WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, August 12, 2008

ข้อเท็จจริงและข้อมูลกฎหมายในการต่อสู้คดีที่ดินรัชดาฯ

คดีนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี และเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้นเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีในปัญหาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายดังนี้
ข้อ 1. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มิใช่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ดังนี้

1.1 หลักกฎหมาย “ไม่มีอำนาจกำกับดูแลมากไปกว่าที่กฎหมายกำหนด หากกฎหมายไม่กำหนดให้มีอำนาจย่อมไม่มีอำนาจ” หมายความว่า เมื่อกฎหมายไม่บัญญัติให้อำนาจ ย่อมไม่มีอำนาจ พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 ไม่มีบทบัญญัติในมาตราใดให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจ กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ

1.2 หลักการปกครองในระบบรัฐสภา ถือหักการบริหารกิจการของรัฐในรูปของ “คณะบุคคล” ในที่นี้แก่ “คณะรัฐมนตรี” ตามหลักการของรัฐธรรมนูญ “คณะรัฐมนตรี เป็นผู้มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน”

1.3 หลักการ “การบริหารราชการแผ่นดิน” หมายถึง “การจัดส่วนของราชการ รวมทั้งการจัดระเบียบวิธีการปฏิบัติราชสาร อำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”

กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มิใช่องค์กรของรัฐภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องการจัดส่วนราชการ รวมทั้งการจัดระเบียบวิธีการปฏิบัติราชการ หากแต่เป็นองค์กรของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการเป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะและกฎหมายพิเศษ คือ พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 ซึ่งได้บัญญัติถึงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งไว้ต่างหากจากการบริหารราชการดังกล่าวข้างต้น เพราะมีการกำหนดระเบียบ ข้อบังคับ วัตถุประสงค์ ในการดำเนินการไว้ต่างหากจากการบริหารราชการ ไม่ว่าจะเป็นในแง่บุคคลาการที่เข้าสู่ตำแหน่ง ในแง่ทางการเงิน ในแง่วัสดุ และในแง่กิจกรรมของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นเรื่องต่างหากจากการบริหารราชการ การจัดการส่วนราชการและการจัดระเบียบวิธีการปฏิบัติราชการทั้งสิ้น

การจัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้ฟูฯ เมื่อตรวจสอบในด้าน “วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ” เป็นองค์กรของรัฐตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 มาตรา 29 อัฏฐ พบว่า มีวัตถุประสงค์ตามกฎหมายที่จัดตั้ง “ไม่ใช่การบริหารราชการแผ่นดิน” เมื่อไม่ใช่องค์กรของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ในเรื่อง “การบริหารราชการแผ่นดิน” ประกอบกับเมื่อพิจารณาในแง่ “เงินเดือนและเงินอื่นๆ” ของ “ลูกจ้างและพนักงาน” ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ใช้งบประมาณของกองทุนเพื้อการฟื้นฟูฯ เอง มิใช่จากเงินคัดสรรงบประมาณของ “สำนักงบประมาณ” ที่อยู่ภายใต้การกำกับ ควบคุม ดูแล ของกระทรวงการคลังตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 มาตรา 6 และมาตรา 10 เหมือนเจ้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล

ดังนั้น พนักงานของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จึง “มิใช่พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐบาล” ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) จากสิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 11 มาใช้บังคับกับคดีนี้เพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรีมีอำนาจ กำกับ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้

1.4 “หลักการทางฝ่ายปกครอง” นายกรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ “ในฐานะฝ่ายปกครอง” ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพราะหน้าที่ในฐานะฝ่ายปกครองต้องเป็นหน้าที่ปฏิบัติกิจการที่เป็น “ปกติธุระ” ตามพระราชบัญญัติธนาราคแห่งประเทสไทย พ.ศง 2485 มาตรา 29 เตรส ซึ่งบัญญัติอำนาจหน้าที่ไว้เป็นการเฉพาะ และเป็นกรณีพิเศษตามกฎหมายที่จัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งอำนาจหน้าที่นี้ได้บัญญัติไว้ชัดเจนให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ “คณะกรรมการจัดการองทุน” หากให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจกำกับในฐานะฝ่ายปกครองของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ แล้ว จะทำให้มีอำนาจ “ซ้ำซ้อน” กับคณะกรรมการจัดการกองทุน

ข้อ 2. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นองค์กรของรัฐใน “ภาคนโยบายการเงิน” ที่แยกต่างหากจากองค์กรของรัฐ หรือแยกจากการกำกับ ควบคุม ดูแล ของนายกรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจกำกับควบคุมดูแลใน “ภาคนโยบายคลัง”

ในเศรษฐศาสตร์มหภาคของทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ได้แบ่งแยกองค์กรของรัฐที่กำกับ ควบคุม ดูแล ภาค “นโยบายการเงิน” (Money Policy) แยกเป็นอิสระต่างหากจากองค์กรของรัฐที่กำกับ ควบคุม ดูแล”ภาคนโยบายการคลัง” (Fiscal Policy)

ธนาคารแห่งประเทศไทยและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงืนเป็นองค์กรของรัฐที่กำกับ ควบคุม ดูแล ในภาคนโยบายการเงินซึ่งเป็นอิสระจากการกำกับ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ ของนายกรัฐมนตรี

