WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, August 15, 2008

สูญ 4.5 แสนล้านที่ ปรส. ใครรับผิดชอบ?

“ความจริงวันนี้” ในคืนวันที่ 14 ตุลาคม 2551 วีระ มุสิกพงศ์ ได้หยิบยกเอาประเด็นร้อน 2 เรื่องราวเข้าสู่การสนทนาร่วมกับ 2 แขกรับเชิญ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ จตุพร พรหมพันธุ์ ทั้งเรื่องเก่าที่ดีเอสไอจับมาปัดฝุ่นอย่างคดี ปรส. ที่ส่อทำประเทศชาติเสียหายกว่า 4 แสนล้านบาท แถมยังอยู่ในช่วงเวลาของรัฐบาลประชาธิปัตย์ กับเรื่องราวของคุณหญิงจารุวรรณที่มีปมใหม่ให้พูดถึงกันไม่เว้นแต่ละวัน หลังจากถูกเผาบ้านแค่เขม่าติดกำแพง ยังมีคำถามถึงการเสียภาษีซื้อขายที่ดินที่เป็นประเด็นใหม่

วีระ – สวัสดีครับท่านผู้ชม พบกับรายการ “ความจริงวันนี้” ในเวลา 10.20 น. เป็นต้นไปเช่นเคย ก่อนที่จะพูดอะไรกันต่อไป ความจริงวันนี้ขอนำเรื่องให้คุณจตุพรได้พูดเรื่องที่ได้สัญญาไว้กับท่านผู้ชมสักเล็กน้อย

จตุพร – ต้องเรียนกับท่านผู้ชมในเรื่องของวีซีดีที่บันทึกการทุจริตการเลือกตั้งที่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งปรากฏเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ พวกเราได้รับวีซีดีความยาวประมาณ 25 นาที แต่ก็ได้มีการแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันว่า จะเปิดเพื่อกดดัน กกต. หรือจะรอให้ กกต. พิสูจน์การพิจารณาอย่างเต็มที่ก่อน หลังจากนั้นค่อยมาเปิดความจริงกัน สุดท้ายก็หารือกันว่า ควรที่จะรอให้ กกต. ทำหน้าที่ เพื่อไม่ให้ใครมากล่าวอ้างว่ารายการความจริงวันนี้ได้ใช้หลักฐานที่เป็นวีซีดีมาขัดขวางการทำงานของ กกต. ขอเรียนประชาชนทั้งหลายว่า วีซีดีนั้นอยู่ครบถ้วน เพียงรอให้กระบวนการของ กกต. นั้นได้เดินหน้าอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ ภายหลังจากนั้นวีซีดีก็จะนำมาเปิดพิสูจน์ภายหลังจากที่ทาง กกต. ได้มีการพิสูจน์

วีระ – เวลาก็อีกแค่ 2 วันเท่านะครับท่านผู้ชม เพราะว่าทาง กกต. ก็จะตัดสินแล้วว่าจะให้ใบแดง ใบเหลือง ใบเขียว เพราะว่าคงจะทนเสียงเรียกร้องจากประชาชนไม่ได้ เราก็อาจจะหลีกเลี่ยงในข้อกล่าวหาที่ใครนั้นก็ไม่รู้เพื่อมากดดันให้มติของ กกต. เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เราไม่มีความประสงค์จะทำอย่างนั้น ทุกอย่างที่นำเสนอไม่ใช่เพียงเพื่อต้องการกดดันใคร เราต้องการจะนำเสนอความจริง เพื่อมานำเสนอให้สังคมได้รับทราบ ส่วนใครจะมีความรับผิดชอบตัวเองแค่ไหน ก็เป็นเรื่องของคนคนนั้น หรือหน่วยงานนั้นๆ ที่จะรับผิดชอบหน้าที่ ก็ไปพิจารณากันเอาเอง
เข้าสู่ประเด็นที่ตั้งใจจะมาเรียนท่านผู้ชม ก็คือว่า เมื่อวานนี้เป็นวันมหามงคล ดังนั้นเราจึงนำเรื่องที่สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ มากราบเรียนท่านผู้ชม เนื่องจากว่าเมื่อวานนี้หนังสือพิมพืหลายฉบับลงข้อความสำคัญเกี่ยวกับข่าวหนึ่งซึ่งเราได้อ่านตั้งแต่เมื่อวานนี้แล้ว เพราะคิดว่าต้องให้เลยวันมหามงคลแล้วเราค่อยพูดเรื่องนี้กัน วันนี้ก็จำเป็นที่เราจะนำเอาเรื่องนี้เข้ามาพูดคุยกันแล้ว เพราะสมควรแก่เวลา และเรื่องราวก็เป็นเรื่องที่ใหญ่โต คือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน และมีเรื่องการเสียหายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินนี้เป็นเงินถึง 45,000 ล้านบาท แล้วเรื่องที่สามก็คือว่า เรื่องนี้ไปอยู่ที่ ป.ป.ช. นานเกินสมควรแล้ว
หนังสือพิมพ์ลงข่าวตรงกันเกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า สั่งฟ้องแหลก บิ๊ก ปรส. และเลแมน เนื้อความว่า นายธาริต เพ็งดิษฐ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ขายทอดตลาดสินทรัพย์ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 56 ไฟแนนซ์ที่ถูกปิดกิจการ มูลค่าความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท ได้เปิดเผยว่า ได้นำสำเนาการสอบสวนในคดีนี้ให้ นายเสกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายพิเศษ สั่งฟ้องผู้ต้องหาในคดีนี้ สำหรับผู้ต้องหา 1.วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ เลขาธิการ ปรส. 2.นายอมเรศ ศิลาอ่อน ประธานกรรมการบริหาร ปรส. 3.บริษัท เลแมน บราเดอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ 4.นายคาร์ลอส มานาแลค ชาวฟิลิปปินส์ 5.กองทุนรวมโกลบอลไทย พร็อพเพอร์ตี้ 6.บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด 7.นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ อดีตกรรมการผู้จัดการเงินทุนหลักทรัพย์รวมวรรณ 8.บริษัท เลแมน บราเดอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
เนื้อข่าวก็บอกต่อไปว่า นิติบุคคลและบุคคลทั้งหมดถูกฟ้องฐานเป็นพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือสนับสนุนพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท
ทั้งนี้ อัยการได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว คาดว่าจะสั่งฟ้องในคดีนี้ได้ภายใน 60 วัน ข่าวอธิบายขยายความต่อไปอีกครับว่า คดีนี้เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 2 มิถุนายน – 1 ตุลาคม 2541 ซึ่ง ปรส. ขายสินทรัพย์ให้กับ บริษัท เลแมน บราเดอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ เป็นผู้ชนะในการประมูลราคา 11,520 ล้านบาท จากราคา 24,116 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษัท เลแมน บราเดอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ ได้โอนขายสิทธิ์ให้กับกองทุนรวมโกลบอลไทย พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งไม่ได้เป็นผู้ประมูลหนี้ แต่เพื่อหลีกเลี่ยงภาระหรือค่าภาษีอากรรวมสัก 2 พันล้านบาท
นอกจากนี้ บริษัท เลแมน บราเดอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ยังเป็นที่ปรึกษาด้านการขายหนี้ของ ปรส. เองด้วย เรื่องที่จะอธิบายเพื่อความชัดเจนก็คือว่า นี่คือหนึ่งในจำนวนของหลายๆ คดี รู้สึกจะ 6-7 คดี เพราะฉะนั้นเวลาอ่านตัวเลขความเสียหายท่านจะเห็นว่ามันก็ไม่ได้มากมายอะไรนัก นี่เป็นหนึ่งคดีที่ ปรส. อุตส่าห์มานะพยายามทำสำนวนแล้วเสร็จ เห็นสมควรส่งให้อัยการสั่งฟ้อง จริงๆ แล้วดีเอสไอทำเรื่องนี้มานาน แล้วไปส่งให้ทาง ป.ป.ช. เนื่องจากว่ามีผู้ถูกกล่าวหาบางท่านเป็นนักการเมือง ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติว่าต้องให้ ป.ป.ช. เป็นผู้พิจารณา
