WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, February 15, 2008

ยงยุทธ ติยะไพรัช โบกธง'สมานฉันท์'

สัมภาษณ์พิเศษ

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการผลักดันการนิรโทษกรรม 111 อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย

ถูกระบุว่าเป็นภารกิจสำคัญของรัฐบาลชุดนี้

แต่นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา ในฐานะประมุขฝ่าย นิติบัญญัติ ที่มาจากพรรคพลังประชาชน ปฏิเสธว่า ทั้ง 2 เรื่องไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน

แต่เรื่องเร่งด่วนที่จะทำคือการสร้างความสมานฉันท์ในประเทศชาติ

โดยนายยงยุทธ ให้สัมภาษณ์เปิดใจถึงรายละเอียดในเรื่องนี้ไว้ว่า

ทูตอียูเชิญไปร่วมรับประทานอาหาร สนใจท่าทีของผมว่าเป็นอย่างไร ก็บอกจุดยืนที่กลับประเทศ ยืนยันความจงรักภักดีให้คนได้เห็น ความปรองดอง

วันนี้สังคมประชาธิปไตยไม่มีใครในโลกมีความเห็นเหมือนกันหมด ต้องมีเวทีให้แสดงความเห็นคือสภา แต่บางช่วงอาจมีความไม่สบายใจขึ้นเมื่อเกิดรัฐประหาร พอเอาหลักการประชาธิปไตยมาจับแล้วต้องเริ่มต้นใหม่

วันนี้จำเป็นต้องลืมข้างหลัง มองไปข้างหน้าให้เกิดความเชื่อมั่น สภาเป็นกลไกสำคัญทำให้เกิดความ ปรองดอง จัดที่จัดทางให้ทุกคนมีบทบาทหน้าที่ ให้ยืนได้อยู่ภายใต้กติกาเดียวกัน วันนี้ต้องกลับมาอยู่ร่วมกันให้ได้

เมื่อสภาสร้างบรรยากาศการอยู่ร่วมกันให้ประชาชนเห็น จะช่วยผ่อนคลายได้มาก ไม่ใช่เสียดสี ีเหน็บแนมตลอด ความหม่นหมองใจจะเกิดขึ้นได้ ผมจึงให้นโยบายกับเจ้าหน้าที่และรองประธานทั้ง 2 คนว่า ไม่ต้องกลัวเสียหน้า ถูกด่า ทำให้สภาไปได้

แม้บอกว่าประธานไม่แข็ง แต่การประชุมเป็นไปด้วยความอะลุ้มอล่วย ภาพรวมไปได้ ไม่ใช่ประธานเด็ดขาด แล้วสภาล่มก็ไม่ไหว

ส่วนการทำงานนอกสภา ในฐานะประธาน ผมจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำจังหวัดขึ้นทั่วประเทศ ให้เป็นศูนย์รวมที่ส.ส.และประชาชนจะมาหารือหรือร้องเรียนในเรื่องต่างๆ โดยไม่ต้องเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ

เราคนน้อยไปหาคนส่วนมากจะดีกว่า เมื่อรับฟังปัญหาแล้วส.ส.จะนำเข้ามาหรือในที่ประชุมสภา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปากมูล บ่อนอก หินกรูด ไม่ต้องหอบลูกจูงหลานมา

ที่ผ่านมาเกิดปัญหาปีนรั้วสภาโดยไม่มีการป้องกันปัญหา แล้วปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ต่อไปอาจจัดหาเวทีให้ เช่น หากมาเป็นหมื่นคนก็จัดให้ไปอยู่ที่เขาดิน แล้วส่งตัวแทนมาเจรจา หรืออะไรที่ให้คณะกรรมาธิการต่างๆ หรือรัฐบาลต้องรับรู้ ก็ส่งเรื่องไปตามหน่วยงานนั้นๆ เพื่อหาทางแก้ตช่องทางการเผยแพร่การทำงานของสภา วันนี้ให้ที่ปรึกษาไปเจรจากับเคเบิลท้องถิ่น ขอฟรีไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่ายแม้แต่บาทเดียว อาจจัดสถานที่คล้ายโรงหนังเล็กๆ แล้วนำจานดาวเทียมไปติด เมื่อชาวบ้านมาพบส.ส .อาจนั่งดูรายการไป ส.ส.คนไหนอยู่หัวไร่ ปลายนา อาจไปสร้างกระท่อมแล้วติดจานดาวเทียม

