WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, February 14, 2008

อย่าตีความตามที่อยากให้เป็น

มาตรา 4 ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการการเมืองฝ่ายบริหารไว้รวม 20 ตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

(1) นายกรัฐมนตรี
(2) รองนายกรัฐมนตรี
(3) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(4) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(5) รัฐมนตรีว่าการทบวง
(6) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
(7) รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง
(8) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
(9) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
(10) ที่ปรึกษารัฐมนตรีและที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(11) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(12) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
(13) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(14) รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(15) เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(16) ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(17) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(18) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(19) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
(20) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง

ในขณะที่มาตรา 102 (8) (9) และ (11) ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 บัญญัติว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ นอกจากข้าราชการการเมือง จะต้องไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น และจะต้องไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

ซึ่งหมายความว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองได้ทุกตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535 ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

นอกจากนั้น มาตรา 171 และมาตรา 172 ยังได้บัญญัติไว้ด้วยว่า นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ โดยไม่ต้องลาออกหรือพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พูดง่ายๆ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะเดียวกันได้ และยังได้บัญญัติสำทับไว้อีกในมาตรา 177 วรรคสอง ว่า “ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ถ้ารัฐมนตรีผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะเดียวกันด้วย ห้ามมิให้รัฐมนตรีผู้นั้นออกเสียงลงคะแนน ในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่ง การปฏิบัติหน้าที่ หรือการมีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น”

ทั้งหมดที่อ้างถึงนี้ย่อมหมายความว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มิได้แยกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกจากข้าราชการการเมืองอย่างเด็ดขาดแม้แต่ตำแหน่งเดียว ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี หรือโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องแปลกที่คนระดับประธาน สสร. รองประธาน สสร. หรือแม้แต่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ออกมาประสานเสียงรับลูก พร้อมกับยืนยันว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ห้ามมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรี หรือเลขานุการรัฐมนตรี โดยอ้างมาตรา 265 (1) แถมยังสำทับอีกด้วยว่า สาเหตุที่ห้ามเพราะไม่ต้องการให้ ส.ส. ไปมีอิทธิพลต่อการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร และต้องการที่จะแยกฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติออกจากกันอย่างเด็ดขาด ซึ่งฟังดูแล้วเหมือนจะเข้าตำรา “ไปไหนมาสามวาสองศอก” มากกว่า เพราะเป็นคนละเรื่องกันโดยสิ้นเชิง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มิได้แยกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกจากข้าราชการการเมืองอย่างเด็ดขาด ดังนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือเลขานุการรัฐมนตรีในขณะเดียวกันได้ เพิ่งมามีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นี่แหละ ที่แยกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี กล่าวคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี จะต้องพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พูดง่ายๆ คือ ห้ามควบตำแหน่ง ส.ส. กับรัฐมนตรีในขณะเดียวกัน แม้กระนั้น รัฐธรรมนูญ 2540 ก็มิได้ห้าม ส.ส. ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองอื่น ไม่ว่าจะเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี หรือโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

และพอเปลี่ยนมาเป็นรัฐธรรมนูญ 2550 บทบัญญัติหลายมาตราที่อ้างถึงข้างต้น ก็สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนโดยแทบจะไม่ต้องตีความเลยว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองได้ทุกตำแหน่งในขณะเดียวกัน โดยไม่ต้องพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ประการใด ซึ่งหมายความว่า รัฐธรรมนูญ 2550 หันกลับไปใช้หลักการไม่แยกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกจากข้าราชการการเมืองเหมือนที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2521 และรัฐธรรมนูญปี 2534 ก่อนหน้าที่จะใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 นั่นเอง

แต่เหตุไฉนบุคคลสำคัญระดับแกนนำของสภาร่างรัฐธรรมนูญและของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 จึงได้ออกมายืนยันอย่างแข็งขันว่า มาตรา 265 (1) ห้ามมิให้ ส.ส. ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองอื่นที่ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี?

จะบอกว่าเป็นการตีความแบบ “เหวี่ยงแห” หรือตีความตามที่อยากให้เป็น เดี๋ยวก็จะหาว่าดูถูกภูมิปัญญาของท่านทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งกระผมมิบังอาจ

แต่ขอถามหน่อยเถอะว่า ในขณะที่รัฐธรรมนูญมาตรา 102 (8) ซึ่งเป็นแม่บทใหญ่ในเรื่องลักษณะต้องห้ามของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบุไว้ชัดเจนว่าไม่ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง แล้วเหตุไฉนจึงไปเอามาตรา 265 (1) ซึ่งมิได้กล่าวถึงคำว่า “ข้าราชการการเมือง” แม้แต่คำเดียว แถมยังเป็นเพียงเรื่อง “การกระทำอันต้องห้าม” เท่านั้น ไม่ใช่เรื่อง “ลักษณะต้องห้าม” ด้วยซ้ำ มาลบล้างบทบัญญัติมาตรา 102 (8) ดังกล่าว อย่างเต็มปากเต็มคำเช่นนั้นเล่า?

โดย : คณิน บุญสุวรรณ