ผมขออธิบายเพิ่มเติมในประเด็นนี้ ที่ส่งเรื่องไปให้อัยการเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม แล้วปรากฏเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ เราต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่า ผู้ต้องหาที่ 1 และที่ 2 ข้อหาว่าเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือทำการทุจริต ส่วนลำดับถัดมาเป็นบริษัท ถูกฟ้องว่าสนับสนุนการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยไม่ชอบ เพื่อผู้หนึ่งผู้ใด มีอัตราโทษ 2 ใน 3 ของตัวการ ส่วนคดีที่เหลือนั้นนี่เป็นหนึ่งของดีเอสไอที่ทำการสำเร็จมาก่อนแล้ว แต่ว่ามันเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ ว่าเรื่องนี้เกิดมานานเป็นระยะเวลา 10 ปี คนก็ลืม เพราะคนให้ความสนใจแก่เรื่องใหม่ๆ ถึงแม้ว่าเรื่องนี้จะมีมูลค่าความเสียหายมาก
พูดตามตรงว่าไม่ได้นำเอามารายละเอียดของทั้งเรื่อง เพื่ออธิบายให้เห็นว่าการกระทำความผิดที่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร เราะทั้ง 3 คน ได้เดินไปที่ดีเอสไอไปร้องทุกข์กล่าวโทษ กลัวว่าเรื่องนี้จะหมดอายุความ ถ้าเราไม่ยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ว่าเรื่องนี้มันล่าช้าจนเกินไป อาจเกิดความเสียหายได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเจ้าหน้าที่ของดีเอสไอไม่ได้เอาใจใส่ เพราะว่าเรื่องนี้เป็นคดีที่เกี่ยวกับผู้มีอิทธิพล จะดำเนินการปุ๊บปั๊บไม่ได้ จึงมาเตือนความทรงจำของท่านผู้ชมเสียหน่อย เรื่องนี้เกิดขึ้นในปี 2540 ปีที่ไทยเราประสบปัญหาทางธุรกิจอย่างฉับพลัน รัฐบาลของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้สั่งระงับกิจการบริษัทไฟแนนซ์ต่างๆ เป็นการให้หยุดกิจการชั่วคราว เพื่อตรวจสอบว่าใครผิด-ใครถูก บังเอิญว่าท่านไม่สามารถอยู่ต่อได้ เพราะว่าลาออกเสียก่อน
เมื่อรัฐบาลใหม่เข้ามาคือ รัฐบาลของ ท่านชวน หลีกภัย แห่งพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้นำ นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตรงนี้ถือว่าได้มีการเปลี่ยนนโยบายจากการปิดชั่วคราว กลายเป็นการสั่งปิดถาวรไปเลย แต่ปรากฏว่าทั้ง 56 แห่ง ได้มีการกู้ยืมจากกองทุน ฉะนั้นปัญหานี้รัฐบาลจะต้องเข้าไปดูแล เดิมที พล.อ.ชวลิต และคุณโฆษิต วางแผนไว้ว่าทั้ง 56 สถาบันต้องแยกสินทรัพย์ทั้งพวกดี และไม่ดี โดยใช้วิธีการบริหารที่แตกต่างกัน กลายเป็นว่าเมื่อประชาธิปัตย์เข้าไปบริหาร นำมารวมกัน พอรวมสินทรัพย์ก็เป็นเงินกว่า 600,000 ล้าน แล้วทางพรรคประชาธิปัตย์ นำโดยคุณธานินทร์ก็ได้ไปจ้างบริษัท เลแมน บราเดอร์ส มาเป็นที่ปรึกษาว่าจะจัดการกับทรัพย์สินพวกนี้อย่างไร
เลแมน บราเดอร์ส ก็ให้คำแนะนำว่า ให้แบ่งสินทรัพย์เป็นกองๆ แล้วบอกให้ขายไปโดยทำการประมูล โดยวางหลักเกณฑ์ไว้สูงจนคนไทยทำการประมูลไม่ได้ แต่ก็มีบริษัท เลแมน บราเดอร์ส ที่เป็นที่ปรึกษากระทรวงการคลังเข้ามาประมูลสินทรัพย์ที่ว่า 600,000 ล้านบาท ก็ประมูลไปได้ในราคา 150,000 ล้านบาท แปลว่ามูลค่าสินทรัพย์หายไป 450,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขเสียหายของรัฐโดยประมาณ ต้องถือว่าเป็นยอดความเสียหายที่สูงมาก มันมีการทุจริตอยู่ในนี้ ฉะนั้นจึงถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ จะปล่อยให้ผ่านเลยไปจนขาดอายุความไม่ได้ ในที่สุดก็เอาความผิดกับใครไม่ได้
คนที่จะเข้ามารับผิดชอบเรื่องนี้มีใครบ้าง ผู้รับผิดชอบทางการเมือง ยังไม่พูดในเรื่องแง่ของกฎหมาย คุณชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี คุณธารินทร์ นิมมานเหมินท์ แห่งพรรคประชาธิปัตย์ คงจะต้องรับผิดชอบในทางการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น เพราะท่านได้รับทราบเรื่องนี้มาโดยตลอด ปัญหาอยู่ที่ว่า ท่านไม่ใส่ใจป้องกันความเสียหายในสิ่งที่จะเกิดขึ้น ในที่สุดเกิดความเสียหาย มีคนไปร้องที่ดีเอสไอ เพราะฉะนั้นคนเหล่านั้นที่ไปร้องก็ชี้ไปถึงตัวบุคคลทั้งตัวนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคณะกรรมาธิการของ ปรส. ทั้งหมดในคดีที่ได้อ่านให้ฟัง
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าวิตกตรงที่ว่า เมื่อดีเอสไอทำเสร็จ แต่เมื่อคดีนี้มีคนใหญ่คนโตเข้ามาพัวพัน เรื่องก็กลายเป็นว่าเงียบ

