WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, June 4, 2008

แนวทางและวิธีการจัดการ การชุมนุมยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรฯ (แบบซุนวู) (1)

ภูมิวัฒน์ นุกิจ เขียนบทความเสนอแนวทางและวิธีการจัดการการชุมนุมยืดเยื้อของ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (แบบซุนวู) มาให้ประชาทรรศน์ รายวัน เผยแพร่เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและสาธารณะ ดังนี้

ข้อเสนอต่อรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช อันมาจากการเลือกตั้งตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย

ผู้เสนอ นายภูมิวัฒน์ นุกิจ ประชาชนชาวไทย

สิ่งที่ต้องพิจารณาฝ่ายตรงข้าม
1.พิจารณาระบบความคิด (อุดมการณ์ที่ชี้นำการชุมนุม)
2.พิจารณา ดินฟ้าอากาศ
3.พิจารณาสภาพพื้นที่
4.พิจารณาแม่ทัพ
5.พิจารณาวิธีการทางการสู้รบ เสบียง และแนวร่วม
6.พิจารณาการสื่อสารกับสาธารณะ
7.พิจารณา (เรา) รัฐบาลผสม

1.พิจารณาระบบความคิด (อุดมการณ์ที่ชี้นำการชุมนุม)
อุดมการณ์ที่ชี้นำการชุมนุมของการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ คือ การกล่าวอ้างถึงอุดมการณ์ของรัฐชาติ คือ ต้องพิทักษ์ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยสร้างการกล่าวหาว่าตัวคุณทักษิณคือระบอบ และมีการขายชาติ ปล้นชาติ เป็นทุนนิยมสามานย์ รัฐตำรวจ สร้างสาธารณรัฐ จาบจ้วงเบื้องสูง ซึ่งแนวคิดวิธีคิดของกลุ่มพันธมิตรฯ มีปัญหาในตัวมันเอง คือ การจ้องโค่นล้มรัฐบาล คือมีการยกระดับประเด็นขึ้นเรื่อยๆ จากแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เรื่องกลียุค จนถึงเรื่องการขับไล่รัฐบาลชุมนุมยืดเยื้อ ฉบับที่ 12 ซึ่งมีการหยิบยกอ้างอิงประชาชนทั้งประเทศว่า ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลโจรจาบจ้วงนอมินีนี้

ซึ่งวิธีคิดแบบนี้มีปัญหาคือ ไม่ยอมรับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามหลักมติมหาชน ในระบอบประชาธิปไตย และเรียกร้องให้ทหารออกมาร่วมขับไล่รัฐบาลด้วย คือ ไม่ปล่อยให้กระบวนการต่างๆ ดำเนินไปตามกฎหมาย เป็นวิธีคิดที่ผิดพลาด เพราะยืนอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ชอบธรรม อธิบายกับสังคมลำบาก เพราะกลุ่มพันธมิตรฯ เองไม่เคยออกมาขับไล่รัฐทหารที่ทำการรัฐประหาร ซึ่งมีแกนนำบางคนได้ไปกินข้าวเย็นร่วมกับคณะรัฐประหาร และคอยให้คำปรึกษากันด้วยซ้ำ

2.พิจารณาดินฟ้าอากาศ
สภาพปัจจุบันเป็นช่วงเข้าสู่กลางฤดูฝน เพื่อไปสู่ปลายฤดูฝน และเข้าต้นฤดูหนาว ซึ่งสภาพแบบนี้ไม่เหมาะอย่างยิ่งที่จะจัดกิจกรรมการชุมนุมกลางแจ้ง เพราะจะทำให้มวลชนอ่อนล้า การจัดการลำบาก เดินทางลำเค็ญ พื้นที่ชุมนุมถูกน้ำท่วม แม่ทัพนายกองไม่สบาย จะนำไปสู่ความวุ่นวายภายในที่ชุมนุม ซึ่งอันนี้เป็นข้อผิดพลาดอีกประการหนึ่ง

3.พิจารณาสภาพพื้นที่
สภาพพื้นที่โดยรอบเป็นศูนย์กลางของหน่วยงานราชการ ด้านหน้าฝั่งซ้ายติด UN และกองทัพบก ด้านหน้าฝั่งขวาติดกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 1 และโดยรอบเป็นหน่วยงานราชการ ชุมชน วัด โรงเรียน สนามมวย และป้ายรถเมล์

สภาพแวดล้อมเช่นนี้ การจัดการชุมนุมในพื้นที่แจ้ง และใช้เครื่องขยายเสียงให้ดังไปทั่วบริเวณแบบทั้งวันทั้งคืน ปักหลักยาวนาน ย่อมก่อความเดือดร้อนรำคาญให้แก่หน่วยงานราชการ (จนอาจดึงความสนใจให้อยากรู้อยากเห็น) และยังก่อความเดือดร้อนรำคาญใจแก่คนในชุมชน พระในวัด นักเรียนหรือครูในโรงเรียน และพื้นที่การชุมนุมยังเป็นพื้นถนนคอนกรีต ซึ่งเวลากลางวันผิวถนนจะร้อน เวลากลางคืนจะอุ่น และหากเกิดฝนตกขึ้นมายิ่งยากลำบาก เพราะมีเพียงต้นมะขามใบบางๆ ไม่กี่ต้น และเต็นท์เพียงไม่กี่หลังคอยกันฝน สภาพพื้นที่เช่นนี้อัตคัดมาก ถูกปิดล้อมได้ง่าย และเข้าออกลำบาก เป็นที่กึ่งโล่งกึ่งแจ้ง ซึ่งถือเป็นข้อผิดพลาดในทางพื้นที่

4.พิจารณาแม่ทัพ
ตัวแก่นหลักของแม่ทัพคือ นายสนธิ นายจำลอง และ นายสมเกียรติ ส่วนที่แหลือเป็นแค่องค์ประกอบ เพราะแทบไม่มีน้ำหนักในการเคลื่อนไหวชี้นำมวลชน นายกองและมวลชนที่เข้าร่วมส่วนใหญ่มาจาก 3 ทาง คือ
1.ลูกจ้างสำนักพิมพ์ผู้จัดการ และแฟนรายการเอสเอสทีวี
2.สันติอโศก และกองทัพธรรม
3.สมาชิกพรรคการเมืองเก่าแก่ ทั้งในเมือง และตามหัวเมือง
4.อื่นๆ เอ็นจีโอบางส่วน สหภาพแรงงานบางแห่ง และเหล่าราชนิกูล ฯลฯ

แม่ทัพอย่างสนธิ ประกาศอย่างฮึกเหิม เป็นการทำสงครามครั้งสุดท้าย ตายเป็นตาย เจ๊งเป็นเจ๊ง แม่ทัพที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ เล่นหมดหน้าตักแบบนี้ คือ หนึ่ง ต้องมีคนหนุนหลังที่ใหญ่มาก ไม่งั้นคงไม่คะนองฮึกเหิมเช่นนี้ สงครามทางการเมืองครั้งนี้ต้องปักหลักยืดเยื้อยาวนานเพราะอะไร และนำไปสู่อะไร เป็นที่รู้กันได้

แม่ทัพแบบจำลอง พูดสม่ำเสมอว่าทหารและตำรวจบอกตนว่าให้กำลังใจในการชุมนุม และหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะนำไปสู่การรัฐประหารได้ พฤติกรรมเช่นนี้คือ หนึ่ง ต่อสายกับทหาร และตำรวจบางนาย ซึ่งแน่นอนว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คือความตั้งใจที่จริงแท้แน่นอนของนายสนธิและนายจำลอง และการทำสงครามครั้งสุดท้ายที่จะชนะได้ก็คือดูตัวอย่าง 19 กันยายน 2549

แม่ทัพแบบสมเกียรติ สมศักดิ์ พิภพ หรือ สุริยะใส แทบไม่ต่างกัน คือ ไม่ค่อยมีน้ำหนัก เพราะไม่มีมวลชนเป็นของตัวเอง และไม่ใช่ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพยากรที่ใช้สำหรับการทำสงครามครั้งสุดท้ายนี้ จะต่างก็เพียงแต่สมเกียรติต่อสายกับพรรคการเมืองเก่าแก่ สนธิต่อสายกับคำนูณ ลูกจ้างตนที่อยู่ในรัฐสภาได้ และลึกๆ แล้ว แนวความคิดของนายสนธิหรือนายจำลอง แตกต่างกับ สมเกียรติ สมศักดิ์ พิภพ หรือ สุริยะใส อย่างสิ้นเชิง แต่สามารถรวมกันได้เพราะเชื่อว่าทักษิณคือผี ดังนั้นต้องออกมาไล่ผี และหาอาคมทุกรูปแบบมาไล่ผี และจัดการกับเครือข่ายของผีที่ตนเชื่อและสร้างขึ้นมาเอง