WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 14, 2008

อุดมการณ์ ‘มัฆวานนคร’

นับตั้งแต่สมาชิกบ้านเลขที่ 111 ต้องถูกสั่งเก็บเข้ากรุและหยิบยื่นบัตรพลเมืองชั้นสองให้เป็นเวลา 5 ปีนั้น

อาจมีบ้างบางคนที่ชื่อก็ยังไม่หายไปจากหน้าข่าวในฐานะที่สื่อมวลชนชอบอ้างอิงถึง แต่ก็อีกหลายคนก็พร้อมใจกันหายหน้าไปจากสังคมข่าว ดำเนินชีวิตเรียบง่ายกับกิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบในทุกประเภทยกเว้น…การเมือง

แต่สำหรับชื่อของคนที่มักปรากฏเป็นข่าวแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในเชิงวิชาการและสังคมให้ความสนใจอยู่เสมอหนึ่งนั้นก็คือ “จาตุรนต์ ฉายแสง” อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยในห้วงเวลาที่ใครก็น่าจะขยาดพรั่นพรึงกับตำแหน่งหัวหน้าทัพนี้…และแม้กล้าแต่ก็ใช่ว่าจะเป็นใครก็ได้ที่จะรับมือกับอำนาจรัฐประหาร ซึ่งก็เป็นชื่อของอดีตนักศึกษาหัวก้าวหน้า คนเดือนตุลาคนนี้ที่ได้รับความไว้วางใจสูงสุด คืนวันที่พลพรรคไทยรักไทยต้องหยัดยืนฝ่าคลื่นลมการเมืองในวันนั้น บทบาทการเลือกข้างยืนที่เป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายเผด็จการอย่างชัดแจ้ง ชัดเจน ไม่มีการต่อรองเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง…ก็ทำให้ความเป็นจาตุรนต์และพรรคพวกอีกหลายคนได้หัวใจประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยไปเต็มๆ

อาจเพราะเหตุนี้ด้วยที่ทำให้ความคิดเห็นของคนที่กลายเป็น “พลเมืองชั้นสอง” อย่างจาตุรนต์ยังคงมีคนฟัง โดยเฉพาะก็ยังมีคนพร้อมใจจะเรียกเขาว่าเป็นนักการเมืองน้ำดีคนหนึ่งเท่าที่การเมืองไทยในขณะนี้จะพอเอ่ยอ้างว่ามีได้

ล่าสุด จาตุรนต์ ฉายแสงออกมาแสดงทรรศนะถึง ‘ชาวมัฆวานนคร’ พุ่งตรงไปยังระดับ ‘แกนนำ’ ที่เป็นผู้กุมทั้งยุทธศาสตร์และยุทธวิธีอย่างแท้จริง มวลชนเรือนหมื่นสลับพันเป็นเพียงผู้เข้ามารองรับชุดอุดมการณ์ที่แกนนำพันธมิตรฯต้องการจับผีลุกปลุกผีนั่งให้เกิดกับสังคมไทยเท่านั้น โดยมี “เซเลบ” หรือเหล่าคนมีชื่อเสียงคนต่างๆ มาสร้างสีสันและความเหมือนว่าน่าจะชอบธรรมให้อีกต่อหนึ่ง

กระบวนการจัดตั้ง ชวนเชื่อ ทางสื่อทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ในเครือพันธมิตรฯเป็นทั้งเครื่องมือและประจักษ์พยานได้เป็นอย่างดี

สิ่งที่จาตุรนต์มองว่าเป็นต้นตอของปัญหาทั้งหมด คือ การเคลื่อนไหวด้วยระบบความคิดที่ผสมกันระหว่างความคิด “อนาธิปไตย” กับความคิด “อำมาตยาธิปไตย” ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย และการพัฒนาประเทศ