ณัฐวุฒิ – หมายความว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2540 และตอนนี้เรื่องก็อยู่ในมือของ ป.ป.ช. ชุดปัจจุบัน

วีระ – เรื่องนี้ก็ต้องท้วงว่าท่าน ป.ป.ช. ครับ เมื่อท่านได้รับเรื่องนี้ไว้นานเป็นปีแล้ว ท่านไม่เคยออกมาแถลงถึงความคืบหน้า เป็นเพราะท่านเกรงใจนักการเมืองใหญ่ของพรรคการเมืองฝ่ายค้านบางพรรคหรือเปล่า หรือว่าเรื่องมันสลับซับซ้อน ก็ในเมื่อดีเอสไอเขาสืบมาให้เรียบร้อยแล้ว มือสอบสวนและมือกฎหมายเขาสอบสวนมาแบบเร่ง มันเป็นอย่างไร ผมถามต่อไปอีกว่ามูลค่าความเสียหายประมาณ 450,000 ล้าน ถ้าเทียบกับเรื่องสำคัญคอขาดบาดตายที่ คปค. เขามอบให้พวกท่านทำคือ คดีทั้งหมดของรัฐบาล ท่านทักษิณ ชินวัตร มันเทียบกันได้ไหม
เรื่องหุ้นของคุณทักษิณและครอบครัวที่มีอยู่ก่อนมาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องยกเรื่องนี้ออก เพราะว่าเรื่องหุ้นเป็นเรื่องที่สามารถพิสูจน์กันได้ บัญชีทรัพย์สินก็อยู่ที่ทาง ป.ป.ช. นั่นแหละ ผมถามว่าคดีที่ถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชั่นรวมๆ กันแล้วมันจะถึงสักแสนล้านไหม มองว่าไม่ถึง ผมเรียนว่าเรื่องที่ผมพูด 450,000 ล้าน ต่างกันลิบ ยังมีประเด็นอื่นอีก ผมยังไม่อยากพูด
ต้องขอขอบคุณดีเอสไอที่ไปล้วงลูกคดีเมื่อ 10 ปีที่แล้วเอามาทำความสะอาด

ณัฐวุฒิ – ก่อนหน้านี้คุณวีระพาเราไปที่ดีเอสไอด้วย ผมเติมข้อมูลนิดเดียว มีคนไทยพยายามไปซื้อกองทุนที่รวมเงินจำนวน 600,000 ล้าน เขาเป็นเจ้าของเดิมของสินทรัพย์ที่ถูกยึดไป ต้องเป็นในราคาที่ต่ำ แต่คนที่เป็นเจ้าของเดิมไม่ได้รับความเป็นธรรม บริษัทที่ซื้อไปก็เอามาขายเก็งกำไรให้กับผู้ที่เป็นเจ้าของเดิม นี่ก็มีปัญหา

จตุพร – ดีเอสไอไม่ใช่เฉพาะอธิบดีคนนี้นะที่ทำ อธิบดีคนที่แล้วก็ทำเรื่องถึง ป.ป.ช. ให้ดำเนินคดีเกี่ยวกับคุณธานินทร์และผู้เกี่ยวข้องอีก 7 คน ในวันที่ 9 เดือนมีนาคม 2550 เพราะถือว่าคดีในลักษณะทำนองเดียวกันเรื่องก็ไปคาอยู่ ผมมองว่าถ้าเรื่องนี้มีคนอย่าง คตส. เรื่องคงไม่คาอยู่มานานร่วม 10 ปี ถ้าใช้วิธีการเดียวกัน คดีนี้ถึงอย่างไรก็ต้องเอาคนผิดมาลงโทษ แม้ว่าคนคนนั้นยังเล่นการเมืองอยู่ หรืออาจจะเลิกเล่นการเมืองไปแล้วก็ตาม

ณัฐวุฒิ – ที่ ป.ป.ช. ไม่ทำอะไรเลย เพราะเขารู้ว่ามาไม่ชอบ เลยจะทิ้งเอาไว้ครับ

จตุพร – คงเป็นเฉพาะอื่นๆ

วีระ – เรื่องนี้ยังไม่จบในเรื่องนี้

วีระ - ความจริงวันนี้อาจจะต้องทำให้ใครบางคนเดือดร้อนกันบ้าง และสิ่งที่เราทำนั้นเป้าหมายคือ สร้างสรรค์ประชาธิปไตย และรับใช้ประชาชน 63 ล้านคน เพื่อทำความจริงให้ปรากฏ มีเรื่องความจริงที่ควรจะต้องพูดจากันอีกมาก

จตุพร - คือมีเรื่องในช่วง 3 วันที่ผ่านมา มี ส.ว. สรรหาคนหนึ่งคือ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ซึ่งก่อนหน้ายื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เรื่องดำเนินรายการ “ชิมไป บ่นไป” ตรวจสอบ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และยังตรวจสอบ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ต่อมาก็คือบริษัท เพื่อนพ้องน้องพี่ นั่นคือพวกเราทุกคน
ซึ่งเราได้แถลงข่าวไปแล้วว่า พวกเรา 2 คน ยกเว้นคุณวีระ ที่ไปลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยได้ลาออกจากบริษัท เพื่อนพ้องน้องพี่ เพื่อจะเข้าไปลงสมัครรับเลือกตั้ง และรับตำแหน่งรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นทุกอย่างพิสูจน์ตรวจสอบกันได้
โดยหลายคนตั้งคำถามว่า นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เป็นใคร ซึ่งผมขอเริ่มต้นเรื่องดังนี้ว่า ในคอลัมน์ “เรียงคนมาเป็นข่าว” ของ “วิหคเหิรฟ้า” ได้เขียนเอาไว้ว่า เป็นหนึ่งในรอยตำหนิของรัฐธรรมนูญ ที่รังเกียจนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง แต่สุดท้ายการรวบอำนาจให้ 7 อรหันต์ ที่สรรหา ส.ว. แทนคนไทยทั่วประเทศ ก็ไม่พ้นพวกใครพวกมัน ไม่เช่นนั้น เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ที่ มองตาก็รู้ใจกับ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา คงไม่ได้เป็น ส.ว.
เรียนท่านผู้ชมนะครับว่า นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เคยเป็นนักเลือกตั้งเหมือนกัน ลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ว. ในปี พ.ศ.2549

วีระ - ทำไมเราไม่เคยรู้จักกันมาก่อน?

จตุพร – ซึ่งในครั้ง นายสมัคร สุนทรเวช พอลงสมัครได้รับคะแนน แต่นายเรืองไกรได้เพียง 2,619 คะแนน

ณัฐวุฒิ - อันนี้เป็นคะแนนของเขตเดียวหรือเปล่า?

จตุพร - อันนี้เป็นของทั้งกรุงเทพฯ ซึ่งคะแนนของอันดับ 1 คือ 240,000 คะแนน เพราะฉะนั้นคะแนนเรียงปรากฏชัดเจนว่า นายเรืองไกรถ้าลงในระบบการเลือกตั้งนั้น คะแนนเพียง 2,619 คะแนน คงพัฒนาเข้าสู่การเลือกตั้งได้ยาก แต่เหตุที่มาเป็น ส.ว. ระบบสรรหานั้น

