WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, June 5, 2008

สมาคมธุรกิจ ห่วงม็อบทำศก.พินาศ นัดถกหาทางออก

ภาคเศรษฐกิจผวาการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ทำเศรษฐกิจชาติเสียหายย่อยยับ ตลาดหุ้นเผยร่วงแล้ว 50 จุด 3 สมาคมทั้ง “แบงก์-อุตสาหกรรม-หอการค้า” นัดถกหาทางออกด่วน พร้อมประชุมรับฟังความเห็นนักลงทุนต่างประเทศเป็นแนวทางแก้ปัญหา

เป็นที่รู้กันว่าการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้สร้างความเดือดร้อนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลชัดเจนไปแล้วต่อตลาดหลักทรัพย์ และยังกระทบไปถึงความเชื่อมั่นที่นักลงทุนชะลอเข้ามาลงทุน และยังมีเรื่องของธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งความเสียหายทั้งหมดมีการประมาณการกันว่ามีมูลค่าหลายแสนล้านบาท

นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่า เหตุการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียด คือ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติเทขายหุ้นไทยอย่างหนัก โดยปัจจัยการเมืองกระทบตลาดหุ้นถึงร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 เป็นเรื่องเงินเฟ้อ

“ส่วนตัวคาดว่า นักวิเคราะห์หลักทรัพย์มีแนวโน้มที่จะปรับเป้าหมายดัชนีลดลงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมืองเป็นหลักว่าจะคลี่คลายไปอย่างไร หากการชุมนุมประท้วงมีความรุนแรงขึ้นและเกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มต่อต้านรัฐธรรมนูญ จนเหตุการณ์บานปลายเหมือนเดือนพฤษภาคม 2535 ดัชนีหุ้นไทยก็จะปรับตัวลดลงอย่างหนักมากกว่า 50 จุด และอาจถึง 100 จุด ซึ่งรุนแรงกว่าการประกาศใช้มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2549 เนื่องจากการใช้มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เป็นเพียงมาตรการชั่วคราวและมีการยกเลิกในภายหลัง แตกต่างจากเหตุความรุนแรงทางการเมืองที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ

นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประท้วงแก้รัฐธรรมนูญและต่อต้านรัฐบาล เบื้องต้นเห็นว่าการเมืองมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ซึ่งเอกชนหวังว่าการเมือง จะไม่เกิดปัญหารุนแรงที่จะกระทบกับเศรษฐกิจ และหวังว่าปัญหาการเมืองจะถูกแก้ไขอย่างประนีประนอม หากการชุมนุมประท้วงไม่รุนแรง คงจะกระทบกับความเชื่อมั่นต่อการลงทุนไม่มาก แต่หากรุนแรงจนนองเลือด จะไปถึงขั้นที่มีทหารเข้ามาแก้ปัญหาหรือไม่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นักลงทุนกังวลใจ เห็นได้ชัดจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ สัปดาห์ที่แล้วลดลง แสดงให้เห็นว่านักลงทุนต่างชาติ เริ่มถอยออกไปดูสถานการณ์

หากถึงขั้นประกาศภาวะฉุกเฉินจะส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นการลงทุนแน่นอน เป็นการส่งสัญญาณว่าสถานการณ์มีความรุนแรงเกินปกติ แต่คิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคงไม่ถึงสถานการณ์ดังกล่าว เท่าที่ติดตามข้อมูล เริ่มเห็นสัญญาณประนีประนอมมากขึ้น โดยฝ่ายรัฐบาลเริ่มถอย เพื่อให้มีเวลาพิจารณาแก้รัฐธรรมนูญมากขึ้น มีโอกาสจะทำประชาพิจารณ์เรื่องนี้ จะทำให้บรรยากาศคลายความตึงเครียดลงได้

นายประมนต์ กล่าวว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทยมีมติเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ให้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นของหอการค้าต่างประเทศ ในเดือนมิถุนายนนี้

โดย กกร.ต้องการฟังความเห็นของนักธุรกิจต่างประเทศ ต่อปัญหาที่มีผลกระทบกับการลงทุนในไทย เพราะบางเรื่องอาจจะมองเหมือนนักธุรกิจไทย แต่บางเรื่องอาจจะมองไม่เหมือนนักธุรกิจไทย หากนักธุรกิจต่างชาติมีข้อคิดเห็น ก็จะนำเสนอรัฐบาลต่อไป ซึ่งเท่าที่สอบถามทั้งนักธุรกิจไทยและต่างชาติ ปรากฏว่าเริ่มมีการชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์การเมืองแล้ว ซึ่งมีนักธุรกิจบางส่วนวางแผนลงทุนไว้เมื่อปลายปี 2550 ว่าหลังการเลือกตั้งจะเดินหน้าลงทุนต่อไป เห็นได้จากการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นมาในไตรมาส 1 ปี 2551

นายประมนต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กกร.ได้มีการหารือนอกรอบเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐและภาคเอกชนควรมีการหารือเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งกกร.จะเข้ามามีบทบาทเพิ่มเติมในช่วงเศรษฐกิจปัจจุบัน ควรมีการปรึกษาการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ในระหว่างกกร.และครม.เศรษฐกิจ เพื่อช่วยกันหาทางพยุงสถานการณ์ค่าครองชีพของประชาชน และต้นทุนที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการ ซึ่ง เอกชนและรัฐบาลควรมีหน้าที่พยุงสถานการณ์ปากท้องประชาชนไปจนกว่าประชาชนจะปรับตัวได้

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศขณะนี้ เผชิญปัญหาจากราคาน้ำมันสูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ประกอบปัญหาการเมือง หากการชุมนุมประท้วงการแก้รัฐธรรมนูญยืดเยื้อบานปลาย และมีการปะทะรุนแรง จะเป็นปัจจัยเร่งให้เศรษฐกิจชะลอตัวมากขึ้นในช่วงไตรมาสแรก

ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดี ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นเกือบทุกรายการ เป็นผลให้จีดีพีไตรมาสแรกขยายตัวถึง 6% แต่ช่วงไตรมาส 2 และ 3 สินค้าราคาแพง ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองขณะนี้ ต่างจากปี 2549 การเดินขบวนประท้วง หากมีการรายงานออกไปทางสำนักข่าวต่างประเทศ มีเหตุการณ์ลุกลามบานปลาย รัฐบาลต้องดูแลควบคุมสถานการณ์ให้ได้ หากเกิดปะทะขึ้นจะส่งผลกระทบทันที

“จากการหารือกับนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะญี่ปุ่นจะมองประเทศเป็นลำดับแรกในอาเซียนในการลงทุน ขึ้นอยู่กับไทยจะสร้างความมั่นใจได้แค่ไหน นักธุรกิจส่วนใหญ่ห่วงปัญหาราคาน้ำมันเป็นอันดับแรก เพราะน้ำมันเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และปัจจัยผลักดันให้ค่าไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบกับภาคอุตสาหกรรมโดยตรง หากสถานการณ์ยังเป็นอย่างนี้ อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไตรมาส 2-3 จะน้อยกว่าไตรมาสแรกแน่นอน เพราะการบริโภคลด การลงทุนขยายตัวช้าขณะที่การส่งออกไม่ได้ขยายตัวมาก

รวมทั้งราคาสินค้าเกษตรไม่แน่ใจว่าราคาจะยืนตัวสูงนานเพียงใด โดยเฉพาะปัจจัยราคาน้ำมันที่กระทบความสามารถในการแข่งขัน แต่หากสามารถปรับตัวได้เร็ว เชื่อว่าทั้งปีจีดีพียังขยายตัวได้ 5.5%” นายสันติ กล่าว