อนาธิปไตยที่มีหลักการต่อต้านรัฐและเชิดชูความเป็นปัจเจกชน และอำมาตยาธิปไตยที่คือการให้อำนาจปกครองแก่ขุนนางข้าราชการ เมื่อสองระบบความคิดนี้ประกอบเข้าด้วยกัน ก็กลายเป็นหลักการบนฐานที่ไม่ไว้ใจประชาชน รูปธรรมคือการไม่ยอมรับปฏิบัติตามกติกา เมื่อไม่พอใจรัฐบาลก็เคลื่อนไหวล้มรัฐบาลได้โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นวิธีการแบบไหน เช่น การปูทางและสนับสนุนพร้อมปกป้องแก้ต่างให้แก่การ ‘รัฐประหาร’ การออกโรงสนับสนุนรัฐธรรมนูญที่ทั้งรูปแบบและเนื้อหาไม่เป็นประชาธิปไตย สนับสนุนให้อำนาจอธิปไตยอยู่กับคนกลุ่มน้อยมากกว่าจะอยู่กับประชาชนซึ่งมีจำนวนมากกว่า ฯลฯ

รูปธรรมที่ชัดเจนที่สุดของแนวคิดปฏิเสธประชาธิปไตยและไม่ไว้วางใจความเป็นประชาชนของพันธมิตรฯนี้ ย่อมไม่พ้นข้อเสนอการเมืองใหม่ “เลือกตั้ง 30 สรรหา 70” ซึ่งเชื่อได้ว่าไม่ว่าจะได้ผลหรือไม่ก็ตาม แต่มันจะกลายเป็นข้อเสนอที่ถูกพูดถึงไม่รู้จบไปอีกนานแสนนาน ในฐานะแนวความคิดล้าหลังตกคลองที่สุดนับตั้งแต่มีการรัฐประหาร 19 กันยายน 49 โดยเฉพาะเมื่อเป็นข้อเสนอที่มาจากกลุ่มคนที่แสนจะหลากหลายทั้งสื่อมวลชน เอ็นจีโอ นักวิชาการ ศิลปินและนักเขียนเพื่อชีวิต นิสิตนักศึกษา ฯลฯ จึงทั้งน่าแปลกใจ น่าตื่นตาตื่นใจและน่าสมเพชใจไปพร้อม ๆกันที่บุคคลชนชั้นปัญญาที่น่าจะเรียกได้ว่า “ก้าวหน้า” กลับกล้าเข็นข้อเสนอตกขอบหลงยุคและเป็นปฏิปักษ์กับแนวคิด “ประชาธิปไตย” ที่ได้รับการยอมรับจากทั้งโลกว่าเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์จะมีในขณะนี้

แต่อาจเพราะ “ประชาธิปไตย” อยู่บนฐานที่ว่า “มนุษย์เท่าเทียมกัน” มันจึงไปกัน ‘ไม่ได้’ กับ “ลักษณะจำเพาะ” ของชาวมัฆวานนคร ผู้ซึ่งมวลชนระดับฐานก็เชื่อฟังแกนนำสุดหัวใจ ผู้ซึ่งระดับแกนนำก็พร้อมโกหกพกลมคำโตเพียงเพื่อเป้าหมายอันไม่เป็นที่ปรากฏอย่างใสสะอาดสักทีว่าเป็นประโยชน์ของใครกันแน่

เพราะไม่ต้องการความเท่าเทียม ? เพราะต้องการเป็นส่วนหนึ่งหรือกระทั่งได้ครอบครองอำนาจรัฐโดยไม่ต้องเปลืองแรงลงเลือกตั้ง ? เพราะไม่ต้องการให้ประเทศไทยก้าวทันไปกับยุคโลกาภิวัฒน์ ? เหตุผลใดกันแน่ที่ทำให้พันธมิตรฯ สวมเข้ากับแนวคิดอนาธิปไตยบวกกับอำมาตยาธิปไตยได้แนบสนิททั้งที่ชื่อเสียงเรียงนามก็ยังห้อยท้ายคำว่า “…ประชาธิปไตย” ได้อยู่อย่างนั้น โดยไม่ตะขิดตะขวงใจสักนิด…

หรือเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนอันสุจริตของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่คิดว่านั่นแหละคือ “ประชาธิปไตย” แม้ว่าเป็นประชาธิปไตยในแบบที่จะมีแต่พลเมืองหลักหมื่นของพันธมิตรเท่านั้นจะยอมรับได้ ก็ตามที…