WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, February 12, 2008

มาตรการสำรอง [12 ก.พ. 51 - 18:47]

มีผู้คนแสดงความคิดเห็นต่อกรณีที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.คลังจะเสนอยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ที่มีขึ้นในสมัยที่แล้วตามแนวคิดของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เพื่อสกัดการแข็งตัวของค่าเงินบาท ปรากฏว่าให้ยาแรงไปหน่อย ตลาดหุ้นตลาดทุนเจ๊งระเนนระนาด เงินทุนจากต่างประเทศหยุดชะงักแถมยังสกัดค่าเงินบาทแข็งไม่อยู่ฉิบ

ธุรกิจภาคเอกชนต่างก็ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรการดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามมีเสียงเตือนเบาๆ ว่าการจะยกเลิกมาตรการดังกล่าวก็อาจจะมีผลกระทบเช่นกัน อาทิการส่งออก ควรจะพิจารณากันอย่างรอบคอบว่าเหมาะหรือไม่เหมาะ และควรจะมีมาตรการอะไรมาชดเชยหรือป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะขืนไปทำอะไรสุ่มสี่สุ่มห้า ก็จะเกิดผลกระทบขึ้นมาอีก

เราควรจะมองถึงปัญหาในอนาคตเป็นปัจจัยสำคัญ การขาดแคลนเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศน่าจับตามากที่สุด มีการคำนวณกันว่า แม้จะช่วยเรื่องของการส่งออกได้ส่วนหนึ่งก็จริง แต่รายได้จากการส่งออกเข้าประเทศเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ หรือเม็ดเงินส่วนหนึ่งไปซุกอยู่ที่ไหนเพราะมาตรการสำรองดังกล่าว

มีปัญหากับสภาพคล่องมากน้อยแค่ไหน ได้คุ้มเสียหรือไม่ เป็นโจทย์ที่จะต้องนำไปพิจารณาด้วย นี่เดชะบุญว่าเศรษฐกิจบ้านเราอยู่ ในช่วงขาลง มีการชะลอตัวตั้งแต่เกิดการยึดอำนาจ ความต้องการเม็ดเงินในการลงทุนจึงลดลงตามไปด้วย

ในอนาคตสมมติเศรษฐกิจเกิดบูมขึ้นมาอย่างทันทีทันใด ปัญหาสภาพคล่อง น่าเป็นห่วง ถึงกระนั้นก็เถอะ อย่างที่เกริ่นเอาไว้แล้วว่าจะมีคำถามตามมาว่า แล้วถ้ายกเลิกมาตรการสำรองในขณะนี้ จะมีผลต่อการส่งออก ดอกเบี้ย ค่าเงินแค่ไหน

เป็นหน้าที่ ธปท.จะต้องหาคำตอบ

เราคงไม่สามารถที่จะแก้เศรษฐกิจทุกด้านไปพร้อมๆ กันได้ แก้ทางหนึ่งก็มากระทบอีกทางหนึ่งมีผลดีกับการส่งออกก็มีผลกระทบกับการนำเข้า เพราะฉะนั้นจึงต้องมาดูกันทั้งระบบ

ต้องรักษาความสมดุลทางเศรษฐกิจเอาไว้ด้วย

หลักใหญ่ใจความน่าจะอยู่ที่ ความมีเสถียรภาพมากกว่า ค่าเงินแข็ง ค่าเงินอ่อน ก็เป็นไปตามกลไกของเศรษฐกิจ สำคัญคืออย่าให้ผันผวนมากนักก็แล้วกัน

เรื่องนี้ว่าจะง่ายก็ง่าย ว่าจะยากก็ยาก การตีโจทย์เศรษฐกิจในอนาคตให้แตกหรือวิสัยทัศน์ของผู้บริหารเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะถ้าพลาดก็หมายถึงความเสียหายอย่างมหาศาล

เท่าที่ฟังความเห็นจากผู้รู้ทั้งหลายส่วนใหญ่ สนับสนุนให้มีการยกเลิกมาตรการสำรอง มากกว่าครึ่งเพราะที่ผ่านมามีผลเสียมากกว่าได้แต่มีความเห็นที่ตามมาก็คือ รัฐบาลควรจะหามาตรการอื่นไว้ ทดแทนด้วย เช่นการเรียกเก็บภาษีจากกำไรและดอกเบี้ยของผู้ที่จะนำเงินออกจากประเทศเป็นต้น

บทเรียนจากที่ผ่านมา ธปท.ต้องเอาเงินสำรองเป็นแสนล้านไปพยุงค่าเงิน อุ้มผู้ส่งออกไม่ค่อยจะคุ้มเท่าไหร่ งานชิ้นแรกของ รมว.คลังก็ไม่หมูเสียแล้ว.

หมัดเหล็ก

คอลัมน์ คาบลูกคาบดอก