ข้อเสนอตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เพื่อผ่าทางตันวิกฤติการเมืองไทย ที่คุณหมอประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เป็นผู้ขายไอเดีย
ถือเป็นข้อเสนอด้วยความปราถนาดีและบริสุทธิ์ใจ
หลักการก็เพื่อป้องกันความขัดแย้ง ไม่ให้ปะทุไปสู่ความรุนแรง
ฉะนั้น ทุกฝ่ายต้องหยุดการต่อสู้ หยุดการเผชิญหน้า หยุดความขัดแย้ง กลับมาแก้ ปัญหาตามแนวทางสันติวิธี
โดยให้พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านร่วมมือจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติเฉพาะ กิจเป็นเวลา 2 ปี!!
ปรากฏว่าไอเดียของคุณหมอประเวศยังขายไม่ออกตามเคย
เพราะฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านปฏิเสธความหวังดีของ “ราษฎรอาวุโส” ด้วยเหตุผล 5 ประการ
1, สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่ใช่วิกฤติร้ายแรง
2, กติกาประชาธิปไตยจำเป็นต้องมีฝ่ายค้านตรวจสอบถ่วงดุล
3, ถ้าตั้งรัฐบาลแห่งชาติก็เท่ากับฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านซูเอี๋ยกัน
4, ถ้าตั้งรัฐบาลแห่งชาติฝ่ายไหนจะเป็นนายกรัฐมนตรี
หรือต้องมีนายกฯ 2 คน เหมือนรัฐบาลเขมรเคยมี??
5, ถ้าจะเอา “คนนอก” เป็นนายกฯคนกลางก็ขัดรัฐธรรมนูญ
เพราะนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.อย่างเดียว!!
สรุปว่า ข้อเสนอจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติเพื่อผ่าทางตันก็หลงเข้าซอยตันซะเอง
อย่างไรก็ตาม การที่พรรคพลังประชาชนยอมถอยสุดซอย สั่งเบรกญัตติแก้รัฐธรรม- นูญไม่ให้เข้าไปอาละวาดในสภาฯ
และการที่รัฐบาลยอมตกลงตามข้อเสนอ ของฝ่ายค้านให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาฯ เพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ได้ข้อยุติร่วมกัน
ทำให้กระแสต่อต้านการแก้รัฐธรรมนูญลดลงพอสมควร
“แม่ลูกจันทร์” เห็นว่าถ้ามีการตั้ง คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษารัฐธรรมนูญชุดใหญ่ของสภาฯ ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และนักวิชาการที่เป็นกลางไม่เกิน 60 คน
กำหนดกรอบเวลาศึกษารัฐธรรมนูญไม่เกิน 60 วัน หรือ 90 วัน
ย่อมดีกว่าใช้เสียงข้างมากลากไป
แม้จะทำให้การแก้รัฐธรรมนูญต้องยืดเยื้อไปอีกหลายเดือน
ก็ยังคุ้มที่เสียเวลา
แต่ประเด็นที่ “แม่ลูกจันทร์” ขอเสนอ เพิ่มเติมก็คือ เมื่อมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมของสภาฯ เพื่อศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญ อย่างเป็นทางการ
การจัดออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญก็อาจไม่จำเป็น
ถือว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาฯ ทำหน้าที่แทนประชาชน
จะแก้รัฐธรรมนูญประเด็นใด? ทำไมถึงต้องแก้? และจะแก้เป็นอย่างไร? ก็อยู่ที่ คณะกรรมาธิการ 60 คน จะเป็นผู้ตัดสินใจ
อย่างน้อยก็ประหยัดเงินงบประมาณที่ใช้จัดลงประชามติอีกก้อนโต!!
ข้อสำคัญ...ถ้ามีการจัดออกเสียงประชามติก็ยังรับประกันไม่ได้ว่างบ ประมาณสองพันล้านจะคุ้มค่าที่เสียไป??
เพราะ ก.ม.กำหนดให้ประชาชนออก เสียงประชามติ “ต้องไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์” ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศ 45 ล้านคน
ถ้าประชาชนไปออกเสียงประชามติ “น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์” ถือว่าการลงประชามติไม่มีผล...
เงินสองพันล้านบาทก็ต้องสูญฟรี!!
ก็อีหรอบเดียวกับตอนรัฐบาลทักษิณ ประกาศยุบสภาฯ แล้วพรรคประชาธิปัตย์ บอยคอตไม่ลงเลือกตั้ง ฉะนั้นแล
งบเลือกตั้งสองพันล้านบาทที่เสียไป ป่านนี้ยังไม่ได้คืน.
แม่ลูกจันทร์
