ที่มา Thai E-News โดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข
ที่มา Voice of Taksin ฉบับที่ 21บทความนี้เป็นผลงานของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่เตรียมจะตีพิมพ์ใน Voice of Taksin ฉบับที่ 21 ก่อนที่จะถูกคำสั่งเผด็จการของศอฉ.สั่งปิดไม่ให้ตีพิมพ์จำหน่าย
การปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนอย่างโหดเหี้ยมตามคำสั่งของผู้อยู่เบื้องหลังรัฐบาลอภิสิทธิ์-สุเทพ อย่างต่อเนื่องและยาวนานที่สุดที่เริ่มจากวิกฤตเมษาเลือด 10 เมษายน 2553 มาจนถึง 19 พฤษภาคมนั้นเป็นเหตุการณ์ที่ทุกคนไม่รู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร? และจะจบลงอย่างไร? ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่เฉพาะอยู่ในหัวใจอันงุนงงของคนไทยแต่เป็นคำถามที่อยู่ในหัวใจอันงุนงงของคนทั้งโลกเพราะเป็นภาวะวิปริตทางการเมืองของประเทศในศตวรรษที่ 21 ที่กำลังจะก้าวข้ามเส้นแบ่งระหว่างประเทศด้อยพัฒนากับประเทศที่พัฒนาแล้วหรือเส้นแบ่งระหว่างประเทศที่มีฐานการผลิตเพื่อพออยู่พอกินกับประเทศที่มีฐานการผลิตเพื่อการตลาด แต่แล้วประเทศไทยกลับถูกฉุดกระชากให้ถอยหลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตสงครามกลางเมืองในรูปแบบของประเทศด้อยพัฒนาที่ทำการผลิตเพียงเพื่อพอกิน ปัญหาทั้งหมดมีคำตอบจากระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบพอเพียง ที่มีกระบวนทัศน์ (Paradigm) แปลกประหลาดจากโลกแห่งยุคไซเบอร์ที่ผู้อยู่เบื้องหลังรัฐบาลวางแผนมาแต่ต้นแล้วคือ “ปราบและปิดประเทศ”
โลกแห่งอำนาจต้องคงที่ : วิถีคิดแนวจารีตนิยม
ลงทุนชีวิตมนุษย์เพื่อรักษาอำนาจ
ความพยายามที่จะสร้างอำนาจด้วยระบอบประชาธิปไตยแห่งคุณธรรมตามโมเดลแนวคิดจารีตนิยมนี้ จึงก่อกำเนิดขึ้นจากแนวคิดข้างต้น แม้จำเป็นจะต้องลงทุนด้วยชีวิตของมนุษย์ก็ยอม ดังนั้นในอดีตจึงเกิดการสังหารหมู่นักศึกษาประชาชนอย่างโหดร้ายที่สุด ดังเช่นในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ภายใต้การบริหารจัดการของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี(ปัจจุบันดำรงตำแหน่งองคมนตรี) โดยประกาศปิดประเทศ 12 ปี เพื่อจะใช้เวลา 12 ปีนั้น ปั้นเยาวชนให้มีอุดมการณ์รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ดังใจนึก และในขณะเดียวกันก็ประกาศกวาดล้าง นักเรียน นักศึกษา ที่เรียกร้องประชาธิปไตย ทั้งที่อยู่ในเมืองและหนีไปอยู่ในป่า ติดอาวุธร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอย่างถึงที่สุด จึงทำให้สถานการณ์สงครามประชาชนที่มีเชื้อไฟอยู่ในขณะนั้นปะทุรุนแรงขึ้นทั่วประเทศ แต่แล้วแนวคิดปิดประเทศก็พังทลายลงด้วยการนำของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ทำการยึดอำนาจล้มรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงเป็นที่ไม่พอใจของอำมาตย์แต่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ แล้วสถานการณ์สงครามประชาชนก็คลี่คลายลงเป็นลำดับด้วยนโยบายสมานฉันท์โดยพลเอกเกรียงศักดิ์ได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่นักเรียนนักศึกษาทั้งหมดและให้กลับคืนสู่ห้องเรียนได้ แล้วสังคมก็กลับสู่ความปรองดองเกิดพัฒนาการทางสังคมก้าวหน้าขึ้นต่อไป แต่เมื่อพัฒนาไปได้อีกระยะหนึ่งแนวคิดจารีตนิยมของระบอบอำมาตย์ก็หวาดวิตกต่อวิวัฒนาการที่ทำให้สังคมขยายใหญ่โตขึ้นอีก จึงตัดสินใจเข้าขัดขวางพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง ปรากฏหลักฐานชัดคือการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 แต่ครั้งนี้ไม่ง่ายเหมือนอย่างใจคิด ด้วยเพราะโลกได้พัฒนาก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ที่ประชาชนหูตาสว่างยากที่จะครอบงำความคิดโดยง่าย จึงนำมาซึ่งวิกฤตประเทศ แล้วแนวคิดปิดประเทศเพื่อรักษาระบอบอำมาตย์ก็ยิ่งมีเหตุผลรองรับมากขึ้น
เสื้อแดงยิ่งเติบใหญ่ยิ่งต้องกำจัด
แผนเผด็จศึกเสื้อแดงเกิดก่อนการชุมนุม
หากใครได้ติดตามข่าวสารในหน้าหนังสือพิมพ์และบทวิเคราะห์ต่างๆ ในช่วงตั้งแต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยเฉพาะในช่วงต้นปี 2553 นี้ ข่าวจะกระชั้นถี่ขึ้นถึงแนวคิดของมหาอำมาตย์ว่า จะมีการจัดการประเทศใหม่ แม้จะมีคนบาดเจ็บล้มตายเป็นแสนก็ยอม แม้จะปิดประเทศก็อยู่ได้ไม่เดือดร้อนอะไรโดยเปรียบเทียบกับการดำรงอยู่ของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า
“ขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการสังคายนาและปฏิรูปประเทศไทยใหม่โดยต้องหยุดปัญหาที่วุ่นวายไว้สักระยะหนึ่งเพราะกลไกของเราใช้ไม่ได้อย่ามาพูดว่าสภาเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยเพราะที่มาของ ส.ส.ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย ขอย้ำว่าต้องมีการปฏิวัติจริงๆ ไม่ใช่จอมปลอม ต้องไม่ให้เหมือนกับการปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 ที่เป็นการปฏิวัติที่ใช้ไม่ได้”
รูปธรรมที่ยืนยันความคิดนี้เกิดจากปฏิบัติการจริงแล้วคือการล้อมปราบฆ่าประชาชนที่มาเรียกร้องการยุบสภาเมื่อ 10 เมษายน 2553 ด้วยการประดิษฐ์คำสั่งฆ่าที่ไพเราะว่า “ขอคืนพื้นที่” และการล้อมยิงประชาชนเหมือนล่าสัตว์ที่เริ่มต้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2553 ประเดิมด้วยพลแม่นผืนสังหาร “เสธแดง” พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล และติดตามมาด้วยการ “เล็งเป้าฆ่า” ตลอดสัปดาห์อย่างเมามัน ด้วยการประดิษฐ์คำสั่งฆ่าใหม่ที่ไพเราะกว่าเก่าว่า “กระชับพื้นที่”
