ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55
สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง
ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial
สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว
ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร
วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.



วิสา คัญทัพ ศิลปินเพลงเพื่อชีวิต ชำแหละเพื่อนเดือนตุลาฯ จุดยืนทางชนชั้นมันเปลี่ยนไปแล้ว เปรียบเทียบเหมือนอนุสาวรีย์ คนจริง คนปลอม ตำหนิ “คนเข้าป่า” นำสถาบันเบื้องสูงมาเป็นเครื่องมือทำร้ายระบอบทักษิณ ทั้งที่เคยถูกใส่ร้ายแบบเดียวกันนี้จนขบวนการนักศึกษาพังทลาย ชี้สังคมไม่ควรให้อภัยคณะปฏิวัติรัฐประหารและผู้สนับสนุน เพื่อที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก แนะประจานในตำราเรียนจะได้เข็ดหลาบ
*มองภาพรวมการเมืองที่ผ่านมา ทั้งก่อนการปฏิวัติรัฐประหาร และหลังการปฏิวัติรัฐประหาร ว่าอย่างไร
เวลาที่ผมมองการเมืองในยุคปัจจุบัน ผมจะมองอย่างไม่นิ่งกับเรื่องปัจจุบัน แต่จะมองอย่างเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เหมือนบทความที่เขียนไว้ ซึ่งมันจะบอกว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมันมีความสัมพันธ์กับลักษณะประวัติศาสตร์ที่แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมองโครงสร้างใหญ่ๆ ของสังคม สังคมเราเป็นประชาธิปไตยในลักษณะที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริงมาตั้งแต่อดีตแล้ว ถ้าเรามองย้อนไปตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 แล้วบทบาทของทหารเนี่ย ไม่ได้พ้นไปจากระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเลย เราสามารถโยงใยความสัมพันธ์ตรงนี้ได้ตลอด