WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, February 11, 2008

“คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” ไม่ใช่ “ศาล” ไม่สวมครุยและใช้คำว่า “วินิจฉัย” แทน “พิพากษา”


โดย คุณจำปีเขียว
ที่มา เวบบอร์ด พันทิปราชดำเนิน
9 กุมภาพันธ์ 2551

อ่านบทบรรณาธิการเรื่อง “อย่าด่วนจุดไฟขัดแย้ง”(ไทยรัฐ,๙ กุมภาพันธ์ ๕๑) แล้วเห็นด้วยในหลายประเด็น แต่ประเด็นที่คิดว่าจำเป็นต้องขอถกเถียง คือ ประเด็นที่เขียนในสองย่อหน้าสุดท้ายซึ่งมีข้อความ ดังนี้


"นายกฯสมัครเข้าใจผิดที่พูดว่าเหตุที่ 111 คนโดนใบแดง ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรม เพราะไม่มีตำรวจจับไปสอบสวน ไม่มีอัยการสั่งฟ้อง และตุลาการรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่ ศาล แต่ข้อเท็จจริงก็คือ คดีการยุบพรรคไทยรักไทย ได้ดำเนินตามกระบวนการยุติธรรมอย่างครบถ้วน เริ่มตั้งแต่ร้องเรียนต่อ กกต.ให้ยุบพรรค เมื่อ กกต.เห็นด้วยจึงส่งต่ออัยการสูงสุด เมื่อไม่ใช่คดีอาญาจึงไม่มีตำรวจจับไปสอบสวนกรณีนี้อัยการสูงสุดได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2549 ขอให้สั่งยุบพรรค แต่เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน ศาลรัฐธรรมนูญถูกยุบเลิกไป แต่ รัฐธรรมนูญชั่วคราวได้มอบอำนาจให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่แทน และต่อมาคณะตุลาการฯก็มีคำวินิจฉัยสั่งยุบพรรค คำถามเฉพาะหน้าขณะนี้ก็คือ การนิรโทษกรรม เป็นการกระทำเพื่อส่วนรวมหรือเพื่อพวกพ้อง?"


แม้ไม่อยากฟื้นฝอยหาตะเข็บ แต่เหตุที่ต้องโต้แย้งเพราะเห็นว่าเรื่องนี้มีความสำคัญ และไม่ต้องการให้สื่อมวลชนสร้างความสับสนให้ประชาชนในเรื่องคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ แม้สื่อมวลชนอาจมิได้มีเจตนาเช่นนั้นก็ตาม

ถูกต้องแล้วว่าคดียุบพรรค เป็นคดีที่ดำเนินไปตามกระบวนการยุติธรรมอย่างครบถ้วน คือ มีการร้องเรียนต่อ กกต. (มีทั้งเรื่องที่ร้องให้ยุบพรรคไทยรักไทยและที่ร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์)

ต่อมา กกต.ได้ส่งสำนวนเรื่องยุบพรรคไปยังอัยการสูงสุด

อัยการสูงสุดได้ยื่นคำร้องให้ยุบพรรคการเมืองทั้งหมดไปยัง “ศาลรัฐธรรมนูญ” เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙

แต่แล้วสังคมไทยก็ไม่ได้รับโอกาสฟังการพิพากษาของ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ว่าจะยกคำร้อง ยุบพรรคการเมืองทุกพรรคหรือบางพรรค เนื่องจากได้เกิดการรัฐประหารในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ขึ้นเสียก่อน

โดยต่อมาคณะรัฐประหารได้ใช้อำนาจตามคำสั่งประกาศ คปค. ยุบเลิก “ศาลรัฐธรรมนูญ” ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ได้ถูกล้มล้างไป และได้แต่งตั้ง “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” ขึ้นทำหน้าที่แทน

ตรงนี้นี่เองที่เป็นประเด็นสำคัญ ที่ทำให้กระบวนการยุติธรรมในคดียุบพรรคผิดเพี้ยนไป !!!

แม้จะมีผู้อ้างว่า “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๔๙ แต่จะต้องไม่ลืมว่าในช่วงที่มีการยึดอำนาจ ได้มีการยุบสภาไปแล้ว นั่นหมายความว่ารัฐบาลในขณะนั้นได้คืนอำนาจอธิปไตยให้ปวงชนชาวไทย เพื่อนำสิทธิไปใช้ตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ ให้เข้ามาใช้อำนาจในฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารต่อไป

รัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๔๙ จึงเป็นรัฐธรรมนูญที่บัญญัติขึ้น ในขณะที่อำนาจอธิปไตยได้คืนกลับมาเป็นของปวงชนชาวไทยทั้งหมดแล้ว โดยกระบวนการตามระบอบประชาธิปไตย ได้ดำเนินไปจนถึงขั้นตอนที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง เนื่องจากรัฐธรรมนูญทุกฉบับจะกำหนดไว้ว่า “ อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทย”

บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลใด จึงไม่มีอำนาจตรารัฐธรรมนูญ โดยปวงชนชาวไทยไม่ให้ความยินยอม

รัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๔๙ จึงเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่มีความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง

“คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” จึงไม่ใช่ “ศาล” ตามที่ท่านนายกฯ สมัครกล่าวไว้นั้นถูกต้องแล้ว !!!

ดังจะเห็นได้ว่า “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” ไม่สวมครุยและใช้คำว่า “วินิจฉัย” แทน “พิพากษา” ทั้งยังเป็นการวินิจฉัยตามความในคำสั่งของประกาศ คปค. และรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๔๙ อีกด้วย


จาก Thai E-News