ลำดับเหตุการณ์ก่อนเกิดเมษา-พฤษภาเลือด
1. 26 กุมภาพันธ์ 2553 ลั่นระฆัง “กำจัดทักษิณและพวกอย่างถอนรากถอนโคน” ด้วยคำพิพากษายึดทรัพย์ทักษิณและตามมาด้วยการเตรียมปราบการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่จะเริ่มต้น 12 มีนาคม 2553
2. เริ่มต้นประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงนำทหารในสายอำนาจของพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา รองผู้บัญชาการทหารบกที่ถูกกำหนดตัวให้ขึ้นเป็น ผบ.ทบ.ออกมาทำหน้าที่แทนตำรวจ ตั้งแต่ก่อนวันที่ 12 มีนาคม 2553 ที่แกนนำ นปช.ประกาศเริ่มต้นการชุมนุม ทั้งๆที่ในต่างประเทศการควบคุมฝูงชนจะเริ่มต้นจากการใช้ตำรวจ
3. พฤติกรรมผิดสังเกตของทหาร ทหารที่ออกมามีอาวุธสงครามครบมือเตรียมปราบปรามโดยปิดบังหน่วยต้นสังกัดทั้งหมดทั้งที่เครื่องแบบประจำตัวและยานพาหนะพร้อมทั้งปิดทะเบียนรถที่ขนส่งทหารออกมาประจำตามถนนและด่านตรวจต่างๆ ทั้งหมด
4. สร้างข่าวเตรียมสังหารคนเสื้อแดงอย่างชอบธรรมด้วยการตั้งข้อหา“ขบวนการล้มเจ้า” โดยเริ่มต้นจากการเปิดวาทะกรรมปลุกระดมจากกลุ่มพันธมิตรก่อนเมื่อปลายปี 2552 ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ASTV ว่า “ล้มเจ้า” ซึ่งสอดรับกับการปลุกระดมของรัฐบาลอภิสิทธิ์ในโทรทัศน์ช่อง 11 และการประกาศอย่างเป็นทางการของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในข่าวโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจในนาม ศอฉ. นับจาก 7 เมษายน 2553
5. ประกาศเขตรอบโรงพยาบาลศิริราชเป็นพื้นที่ปลอดแดงเด็ดขาด และห้ามการเดินทางไปถวายพระพรของพสกนิกรโดยเด็ดขาดก่อนจะเริ่มต้นการชุมนุมด้วยเช่นกัน โดยมีนัยยะสำคัญทางการข่าวจิตวิทยาว่าคนเสื้อแดงเป็นผู้ไม่จงรักภักดีเพื่อโน้มน้าวให้สารธารณชนสนับสนุนแผนการฆ่าคนเสื้อแดงอย่างชอบธรรม
6. อภิสิทธิ์-สุเทพ เล่นละครตอบรับยุบสภาอย่างเสียไม่ได้ ตลอดระยะเวลาเริ่มต้นการชุมนุมของคนเสื้อแดงตั้งแต่ 12 มีนาคม เรียกร้องให้มีการยุบสภานายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ(ผู้บัญชาการรบที่รับคำสั่งจากมหาอำมาตย์)ไม่เคยแสดงท่าทีตอบรับหรือเพียงแค่รับพิจารณาว่าจะยุบสภาเลย การเจรจาของรัฐบาลเรื่องการยุบสภา 2 ครั้ง กับแกนนำ นปช.จึงเป็นเพียงฉากละครมีนายสุเทพผู้อยู่เบื้องหลังเชิดนายอภิสิทธิ์ในฐานะนายกฯและนายกอร์ปศักดิ์ สภาวะสุ ในฐานะเลขานายกฯ และนายชำนิ ศักดิ์เศรษฐ อดีตคอมมิวนิสต์เก่าผู้มีประสบการณ์งานมวลชนขึ้นเล่นละครอย่างเสียไม่ได้เท่านั้น และเมื่อการเจรจาล้มเหลวนายสุเทพ ก็แสดงความดีอกดีใจและยั่วยุด้วยถ้อยคำว่า “เมื่อไม่มีการเจรจารัฐบาลก็จะอยู่จนครบอายุ 1 ปี กับอีก 9 เดือน”