ทูตอียูยังถามเรื่องนิรโทษกรรม ผมชี้แจงว่า ณ เวลานี้ยังไม่ใช่ ถ้าถึงเวลาที่เหมาะสมต้องดูกันอีกครั้ง ต้องดูเจตนารมณ์ของศาลรัฐธรรมนูญ ดูว่าเป็นการลงโทษหรือเปล่า ถ้าเป็นการลงโทษถือว่าสามารถนิรโทษได้

แต่ถ้าเป็นการลิดรอนสิทธิ ตัดสิทธิ อะไรคือช่องทางที่แก้ไขได้ และความจำเป็นในระยะนี้ต้องทำหรือไม่ ความรู้สึกประชาชน สังคมมองอย่างไรในประเด็นนี้

หรือถ้าทำแล้วจะกลายเป็นปัญหาสร้างความขัดแย้งขึ้นมาอีกหรือไม่ ต้องดูรอบด้าน และต้องไม่เริ่มต้นโดยผม ต้องปรึกษาหารือกัน เรื่องนี้ไม่ใช่สถานการณ์ที่เร่งรีบ แต่เมื่อสถานการณ์เหมาะสมแล้วค่อยมาว่ากัน วันนี้ขอให้บ้านเมืองเดินไปได้สักระยะหนึ่ง

ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันนี้ถ้าประธานมีภูมิคุ้มกันทางการเมืองบกพร่อง ทุกคนคิดว่าทำงานแล้ว จะไปรอดหรือเปล่า ยิ่งไปเพิ่มปัญหาเข้าไปอีกเกรงว่าความร่วมมือทางสังคมจะหายไป

เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเป็นเรื่องตกผลึกจากประชาชนและองค์กรหน่วยงานที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และเมื่อแก้ไขแล้วต้องดีขึ้น มีประโยชน์กว่า ทำให้บ้านเมืองไปได้ ถึงเวลานั้นสังคมตกผลึกแล้วจึงริเริ่ม พูดขึ้นวันนี้จะทำให้ปัญหาต่างๆ ตามมา เพราะยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม

อย่างมาตรา 265(1) ที่ห้ามไม่ให้ส.ส.และส.ว.ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่เป็นประเด็นถกเถียงอยู่ ถ้าเริ่มต้นโดยส.ส.ขอแก้ไขจะเกิดคำถามว่าเป็นการแก้ไขเพื่อตนเอง มาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สิทธิของ พลเมือง เพื่อการเสนอกฎหมาย การกระจายอำนาจการคลัง ควรให้โอกาสกับประชาชนมากกว่านี้หรือไม่

หรือการบริหารงาน วันนี้ส.ส.ย้ายพรรคกันง่าย ไม่จำเป็นต้องฟังมติพรรคในการโหวตเรื่องสำคัญ จะทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย กระทบความมั่น เศรษฐกิจหรือไม่

ต้องฟังประเด็นอื่นๆ จนเห็นว่าครบถ้วน มีองค์กรต่างๆ มาร่วมกันทำ แต่หากเห็นเรื่องพลกำลังส.ส. มีมาก จะดึงดัน ตั้งหน้าตั้งตาแก้ไข แม้ทำได้แต่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์

การแก้ไขต้องรอบคอบ มือในสภาไม่ยากแต่ที่ยากคือความตกผลึก ผมอยากให้สภามีความสดสวย จึงต้องรอกัน และการเริ่มต้นต้องไม่ใช่จากผม เพราะเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ

วันนี้มีความสงสัยว่าผมจะวางตัวเป็นกลางหรือเปล่า ขอให้ดูที่ผลของการกระทำ

ผมกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำงานร่วมกันมา 8 ปี ถ้าถามว่าเคยพูดคุยกันหรือไม่หลังปฏิวัติ ถ้าผมตอแหลให้รอดพ้นตัวเอง สังคมก็ไม่เชื่อ

เรื่องนอมินีที่พูดกันมาก มองว่าแกนนำพรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่ศาลสั่งยุบพรรคไทยรักไทย และห้ามอดีตกรรมการบริหารพรรค 111 คนยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ขอถามว่าแล้วห้ามยุ่งแค่ไหน

ถ้าถามว่ามาควบคุมจิตวิญญาณของเรา หรือมาควบคุมทุกอิริยาบถ ขณะที่บางพรรคที่เกิดขึ้นภายหลัง การรัฐประหารส่งคนไปลงสมัครในกทม. ไม่เห็นถูกด่าว่าเป็นนอมินี บางคนส่งสมาชิกในครอบครัวลงสมัครก็ไม่ถูกว่า พอเป็นพลังประชาชนทุกคนก็สงสัย ถูกด่า เป็นนอมินีของพ.ต.ท.ทักษิณหรือเปล่า

