ่นหมายถึงอะไร การตีความเป็นเรื่องอัตวิสัยของผู้ตัดสิน ไม่มีข้อยกเว้นโทษแม้วิจารณ์โดยสุจริต โทษสูงเกินไปหรือไม่ในยุคสมัยนี้ หรือใครฟ้องคดีก็ได้
ปัญหายังไม่ได้แก้ไขเป็นข้อยุติ การจะลดหรือเพิ่มโทษหรือยกเลิกไปเลยคงไม่ได้รับการตอบสนอง
มาตรา 14 (3) ของกฎหมายคอมพิวเตอร์ ยังขยายมาตรา 112 อ้างอิงการกระทำผิดเกี่ยวกับความมั่นคงโดยตรง แต่ไม่ระบุว่าความมั่นคงอะไร สร้างความตื่นตระหนกอะไรให้ประชาชน ทั้งยังมอบดุลพินิจให้เจ้าหน้าที่รัฐ มีแนวโน้มใช้อำนาจขัดกฎหมาย ตีความตามอำเภอใจ เพราะกฎหมายไม่ชัด ใครขึ้นมามีอำนาจก็อาจตีความอีกอย่างได้
นอกจากนั้น มาตรา 20 มีมาตรการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพการทำงานของสื่อ โดยเฉพาะสื่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งรมว.ไอซีที มีบทบาทมากในคดีหมิ่นสถาบัน ร่วมมือปิดเว็บไปแล้วกว่า 17,000 เว็บ ประมาณ 11,000 เว็บเกี่ยวกับความมั่นคง
ช่วง 2 เดือน มีการอาศัยพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปิดเว็บแล้ว กว่า 100 เว็บ มีการปิดลับๆ ถึงวันละ 400 เว็บ โดยส่งหนังสือไปให้ผู้บริการเซิร์ฟเวอร์ปิดช่องทาง
คำสั่งไม่มีการให้เหตุผลเลยว่าปิดทำไม ให้เหตุผลแค่ความมั่นคง วันนี้อาจปิดไปแล้วถึง 3-4 หมื่นเว็บ โดยมีงบ 50-100 ล้านลงไปให้ไอซีที ตำรวจ ดีเอสไอ ติดตามไล่ปิดทุกอย่าง เป็นไปโดยชอบหรือไม่
ผังล้มเจ้าของศอฉ.บอกแค่เป็นการวิเคราะห์ ทั้งที่ข้อหาขบวนการล้มเจ้ารุนแรง เมื่อเทียบโทษมาตรา 112 แต่กลับบอกว่าไม่มีหลักฐาน บอกแต่ว่าเสื้อแดงเหยียบแสนเป็นขบวนการล้มเจ้า ทำให้คนตื่นตระหนก มีผลทางกฎหมาย
มองว่า ศอฉ.จะผิดมาตรา 14 (2) เพราะคลุมเครือ พฤติกรรมทำให้ประชาชนตื่นตระหนก ผิดกฎหมายแน่นอน ศอฉ.อาจไม่ได้หวังผลดำเนินคดีกับคนจริงๆ แต่หวังผลปลุกกระแสให้เกิดการลงโทษโดยคนในสังคม หวังเป็นเครื่องมือ โดยมีสิ่งที่สอดรับ คือการลงโทษทางสังคมทางอินเตอร์เน็ต
มียุทธการลงโทษ ใช้ชื่อ "ล่าแม่มดออนไลน์" เป็น กลุ่มทางเฟซบุ๊กที่ตามหาเฟซบุ๊กคนอื่น วิพากษ์วิจารณ์คนที่ไม่ชอบ ไปเอาชื่อที่อยู่ ชื่อบิดามารดา มาแปะในเฟซบุ๊กเสียบประจาน รุมด่าหรือโทรศัพท์ขู่ฆ่า และเกิดในฟอร์เวิร์ดเมล์ด้วย ซึ่งทำกันเป็นกระบวนการ
สิ่งเหล่านี้เกิดหลังจากการปลุกกระแสขบวนการล้มเจ้า รัฐใช้วิธีอ้อมๆ จัดการคนที่ไม่นิยมเจ้า โดยอาศัยมือคนนิยมเจ้ามาเล่นงานกันเอง ศอฉ.ได้สร้างความรุนแรง ศอฉ.ไม่ได้สร้างแค่ความหวาดกลัว แต่กำลังสร้างความเกลียดชังขึ้นในสังคม อาศัยมือประชาชนด้วยกันมา สร้างความรุนแรง
อยากขอรัฐว่าให้หยุดสร้างผีขบวนการล้มเจ้า สร้างบรรยากาศเกลียดชังเกินกรอบกฎหมาย เพราะจะเกิดความรุนแรงที่คาดไม่ถึง
ขอให้รัฐทบทวนกฎหมายอาญา มาตรา 112 และกฎหมายคอมพิวเตอร์ ให้สอดคล้องวิธีคิดประชาธิปไตย
หากไทยยอมรับระบบนิติรัฐก็ไม่ควรเห็นดีเห็นงามกับการลงโทษที่เกินกรอบกฎหมาย เพราะสุดท้ายจะเข้าสู่ยุคมิคสัญญี
อนุธีร์ เดชเทวพร
เลขาธิการ สนนท.
ผมถูกเรียกไปสอบถามข้อมูลที่กรมทหารราบ 11 โดยขั้นตอนจะสอบถามข้อมูลทั่วไป ตำรวจถามว่าเราเป็นใคร สังกัดองค์กรใด มีแนวคิดอะไรที่ไปร่วมชุมนุม
ในการสอบถาม มีการถามชี้นำเรื่องล้มเจ้า เรื่องก่อการร้ายในการชุมนุม เขามองว่าเราป่วย เป็นเด็กไม่รู้เรื่องอะไร มีหน่วยจิตวิทยามาพูดเกลี้ยกล่อม ทั้งที่มีธงในหัวแล้วว่ากลุ่มเสื้อแดงมีขบวนการล้มเจ้า ก่อการร้าย
เพื่อนผม ที่บ้านไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรม จึงไม่มีโอกาสทำกิจกรรม แต่ถูกเรียกไปในข้อหาเป็นแกนนำแดงสยาม ซึ่งข่าวกรองศอฉ.ค่อนข้างมั่ว เป็นไปได้ว่า ข่าวกรองมั่วจริงหรือจงใจมั่ว ให้มีตราบนหัว ให้ฝ่ายตรงข้ามมีความชอบธรรมในการจัดการศัตรู มีการข่มขู่ โดยเจ้าหน้าที่ดีเอสไอบอกว่าดีแล้วที่มาตามหมายเรียก มิฉะนั้นจะโดนหมายจับ ซึ่งเจ้าของเต็นท์ให้เช่า วินมอเตอร์ไซค์ก็โดนเรียกไปด้วย
การเล่นงานเสื้อแดงของศอฉ. เป็นการเล่นงานขบวน การล้มเจ้า ใครสนับสนุนเสื้อแดงเท่ากับสนับสนุนขบวนการล้มเจ้า ไม่ใช่วิธีคิดที่บริสุทธิ์ใจ แต่มีพื้นฐานมาจากเสื้อแดงอยู่ตรงข้ามกับรัฐ
ทั้งนี้ ในการชุมนุม เราไม่เคยเห็นเรื่องล้มเจ้าในเสื้อแดงเลย แต่พอสถานการณ์สุกงอม สถานการณ์ตึง เครียด รัฐเพลี่ยงพล้ำอย่างหนัก เรื่องล้มเจ้าก็ถูกนำมาประโคมข่าวในสื่อมาก บ่งบอกว่าเป็นไม้ตาย ที่รัฐนำมาใช้ตลอด ตั้งแต่เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ก็เกิดเรื่องนี้ขึ้นในยามรัฐกำลังเพลี่ยงพล้ำ
ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยน กระบวนการต่อสู้ขยายตัว คนรู้ข่าวสารเยอะมาก ข้อหาล้มเจ้า เชื่อว่าปลุกไม่ขึ้น ปลุกได้แต่ในเฟซบุ๊ก ชนชั้นกลาง เทียบกับ 6 ตุลาฯ ระดับการปลุกของข้อหานี้น้อยกว่า 6 ตุลาฯมาก