7. สร้างเงื่อนไขประกาศภาวะฉุกเฉิน อภิสิทธิ์-สุเทพ ได้วางแผน “ใช้ขนมหวานล่อมด” โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ประกาศจะมาประชุม ค.ร.ม.ที่สภาในวันพุธที่ 7 เมษายน 2553 ซึ่งตรงกับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อยั่วยุให้คนเสื้อแดงปิดล้อมสภาเช่นเดียวกับที่กลุ่มพันธมิตรเสื้อเหลืองเคยทำเมื่อ 7 ตุลาคม 2551 ทั้งๆที่รู้ว่ากลุ่มคนเสื้อแดงจะต้องตามมาประท้วงนายอภิสิทธิ์อย่างแน่นอนเพราะสภาอยู่ใกล้กับการชุมนุมคนเสื้อแดง(ขณะนั้นอยู่ที่สะพานผ่านฟ้า) และเป็นที่น่าสังเกตว่านับตั้งแต่มีการชุมนุมของคนเสื้อแดงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ก็ใช้กรมทหารราบที่ 11 และกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอยู่ห่างไกลการชุมนุมเป็นที่ประชุม ค.ร.ม.มาโดยตลอดแต่อยู่ๆก็อยากจะมาประชุม ค.ร.ม.ที่สภา แล้วทุกอย่างก็เข้าแผนการร้ายนี้
เป็นที่น่าสังเกตว่านายอภิสิทธิ์แถลงข่าวถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ พรก..ฉุกเฉิน จากเหตุการณ์บุกสภาแต่ในประกาศกลับไม่กล่าวอ้างเหตุการณ์การบุกสภาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร คงจะเป็นเพราะนายอภิสิทธิ์รู้อยู่แก่ใจดีว่าเรื่องการบุกสภาของคนเสื้อแดงนั้นยังขาดเหตุขาดผลอยู่
รูปธรรมการถอนรากถอนโคนทักษิณ
เหตุการณ์ใช้หน่วยสแนปเปอร์ลอบยิง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดงในหัวค่ำของคืนวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 เป็นการจุดพลุส่องสว่างให้เห็นถึงความแค้นของระบอบอำมาตย์อันไม่อาจจะปกปิดได้อีกแล้วนับแต่นั้นทหารหน่วยพลแม่นปืนที่เป็นกองกำลังหน่วยสำคัญของพลเอก สุรยุทธ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่เป็นคู่อาฆาตกับ พ.ต.ท.ทักษิณ มาก่อนก็เปิดฉากไล่ยิงประชาชนที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นแกนนำผู้ก่อการร้ายและพวกล้มเจ้าเป็นผลให้ประชาชนผู้สุจริตบาดเจ็บล้มตายเป็นใบไม้ล่วงแล้วตามมาด้วยการล้อมฆ่าปิดท้ายวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 โดยยิงเข้าไปในวัดปทุมวนาราม เขตอภัยทาน ด้วยเข้าใจว่าผู้ก่อการร้ายหนีเข้าไปในวัดจนสตรีที่เป็นอาสาสมัครพยาบาล นางกมนเกด อัคฮาด เสียชีวิต และการติดตามจับบุคคลที่รัฐบาลอภิสิทธิ์หมายหัวทำบัญชีไว้ว่า “ฮาร์ดคอร์” ของทักษิณก็ตามมา รวมทั้งการประกาศควบคุมบัญชีเงินธนาคารของประชาชนอีกจำนวนมากรวมทั้งควบคุมเงินของนักหนังสือพิมพ์อย่างนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บก. VOICE OF TAKSIN รวมทั้งการออกไล่ล่าปิดหนังสือพิมพ์ของฝ่ายเสื้อแดง และจับนายสมยศและ ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาคประวัติศาสตร์คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้ง ส.ส.ฝ่ายค้านในสภาที่กำลังทำอย่างต่อเนื่อง