วันนี้ความรู้สึกที่ไม่แยกแยะเป็นความรู้สึกที่ไม่ค่อยยุติธรรม หากมองความใกล้ชิดเป็นนอมินีก็ไม่ยุติธรรม เช่นกัน วันนี้ผมติดต่อพ.ต.ท.ทักษิณน้อยกว่าคนอื่นๆ ที่อยู่นอกพรรคอีก ไม่เชื่อไปเช็กโทรศัพท์ดูได้

ผมไปปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งในบ้านเมือง เป็นที่รักของคนทั่วไป เอาไว้ให้หมดวาระผมจะเล่าให้ฟังว่า ผู้ใหญ่ท่านนั้นว่าอย่างไร

ผมคุยกับท่านว่าวันนี้ประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ห่วงใยเรื่องความมั่นคงเรื่องสถาบัน กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มพรรคพลังประชาชน

วันนี้พรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง 2 กลุ่มนั้นไม่ยอมแน่ เกิดการเผชิญหน้ากัน หรือถ้า 2 กลุ่มนั้น ชนะการเลือกตั้ง กลุ่มที่สนับสนุนพรรคพลังประชาชนก็เพิกเฉย ไม่ให้ความร่วมมือ บ้านเมืองก็ไปไม่ได้

วันนี้เราทำเป็น 2 แกนได้หรือไม่ แกนนำแนวตั้ง ถามว่าประเด็นอะไรบ้างที่ทำให้สังคมเกิดความขัดแย้งกัน แนวนอนก็ถามว่ากลุ่มบุคคลที่มีความขัดแย้งนั้นมีใครบ้าง เสร็จเรียบร้อยแล้วเรามีคณะผู้ใหญ่สักกลุ่มที่เป็นที่เคารพ ของบ้านเมืองไปบอกว่า เฮ้ย! เขาไม่ไว้ใจคุณจะล้มประเทศ ล้มสถาบัน คุณควรจะทำอย่างนี้ได้หรือไม่

เปิดการเจรจาลดบทบาท หรือบอกคุณจะมาเอาประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาทำงานจะมีปัญหานะ คุณจะทำอย่างนี้ได้หรือไม่ ไปนั่งโต๊ะคุยกัน เพื่อสร้างจุดยืนให้แต่ละคนยอมรับความเห็นชอบร่วมกัน แล้วเสนอให้สังคมรับรู้ ถอยกันคนละก้าวสองก้าว บ้านเมืองจะได้ไปได้

ท่านก็บอกว่าดี ผมบอกว่าถ้าท่านเป็นประธาน ผมจะลาออกเลยจากประธาน จากส.ส. เลิกเล่นการเมืองเลย จะมาเป็นพนักงานธุรการให้ ท่านบอกว่าอยากทำใจจะขาด แต่วันนี้ถ้าขืนทำคนจะหมั่นไส้เพราะเหตุการณ์ยังไม่เกิด ไปทำก่อนไม่มีคนมาร่วมมือเราจะหน้าแตก เอาไว้ให้เหตุการณ์เกิดผมจะรับอาสา แล้วคุณก็ลาออกมาเป็นพนักงานธุรการก็แล้วกัน

สังคมไทยโครงการป้องกันนั้นไม่มี มีแต่เหตุเกิดขึ้นแล้วถึงทำ ถ้าเราใส่ภูมิคุ้มกันให้สังคมได้จะสุดยอดมาก แล้วถ้าบ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ หัวใจสำคัญคือความปรองดอง จะใช้กลไกสภาในการร่วมมือและเริ่มต้น

ถามว่าทำไมต้องมีองค์คณะผู้ใหญ่มาร่วมหารือ เพราะผมเห็นว่าสภามีข้อจำจัด เป็นโครงสร้างของสถาบันตามระบบการเมือง แต่ในฐานะของสังคมไทยคือมีบารมีในฐานะที่เป็นสถาบัน

อย่างที่นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่าไว้ ปัญหาของบ้านเมือง เราต้องการบารมี โดยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการยอมรับของสังคมมาสร้างความปรองดอง

หากใช้บารมีโดยระบบสถาบันนั้นมันไม่ยั่งยืน เหมือนเมื่อผู้นำในองค์กรนั้นเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ก็ไม่มีคน เริ่มต้น เหมือนรัฐบาล เปลี่ยนเมื่อไหร่นโยบายก็เปลี่ยนทันที

ที่พูดถึงผู้มีบารมีนั้นเป็นในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช่ทางลบ วันนี้แม้การเลือกตั้งผ่านไปแล้ว แต่ทัศนคติ ที่ไม่ดี ีต่อกันยังมีอยู่

ทางที่ดีต้องถอดชนวนเหล่านี้ออกและอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท