WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, February 12, 2008

เมื่อบทบาทสื่อสารมวลชน แยกไม่ออกจากบทบาททางการเมือง?

โดย คุณเรืองยศ จันทรคีรี
ที่มา เวบไซต์
โลกวันนี้
12 กุมภาพันธ์ 2551

อะไรจะปวดแสบปวดร้อนไปมากกว่านี้ เมื่อวงการสื่อมวลชนกับอำนาจทางการเมือง-กลุ่มผลประโยชน์ ได้ถูกกระทำให้กลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จะพูดว่าพวกสื่อเข้าไปรับใช้อำนาจ หรือกลายไปเป็นอำนาจเสียเองก็ยังได้นะครับ ...

รัฐธรรมนูญฉบับเคร่งศีลธรรมแบบตอแหล ที่ไปเขียนบัญญัติให้บรรดาพรรคการเมือง นักการเมือง ห้ามมีหุ้นส่วนหรือเป็นเจ้าของสื่อ มาตรานี้มองข้ามไปไกลๆ ได้เลย มันไม่มีความหมายอะไรหรอก?

ใช้วิธีจัดตั้งเครือข่าย สนับสนุนเป็นรายบุคคล ไม่เห็นจะต้องไปลงทุนกันในทางตรง ใครๆ เขาคงทำอย่างนี้ทั้งงั้นแหละ ... เราพิจารณาความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญ 2550 ในช่วงเวลาที่ผ่านมา แล้วมองไปยังการกระทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชนส่วนใหญ่ มันคงจะตอบคำถามกันได้ว่า “อะไรเป็นอะไร?”

ทีวี.บางช่องหรือพิธีกรดำเนินรายการเป็นอย่างไร? ...วิทยุชุมชนบางสถานี กระทำตนเป็นกระบอกเสียงของบางพรรคการเมืองโดยเปิดเผย มีแต่รายการด่าทอ ซัดสาด และโจมตีฝ่ายที่ตนคิดเห็นว่า “เป็นศัตรูที่ต้องโค่น” ...อะไรต่อมิอะไร มันดำเนินไปอย่างซ้ำซาก นี่เป็นตัวสะท้อนว่า ข้อห้ามในรัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้มีผลบังคับเป็นความศักดิ์สิทธิ์อะไรทั้งสิ้น?

ขนาดสื่อที่ต้องผลักดันออกกฎหมาย ประกาศตนว่าเป็น “สื่อสาธารณะ” มองกราดเข้าไปหยาบๆ เราก็รู้และสัมผัสได้แล้ว มองเห็นถึงความเป็นจริง รู้ว่าอะไรมันเป็นอะไร? ...อาจจะพูดไม่ได้ว่าคนที่เข้าไปคุม จัดการบริหารสื่อสาธารณะส่วนใหญ่นั้น ก็ได้แก่กลุ่มบุคคลหรือกลุ่มสื่อ ที่วางตนเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลชุดไทยรักไทยโดยเฉพาะ ข้อนี้แม้จะ “จริง” เราก็ต้องปล่อยไป เพราะเป็นกระบวนการที่ถูกผลักดันและเกิดขึ้นตามกฎหมาย ส่วนกฎหมายจะมีเหตุผลหรือถูกต้องหรือไม่? เป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้ พิสูจน์ไปตามกระบวนการ?


ลงท้ายเรื่องโทรทัศน์สาธารณะยังมีโอกาสที่อาจต้องทบทวนกันใหม่ เรื่องราวของไทยพีบีเอสสำหรับวันนี้ ก็ไม่ได้นิ่งเสียทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องของบอร์ดชั่วคราว 5 คน เป็นประเด็นอ่อนไหว ต้องใช้ความระมัดระวังและรอบคอบมาก เพราะที่มาที่ไปนั้น ถูกตั้งข้อกังขา

จะเป็นนอมินีของกลุ่มอำนาจทางการเมืองเครือข่ายใด?
เข้ามาขับเคลื่อนสื่อสาธารณะ จัดแบ่งเค้กให้กลุ่มนายทุนสื่อสายไหนบ้าง?

ซึ่งคำถามหลายหัวข้อกลายเป็นภารกิจหลักให้บอร์ด และฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องทำการสำรวจตรวจสอบ และเข้มงวดกับตัวเองในการตัดสินใจและสั่งการต่างๆ ด้วยความโปร่งใส ให้สอดคล้องกับที่เคยประกาศอุดมการณ์ และเจตนารมณ์ดั้งเดิมของฝ่ายตนเอง ซึ่งย้ำถึงธรรมาภิบาล จริยธรรม และความโปร่งใส มาค่อนข้างจะเป็นชนิดผูกขาด?

ปัญหาของการห้ามใช้สื่อเป็นเครื่องมือสำหรับนักการเมือง มันเป็นรายการที่ก้าวข้ามพ้นมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ข้ามไปอย่างไกลลิบลับ จนไม่จำเป็นต้องแยแสมาตรานี้แต่ประการใด? เพราะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแม้ถูกห้ามไม่ให้เป็นเจ้าของกิจการ หรือถือหุ้นในหนังสือพิมพ์, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม ... มันยังมีกลวิธีสารพัดช่องทางที่คนเหล่านี้ล้วน “รู้รอบ” ที่จะหลีกเลี่ยงด้วยการทำให้สอดคล้องกับกฎหมายต่างๆ เพราะการใช้ประโยชน์จากสื่อ มันก็มิใช่เรื่องที่จะเล่นกันยากเย็นอะไรนัก?

มันเซ่อและโง่เกินไป สำหรับการใช้ชื่อตัวเองหรือผู้อื่น ให้เป็นเจ้าของด้วยการถือหุ้นแทน เหมือนอย่างที่มาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญได้บัญญัติเอาไว้ แต่ถ้าเราศึกษาและมีประสบการณ์อันลึกซึ้งเพียงพอในข่ายงานสื่อสารมวลชน กับหนทางของอำนาจการเมือง ซึ่งต้องการเพิ่มอำนาจของตัวเองไปอีกหนทางหนึ่ง ด้วยการซ้อนและซ่อนเข้าไปในอำนาจของสื่อ รับรองว่าทำได้ไม่ยากเย็นอะไร?


การเขียนมาตรา 48 เอาไว้ แม้กระทั่งห้ามนักการเมือง “เข้าไปใช้วิธีการอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ที่สามารถบริหารกิจการของสื่อสารมวลชน ในลักษณะทำนองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการ หรือถือหุ้นในกิจการเหล่านี้” พิจารณาไปแล้วย่อมเท่ากับเป็นข้อห้ามที่เกิดจากมุมมองและสติปัญญาอันตื้นเขินเกินไป ...คือรับรอง ไม่มีใครเขาสนใจรัฐธรรมนูญมาตรา 48 นี้ให้รกหูรกตาและเปลืองสมองเปล่าๆ?

ข้อเท็จจริงนั้น เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน ย่อมเป็นสิ่งที่ได้รับการค้ำประกันไว้ในรัฐธรรมนูญ ตัวอย่างจากมาตรา 45 ก็บัญญัติให้บุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นๆ ...มาตรานี้ยังห้ามการสั่งปิดหนังสือพิมพ์ หรือสื่อสารมวลชนอื่น เพื่อลิดรอนเสรีภาพ คือห้ามไม่ให้มีการแทรกแซงด้วยวิธีการทุกๆชนิด...

ปัญหาสำคัญนั้น มิใช่เรื่องห้ามนักการเมืองแทรกแซงหรือเป็นเจ้าของสื่อ แต่ประเด็นมันอยู่ตรงการ “สมยอม” และผลประโยชน์ต่างตอบแทน แม้จนทรรศนะส่วนตัวของสื่อ ไปสอดคล้องกับทรรศนะทางการเมืองของกลุ่มการเมืองนั้นๆ จึงทำให้ต้องศิโรราบรับใช้... เมื่อเราพิจารณาไปอย่างนี้แล้วมาตรา 48 ตามรัฐธรรมนูญ ไม่มีความหมายอะไร? ยกเลิกไปเถอะครับ?

เพราะปัจจุบันนี้ยังมีอีกปัญหาสำคัญ ได้แก่ การแทรกแซงการเมืองของฝ่ายสื่อสารมวลชนต่างหาก

ขนาด “บิ๊กบัง” ประกาศถอยเป็นพี่น้องกับรัฐบาล แต่สื่ออีกจำนวนยังโกรธ “บิ๊กบัง” เหตุใดไม่สู้ต่อ? เนื่องจากการจัดแบ่งเค้กให้กับสื่อยังไม่ลงตัว... “ถอยทำไม?”


จาก Thai E-News