ความรุนแรงเกินคาดแต่ไม่เกินแผน
สิ่งที่ระบอบอำมาตย์คาดไม่ถึงว่าประชาชนคนรากหญ้าจะมีจิตสำนึกทางประชาธิปไตย และเข้าใจกลไกธุรกิจของอำมาตย์มากขึ้น จนถึงขั้นกล้าต่อสู้กับพวกเขาอย่างถึงที่สุด นั่นคือรูปธรรมที่เป็นจริง เมื่อแกนนำ นปช. ประกาศยอมแพ้เพื่อรักษาชีวิตของประชาชนที่มีทั้งเด็กผู้หญิง และคนแก่บริเวณหน้าเวทีที่ราชประสงค์ แต่ประชาชนกลับประกาศสู้ตายและเสียใจร้องไห้ที่แกนนำยอมจำนนแล้วนับจากนั้นพวกเขาที่ไร้จัดตั้งก็กระจายกันโจมตีเผาสถานที่ทางการค้าต่างๆ ที่เขาเชื่อว่าเป็นของพวกอำมาตย์หรือที่เหล่าอำมาตย์ใช้อภิสิทธิ์ทางการเมืองคุ้มครองธุรกิจให้ รวมทั้งฝ่ายอำมาตย์ก็สวมรอยหนุนการเผาด้วยเพื่อจะได้เกิดความชอบธรรมในการไล่ฆ่าพวกเสื้อแดง เช่น ศูนย์การค้าสยาม ศูนย์การค้าเวิร์ลเทรด ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ และไม่เว้นแม้แต่ตึกโทรทัศน์ช่อง 3 ที่เป็นตัวแทนของสื่อที่สนับสนุนระบบอยุติธรรม 2 มาตรฐาน ก็ไหม้เป็นจุล และการก่อจลาจลได้กระจายตัวไปทั่วกรุงเทพ และทั่วประเทศศาลากลางซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจรัฐอำมาตย์จึงเป็นเป้าหมายของการบุกโจมตีซึ่งสภาพความรุนแรงและมีเนื้อหาทางเศรษฐกิจเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเมืองไทย
ทางออกของสถานการณ์การเมืองไทยวันนี้ไม่ช้าก็เร็ว คือการประกาศปิดประเทศอย่างเป็นทางการเพราะโดยเนื้อแท้ของสถานการณ์วันนี้คือการปิดประเทศแล้ว
ปิดประเทศเป็นความจำเป็นและความชอบธรรมที่ระบอบอำมาตย์ประเมินไว้เป็นจริงแล้ว
เพื่อไทย
Sunday, June 13, 2010
บทวิเคราะห์: คิดวิปริต ปิดประเทศ
กระบวนทัศน์แห่งอำนาจของระบอบอำมาตย์ที่มีแนวคิดการเมืองแนวจารีตนิยมคือไม่ยอมรับพัฒนาการของการเมืองในระบบโลกแห่งยุคแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ถนนทุกสายมุ่งสู่การรวมศูนย์อำนาจที่มหาชนในฐานะผู้บริโภคและแนวคิดจารีตนิยมทางการเมืองนี้ได้กลายเป็นรากเหง้าปัญหาของประเทศไทยในวันนี้โดยลักษณะแนวคิดจะเห็นได้จากชนชั้นนำจะดูถูกสามัญชนคนรากหญ้าว่า “โง่ และไม่มีความเข้าใจประชาธิปไตย” และมองระบอบประชาธิปไตยว่า “เป็นระบอบที่เลวร้ายไร้คุณธรรม” แต่พวกเขาไม่อาจจะฝ่าฝืนกระแสโลกได้จึงวางแนวพัฒนาประเทศตลอดระยะเวลาครึ่งศตวรรษ ให้อยู่ในแนวทางที่นักวิชาการแอนดรู วอล์คเกอร์ (Andrew Walker) จากออสเตรเลียให้นิยามว่าเป็น “ประชาธิปไตยพอเพียง” แต่นักวิชาการไทยใช้คำว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ” คือประชาธิปไตยสลับการรัฐประหารโดยเฉพาะเมื่อระบอบประชาธิปไตยส่งสัญญาณว่าเริ่มมั่นคงขึ้นทุกครั้งก็จะเกิดการรัฐประหารตามมาเป็นสูตรที่คอการเมืองไทยสามารถทำนายได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงนักวิชาการเพราะเป็นเสมือนชีวิตประจำวันของการเมืองไทยจนชาชิน และนั่นคือวิถีคิดการเมืองแนวจารีตนิยมที่เชื่อมั่นการปกครองแบบจารีตประเพณีที่ถือปฏิบัติต่อๆกันมาโดยเน้นคุณธรรมทางจิตใจมากกว่าปากท้องและการกินดีอยู่ดีของประชาชน
วิถีคิดแนวจารีตนิยมของระบอบอำมาตย์คิดว่าโลกนี้ปั้นได้ดังใจนึกด้วยดินน้ำมัน ด้วยเพราะไม่เชื่อในทฤษฎีวิวัฒนาการสังคม
การล้อมปราบสังหารประชาชนตั้งแต่ 10 เมษายน จนถึง 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมาจึงมิใช่เรื่องบังเอิญแต่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการปฏิรูปประเทศในภาวการณ์พิเศษที่คนทั่วโลกรู้ดีว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้น (แต่คนไทยถูกปิดตา ไม่ให้รู้เห็น) ดังนั้นเป้าหมายการกวาดล้างระบอบทักษิณหรือแนวคิดใหม่ในการพัฒนาประเทศจึงถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบมิใช่อุบัติเหตุด้วยเพราะแนวคิดของระบอบทักษิณได้แสดงออกชัดเจนนับแต่การถูกรัฐประหารว่าไม่สยบยอม, ด้วยเหตุนี้ข้อสรุปว่าต้อง “กำจัดทักษิณและพวกอย่างถอนรากถอนโคน” จึงเกิดขึ้น
“แม้ผมตายผมก็ยังจะตามหาความยุติธรรม” คำกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ข้างต้น ยังก้องดังในโสตประสาทของระบอบอำมาตย์ให้เคียดแค้นและอาฆาต พ.ต.ท.ทักษิณ จนเกิดข้อสรุปที่จะต้องกำจัดทักษิณอย่างถอนรากถอนโคน เพราะในอดีตไม่เคยมีผู้นำรัฐบาลคนไหนที่ถูกรัฐประหารแล้วจะกล้าโงหัวขึ้นมากล่าวเช่นนี้
การยุบพรรคไทยรักไทย ยุบพรรคพลังประชาชน การก่อจลาจลยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสนามบินสุวรรณภูมิประสานกับการใช้องค์กรศาลภายใต้นโยบาย “ตุลาการภิวัฒน์” ล้มรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ คือรูปธรรมยืนยันถึงข้อสรุปของระบอบอำมาตย์ที่จะต้อง“กำจัดทักษิณอย่างถอนรากถอนโคน” ข้างต้น
การเติบใหญ่ของขบวนการคนเสื้อแดงที่เห็นความไม่เป็นธรรมทางสังคมการเมืองของระบอบอำมาตย์ที่ใช้กฎหมายอย่าง 2 มาตรฐาน จึงเกิดการขยายตัวทั่วประเทศ แต่แทนที่ระบอบอำมาตย์จะรู้สำนึกตัวเองถึงความชำรุดบกพร่องของระบอบของตนก็กลับตีความว่าเป็นผลมาจากเงินทักษิณที่อัดฉีดยุยง และการล้อมปราบฆ่าคนเสื้อแดงในเหตุการณ์สงกรานต์เลือดเมื่อ 12-13 เมษายน 2552 ซึ่งแทนที่คนเสื้อแดงจะหวาดกลัวและหยุดเคลื่อนไหวแต่เหตุการณ์กลับตาลปัตรกลายเป็นคนเสื้อแดงยิ่งขยายตัวทั้งประเทศจนถึงขั้นเกิดการชุมนุมใหญ่อย่างยืดเยื้อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภายิ่งเป็นผลให้ข้อสรุปของอำมาตย์ที่พร้อมจะฆ่าประชาชนคนเสื้อแดงอย่างโหดร้ายในฐานะ “เสี้ยนหนามแผ่นดิน” และพร้อมจะปิดประเทศ จึงเกิดขึ้นอย่างสิ้นสงสัยในเหตุการณ์ล้อมปราบจาก 10 เมษายน – 19 พฤษภาคม 2553 และการไล่ปราบปรามตามจับในขณะนี้
รูปธรรมที่เป็นเชื้อมูลของความคิดนี้ที่เล็ดรอดออกมายืนยันได้จากคนใกล้ชิดของมหาอำมาตย์ เช่น การนำเสนอแนวคิดการเมืองใหม่ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรในเดือนมิถุนายน 2551 ที่เสนอโครงสร้างอำนาจหลักที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งคือระบบ 70:30 และคำให้สัมภาษณ์ของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ คนใกล้ชิดพลเอกเปรมตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวัน “โลกวันนี้” วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ว่า
หากเรานำข้อมูลทั้งหมดมาเชื่อมต่อก็จะพบความจริงว่าการล้อมปราบประชาชนอย่างโหดร้ายมิใช่ความจงใจของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ต้องการจะยุติการชุมนุมตามคำกล่าวอ้าง แต่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ“กำจัดทักษิณและพวกอย่างถอนรากถอนโคน” และสิ่งที่จะต้องติดตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการปิดประเทศ
เหตุการณ์ความรุนแรงเช่นนี้เกินความคาดหมายแต่ไม่เกินแผนของอำมาตย์ที่ประเมินไว้
ปิดประเทศเป็นความชอบธรรม
การประกาศภาวะฉุกเฉินในกรุงเทพมหานครและจังหวัดสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างเชียงใหม่ และอุดรธานี เป็นต้นรวมเกือบครึ่งประเทศรวมทั้งการปิดเว็บไซด์ และการควบคุมสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ โดยเฉพาะการปิดวิทยุชุมชนเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของรูปธรรมการปิดประเทศ และเป็นรูปธรรมที่บ่งบอกว่าจะต้องเดินหน้าต่อไป เพราะเวลาสำคัญที่สุดของการผลัดเปลี่ยนอำนาจของรัฐไทยใกล้เข้ามาเต็มทีแล้วการปิดประเทศเพื่อควบคุมความเป็นเอกภาพแบบโบราณ คือ เอกภาพแห่งอำนาจเอกภาพแห่งความเงียบสงบ จะต้องเกิดขึ้นเพื่อรองรับเหตุการณ์สำคัญ
เอกภาพแห่งอำนาจ และเอกภาพแห่งความเงียบสงบจะมาในรูปแบบการรัฐประหารแนวใหม่ แต่เนื้อหาแนวเดิม
ถ้อยคำที่เรียกขานอำนาจใหม่ก็จะไพเราะไม่แพ้คำว่า “กระชับพื้นที่ หรือขอคืนพื้นที่” เช่น สภาสมานฉันท์แห่งชาติ เป็นต้น
ภาพการปิดประเทศจะยิ่งเด่นชัดขึ้นเมื่อใกล้เดือนกันยายน และยิ่งๆเด่นชัดเมื่อเห็นภาพผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่ที่มีนามว่า “ป” ปลาตาขวาง ขึ้นแทน “ป” ป๊อกไม่ปฏิวัติ
สื่อเล็กๆ อย่าง VOT ขอพยากรณ์ฟันธงตามคำขวัญของเราที่ว่า “อ่านคุณภาพใหม่ที่สื่อใหญ่ไม่กล้าตีพิมพ์”
โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง