WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, May 3, 2010

ข้อสังเกตจากการรายงานข่าวเสื้อแดงบางกรณีของนสพ.

ที่มา ประชาไท


ผู้สื่อข่าวอาวุโส ภายใต้นามปากกา ส. หัตถา ตั้งข้อสังเกตพฤติกรรมสื่อ ในการรายงานข่าวความขัดแย้งทางการเมือง ทั้งในแง่วิชาชีพ และความรอบด้านในประเด็นที่รายงาน ซึ่งพบได้ว่าไม่ต่างอะไรกับการรายงานข่าวสถานการณ์ใต้ ที่เต็มไปด้วยอคติและเมินเฉยต่อความสูญเสียของประชาชนมากว่าเจ้าหน้าที่รัฐ

ในความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง สื่อและนสพ.ไทยถูกวิจารณ์เรื่อยมาว่าไม่ได้ทำหน้าที่ตามวิชาชีพของตนเอง ถูกตำหนิด้วยข้อหาตั้งแต่ว่ารายงานข่าวอย่างลำเอียงและเลือกข้างไปจนถึงเรื่องบิดเบือนข่าวสาร

ในรอบไม่กี่วันที่ผ่านมามีตัวอย่างสองเรื่องที่แสดงให้เห็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของสื่อ

เรื่องแรกคือกรณีการรายงานข่าวการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่ดอนเมืองเมื่อวันที่ 28 เมษายน ซึ่งในเหตุการณ์นี้มีทหารเสียชีวิตหนึ่งนาย และมีผู้บาดเจ็บซึ่งตัวเลขจากการแถลงของกระทรวงสาธารณสุขวันรุ่งขึ้นระบุว่ามีจำนวน 16 คน ในกลุ่มนี้เป็นทหารสองนาย และเป็นผู้บาดเจ็บสาหัสสามรายที่ยังต้องรับการรักษาตัวในห้องไอซียูในโรงพยาบาล ทั้งสามรายนี้บาดเจ็บด้วยบาดแผลจากกระสุนปืน กล่าวคือคนหนึ่งถูกยิงที่หัว อีกสองรายเจอเข้าที่ท้อง

การรายงานข่าวของนสพ.ในเรื่องการเสียชีวิตของทหารสรุปไว้ว่า จะต้องรอการสอบสวนเพราะไม่ชัดเจนว่าเป็นฝีมือใคร

สื่อต่างประเทศส่วนหนึ่งรายงานตั้งแต่วันเกิดเหตุว่าทหารที่เสียชีวิตถูกเพื่อนทหารด้วยกันยิงเพราะความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนเสื้อแดง ในขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐบาล เช่นศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือศอฉ.กลับมีท่าทีคลุมเครือขอให้รอการสอบสวน

แม้ว่าในเหตุการณ์ก่อนๆหน้านี้ ศอฉ.และรองนายกรัฐมนตรีนายสุเทพ เทือกสุบรรณมักจะมีบทสรุปที่มาที่ไปของเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างรวดเร็วเกินคาดเสมอ ยกตัวอย่างเช่นในเรื่องของการยิงเอ็ม 79 ใส่กลุ่มคนเสื้อหลากสีเมื่อวันที่ 22 เมษายน ก็สามารถระบุได้ทันทีหลังเกิดเหตุโดยไม่ต้องรอการสอบสวน ว่าเป็นฝีมือของคนเสื้อแดง

ในบรรดานสพ.ฉบับต่างๆนั้น นสพ.สามฉบับที่คาดว่ายังพอจะรักษาความน่าเชื่อถือไว้ได้บ้างในสายตาของนักสังเกตุการณ์การเมืองเมืองไทยจำนวนหนึ่งในแง่ของการมี “ข้อเท็จจริง” ก็คือ ไทยรัฐ มติชน และข่าวสด ปรากฏว่าไทยรัฐและมติชน เลือกที่จะพาดหัวประเด็นความสูญเสียของทหารเช่นเดียวกันกับนสพ.อื่นๆ

ในเนื้อข่าวรายงานตามคำอธิบายของศอฉ. แม้จะอ้างด้วยว่ามีสื่อต่างประเทศรายงานว่าเป็นการยิงจากเพื่อนทหารด้วยกันแต่ก็เลือกที่จะไม่ลงในรายละเอียด ในขณะที่นสพ.ข่าวสดกลับพาดหัวประเด็นการทำงานพลาดของทหาร และลงรายละเอียดในประเด็นนี้มากกว่าฉบับอื่นๆ

การที่นสพ.สองฉบับแรกไม่ตามประเด็นทหารยิงพลาดอาจเป็นเครื่องหมายแสดงว่าไม่ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ ซึ่งก็อาจจะชี้ให้เห็นถึงทัศนะของสื่อที่ดูเสมือนว่าพร้อมจะมองข้ามกรณีที่เป็นการทำงานที่ผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งกรณีนี้คงไม่ใช่เรื่องของเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยเท่านั้น แต่อาจสะท้อนความผิดพลาดในระดับสั่งการด้วย

ที่สำคัญการยอมรับคำอธิบายเรื่องการทำงานของศอฉ. เห็นได้ชัดว่ามีส่วนทำให้สื่อมองข้ามประเด็นที่แรงกว่า นั่นคือเรื่องการเลือกใช้วิธีการรับมือกับกลุ่มคนเสื้อแดงของเจ้าหน้าที่ที่ใช้ความรุนแรงเกินเหตุ กล่าวคือการใช้กระสุนจริงยิงเข้าใส่หรือพร้อมจะยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม

ในวันถัดมา ก็ยังไม่ปรากฏว่านสพ.เหล่านี้จะติดตามประเด็นเรื่องของการใช้กระสุนนี้เพิ่มเติมแต่อย่างใด ยังคงไม่มีข้อมูลใดๆเรื่องกลุ่มผู้บาดเจ็บที่ยังอยู่ในรพ. เท่ากับว่าประเด็นของการใช้ความรุนแรงเกินจำเป็นกับผู้ชุมนุมไม่ได้รับการติดตามหรือให้ความสนใจราวกับว่าชีวิตของผู้ชุมนุมเสื้อแดงนั้นไร้ค่าเต็มที

มีสื่อและนสพ.ไทยน้อยรายที่จะพูดเรื่องนี้ ราวกับว่าพวกเขาพากันเจ็บป่วยจากอาการสายตาพิการรวมหมู่

ในขณะที่ประเด็นที่สื่อให้ความสนใจกันอย่างยิ่ง กลับกลายเป็นเรื่องพฤติกรรมของนายขวัญชัย ไพรพนา แกนนำเสื้อแดงที่ถูกวิจารณ์ว่ากระทำตัวไม่เหมาะสม นอกจากจะนำพาคนเสื้อแดงไปพบกับความตายแล้ว ในนาทีวิกฤติของการปะทะก็ยังไม่รับผิดชอบทอดทิ้งมวลชนเอาตัวรอด รวมทั้งเรื่องการมีคนเสื้อดำมีอาวุธแอบแฝงอยู่ข้างทางบวกกับการที่คนเสื้อแดงบางคนมีปืนพกตามคลิปข่าวของสำนักข่าวอัลจาซีร่า

จริงอยู่สิ่งที่นสพ.และสื่อไทยหยิบยกมารายงานแทบทุกเรื่อง ล้วนมีช่วยช่วยเติมข้อมูลให้กับสังคม แต่น่าสนใจว่า การใช้ความเป็นมืออาชีพแบบเลือกสรร กล่าวคือขยายส่วนเลวและผิดพลาดของฝ่ายใดฝ่ายเดียวในความขัดแย้งนี้ และพร้อมที่จะยอมรับคำอธิบายแบบง่ายๆหรือบางครั้งแทบจะไร้ที่มาที่ไปของอีกฝ่ายหนึ่ง ดูจะเป็นวิธีการทำงานของสื่อที่เห็นได้ชัด

วิธีการรายงานข่าวเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายนนั้น ความสนใจของสื่อต่อประเด็นเรื่องความตายของคนเสื้อแดง การสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรงเกินจริง และการขนอาวุธยุทโธปกรณ์เข้ากรุงเทพฯมากมายด้วยเจตนาที่มองเป็นอื่นไม่ได้นอกจากว่าจะใช้กับฝูงชน ถูกบดบังอย่างสิ้นเชิงด้วยความสนใจที่พุ่งเป้าไปที่ประเด็นการตามหาคนเสื้อดำที่ยิงทหารตายและขัดขวางการสลายการชุมนุม (ด้วยกำลัง) ของเจ้าหน้าที่

อีกตัวอย่างหนึ่งคือเรื่องของการรายงานข่าวกรณีการ์ดนปช.บุกตรวจค้นรพ.จุฬาซึ่งแน่นอนว่าเป็นการกระทำที่สมควรถูกประนามอย่างยิ่งเพราะสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ที่มีปัญหาเจ็บป่วยอยู่แล้ว และหลายคนอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่การรายงานข่าวของสื่อดูจะประสานเสียงกัน ให้ภาพที่สร้างความสะเทือนอารมณ์ประหนึ่งว่าคนเสื้อแดงกลุ่มที่เข้าไปยังรพ.จุฬานั้นไปเพื่อไล่ล่าทำร้ายคนในรพ.อย่างป่าเถื่อน โหดร้าย ลุแก่โทสะ ไม่ยั้งคิด และเสื้อแดงเป็นกลุ่มคนที่ไม่ใส่ใจกับชีวิตของคนอื่น เนื่องจากวิธีการนำเสนอข่าวที่เต็มไปด้วยภาพที่แสดงความสุดโต่งของเหตุการณ์

อันที่จริงการรายงานของสื่อในประเด็นความเดือดร้อนของโรงพยาบาลนั้น กล่าวได้ว่าให้รายละเอียดได้มากเป็นอย่างยิ่งจนน่าชื่นชม เพราะมีทั้งแอคชั่นและความเห็นแทบทุกแง่ทุกมุมจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อมโดยเฉพาะบุคคลากรต่างๆในรพ.ที่พากันขวัญเสีย แม้กระทั่งความเห็นของผู้สื่อข่าวรายหนึ่งที่อึดอัดคับข้องใจจากการทำข่าวท่ามกลางกลุ่มคนเสื้อแดงและถูกท้าทายจากแกนนำคนเสื้อแดงกรณีมีทหารในโรงพยาบาลจริงหรือไม่และที่ไปออกในบลอคชื่อ “คนสามัญประจำเมือง” ก็มีนสพ.นำไปเล่นกันต่อหลายฉบับ ความน่าเชื่อถือของสื่อคงจะได้รับการหนุนเสริมอีกมาก

แต่หากสื่อจะใช้ความเป็นมืออาชีพของตนในฐานะสื่อสารมวลชน สื่อควรจะต้องรายงานให้รอบด้าน หรืออย่างน้อยก็ควรจะต้องได้ทั้งสองด้านในความขัดแย้งนี้ และด้านหนึ่งที่ดูเหมือนจะตกหล่นไปอย่างสำคัญก็คือคำถามที่ว่า เหตุใดคนเสื้อแดงจึงเชื่อว่ามีทหารอยู่ภายในรพ.ถึงกับต้องลุยเข้าไปตรวจค้นสร้างความแตกตื่นโกลาหลขนาดนั้น

เป็นที่รู้กันว่ารพ.จุฬานั้น แม้บุคคลากรส่วนใหญ่อาจจะพยายามรักษาความเป็นวิชาชีพ ดังที่หลายคนได้นำป้ายมาแสดงเพื่อประท้วงคนเสื้อแดงให้ช่วยเคารพการทำงานของพวกเขา แต่เหตุการณ์หลายอย่างกลับให้ภาพรพ.จุฬาอีกด้านหนึ่ง

ที่รพ.นี้เองที่แพทย์ของรพ.เคยออกมาประกาศว่าจะร่วมมือกับเพื่อนๆบุคคลากรที่เป็นหมอและพยาบาลในรพ.อีกหลายแห่งไม่รับรักษาตำรวจที่บาดเจ็บจากการสลายการชุมนุมของพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยเมื่อ 7 สค. 2552 ซึ่งเป็นการแสดงอาการของผู้ที่ไม่ได้เคารพในวิชาชีพของตนเองอย่างแท้จริง

แพทย์ในรพ.จุฬายังออกมาเคลื่อนไหวในทางการเมือง คือ นพ.พีร์ เหมะรัชตะที่ใช้เฟสบุคล่ารายชื่อเพื่อนๆเสนอให้มีการสอบหมอที่ไปช่วยเจาะเลือดคนเสื้อแดงและเร่งให้เอาผิดถึงขนาดจะไม่ได้ใบประกอบโรคศิลป์ ทั้งแกนนำของกลุ่มคนเสื้อหลากสีหรืออันที่จริงก็คือคนเสื้อเหลืองคือนพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ก็เป็นแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬา

แม้รพ.จะชี้แจงว่านี่เป็นการเคลื่อนไหวส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กรแต่ก็ยากที่จะไม่ทำให้ภาพขององค์กรกระทบไปด้วย คนเสื้อแดงบางรายยังสงสัยถึงขนาดว่า ต้นตอของจุดยิงระเบิด M 79 ในวันที่ 22 เมษายนซึ่งฝ่ายรัฐบาลชี้นิ้วไปที่ฝ่ายเสื้อแดงนั้นอันที่จริงอาจจะมาจากรพ.จุฬาก็ได้

ทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างรพ.จุฬากับกลุ่มคนเสื้อแดงที่ร้าวฉานและสถานะของรพ.ในสายตาพวกเขาที่ขาดความน่าเชื่อถือทางวิชาชีพ เมื่อบวกกับการที่คนเสื้อแดงรู้สึกว่าตนถูกคุมคามยิ่งย่อมเพิ่มน้ำหนักให้ความสงสัยและกลายเป็นที่มาของพฤติกรรมที่ไม่สามารถจะแก้ตัวได้ในปัจจุบันแม้ว่าอาจจะไม่เหลือบ่ากว่าแรงมากนักที่จะทำความเข้าใจ

ทว่าในเวลาเดียวกันบทบาทของบุคคลากรในรพ.จุฬาที่ส่งผลกระทบต่อสถานะขององค์กรและวิชาชีพของพวกเขาก็ไม่มีสื่อกล่าวถึงอีกเช่นกัน มีแต่เพียงการยอมรับคำอธิบายของรพ.ที่พูดอย่างแกนๆว่าเป็นเรื่องส่วนตัว

การนำเสนอข่าวอย่างลำเอียงนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นการบิดเบือนข่าวอย่างโจ๋งครึ่ม แค่การเลือกบางเรื่องบางประเด็น แสร้งลืมบางอย่าง โหมกระพือบางกรณีโดยไม่คำนึงถึงความรอบด้านจนทำให้เกิดอาการเสนอข่าวเฉพาะประเด็นที่ล้นเกินปริมาณที่ควรจะเป็น - out of proportion – โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกระทำร่วมกันอย่างเป็นหมู่คณะและไม่มีใครดึงรั้งสติใครกลับได้ จุดนี้จะยิ่งกลายเป็นบูมเมอแรงส่งแรงกระแทกเข้าหาตัวเอง

คนทำสื่อจำนวนหนึ่งบ่นว่าเสรีภาพของสื่อที่ได้ต่อสู้เรียกร้องกันมาอย่างยากเย็นในหลายสิบปีที่ผ่านมาถูกคุกคามเพราะการกระทำของสื่อทางเลือกที่รายงานข่าวแบบไม่รับผิดชอบทำให้วงการสื่อเสียชื่อ การออกแถลงการณ์ของสมาคมนักข่าวในกรณีที่รัฐบาลสั่งปิดพีทีวียังคงเป็นประเด็นที่สมาชิกหลายคนของสมาคมไม่พอใจ

เห็นได้ชัดว่าความคิดเห็นที่แตกแยกในกลุ่มนสพ.เป็นอาการกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเรื่องจะรับมือเรื่องสื่อทางเลือกอย่างไร หลายคนในหมู่รัฐบาลและสื่อส่วนหนึ่งเห็นไปว่าสื่อทางเลือกคือตัวปัญหา แต่สิ่งที่คนทำสื่อจำนวนหนึ่งไม่ได้ตระหนักหรือว่ายอมรับก็คือ สื่อทางเลือกที่ผลุดโผล่กันเป็นดอกเห็ดในระยะหลังนี้เป็นผลพวงของความด้อยประสิทธิภาพของสื่อกระแสหลักนั่นเอง ซึ่งทำให้ในที่สุดผู้คนในสังคม และไม่ลำพังเฉพาะกลุ่มคนเสื้อแดง จำเป็นต้อง DIY/ Do it yourself หรือลุกขึ้นมาทำสื่อเสียเอง

ทั้งนี้เพราะวิธีการนำเสนอข่าวที่ไม่ตอบโจทก์ความปรองดองของสังคมที่บรรดา “มืออาชีพ” ในวงการสื่อกระแสหลักพอใจกันอยู่ทุกวันนี้

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล

ในพื้นที่ความขัดแย้งอื่นเช่นภาคใต้

อาการป่วยเพราะไข้สื่อใส่ไฟก็มีสภาพไม่ต่างกันเท่าใดนัก

ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรมุสลิมที่ถูกทำให้รู้สึกเป็นอื่นถูกยันไว้ให้มีระยะห่างจากรัฐไทยด้วยประสบการณ์กับสื่อในทำนองเดียวกันกับที่เกิดกับคนเสื้อแดง

ในความสูญเสียคือการบาดเจ็บล้มตายของผู้คนทั้งพุทธและมุสลิม สื่อเลือกที่จะเป็นตัวแทนของคนกลุ่มเดียวคือคนพุทธ แสดงภาพความสูญเสียของพวกเขาอย่างท่วมท้น แต่แทบจะเรียกได้ว่าเฉยเมยต่อความสูญเสียของมุสลิม

ครอบครัวมุสลิมที่ถูกฆ่ายกครอบครัวเก้าศพยังไม่ได้รับความสนใจจากสื่อเทียบเท่ากับศพๆหนึ่งของพุทธ

การสังหารหมู่มุสลิมสิบเอ็ดศพที่หมู่บ้านไอปาร์แย หมู่บ้านเล็กๆที่ห่างไกลในนราธิวาส จนบัดนี้การสืบสวนสอบสวนก็ยังไม่คืบหน้าไปไหน และไม่มีสื่อรายไหนในกรุงเทพฯที่สนใจติดตามเรื่องคดีของมุสลิมอย่างจริงจังเสมือนว่าพวกเขาเป็นพลเมืองชั้นสอง

วันนี้สิ่งที่สื่อกระทำในส่วนของรายงานเรื่องคนเสื้อแดงก็ไม่ต่างจากรายงานที่พวกเขาทำในเรื่องราวของมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

เสียงเรียกร้องให้จัดการปัญหาด้วยความรุนแรง โดยไม่ใส่ใจผลกระทบที่จะเกิดกับชีวิตประชากรในพื้นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ วันนี้ในกรุงเทพฯ กลุ่มเสื้อหลากสีเริ่มร้องเพลงชาติ ขณะที่รัฐบาลบอกว่าเสื้อแดงมีกลุ่มล้มสถาบันแอบแฝง และพธม.เรียกร้องให้ใช้กฏอัยการศึกจัดการกลุ่มคนเสื้อแดง

ทั้งหมดล้วนบ่งบอกนัยนะว่าคนเสื้อแดงกำลังถูกมองเป็นอื่น เป็นศัตรูไม่ใช่คนไทยและสามารถจะละเลยคุณค่าของชีวิตพวกเขาได้ ด้วยวิธีการนำเสนอข่าวแบบที่ทำอยู่

สื่อกำลังเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้วิธีคิดเช่นนี้

คงไม่ต้องแปลกใจถ้าจะมีคนไม่น้อยเห็นว่า สื่อไทยปัจจุบันเป็นสื่อเสื้อเหลืองและร่วมเล่นเกมช่วยเสื้อเหลือง ขณะที่กลุ่มคนเสื้อแดงเองคงจะยิ่งเข้าใกล้ข้อสรุปที่ว่าสื่อกระแสหลักคือศัตรูของพวกเขาเข้าไปทุกขณะ การเลือกข้างของบรรณาธิการยิ่งทำให้การทำงานของนักข่าวภาคสนามลำบากหนักขึ้นเช่นที่เห็นตัวอย่างจากนักข่าวที่อยู่ในวงเสื้อแดง

ไม่วาจะรู้ตัวหรือไม่ พวกเขาก็กำลังช่วยกระพือภาพคนชั้นกลางที่ตนเลือกเป็นกระบอกเสียงให้เห็นว่า พวกเขาเป็นคนที่ไร้สามัญสำนึกมากขึ้นทุกวัน