WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 6, 2008

ถอดยุทธศาสตร์ "พระนาย" หนุนมุสลิมสายกลางให้มีบทบาท เลิกระแวงผู้เรียกร้องความเป็นธรรม

เปิดแนวคิด ผอ. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายพระนาย สุวรรณรัฐ จากปาฐกถา “ยุทธศาสตร์การเอาชนะทางการเมืองในมิติของฝ่ายพลเรือน” เมื่อ 3 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยเขาเสนอเจ้าหน้าที่รัฐต้องรอบรู้อิสลาม ประวัติศาสตร์มลายู เปิดพื้นที่ให้มุสลิมสายกลางได้แสดงความเห็น เจ้าหน้าที่รัฐเลิกระแวงผู้เรียกร้องขอความเป็นธรรม และเปรียบเทียบว่าแยกดินแดนแล้วชีวิตจะแย่ลงกว่าปัจจุบัน

นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผอ. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงยุทธศาสตร์การเอาชนะทางการเมืองในมิติของฝ่ายพลเรือนว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือเรากำลังรบกับใคร ทำไมจึงต้องใช้แนวทางสันติวิธี ทำไมต้องใช้แนวความคิด “การเมืองนำการทหาร” เพราะงานการเมืองที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่แทบทั้งหมด เป็นเรื่องของการสร้างความเข้าใจ การต่อสู้ทางความคิด ความเชื่อ การบริหารความรู้สึก การสร้างหวัง การเอาชนะจิตใจประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ให้เลือกที่จะเป็นสมาชิกของรัฐไทย และปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม จูงใจให้กลุ่มก่อความไม่สงบส่วนใหญ่หันมาใช้การต่อสู้โดยไม่ใช้ความรุนแรง เพื่อให้เหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้แม้อาจจะยังไม่ยุติโดยสิ้นเชิง แต่ก็อยู่ในระดับที่จำกัด สามารถควบคุมได้ และส่งผลกระทบต่อชีวิตของพลเมืองน้อยที่สุด เพราะถึงที่สุดแล้ว ความมั่นคงของคนคือสิ่งที่มีความหมายที่สุด สำหรับความมั่นคงของชาติ

“ผมอยากให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกฝ่ายมีองค์ความรู้เกี่ยวกับอิสลาม มลายู ปัตตานี กระแสการฟื้นฟูอิสลาม ลักษณะของสงครามรูปแบบใหม่ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีของกลุ่มก่อความไม่สงบ ปลูกฝังอุดมการณ์และแนวทางต่อสู้เพื่อเอาชนะการก่อความไม่สงบ เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ ไม่สร้างเงื่อนไข ไม่ตกหลุมพราง ฟื้นฟูความสัมพันธ์ ไว้วางใจ มีส่วนร่วมในการเอาชนะจิตและใจประชาชน" นายพระนาย กล่าว

นายพระนาย กล่าวว่า ปัจจัยของการแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง คือเป็นการสร้างความเข้าใจกับประชาชนว่า รัฐไทยยอมรับความแตกต่างเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ขยายกรอบความเป็น “ไทย” ให้กว้างขวางขึ้นภายใต้แนวความคิด “คนไทยไม่จำเป็นต้องเหมือนกันหมด เอกภาพเกิดขึ้นได้ในท่ามกลางความแตกต่าง” สร้างความภาคภูมิใจในการเป็น “มุสลิมมลายูไทย” ให้แก่ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

“จะต้องส่งเสริมบทบาทผู้นำศาสนา ผู้นำจิตวิญญาณ ปัญญาชนมุสลิมสายกลาง ทั้งภายในและนอกประเทศ ให้มีส่วนร่วมในการสร้างความเข้าใจแก่นแท้ของศาสนาอิสลาม ชำระล้างคำสอนที่ผิด ชี้ให้เห็นผลร้ายจากลัทธิสุดโต่งรุนแรงที่มีต่อศาสนาอิสลาม และสร้างกระแสการเคลื่อนไหว “อิสลามกับสันติภาพ” ปกป้องพิทักษ์สัจธรรมอิสลาม” นายพระนาย กล่าว

นายพระนาย กล่าวอีกว่า ต้องทำให้พี่น้องมุสลิม โดยเฉพาะเยาวชนในพื้นที่ รู้สึกว่าตนเองสามารถอยู่อย่างมีความสุข มีโอกาสในการทำกินเพิ่มขึ้น และใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความหวัง มีอนาคต ในฐานะที่เป็นพลเมืองไทย ในสังคมไทย ในโลกปัจจุบัน และสามารถขึ้นไปสวรรค์ได้อย่างสง่าผ่าเผย โดยไม่ต้องถูกสอบสวน และมือไม่เปื้อนเลือดจากการทำร้ายผู้อื่น

“ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่ได้ติดต่อสื่อสาร รับทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากภายนอกชุมชนเพิ่มขึ้น มีโอกาสพบปะ พูดคุยร่วมกิจกรรมที่ไม่ขัดแย้งต่อหลักศาสนากับเพื่อนร่วมชาติต่างวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น มีโอกาสได้ไปพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชาวไทยมุสลิมในภูมิภาคอื่นมากขึ้น ได้รับทราบเรื่องราวในประเทศมุสลิมสายกลางเพิ่มขึ้น”

