ที่มา ประชาไท "วาทศิลป์ที่สวยงามของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ อาจทำให้ผู้ฟังเคลิ้มหรือดูดีไปหมด แต่ผู้เขียนชวนกันพินิจคำพูดกับการปฎิบัติวาทศิลป์กับความเป็นจริง หรือว่านายกรัฐมนตรีตอแหลหรือไม่?" เมื่อคืนวานนี้ 3 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้แถลงถึง กระบวนการปรองดอง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบสำคัญ และด้วยความหล่อเหลา คำพูดนิ่มนวล คารมคมคาย วาทศิลป์ที่สวยงามของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ อาจ ทำให้ผู้ฟังเคลิ้มหรือ ดูดีไปหมด แต่ผู้เขียนชวนกันพินิจ คำพูดกับการปฎิบัติ วาทศิลป์กับความเป็นจริง หรือว่านายกรัฐมนตรีตอแหลหรือไม่? และมีความคิดเห็นต่อ องค์ประกอบ 5 ประการว่า องค์ประกอบที่หนึ่ง นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ บอกว่าประเทศไทยโชคดีที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่คอย หลอมรวมจิตใจคนไทยทั้งชาติ น่าเสียดายที่ในระยะหลังมีคนจำนวนหนึ่งทำ ให้สถาบันถูกดึงลงมาในความขัดแย้งทางการเมือง คำถามก็คือว่า ใครเป็นคนดึงสถาบันฯมาสร้างความ ขัดแย้ง ? มาใส่ร้ายคนเสื้อแดงเสมือนไม่มีความ จงรักภักดี ? ผูกขาดความรักสถาบันเพียงฝ่ายเดียว ขณะที่รัฐบาลอภิสิทธิ์นั่นเองมิใช่หรือ? เป็นผู้ทำลายความชอบธรรมของคนเสื้อแดงโดยกล่าวหาว่าไม่ จงรักภักดี ทั้งๆ ที่คนเสื้อแดง มีข้อเรียกร้องที่ชัดเจนต้องการให้สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข พวกเขาต้องการให้อำนาจอธิปไต ยมาจากประชาชน พวกเขาวิพากษ์ถึงระบอบอำมาตย์ ที่มีองคมนตรี กองทัพ ระบบราชการต่างๆในการแทรกแซงการเมืองไทยมาตลอดประวัติศาสตร์ การเมืองไทย ทำให้สังคมไทยล้าหลัง ไม่พัฒนาประชาธิปไตยอย่างที่ควรจะเป็น จึงไม่ได้เป็นการจาบจ้วงแต่อย่างใด องค์ประกอบที่สอง ใครๆ ก็พูดได้ว่าจะปฏิรูปประเทศไทย รัฐบาลบริหารประเทศมานานพอสมควรแต่ก็ไม่ได้มีนโยบายปฏิรูปประเทศไทยอย่างที่กล่าวถึงเลย การปฏิรูปประเทศไทยของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ จึงเป็นเพียงการเบี่ยงเบนประเด็นเท่านั้นเอง และการปฏิรูปประเทศไทยเป็นเรื่องการเมืองโดยตรงที่จะนำสู่การ แก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่สำคัญอุปสรรคในการปฏิรูปประเทศไทยคือระบอบอำมาตย์ ทั้งรูปการจิตสำนึกและ ผลประโยชน์ของระบบอำมาตย์เอง อาทิเช่น ผลประโยชน์ด้านการจัดสรรงบประมาณของกองทัพของราชการต่างๆ ฯลฯ รูปการจิตสำนึก ที่มองคนไม่เท่ากัน มองคนจนว่าโง่ถูกซื้อ คนจนในชนบทไม่ มีสิทธิ์เสียงเท่าคนชั้นกลางในเมือง คนจนไม่มีความรู้ไม่ได้จบปริญญา จึงไม่เข้าใจประชาธิปไตย ถูกนักการเมืองหลอก ฯลฯ เครือข่ายอำมาตย์หลายองค์กรหลายส่วนโดย เฉพาะองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่ม 40 สว.TPBS สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สภาองค์กรชุมชน ฯลฯ ทั้งหลาย ที่มักคับแคบทางความคิดให้ความหมายปฏิรูป ประเทศไทยเท่าปัญหาเรื่องที่ดิน เขื่อน ป่าไม้ และปัญหาเหล่านี้ก็น่าจะรู้ดีกันว่าต้องมีการปฏิรูปการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติโดยการมีส่วนร่วมของ”ชุมชน-สังคม” และอุปสรรคที่ สำคัญก็คือระบบราชการส่วนสำคัญของระบอบอำมาตย์ เช่น กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมที่ดิน ฯลฯ มักรวมศูนย์อำนาจ จึงต้องแก้ไขกฎหมายต่างๆที่ให้อำนาจ กับราชการ ซึ่งต้องผ่านเวทีรัฐสภา และพรรคประชาธิปัตย์นิยมระบบอำมาตย์ ของที่มีหัวหน้าพรรคชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มักปฏิเสธ หรือมีจุดยืนเดียวกับระบบราชการนั่นเอง ส่วนการกล่าวถึงระบบสวัสดิการของนายก รัฐมนตรีอภิสิทธิ์ นั่น ใครๆก็พูดได้ และเป็นลักษณะนโยบายสังคม สงเคราะห์มากกว่า การต้องการสร้างความเสมอภาคให้กับสังคมไทย ซึ่งต้องดูแลสวัสดิการพื้นฐานให้ประชาชนเท่าเทียมถ้วนหน้า ซึ่งต้องสร้างรัฐสวัสดิการ โดยการเก็บภาษีที่ก้าวหน้าเหมือนเช่นประเทศ อังกฤษ ญี่ปุ่น สวีเดน และอีกหลายประเทศ ภาษีที่ก้าวหน้านั้น ต้องไม่เน้นภาษีบริโภคอย่างปัจจุบันที่คนจนเสียภาษีมากกว่าคนรวย ด้วยซ้ำ ต้องมีภาษีรายได้ มีภาษีที่ดินที่ก้าวหน้า และ ต้องทำเหมือนครั้งหนึ่งของนโยบายของคณะราษฎร นำโดย นายปรีดี พนม ยงค์ ที่มีการออกกฎหมายภาษีมรดก แต่ก็ถูกยก เลิกไป เมื่ออำนาจทางการเมืองของคณะราษฎรต้องถูกระบบอำมาตย์โค่น ล้มลง แน่นอนว่า ไม่ใช่ชื่อ “ภาษีก้าวหน้า” แต่เนื้อแท้กลับ “ล้าหลัง” ไม่คุ้มค่าจ้างพนักงานไปเก็บ อย่างนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังปัจจุบัน องค์ประกอบที่สาม การพูดถึงสังคมข่าวสารของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ และต้องสนับสนุนเสรีภาพของสื่อมวลชน แต่ รัฐบาลอภิสิทธิ์เองกลับกระทำในทางตรงกันข้าม ใช้สื่อรัฐทั้งNBT และ วิทยุของรัฐ ให้ข้อมูลด้านเดียวอยู่ตลอด เพื่อ ใส่ร้าย ป้ายสี เติมแต่ง “คนเสื้อแดง” เหมือนเป็น “คนอื่น” ไม่ใช่ “คนไทย” ใช่หรือไม่? ขณะเดียวกัน ได้ปิดกั้นสื่อฝ่ายประชาธิปไตย ปิดเวปไซค์ ปิดวิทยุชุมชนจำนวนมาก และ ทีวีพีเพิลชันแนลของคนเสื้อแดง หรือกล่าวได้ว่า “เสรีภาพของสื่อมวลชน”จึงเป็นได้ เฉพาะสื่อเชียร์รัฐบาลเท่านั้นเอง องค์ประกอบที่สี่ นายกรัฐมตรีอภิสิทธิ์พูดถึง เหตุการณ์ความรุนแรง เมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ว่ากระทบกระเทือนต่อจิตใจคนไทย เสมือนตนเองไม่มีส่วนเกี่ยงข้องแต่ อย่างใดกับในชีวิตผู้คนที่ต้องสูญเสียจากอาวุธสงคราม ทั้งๆ ที่ พรบ.ฉุกเฉินร้ายแรงที่นำสู่การ “ปราบปราม”ประชาชน แม้จะใช้คำให้ดูดีว่า “ขอพื้นที่คืน” ก็ตาม นั่นก็มาจากคำสั่งนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ นั่นเอง ใช่ หรือไม่? และใครเป็นทรราชย์? ใครเป็นฆาตรกรสั่งฆ่าประชาชน? องค์ประกอบที่ห้า นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ กล่าวอ้างว่า เกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรมในหลายด้าน ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับกติกา เช่น รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายบางฉบับ หรือการเพิกถอนสิทธิในวงการเมือง ถึงเวลาที่ต้องนำสิ่งเหล่านี้มาวางเพื่อให้มีกลไกระดมความเห็นทุกฝ่าย เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า กลไกระดมความเห็นทุกฝ่าย คงเป็นเพียงข้ออ้าง และเป็นเพียงกลไกเพียงฝ่ายนายก รัฐมนตรีที่ได้คุยวางแผนกันเรียบร้อยแล้วเท่านั้นเอง เนื่องจากที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์เองก็ยืนยันไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญ และถ้ารัฐบาลต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ต้องใช้กระบวนการแบบรัฐธรรมนูญ 40 ภายหลังการยุบสภา จึงจะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายโดยแท้จริง ท้ายสุด ผู้เขียนคิดว่า การยุบสภาจะเป็นจุดการเริ่มต้นสู่จุดหมายปลายทาง ทั้งการปฏิรุปประเทศไทย การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ การให้เสรีภาพประชาชน เสรีภาพสื่อ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตลอดทั้งเป็นแนวทางปรองดองที่แท้จริง ภายใต้การต่อสู้กันทางการเมืองของทุกฝ่ายอย่างแนวทางสันติวิธี โดยอำนาจเสียงสวรรค์มาจากประชาชนจะเป็นผู้กำหนดอนาคตสังคมไทยได้อย่างแท้จริง