WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, June 4, 2008

ตีข่าวประจานทั่วโลก ม็อบป่วนทำศก.พังยับ

CNN ตีข่าวประจานไทยไปทั่วโลก ระบุสถานการณ์บ้านเมืองที่กลุ่มพันธมิตรฯ ออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลอย่างไร้เหตุผล ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจแล้วอย่างชัดเจน สอดรับกับความเป็นห่วงของกูรูเศรษฐกิจ “ดร.โกร่ง” ชี้ม็อบเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลนอกสภา กระทบเศรษฐกิจชาติมหาศาล ชี้รัฐบาลจะดีจะชั่วก็มาจากประชาชน ต้องเคารพเสียงประชาชน

สำนักข่าว CNN นำเสนอข่าวเกี่ยวกับการประท้วงต่อต้านรัฐบาลไทย ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ People's Alliance for Democracy (PAD) ในกรุงเทพมหานคร โดยระบุว่า กลุ่มผู้ประท้วงจำนวนหลายร้อยคนยังคงปักหลักชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง พร้อมเรียกร้องให้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ของไทย ลาออกจากตำแหน่ง

CNN รายงานว่า การประท้วงซึ่งย่างเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 แล้ว ทำให้เกิดความตึงเครียดทางการเมืองระลอกใหม่ในประเทศไทย และทำให้เกิดข่าวลือเรื่องความเป็นไปได้ที่จะเกิดการก่อรัฐประหารขึ้นอีกครั้ง CNN ชี้ว่า ความวุ่นวายทางการเมืองในขณะนี้ ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยแล้ว เมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยร่วงลงมามากกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม CNN ได้อ้างคำให้สัมภาษณ์ของ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ของไทย ที่ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่า ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ทำลายความเชื่อมั่นทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังคงเชื่อมั่นว่า เหตุประท้วงในครั้งนี้จะไม่นำไปสู่เหตุการณ์รุนแรง หรือนำไปสู่การยึดอำนาจอย่างแน่นอน

ทางด้าน นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวในรายการเจาะลึกทั่วไทย จากสถานีวิทยุ 98.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ถึงสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันว่า ตนไม่นิยมความรุนแรง และไม่นิยมการปฏิวัติรัฐประหาร นิยมให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ หากไม่ชอบใจรัฐธรรมนูญก็แก้ไขได้ แต่ควรอยู่ในกรอบของกฎหมาย รัฐบาลจะดีจะชั่วก็ขอให้มาจากประชาชน ทำผิดพลาดก็ว่ากันตามกฎหมาย ตามกรอบรัฐธรรมนูญ หากอยู่นอกกรอบ ใช้วิธีกดดันนอกรัฐสภา ความเสียหายจะเกิดขึ้นอย่างมหาศาล

"การเมืองกระทบต่อปัญหาเศรษฐกิจอย่างแรงและโดยตรง เก่งเศรษฐศาสตร์อย่างไร หากการเมืองเป็นอยู่อย่างนี้ก็เจ๊งเหมือนกัน ประชาชนเห็นอย่างไรเราก็ต้องยอมรับอย่างนั้น เราอย่าอ้างว่าเราเป็นประชาชน การกล่าวอ้างอย่างนั้นไม่มีอะไรพิสูจน์ว่าเรามาจากประชาชน เรามีความชอบธรรมแค่ไหน ทุกรัฐบาล ผมก็ไม่ได้ชอบใจทุกเรื่อง แต่ผมก็ต้องยอมรับว่ารัฐบาลมาจากประชาชน ต้องยอมรับในระบบ" นายวีรพงษ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ตนไม่เห็นด้วยที่จะใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม แต่ในขณะเดียวกัน การชุมนุมโดยสงบ ไม่มีอาวุธ ก็ต้องไม่ไปถึงขั้นกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย ส่วนฝ่ายประชาชนก็อย่าไประแวงรัฐบาลจนเกินไป รัฐบาลทำอะไรโดนสงสัยโดนระแวงไปหมด

ด้าน รศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดเผยถึงสภาวะผลกระทบทางเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบที่มาจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ โดยระบุว่า ผลกระทบด้านเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ของประเทศได้ถูกกระทบอย่างแรง เนื่องจากภาวะความไม่สงบทางการเมือง ผนวกกับราคาพลังงานและอาหารที่ถีบตัวสูงขึ้น และดัชนีภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 10 เปอร์เซ็นต์ โดยประชาชนไม่มีกำลังทรัพย์ที่จะบริโภคสินค้าประเภทอื่นนอกเหนือจากพลังงาน และอาหาร จึงทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนสั่นคลอน และเกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมภายในไทย เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน โดยเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั่วโลกได้รับรู้ถึงปัญหา อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีหน้าที่สร้างความเชื่อมั่น ทางออกที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการในระยะสั้นคือ เร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ รวมถึงดูแลฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน ให้ปรับเข้าสู่ภาวะดุลยภาพใหม่ และลดดีกรีความเข้มข้นทางการเมืองลง โดยควรปล่อยสถานการณ์ให้เป็นไปตามธรรมชาติ และนำคนกลางที่น่าเชื่อถือมาเป็นตัวเชื่อม มากกว่าที่รัฐบาลจะลงไปเป็นคู่กรณี

ขณะที่ นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ตลท. พร้อมชี้แจงข้อมูลและตอบคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองให้กับนักลงทุนต่างชาติ ในระหว่างการโรดโชว์ที่มีแผนจะเดินทางไปยังสิงคโปร์ ลอนดอน และนิวยอร์ก ในสัปดาห์หน้า

ขณะนี้ ตลท. ติดตามดูสถานการณ์ทางการเมืองอย่างใกล้ชิดแบบวันต่อวัน ซึ่งเชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อการลงทุนในระดับหนึ่งเท่านั้น และเชื่อว่ารัฐบาลจะพยายามคลี่คลายปัญหาได้ ขณะที่ผลตอบแทนการลงทุนในตลาดหุ้นยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี หากนักลงทุนเห็นว่าผลตอบแทนคุ้ม ก็เชื่อว่าจะกลับมาลงทุนเป็นปกติ

"ที่ผานมาดัชนีหุ้นไทยยังมีเสถียรภาพ เพราะหากเทียบกับเพื่อนบ้าน เราปรับลงแค่ 5% แต่เพื่อนบ้านลง 6-7% ส่วนมาตรการ Circuit Breaker ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ตอนนี้ยังไม่จำเป็น"

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สหรัฐได้ส่งสัญญาณชัดว่าไม่ยอมรับการรัฐประหาร โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า โรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ซึ่งเดินทางถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา ได้ส่งสัญญาณชัดเจนต่อผู้นำไทยว่า รัฐบาลวอชิงตันจะไม่ยอมรับความพยายามใดๆ ของบรรดาผู้นำทหารในการยึดอำนาจ

การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในกรุงเทพฯ เป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์ ได้จุดความกลัวว่า กองทัพอาจทำรัฐประหารอีกครั้ง โดย 2 ปีก่อนมีการชุมนุมลักษณะคล้ายกัน เพื่อขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จนทำให้เขาต้องลงจากเก้าอี้หลังเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่อาวุโสผู้หนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้แถลงกับผู้สื่อข่าวว่า “มันเป็นเหตุผลประการหนึ่งในหลายๆ เหตุผลที่ว่า ทำไมรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐถึงได้มาที่นี่ ก็คือ เพื่อยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า ความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐกับไทย วางอยู่บนพื้นฐานของการมีค่านิยมประชาธิปไตยร่วมกัน”

ทั้งนี้ ก่อนเดินทางมากรุงเทพฯ เกตส์ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวในสิงคโปร์ว่า “จุดยืนของเราไม่เปลี่ยนแปลง เราต้องการเห็นรัฐบาลเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และเราจะบอกพวกเขาอย่างนั้น”

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ สหรัฐอเมริกาเคยตัดลดเงินช่วยเหลือด้านการทหารราว 35 ล้านดอลลาร์ เพื่อประท้วงคณะทหารที่ทำการรัฐประหารแบบไม่เสียเลือดเนื้อ ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2549 ก่อนที่จะยกเลิกมาตรการดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เมื่อ 23 ธันวาคม 2550