นายพระนาย กล่าวอีกว่า ตนต้องการชี้ให้เห็นคนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ว่าจะต้องสูญเสียอะไรอย่างเป็นรูปธรรม หากมีการแบ่งแยกดินแดนตั้งประเทศใหม่ ซึ่งมีพื้นที่แคบๆ มีทรัพยากรจำกัด (แยกดินแดนได้ 3 จังหวัดซึ่งได้อยู่แล้ว หรือต้องเสีย 73 จังหวัด) พร้อมๆ กับการนำเสนอ “สินค้า” และ “ผลิตภัณฑ์” ทั้งที่เป็น “รูปธรรม” และที่เป็น “ความหวัง” หรือ “จินตนาการ” ว่าอยู่กับรัฐไทยดีกว่า มีความสุขกว่า ได้มากกว่า ทั้งในเชิงจิตวิญญาณและในด้านการพัฒนา

ผอ.ศอ.บต. กล่าวอีกว่า การมีส่วนร่วมทุกระดับ คือ มุสลิมแก้ปัญหามุสลิม โดยให้คนในท้องถิ่นรักษาความไม่สงบในพื้นที่เอง นอกจากนั้น ก็จะต้องทำให้คนในท้องถิ่นโดยเฉพาะชาวมุสลิม รู้สึกว่ายิ่งการก่อความไม่สงบยืดเยื้อ ยิ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของตนเองและส่งเสริมให้เข้ามาดูแล ปกป้อง ชุมชนของตนเองมากที่สุด เพราะการใช้กำลังจากภายนอกทำให้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ว่า รัฐไทยส่งคนต่างชาติต่างศาสนามาปราบปรามชาวมลายูมุสลิม เหมือนที่สยามส่งกำลังมาปราบปรามปัตตานีในอดีต และสร้างความเข้มแข็งให้แก่อำนาจรัฐในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะระบบกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน อส.หมู่บ้าน ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน เพื่อให้มีอำนาจและอิทธิพลเหนือกว่าโครงสร้างการจัดตั้งของกลุ่มก่อความไม่สงบในระดับตำบลและหมู่บ้าน

นายพระนาย กล่าวว่า รัฐจะต้องไม่เหมารวมผู้ที่เรียกร้องความเป็นธรรม ต้องการสิทธิเสรีภาพ ความเท่าเทียมด้านต่างๆ หรือแสดงความไม่เห็นด้วยต่อนโยบาย แนวทางของรัฐ พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ ว่าเป็นพวกเดียวกับกลุ่มก่อความไม่สงบ ไม่เพิ่มจำนวนหรือแนวร่วมให้แก่กลุ่มก่อความไม่สงบ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

“สร้างความมั่นใจและสนับสนุนให้ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้นำปัญญาชน ผู้นำจิตวิญญาณ และพี่น้องมุสลิมส่วนใหญ่กล้าที่จะลุกขึ้นมาปฏิเสธ และสร้างกระแสต่อต้านการใช้ความโหดเหี้ยม รุนแรง ที่กลุ่มก่อความไม่สงบนำมาใช้เพื่อสร้างความกลัว ความเกลียดชัง ควบคุมมวลชน ผู้ที่ไม่ใช่พวกเดียวกัน และจัดการกับผู้มีความคิดเป็นอย่างอื่น ทั้งมุสลิมด้วยกันและต่างศาสนิก ซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดกับคำสอนศาสนาและหลักมนุษยธรรมอย่างรุนแรง” นายพระนาย กล่าว

“เราทุกคนจะต้องหาช่องทางสร้างความเข้าใจกับผู้ที่มีส่วนร่วมก่อความไม่สงบ ถึงความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการต่อสู้โดยใช้ความรุนแรง ทั้งในแง่มุมของศาสนา ในมุมมองของอดีตนักต่อสู้ที่เคยร่วมขบวนการ และความเป็นจริงของโลกในปัจจุบัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ “สปาร์ก” ตั้งข้อสงสัยในหมู่ผู้ปฏิบัติว่า สิ่งที่เขาเชื่อถูกต้องหรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ และมีทางเลือกอื่นหรือไม่”

สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปเพื่อให้งานการเมืองประสบความสำเร็จ ผอ.ศอ.บต. กล่าวว่า อันดับแรกต้องเตรียมการสร้าง “ผู้นำรุ่นใหม่” ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ในอนาคต ทั้งที่เป็นผู้นำทางการเมือง ผู้นำทางศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้นำจิตวิญญาณ ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำธรรมชาติ ที่มีทัศนคติเชิงบวกต่อการอยู่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย การสร้างความเข้าใจและการบำรุงขวัญของชาวไทยพุทธในพื้นที่ ไม่ให้รู้สึกว่ารัฐเลือกปฏิบัติ เอาใจมุสลิม หรือหวาดกลัวจนอพยพหลบหนีออกนอกพื้นที่ จนกระทั่งทำให้สัดส่วนประชากรเปลี่ยนไป พร้อมๆ กับการสร้างความเข้าใจไม่ให้ตกกับดัก ความรุนแรงที่กลุ่มก่อความไม่สงบวางไว้ เพื่อต้องการให้เกิดสงครามศาสนา

“การสร้างความเข้าใจกับประชาชนส่วนใหญ่ทั่วประเทศ เพื่อให้มีทัศนคติและพฤติกรรมที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาในพื้นที่มากที่สุด เพราะกลุ่มก่อความไม่สงบต้องการให้เกิดความหวาดระแวงและแตกแยกระหว่างคนใน 3 จังหวัดกับคนไทยทั่วประเทศ อีกทั้งต้องการให้รัฐใช้ความรุนแรงเพื่อดึงต่างประเทศเข้ามา และการสร้างความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้านโลกมุสลิม และองค์การระหว่างประเทศ เพื่อไม่ให้เข้ามาแทรกแซง ต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้” ผอ.ศอ.บต. กล่าว

แวลีเมาะ ปูซู
โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา