WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, August 15, 2008

‘ม. 63’ ต้องรอบคอบ!

ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบการชุมนุมในที่สาธารณะ ซึ่งกำลังเป็นที่ถกเถียงอยู่ในขณะนี้ มีแง่มุมในการพิจารณาที่ต้องระมัดระวังและละเอียดรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง
เพราะเพียงคิดจะเริ่มต้นการชุมนุม ในกรณีที่ประชาชนคนธรรมดาต้องการเรียกร้องความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการไป “ขออนุญาต” จากเจ้าพนักงาน ข้าราชการ หรือสถานีตำรวจในพื้นที่นั้นๆ เสียแล้ว
แค่ขอใช้สถานที่ราชการทำธุระเล็กๆ น้อยๆ ยังรู้กันโดยทั่วไปว่ายาก…แล้วขออนุญาตให้มีการชุมนุม คงจะยากยิ่งกว่า เพราะในเวลาปกติที่ไม่มีกฎหมายฉบับนี้ เจ้าหน้าที่รัฐบางคนก็อาจมองว่าการชุมนุมของประชาชนสร้างความเดือดร้อนรำคาญใจให้อยู่แล้ว โดยเฉพาะหากการชุมนุมนั้นเป็นการเรียกร้องโดยตรงในเรื่องที่พวกเขารับผิดชอบ ก็คงไม่มีทางใดยอมให้เกิดการชุมนุมที่จะมาเป็นผลเสียแก่ตนเอง
เพียงเบื้องต้นก็เห็นแล้วว่าหากกฎหมายนี้ผ่าน นั่นอาจจะเป็นการปิดประตูการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยลงไปได้
นอกจากนั้น ยังเปิดทางให้ “ตีความ” กฎหมายอย่างครอบจักรวาลและหละหลวม โดยการระบุให้ชุมนุมได้แต่ต้องไม่มีการสร้างข้อมูลเท็จ ไม่มีการกล่าวหา ไม่มีการปลุกระดมให้หลงผิด ไม่ให้โฆษณาชวนเชื่อ ไม่ให้บังคับหรือว่าจ้างกลุ่มบุคคลใด…
ซึ่งอาจจะกลายเป็น “ข้อห้าม” ที่วกกลับมาเป็นการกล่าวหาการชุมนุมของประชาชนที่มีเจตนาบริสุทธิ์ เพราะยากที่จะหามาตรฐานตัดสินหรือเกณฑ์ในการวัดว่าการชุมนุมนั้นๆ ปลุกระดมหรือไม่ ชวนเชื่อหรือไม่ รวมทั้งอาจมีการสร้างหลักฐานเท็จมากมายเพื่อบอกว่ามีการจ้างวานคนให้มาชุมนุม
ในส่วนของ “ข้อความเท็จ” อะไรคือการกล่าวร้าย อะไรคือข้อความเป็นเท็จ ก็อาจต้องให้ “ศาล” ตัดสิน (เหมือนเช่นคดีหมิ่นประมาท) ซึ่งกว่าที่ศาลจะมีคำตัดสินออกมา หมายความว่า “ผู้ชุมนุม” ต้องหยุดชุมนุมไปก่อน หรืออีกความหมายหนึ่งคือสามารถชุมนุมไปได้เรื่อยๆจนกว่าศาลจะตัดสินชี้ขาดเช่นนั้นหรือเปล่า…เช่นนั้นผู้ชุมนุมก็อาจต้องเหนื่อยมากหน่อยเพราะต้องชุมนุมเรื่อยไปจนกว่าศาลจะบอกได้ว่าข้อความเป็นจริงหรือเท็จ!?!
นอกจากนี้ยังมีข้อความที่ไม่รอบคอบรัดกุมอีกด้วย ซึ่งหากต้องการให้กฎหมายจัดระเบียบการชุมนุมมีลักษณะที่เป็น “คุณ” มากกว่า “โทษ” ก็อาจต้องคิดให้มาก เขียนให้ดี พิจารณาศึกษาให้รอบคอบมากกว่านี้
ยังไม่รวมถึงการเปิดทางให้เจ้าหน้าที่รัฐสลายการชุมนุมได้โดยไม่ต้องมีความผิด ซึ่งอาจเป็นกฎหมายในฝันของบางคน แต่เป็น “ฝันร้าย” ของประชาชนโดยแท้ เพราะทุกวันนี้เจ้าหน้าที่บางคนที่เป็นเหมือนปลาเน่าในข้องก็หาช่องทางหลบเลี่ยงกฎหมายได้เก่งกว่าคนธรรมดาอยู่แล้ว แล้วเหตุอันใดที่ต้องมีกฎหมายเปิดทางให้อีก
โดยเฉพาะเป็นการเปิดทางให้กับ “ความรุนแรง” ที่อาจเกิดขึ้นอย่างเกินควบคุมได้ทุกเมื่อ เพียงข้อนี้ข้อเดียวโดยยังไม่ต้องพิจารณารายละเอียดอื่นๆ ก็สมเหตุสมผลพอแล้วที่ประชาชนจะออกมาท้วงติงต่อร่างกฎหมายฉบับนี้
อย่าลืมว่า ตั้งแต่ที่แนวความคิดของกฎหมายนี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหารก็ออกมาคัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้
แล้ววันนี้เมื่อรัฐบาลเป็นประชาธิปไตยเต็มที่ มาจากการเลือกตั้งที่ประชาชนไว้วางใจเลือกเข้ามา และที่สำคัญก็กำลังหาทางแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รู้กันอยู่ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย จึงไม่ควรให้คนอื่นที่จ้องทำลายหาเหตุว่ากล่าว
ดังนั้น ถ้าอยากให้เป็น “คุณ” ตามเจตนาที่ดีนั้นแล้วนั้น ต้องใช้ความรอบคอบ และรัดกุมต่อการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ให้มาก