WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, June 5, 2008

แนวทางและวิธีการจัดการ การชุมนุมยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรฯ (แบบซุนวู) (จบ)


5.พิจารณาวิธีการทางการสู้รบ เสบียง และแนวร่วม
วิธีการสู้รบเบื้องต้นคือ มีการแจกเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อรับชมรายการเอเอสทีวีโดยเฉพาะ จนนำไปสู่การชุมนุมในรูปแบบสัมมนา เพื่ออุ่นเครื่องสองรอบในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประกาศชุมนุมใหญ่ปักหลักสู้ยืดเยื้อที่หน้าสะพานมัฆวานรังสรรค์ (ติดด้านหลังของทำเนียบรัฐบาล) การสู้รบครั้งนี้ไม่เน้นจำนวนคนและเครือข่ายมากนัก ไม่เหมือนตอนกลางปี 2549 ซึ่งเป็นเพราะคนหลายกลุ่มได้รับรู้ว่าตัวเองถูกหลอกเพื่อรัฐประหาร ส่วนเรื่องเสบียงนั้น ลึกๆ มีการต่อท่อน้ำเลี้ยงกับเครือข่ายอำมาตย์ ราชนิกูล นายทุนบางคน และพรรคการเมืองเก่าแก่ ตลอดถึงประกาศให้มีการบริจาคทั่วไป ซึ่งสามารถพิจารณาได้ว่า การสู้ยาวแสดงว่ามีคนคอยหนุนหลังเรื่องเสบียง จึงไม่มีการกังวลเรื่องนี้

ส่วนแนวร่วมนั้นพิจารณาได้ดังนี้คือ มุ่งสื่อสารอย่างพยายามสุภาพกับชนชั้นกลางในเมืองที่ไม่พอใจรัฐบาลเรื่องการบริหารบ้านเมือง เช่น เรื่องน้ำมันแพง เรื่องปากท้อง เรื่องการกล่าวหาว่ารัฐบาลเป็นตัวแทนของความชั่วร้ายที่ทุจริต ไม่มีจริยธรรม และอาศัยฐานกำลังมวลชนของพรรคการเมืองเก่าแก่จากหัวเมืองต่างๆ เข้าร่วมสมทบ
โดยแนวร่วมสำคัญคือ เครือข่ายอำมาตย์ ขุนนาง ราชนิกูล ขุนศึก สื่อสารมวลชนบางสำนัก เอ็นจีโอบางส่วน นายทุนที่ได้รับผลกระทบจากแนวนโยบายประชานิยม และประชาชนที่ไม่พอใจรัฐบาล

6.พิจารณาการสื่อสารกับสาธารณะ
การชุมนุมเริ่มแรกนั้นเป็นไปอย่างดุเดือด เผ็ดร้อน หยาบคาย เต็มไปด้วยข้อกล่าวหาต่างๆ นานา และข้ออคติที่รัฐบาลมักแก้เกมไม่ทันอยู่เสมอ ระยะหลังเมื่อมีการชุมนุมปักหลักยืดเยื้อ และมีประเด็นเรื่องการที่รัฐบาลจะใช้ความรุนแรง จึงเริ่มสุภาพขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับนักพูดแต่ละคนเช่นกัน ส่วนการสื่อสารกันภายในที่ชุมนุม ถูกวางแผนอย่างรัดกุม มีการใช้หลักจิตวิทยามวลชน และหลักนิเทศศาสตร์เวที โดยมีการสื่อสาร โน้มแนว มีจุดเบา มีจุดแรง มีจุดขอร้อง มีจุดปลุกระดม โดยสลับกับการเล่นดนตรีบนเวที ซึ่งมีการจ้างวานมาแทบไม่ซ้ำหน้ากัน

ส่วนการสื่อสารกับสาธารณะนั้น มีทีวีบางช่องคอยให้ความช่วยเหลือ และยังมีจุดแข็งคือ การมีหนังสือพิมพ์ นิตยสาร เว็บไซต์ และสื่อทางดาวเทียมเป็นของตัวเอง ซึ่งในระยะยาวยังสามารถสื่อสารให้สาธารณะเข้าใจในประเด็นของตนได้ อันจะส่งผลต่อรัฐบาลอย่างหนัก และอาจสั่นคลอนรัฐบาลได้

7.พิจารณารัฐบาลผสม
เนื่องจากรัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัครนั้นเป็นรัฐบาลผสม ซึ่งไม่มีความเป็นเอกภาพ มักเกิดการแก้ปัญหาแบบติดๆ ขัดๆ เพราะแต่ละพรรคที่มาร่วมกันตั้งรัฐบาล มักแก้ปัญหาหรือนำเสนอแบบให้ภาพลักษณ์กับพรรคที่ตนเคยสังกัด บวกกับปัจจัยปัญหาจากภายนอกที่รุมเร้าไม่สามารถกำหนดได้ เช่น เรื่องราคาน้ำมัน ราคาพืชผลการเกษตร ค่าครองชีพ ฯลฯ การบริหารหรือการเสนอนโยบายให้กับประชาชนของรัฐบาลเป็นไปได้ยาก และพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคยังต่อสายกับพรรคฝ่ายค้าน เพื่อหวังจ้องเล่นงานรัฐบาลสมัครเช่นกัน แม่ทัพสมัครมักมีจุดอ่อนจุดแข็งหลายเรื่อง ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องปัญหาท่าทีท่วงทำนอง และการสื่อสาร

ปัญหาภายในประเทศ ระยะสั้นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องการสื่อสารกับสาธารณะ ระยะยาวเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำมัน ราคาพืชผลการเกษตร ค่าครองชีพ และการสร้างความยอมรับจากสังคมในทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาบริหารบ้านเมืองของรัฐบาล

แนวทางการจัดการการชุมนุมยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
1.หากข้าศึกฮึกเหิม จงเลี่ยงการเผชิญหน้า และต้องทำให้เขาอ่อนแอเสีย
2.หากข้าศึกเข้มแข็ง จงทำให้เขาต้องอ่อนล้า และยากลำบาก
3.หากข้าศึกพยายามสร้างแนวร่วม ให้ตัดแนวร่วมมิให้สร้างได้
4.หากข้าศึกอยู่ในที่แจ้ง ต้องทำให้เขาอยู่ในที่มืด เสมือนปิดตาย เข้าออกลำบาก ปิดล้อมให้สื่อสาร แบบยากแก่การสื่อสารกับภายนอกได้เข้าใจ
5.เกาะติดทุกความเคลื่อนไหวของฝ่ายข้าศึกทุกขั้นตอน พยายามสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นภายในแม่ทัพของข้าศึกด้วยกัน และให้พยายามหาประเด็นที่จะโดดเดี่ยวแกนนำ ออกจากมวลชนที่เข้าร่วมชุมนุม
6.ใช้อ่อนสยบแข็ง ทำให้เหมือนรัฐบาลถูกทำร้าย ถูกรังแก ถูกระราน สร้างความเห็นใจจากคนภายในและภายนอกประเทศ

วิธีการจัดการการชุมนุมยืดเยื้อของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
1.อาศัยสื่อในมือของภาครัฐที่มีอยู่ทั้งหมด บอกกับพี่น้องประชาชนว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชน ยอมทุกอย่างแล้ว ถ้ากลุ่มพันธมิตรฯ ต้องการขับไล่รัฐบาล ต้องถามคนทั้งประเทศเสียก่อน และคนส่วนใหญ่ทั้งประเทศคงไม่ยอม เพราะเลือกเข้ามาแล้ว ประชาชนอยากให้บ้านเมืองเดินหน้า และรัฐบาลจะเปิดให้ตัวแทนกลุ่มพันธมิตรฯ มาช่วยกันบริหารประเทศ โดยเสนอความคิดเห็นมาได้เลย เพราะรัฐบาลจะรับฟังและเปิดทุกวัน และจะให้การต้อนรับอย่างดี
2.โหมกระพือข่าวเรื่องการรัฐประหาร เพื่อให้คนกลัวทหารมายึดอำนาจ และเป็นการบล็อกทหารเอาไว้ด้วย ให้ทหารที่รัฐบาลคุมได้ออกมาช่วยพูดเรื่องการรัฐประหาร แบบอย่างน้อยอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง เพราะมวลชนบางส่วนที่ไม่พอใจรัฐบาลแต่ก็ไม่กล้าเข้ามาร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะได้เคยเห็นรัฐประหารมาแล้ว และกลัวนำไปสู่เงื่อนให้มีการรัฐประหารซ้ำๆ อีก
3.ส่งตัวแทนของรัฐบาล เช่น คุณเฉลิม หรือหมอเลี้ยบ หรือคุณมิ่งขวัญ (นายกฯ สมัคร ห้ามไป) พยามยามเข้าไปคุยกับแกนนำพันธมิตรฯ ก่อนจะเข้าไปคุยกับฝ่ายแกนนำพันธมิตรฯ นั้น ต้องกระพือข่าวให้รู้กันไปทั่วก่อน จากนั้นค่อยเดินเข้าไปคุยเจรจาจากทางด้านหลังของเวทีการชุมนุม หากแกนนำพันธมิตรฯ ไม่คุยด้วยยิ่งเป็นฝ่ายเสียเปรียบในทางการเมือง และช่วงนั้นจะมีคนที่ร่วมการชุมนุมในกลุ่มพันธมิตรฯ จะวุ่นวายภายในชั่วขณะ เพราะคนที่อยู่ข้างหลังก็อยากมาฟังข้างหน้าว่าพูดคุยอะไรกัน และจะมีผู้ชุมนุมบางส่วนโกรธแค้น เกิดการด่าทอและขว้างปาอย่างแน่นอน ฝ่ายกลุ่มพันธมิตรฯ ยิ่งจะเสียหายไปใหญ่ เพราะรัฐบาลต้องรู้จักเล่นกับสื่อให้เป็น ถ้าคุณเฉลิมไปเอง การชุมนุมจะเฉาลง เพราะภาพจะเห็นว่ากลุ่มผู้ชุมนุมไม่คุยกับรัฐบาล ภาพจะสื่อออกมาว่าฝ่ายกลุ่มผู้ชุมนุมมีเจตนาที่ร้าย จงใจเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างชัดเจน
4.นำเอาข้อมูลที่แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ เคยพูดพาดพิง พล.อ.เปรม หรือพูดกระทบเบื้องสูง มาโต้กลับ แล้วตีให้เป็นประเด็นเหมือนพรรคการเมืองเก่าแก่ทำ เช่น นายสุริยะใสเคยพูดไว้ตามนี้
http://www.onopen.com/2007/editor-spaces/1424 และถ้าเป็นไปได้ให้เจาะข้อมูลแกนนำรายบุคลออกมาเผยแพร่ด้านลบ ให้มากกว่าด้านบวก แต่ต้องนำเสนอแบบที่สังคมรับได้ ไม่เอียงจนเกินไป
5.ต้องพยามพูดถึงการชุมนุม พูดถึงการสร้างความแตกแยก สร้างความเสียหาย มาถ่ายทอดผ่านสื่อ เพื่อหนึ่ง สังคมจะได้ไม่คล้อยไปตามกลุ่มพันธมิตรฯ กล่าวหารัฐบาล เรื่องการจาบจ้วงเบื้องสูง สอง เป็นการลดระดับความชอบธรรมของกลุ่มพันธมิตรฯ ลง และจะลดลงได้อย่างมาก เพราะความสำคัญของการปักหลักชุมนุมยืดเยื้อคือ การที่ต้องมีคนเข้ามาร่วมชุมนุมถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา ถ้ามวลชนไม่เพิ่มขึ้นเลย มีขนาดปกติ ไม่มีการขยายตัว นั่นคือสัญญาณที่กลุ่มพันธมิตรฯ เตรียมนับถอยหลัง และม้วนเสื่อกลับบ้านได้เลย และภาพก็จะปรากฏว่ารัฐบาลไม่ได้เป็นไปตามที่ฝ่ายกลุ่มพันธมิตรฯ กล่าวหา
6.วิธีการสุดท้ายคือ การสลายการชุมนุมอย่างสันติ และละม่อม รัดกุม เพื่อเข้าไปจัดการเฉพาะกับสิ่งของที่กีดขวางถนนและการสัญจรของประชาชน ถ้าเป็นไปได้อย่าตอบโต้กลุ่มผู้ชุมนุม และให้เชิญผู้สื่อข่าวไปเป็นพยาน โดยให้พูดถึงการทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และยกกรณีที่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยส่วนใหญ่เขาก็ทำกันอย่างนี้ และที่ต้องทำแบบนี้ก็เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ไม่ใช่ความมั่นคงของรัฐบาล ซึ่งจะปล่อยให้คนห้าคน สิบคน มาเป็นตัวแทนของคนทั้งหมดไม่ได้ (โดยส่วนตัวข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับการสลายการชุมนุม แต่นี่คือวิธีสุดท้าย)

...รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง...