WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 14, 2008

‘นักกฎหมาย’ ซัดแร้งรุมทึ้งบี้ยึดทรัพย์‘ทักษิณ’หวัง25%

นักกฎหมายตอก ป.ป.ช.หน้าหงาย ไม่มีสิทธิยุ่งเกี่ยวทรัพย์สินอดีตนายกฯ“ทักษิณ” ดาหน้าถล่มแหลกชี้ต้องเป็นอำนาจของศาลเท่านั้น ด้าน “คณิน บุญสุวรรณ” ชี้เมื่อคตส.หมดอายุลง ป.ป.ช.ก็ไม่มีอำนาจยึดทรัพย์ใคร ทำได้แค่เป็นคนส่งเรื่องให้ศาลฎีกาฯ พิจารณา ขณะที่ “พิชา วิจิตรศิลป์” ซัดทุเรศแร้งรุมทึ้งแบ่งทรัพย์ 25% เป็นเรื่องที่เลวร้ายที่สุด

หลังจากมีขบวนการโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งต่อมาได้ร้อง ขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ทรัพย์สินจำนวน 76,000 ล้านบาทตกเป็นของแผ่นดินโดยอ้างว่ามีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติโดย คณะกรรมการร่วมอัยการสูงสุดและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ลงมติส่งสำนวนยึดทรัพย์ทั้ง 7.6 หมื่นล้านบาทต่อศาลนั้น

ส่งศาลชี้ขาดถอนอายัดทรัพย์
เมื่อวันที่ 13 ส.ค. คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ได้สอบถามความชัดเจนจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ว่าสามารถอายัดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก่อนการกระทำผิดได้หรือไม่ ซึ่งเลขาธิการ ป.ป.ช.ชี้แจงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังไม่มีมติว่า ป.ป.ช.มีอำนาจยึดหรือถอนอายัดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณได้หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องระหว่างเตรียมส่งศาลฎีกาพิจารณา โดยโฆษกคณะกรรมาธิการฯ ยืนยันด้วยว่า การสอบถามในเรื่องนี้ไม่ได้เป็นการปกป้องทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจ
ขณะที่ ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.พรรคพลังประชาชน และนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ได้ร่วมกันแถลงผลการประชุมการพิจารณาข้อกฎหมาย กรณีการอายัด หรือเพิกถอนคำสั่งการอายัดทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว กรณีการซื้อขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปฯ จำนวนกว่า 6.9 หมื่นล้านบาท
โดยในที่ประชุมคณะกรรมาธิการได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายศราวุธ เมนะเศวต เลขาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ปช.) กรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร และธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเข้าชี้แจงในข้อเท็จจริงดังกล่าว
ร.ท.ปรีชาพล กล่าวว่า จากกรณีที่มีข่าวออกมาเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา ว่า ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งอายัด หรือสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สิน ที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแกรัฐ (คตส.)ทำการอายัดไว้ โดยเลขาธิการป.ป.ช.ได้ทำการชี้แจงว่าไม่ได้เป็นผู้ให้ข้อมูลดังกล่าว และไม่ทราบว่าข่าวออกมาได้อย่างไร ซึ่งอาจจะเป็นคณะกรรมการป.ป.ช.บางคนเป็นคนเปิดเผยก็เป็นได้

ป.ป.ช.มีหน้าที่แค่ส่งศาลชี้ขาด
ร.ท.ปรีชาพล กล่าวยืนยันว่า คณะกรรมาธิการป.ป.ช.ยังไม่มีมติเกี่ยวกับกรณีนี้ และมียังคงยึดรุปแบบการดำเนินการตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)ฉบับที่ 30 ที่ให้อำนาจแก่คตส.ในการปฏิบัติหน้าที่ โดย ป.ป.ช. ไม่มีอำนาจในการอายัดหรือเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และไม่สามารถก่าวล่วงได้ เพราะเป็นอำนาจตามขั้นตอนของคตส. ส่วน ป.ป.ช.มีอำนาจหน้าที่เพียงส่งเรื่องไปยังศาลเพื่อให้ทำการพิจารณาตัดสินชี้ขาดเท่านั้น ตามระเบียบของพรบ.ป.ป.ช.ปี2524
ทั้งนี้ เมื่อทางคตส.ส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุด แต่ยังไม่ได้สั่งฟ้อง จากนั้นอัยการสูงสุด และป.ป.ช.ก็มีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันเพื่อพิจารณาในประเด็นนี้ และการดำเนินการในขณะนี้ก็คือ คณะกรรมการชุดนี้มีมติร่วมกันโดยเห็นว่าให้สั่งฟ้องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นผู้ทำการพิจารณาอายัด หรือเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สินในกรณีดังกล่าว แต่ขณะนี้เงินจำนวนดังกล่าวก็ยังอยู่ในช่วงอายัดเช่นเดิม

ให้ความเป็นธรรมอดีตนายกฯ
ด้านนายอรรถวิชช์ หนึ่งในทีมโฆษกคณะกรรมาธิการ กล่าวว่า จากการที่พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ออกแถลงการณ์โดยชี้แจงว่าไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของไทยนั้น ตนขอยืนยันว่าในวันนี้ที่คณะกรรมาธิการทั้งฝ่ายค้านและผ่ายรัฐบาลได้มีการหารือถึงประเด็นในข้อกฎหมายเกี่ยวกับกรณีจำนวนเงินในบัญชีธนาคารพาณิชย์ก่อนที่จะมีการโอนถ่ายเงินการซื้อขายหุ้นเข้าบัญชี ว่าจะสามารถแยกแยะให้ผู้เสียหายมีสิทธิ์ขอเพิกถอนเงินจำนวนดังกล่าวได้หรือไม่นั้น ซึ่งกรณีดังกล่าวได้เลยชั้นการพิจารณาของป.ป.ช.ไปแล้ว
นายอรรถวิชช์ กล่าวว่าต้องให้เป็นอำนาจในชั้นศาลทำการพิจาณาอีกที ที่จะมีอำนาจคำสั่งเพิกถอนหรืออายัดทรัพย์ในช่วงก่อนหน้าที่มีการกระทำผิด โดยเหตุที่ประชุมได้ทำการหยิบยกเรื่องนี้มาหารือเพื่อต้องการมอบความเป็นธรรมให้แก่อดีตนายกรัฐมนตรีและครอบครัว พร้อมทั้งทางธนาคารพาณิชย์จะได้รับความชัดเจนการกรณีดังกล่าวมากยิ่งขึ้น

“คณิน” ลั่นป.ป.ช.อย่าตะแบง
ด้าน นายคณิน บุญสุวรรณ อดีตสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2540 กล่าวว่า ย้อนไปดูอำนาจของ คตส.ที่ได้มีการระบุไว้ในประกาศของคณะปฏิรูปในขณะนั้น เป็นอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทั้งให้อำนาจแก่ ป.ป.ช. ปปง. และอธิบดีกรมสรรพากร เป็นอำนาจพิเศษ เบ็ดเสร็จ
นายคณิน กล่าวว่า เมื่อ คตส.หมดอายุลง ในส่วนของคดีที่ยังไม่ได้ดำเนินการก็สามารถโอนให้ทั้งสามหน่วยงานเข้ามาดูแลในขอบข่ายตามอำนาจหน้าที่ของในแต่ล่ะส่วน ส่วนกรณีที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จทำให้เกิดช่องโหว่ทันที่ เพราะ ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจสมบูรณ์แบบตามประกาศของคณะปฏิรูป ไม่ได้ครอบคลุมถึงอำนาจของ คตส.ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยคือเรื่องของการยึดทรัพย์และอายัดทรัพย์ จะดำเนินการอย่างไรต่อไป
“หากเปรียบเทียบตามกฎหมายก็จะกลายเป็นช่องโหว่ทันที เพราะว่าไม่ได้มีการเชื่อมโยงว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งการมาอ้างเรื่องการยึดทรัพย์เพื่อตกเป็นของแผ่นดิน เหมือนกับการตีความไปเอง เพราะว่าหมายถึงคดีที่ยังดำเนินการไม่เสร็จ และอธิบดีกรมสรรพากรก็มีอำนาจในการยึดทรัพย์ หากว่าได้มีการดำเนินการตามกระบวนการเสร็จสิ้นในช่วงเวลาที่ คตส.ยังไม่หมดอายุในการทำงาน”

ป.ป.ช.ไม่ได้มีอำนาจยึดทรัพย์ใคร
นายคณิน กล่าวต่อไปว่า ขั้นตอนตามประกาศของคณะปฏิรูป ยังไม่ถึงกระบวนการที่ คตส.จะประกาศยึดทรัพย์ เนื่องจาก คตส.มาหมดอำนาจเสียก่อน ตอนนี้จึงยังไม่ทราบว่าอำนาจในการยึดทรัพย์จะตกอยู่ภายใต้อำนาจของใครหรือหน่วยงานไหน เพราะว่าไม่ได้มีการระบุไว้
“การที่ ป.ป.ช.จะมากล่าวอ้างว่ามีอำนาจในการดำเนินการต่อไป คงไม่ถูกต้องเนื่องจาก ป.ป.ช.ไม่ได้เริ่มต้นกระบวนการในการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น การจะมาอ้างว่ามีอำนาจ ป.ป.ช.จะต้องเข้ามาดำเนินการตั้งแต่กระบวนการหรือขั้นตอนแรกที่ได้มีการกำหนดไว้ แต่ว่าขั้นตอนดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเลย ไม่ได้ทำหน้าที่ตรงนั้นมาตั้งแต่ต้น แล้วจะมารับลูกต่อได้อย่างไร” นายคณิน กล่าว
นายคณิน กล่าวด้วยว่า หากจะกล่าวตามจริงคงต้องเรียนว่า ป.ป.ช. ไม่ได้มีอำนาจที่จะมายึดทรัพย์ใคร ป.ป.ช.มีอำนาจหน้าที่ในการไต่สวน เพื่อสรุปสำนวนยื่นต่อศาลเท่านั้น หากเป็นอย่างนั้นก็จะเข้ามารับช่วงต่อคงไม่ได้ เพราะว่าอำนาจในตอนนั้นเป็นของ คตส. และไม่ได้มีตัวบทกฎหมายใดที่ระบุ ไว้ ไม่รู้ว่านี้เป็นข้อผิดพลาดของคนเขียนหรือเปล่า ที่ไม่มีความรอบครอบ หากจะมาอ้างในมาตรา 309 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ไม่ได้ เนื่องจากในมาตรานี้เป็นเรื่องของการนิรโทษกรรม ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าให้ใครมีอำนาจหน้าที่

แนะช่อง “ทักษิณ” ตั้งทีมทนายต่อสู้
การเขียนกฎหมายที่ครอบคลุมต้องเขียนบทเฉพาะกาลไว้ เป็นการสืบอำนาจของ คตส.ไปที่ ป.ป.ช.เมื่อ คตส.หมดอำนาจหน้าที่ลง อาจเขียนเพิ่มเติมลงในมาตรา 299 หรือเขียนเพิ่มอีกมาตราในบทเฉพาะกาล ให้ ป.ป.ช. ใช้อำนาจในรัฐธรรมนูญและสืบทอดอำนาจต่อจาก คตส.ได้
“อาจจะต้องมีการแปรความกฎหมาย ในสิ่งที่ได้ดำเนินการไม่แล้วเสร็จให้อยู่ในขอบเขตหน้าที่ของ ป.ป.ช.สามารถดำเนินการต่อไปได้ ไม่ใช่ว่า ป.ป.ช.จะไปนำเอาอำนาจทั้งหมดของ คตส.มาดำเนินการต่อไป” อาจารย์คณินกล่าว
ในส่วนเงินรางวัลค่าตอบแทนหรือค่าสินบนร้อยละ 25 ของทรัพย์ที่ถูกยึดนั้น ตอนนี้คงยังไม่สามารถทำได้เนื่องจากศาลยังไม่ได้ตัดสินในเรื่องดังกล่าว ส่วนที่ว่าเงินค่าตอบแทนที่มีจำนวนมากอาจเป็นต้นเหตุของเรื่องดังกล่าว อาจารย์คณินกล่าวว่า มันก็เป็นไปได้ทั้งนั้น เพราะว่าประกาศของคณะปฏิรูป ได้เขียนหลังจากที่ได้มีการยึดอำนาจ คงมีการเขียนไว้เพื่อให้อำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่
แต่หลักการสำคัญอยู่ที่ว่า เมื่อศาลได้ตัดสินแล้วว่าให้ทรัพย์สินเป็นของแผ่นดิน เงินจำนวนร้อยละ 25 ถึงจะเกิดขึ้น คตส.มีเวลา 1 ปี 9 เดือนทำไมยังดำเนินการไม่เสร็จสิ้น ซึ่งตามหลักแล้วควรจะรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกระบวนการ เพราะว่า คตส.ไม่สามารถไปยึดทรัพย์ไว้ได้ ต้องรอให้ศาลแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้ตัดสินเสียก่อน แต่กระบวนการดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นเนื่องจาก คตส.มาหมดอายุลงเสียก่อน
“ถ้า ป.ป.ช.มาอ้างอำนาจในเรื่องนี้ นี้อาจจะเป็นช่องว่างให้คุณทักษิณตั้งทีมทนายขึ้นมาต่อสู้ในเรื่องดังกล่าว เพราะว่าไม่ได้มีการกำหนดไว้ กระบวนการที่ทาง คตส.ดำเนินการยังไม่เสร็จสิ้น ป.ป.ช.จะมาก้าวล่วงสานต่อให้แล้วเสร็จตามกระบวนการไม่ได้ เพราะในเรื่องนี้เป็นอำนาจของ คตส.มาตั้งแต่ต้น” อาจารย์คณินกล่าว

คตส.หมดสิทธิ์-แค่ที่มาก็ไม่ถูกต้อง
ด้าน นายพิชา วิจิตรศิลป์ ทนายความ กล่าวถึงเรื่องการยึดทรัพย์ของอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ไม่มีอำนาจที่จะมายึดทรัพย์ เพราะว่าจริงๆ แล้วเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลยุติธรรมแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่จะเข้ามาจัดการในเรื่องดังกล่าว โดยจะต้องส่งให้ศาลยื่นฟ้อง และตั้งเจ้าพนักงานไปยึดทรัพย์
ส่วนทรัพย์สินที่ทาง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มองว่าสามารถยึดได้นั้น จริงๆ แล้วก็ไม่มีสิทธิ์ทำได้เนื่องจากกระบวนการในการแต่งตั้งไม่มีความถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น คตส. ป.ป.ช. หรือองค์กรอิสระที่มาจากการแต่งตั้งในช่วงของการยึดอำนาจ

ซัดแร้งรุมทึ้ง25%เงินอดีตนายกฯ
นายพิชา กล่าวว่า มีการแบ่งทรัพย์เป็น 25% เมื่อมีการยึดทรัพย์ ซึ่งส่วนแบ่งถือว่าเป็นเรื่องที่เลวร้ายอย่างมาก พยายามที่จะเขียนกฎหมายเอาไว้เพื่อที่จะเอาของคนอื่นมาเป็นของตนเอง เป็นการเขียนกฎหมายขึ้นมาเพื่อทำลายหนึ่งครอบครัว แต่ผลเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น มีผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ
ส่วนประเด็นเรื่องการขอลี้ภัยของอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และภริยา ที่มีกลุ่มนักฎหมายบางพวกออกมาวิจารณ์ ว่าการลี้ภัยไม่น่าจะสามารถทำได้เนื่องจากได้มีการต่อสู้คดีบ้างแล้ว ซึ่งต้องยอมรับว่าในช่วงแรกที่ได้มีการต่อสู้คดีนั้นเนื่องจากท่านได้รับความเป็นธรรม พอผลเรื่องของการเสียภาษีออกมา โดยถือว่า คตส.ได้ถูกแต่งตั้งชอบโดยกฎหมาย และองค์กรอิสระอื่นๆ ที่ได้มีการแต่งตั้งในช่วงของการยึดอำนาจ ชอบด้วยกฎหมายด้วย ทั้งๆที่เป็นกฎหมายโจร
“เหมือนอย่างที่ท่านว่าในเรื่องของกระบวนการยุติธรรมจะสามารถเชื่อถือได้หรือไม่ ถ้าศาลพึ่งไม่ได้ก็คือว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะในปัจจุบัน ระบอบประชาธิปไตยในบ้านเรา แค่ 70% เท่านั้นไม่เต็ม 100 % เนื่องจากอำนาจของศาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน บางครั้งอาจมองได้ว่าไม่มีความเป็นเอกภาพ” นายพิชา กล่าว