วีระ - คงมาจากลากตั้งนั่นเอง

จตุพร - ซึ่งรู้ไหมครับว่าใครเป็นผู้ส่งเข้าประกวด นั่นก็คือนิติบุคคลอาคารชุดเซ็นจูเรียนปาร์ค เป็นคอนโดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 200 คน ขณะที่ คุณรสนา โตสิตระกูล กว่าจะได้ ส.ว. รอบนี้ 700,000 คะแนน แต่นี่อะไร เป็นแค่ตัวแทนจากคอนโดแห่งหนึ่ง แต่ว่าเหตุที่ได้จริงและเป็นที่รับรู้กันว่า

วีระ - เข้ามาในฐานะสายไหนครับ เพราะว่า ส.ว. สรรหานั้นมีการแบ่งสายใช่ไหมครับ

จตุพร - ซึ่งเข้ามาในสาย “เอกชน” และรู้สึกว่าจะเป็นที่ปรึกษาผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ซึ่งก็คือคุณหญิงจารุวรรณนั่นเอง ประเด็นต่อมาก็คือว่า ส.ว. นั้นมีการแบ่งสายออกเป็นภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และอื่นๆ
โดยกรรมการสรรหาทั้ง 7 คนนั้น ประกอบไปด้วย 1.ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 2.นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. 3.ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน 4.ประธาน ป.ป.ช. 5.ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลฎีกาซึ่งเลือกในที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา 6.หัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุดซึ่งเลือกในที่ประชุมใหญ่ศาลปกครอง 7.คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ในฐานะผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ทำหน้าแทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตามคำสั่งของ คมช.
คุณหญิงจารุวรรณ เป็นกรรมการสรรหา 1 ใน 7 แล้วมาเลือกเอาคนของตัวเองซึ่งเคยลงรับสมัครรับเลือกตั้งแล้วได้คะแนนเพียง 2,619 คะแนน ขณะที่อับดับ 1 นั้นได้ 250,000 คะแนน ปรากฏว่านายเรืองไกรได้รับการเลือกตั้งสรรหาในแผนกภาคเอกชน จากจำนวน 15 คน
ซึ่งในครั้งนั้นมี ส.ว. ที่มาจากการสรรหาหลายคนน่าสนใจมาก เช่น ภาควิชาการ นายคำนูณ สิทธิสมาน เป็นนักวิชาการอยู่ ASTV นายประสาร มฤคพิทักษ์ เป็นนักฝึกอบรมทางวิชาการ และเป็นนักวิชาการอยู่ในวอร์รูม คมช. และกล่าวอ้างว่ามูลนิธิ 14 ตุลา เป็นผู้เสนอชื่อ
ที่ผมอธิบายความทั้งหมดก็คือว่า ความเป็นตัวตนของ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ก็เหมือนกับ ส.ว. สรรหาคนอื่นๆ ในจำนวน 74 คน ซึ่งวันนี้จะเห็นได้ชัดว่า คนที่มาไล่ต้อนนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ล้วนเกี่ยวข้องกับขบวนการของ คมช. กำหนดมาตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเป็น ส.ว. สรรหา ป.ป.ช. ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ และ กกต. เองก็ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีผู้ว่าการทำหน้าที่แทน ทั้งหมดนั้นล้วนแต่เป็นกระบวนการเดียวกันทั้งสิ้น
ความจริงแล้ว ตัวตนของนายเรืองไกรนั้นยังมีตัวตนที่แท้จริงอีกมากมาย แต่เราจะชี้ความจริงเรื่องเดียวก็คือว่า เลือกที่ปรึกษาฯ เข้ามารับตำแหน่ง โดยที่ตัวเองเป็น 1 ในผู้คัดสรร และนี่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนชัดเจน
ดังนั้น นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ก็เลยได้เป็น ส.ว. สรรหา และสิ่งที่ทำมาตั้งแต่เรื่องการสอบนายกรัฐมนตรี และการสอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จนมาถึงเรา และนี่คือที่มาที่ไปเสร็จสรรพ

ณัฐวุฒิ – แฟนรายการถามผมว่าตอนที่มี ส.ว. คนนี้พยายามที่จะตรวจสอบรายการนี้ และพยายามตรวจสอบทรัพย์สินพวกเรา ซึ่งผมเรียนว่า นายเรืองไกรเชิญหาความสำราญตามสบายนะครับ พวกผมนั้นไม่มีปัญหา แต่ว่าแฟนรายการตั้งคำถามมาว่า นายเรืองไกรต้องเดือดร้อนอะไร ทำไมจู่ๆ ลุกขึ้นมาจะตรวจสอบรายการความจริงวันนี้ให้ได้
ซึ่งในวันนี้คำตอบได้ชัดเจนขึ้นแล้วครับ ซึ่งผมได้ให้สัมภาษณ์ผ่านหนังสือพิมพ์ไปแล้ว โดยตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเพราะรายการ “ความจริงวันนี้” ไปพูดพาดพิงกรณีที่ตั้งข้อสงสัยหลายข้อต่อ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา หรือไม่

จตุพร – เพราะว่าถ้าเป็น ส.ว. ทั่วไป ต้องทำงานตอบแทนประชาชนในเขตเลือกตั้ง เช่น ในกรุงเทพฯ คุณรสนา โตสิตระกูล ต้องทำงานตอบแทนคนกรุงเทพฯ แล้วนายเรืองไกรต้องทำงานตอบแทนใครกัน

วีระ - แต่เรื่องที่น่าสนใจคือตัวลูกพี่ครับ ซึ่งต้องเน้นให้หนัก

ณัฐวุฒิ - ในช่วงเช้าวันที่ 13 สิงหาคม นะครับ ผมได้อ่านข่าวว่า บ้านของคุณหญิงจารุวรรณที่กำลังก่อสร้างอยู่ ซึ่งมีประเด็นข้อสงสัยจากเราหลายข้อเหลือเกิน โดยได้มีมือมืดบุกเข้าไปในยามวิกาล ซึ่งจากการสอบสวนคนเฝ้าบ้านคุณหญิงบอกว่า เวลาประมาณ 02.00 น. ในช่วงเวลาดึกสงัดที่ฝนตกหนักเมื่อคืนนี้ มีกลุ่มคนไม่ต่ำกว่า 4 คน หอบเอาถังน้ำ 20 ลิตร เข้าไปพร้อมกับยางรถยนต์ และจุดไฟเผาทั้งหมด 6 จุดด้วยกัน
ซึ่งได้ปรากฏหลักฐานร่องรอยเอาไว้ โดยในข่าวระบุว่า โชคดีที่เป็นช่วงฝนตกหนัก เพลิงก็เลยไม่ลุกลาม ซึ่งจากข่าวดังกล่าวสร้างความตกอกตกใจให้กับคุณหญิงจารุวรรณเป็นอย่างยิ่ง
ผมเรียนว่า ขอแสดงความเห็นใจ และขอเรียกร้องเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินการตามพยานหลักฐาน จับคนผิดมาดำเนินคดีให้ได้

วีระ – เรื่องนี้คงต้องขอรบกวน พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ซึ่งดูแลเรื่องนี้อยู่ว่า การกระทำเช่นนี้เป็นความต้องการหวังผลในเรื่องอะไร

ณัฐวุฒิ - ซึ่งประเด็นก็คือว่า บ้านหลังนั้นคุณหญิงจารุวรรณยืนยันว่าก่อสร้างด้วยงบประมาณทั้งหมดเดิม 4.4 ล้านบาท แล้วคุณหญิงต่อรองราคาเหลือ 4 ล้านถ้วน ทั้งที่หลายคนประเมิน แม้กระทั่งเว็บไซต์สำนักข่าวหลายสำนัก ประเมินว่า 40-50 ล้าน จุดสำคัญเราต้องการทราบตัวผู้รับเหมาโครงการนี้อยู่ด้วยเหมือนกัน

จตุพร - คือผมเคยประกาศว่า ถ้าสมาคมวิศวกรรมหรือว่าผู้เกี่ยวข้องที่มีความรู้ในเรื่องโครงสร้างสถาปัตยกรรม ถ้าคำนวณแล้วว่าราคาบ้านหลังนี้สร้างเสร็จแล้วราคาเพียงแค่ 4 ล้าน ผมจะเขียนใบลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทันที เพราะว่าบ้าน 1,000 ตารางเมตร 8 ห้อง ถามว่าผู้รับเหมาเวลานี้อยู่ที่ไหน คนจะตามไปจ้าง ชนิดที่เรียกว่าจะมีงานทำตลอดชาติ

ณัฐวุฒิ - ทีนี้นอกจากที่เราตั้งข้อสังเกตในเรื่องมูลค่าการก่อสร้างแล้ว เรายังได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน 3 แปลง โดยแปลงละ 1 ไร่ จริงๆ เป็นที่แปลงเดียวกัน 3 ไร่ แต่ว่ามีผู้ซื้อ 3 คน คือ ลูกชายคุณหญิงจารุวรรณ และน้องสาวทั้ง 2 คนของคุณหญิง และผมมีสำเนาหนังสือสัญญาจัดซื้อจัดขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งอยากจะตั้งคำถามว่าเป็นของจริงหรือไม่
ซึ่งตัวคุณหญิงจะออกมาชี้แจงเอง หรือจะมอบหมายให้คุณเรืองไกร ส.ว. ออกมาชี้แจงก็ได้ โดยจะถามว่าสัญญาจัดซื้อจัดขายฉบับนี้ทำกันเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2549 ก่อนที่จะมีการโอนที่
ใน 2 ใบที่ผมมีนั้น ซึ่งใบหนึ่งทำระหว่างเจ้าของที่ดิน และ คุณบุษบา วรากรวรวุฒิ น้องสาวคุณหญิงจารุวรรณ และอีกใบหนึ่งนั้นทำระหว่างเจ้าของที่ดิน และ คุณอรทัย วรากรวรวุฒิ น้องสาวอีกคนหนึ่งของคุณหญิงจารุวรรณ
โดยเป็นที่น่าแปลกใจว่า หนังสือสัญญาจัดซื้อจัดขายที่ดินของน้องสาวคุณหญิงจารุวรรณทั้ง 2 ท่าน ก็ถือว่าเป็นคนมีงานทำเป็นหลักแหล่งมั่นคงพอสมควร แต่กลับไปทำกันที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซอยอารีย์สัมพันธ์ ซึ่งในสัญญาระบุสถานที่ทำสัญญาไว้อย่างนั้น
เป็นที่น่าแปลกใจว่า ทำไมต้องไปทำสัญญากันที่นั่น และประเด็นต่อมาก็คือว่า เมื่อไปทำสัญญากันที่นั่นปรากฏว่าราคามีการจ่ายเป็นราคาเหมา หมายความว่าจ่ายกันสรุปเบ็ดเสร็จ 1 ไร่ มี 400 ตารางวา จ่ายกันทั้งหมด 2,200,000 บาทถ้วนต่อไร่ หารออกมาก็ประมาณ 5,500 บาทได้ต่อตารางวา ซึ่งตรงนี้นั้นไม่มีปัญหา การซื้อการขายผู้ซื้อผู้ขายพอใจก็น่าจะจบ
เพียงแต่ว่าเราได้เคยเปิดเผยข้อมูลในเรื่องนี้แล้วว่า ข้อมูลอีกฟากหนึ่งเป็นข้อมูลจากเอกสารประกอบการสัมมนา วิเคราะห์ราคาประเมินที่ดินปี 2551 จัดทำโดยกรมธนารักษ์ และศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2551 ระบุว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวมีราคาประเมินถึง 36,000 บาทต่อตารางวา เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปตามราคาประเมินซื้อกันต่อไร่ต้อง 14,000,000 บาทแน่นอน
เรื่องต้องถือว่าเป็นความโชคดีอย่างน่าสงสัย ที่เจอคนใจดีทั้งผู้รับเหมาและผู้ขายที่ดิน ที่ขายให้ถูกกว่าราคาประเมินเช่นนี้ และต้องการจะถามคุณหญิงต่ออีกว่า เวลาน้องสาวและลูกชายของคุณหญิงซื้อที่ดินแปลงนี้ ถึงแม้ว่าจะซื้อมาในราคาที่ระบุในสัญญานี้คือ 5,500 บาทต่อตารางวา แต่เวลาจ่ายภาษีที่ดินจ่ายเท่าไร
เพราะว่าหลักการในการจ่ายต้องจ่ายตามราคาประเมิน หรือราคาที่สูงกว่า ในชั้นนี้ถ้าอ้างอิงราคาประเมินนี้ก็คือ 36,000 บาทต่อตารางวา แต่ถ้าผู้ซื้อไปชำระค่าธรรมเนียมในราคา 5,500 บาทต่อตารางวา เกรงว่าจะมีปัญหาในข้อกฎหมาย
เพราะฉะนั้นจึงหยิบเรื่องนี้มาเป็นคำถามไว้ สำหรับกรมที่ดินช่วยหาคำตอบเรื่องนี้ ที่สุดแล้วเจ้าพนักงานที่ดินประเมินไว้อย่างไร