แม้คณะกรรมการกฤษฎีกาจะได้เคยวินิจฉัยว่า กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติการงบประมาณ พ.ศ.2502 ก็ตาม แต่ยังไม่มีความชัดแจ้งเพราะ “กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มิได้นำกฎหมายเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจมาบังคับใช้และกระทรวงการคลังยังมิได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2523” และเมื่อตรวจสอบข้อมูลจาก “สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ” (สตง) ที่อยู่ในกำกับของกระทรวงการคลัง ที่มีอำนาจ กำกับ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ รัฐวิสาหกิจของประเทศไทย พบว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ มิได้มีกฎหมายกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทบและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ

ข้อ 3. ธนาคารแห่งประเทศไทยและกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นนิติบุคคล เกิดจาก “การตัดตั้งองค์กรของรัฐในรูปแบบที่สาม” ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการและมิใช่รัฐวิสาหกิจจัดตั้งโดยการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การขึ้นเป็นการเฉพาะราย ตามความจำเป็นของภารกิจ เมื่อกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มิใช่องค์กรของรัฐที่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจแล้ว กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงืนจึงไม่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 เช่นเดียวกับองค์การในลักษณะเดียวกัน คือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ องค์การทหารผ่านศึก และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ข้อ 4. แม้จะอ้างว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นรัฐวิสาหกิจ แต่นายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจกำกับ ดูแล รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย จะต้องมีกฎหมายที่จัดตั้งกำหนดไว้เป็นพิเศษ และเป็นบทบัญญัติในกฎหมายเฉพาะเท่านั้น เพราะเป็น “หลักการของการกระจายอำนาจ” ที่ต้องการให้พ้นจากการเป็น “ส่วนราชการ” ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2544 และไม่เป็นส่วนราชการตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502

นายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจจะต้องมีกฎหมายที่จัดตั้งรัฐวิสาหกิจกำหนดไว้เป็นพิเศษ และเป็นบทบัญญัติในกฎหมายเฉพาะเท่านั้นที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีมีอำนาจกำกับ ควบคุม ดูแล รัฐวิสาหกิจนั้นๆ ไว้เป็นการชัดแจ้ง อาทิเช่นพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 มาตรา 5 และมาตรา 31 พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มาตรา 15-17 พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2528 มาตรา 45-47 พระราชกฤษฎีกาองค์การสวนพฤษศาสตร์ พ.ศ.2535 มาตรา 11 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ.2535 มาตรา 26-28 เป็นไปตามหลักกฎหมายที่ว่า “ไม่มีอำนาจกำกับดูแลมากไปกว่าที่กฎหมายกำหนด”

ข้อ 5.การกำกับ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีที่จะถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2542 มาตรา 100 ต้องเป็นงานในอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ หมายถึง “เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในฐานะเป็นฝ่ายปกครอง เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติกิจการที่เป็นปกติธุระ กล่าวคือ มีอำนาจหน้าที่กำกับ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีในกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน อย่างเป็นปกติธุระประจำตามที่กฎหมายบัญญัติ” นายกรัฐมนตรีมิใช่ฝ่ายปกครองโดยตรงของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติกิจการที่เป็นปกติธุระ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ

คณะกรรมการจัดการกองทุนจะวางนโยบายและควบคุมและโดยทั่วไปซึ่งคือการทำงานของกองทุนและออกข้อบังคับเพื่อปฏิบัติการให้เป็นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ คณะกรรมการจัดการกองทุนสามารถดำเนินการได้เองโดยมิต้องขออนุมัติหรือขอความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี การขายที่ดินเป็นปัญหาในคดีที่คณะกรรมการการจัดการกองทุนสามารถดำเนินการได้โดยลำพัง ไม่มีบทบัญญัติหรือข้อบังคับที่ต้องให้ขออนุมัติ ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่อย่างใด

ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่องกำหนดตำแหน่งหน้าที่เจ้าหน้าที่ของรัฐี่ต้องห้ามมิให้ดำเนินการตามความในมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัยและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 บทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดมีอำนาจในการกำกับดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีสำหรับหน่วยงานใด เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นย่อมต้องห้ามมิให้เป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้ในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานนั้น

ข้อ 6 “เจตนารมณ์ของกฎหมายพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ 2542 มาตรา 100 (1) เป็นการบัญญัติ “แบบมีเงื่อนไข” ว่าหมายถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐมนหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจกำกับ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ เท่านั้น เพราะเป็น “กฎหมายจำกัดสิทธิ” มีหน้าที่สำคัญที่ควรนำมาตรวจสอบคือ หลักฐานจากรายงานการประชุมวุฒิสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติ ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2542 ในหน้าที่ 55 และสามารถเปรียบเทียบได้กับมาตรา 100 (3) ที่บัญญัติไว้แบบไม่มีเงื่อนไข

ข้อ 7. นายกรัฐมนตรีไม่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
การจะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาต้องเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายนั้นๆ บัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง อาทิเช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ 2542 มาตรา 31 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ 2542 มาตรา 12 ฯลฯ กรณีคดีนี้ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายให้นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

ข้อ8 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัมนาระบบสถาบันการเงิน มีอำนาจหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ในการประกาศขายที่ดิน ทำสัญญาซื้อขายที่ดิน ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินโดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ เปรียบเทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 4655/2533 ระหว่าง นางลาวัณย์ ดิลคณารักษ์ โจทก์ กระทรวงการคลังกับพวก จำเลย วินิจฉัยไว้ว่า “กองทุนเพื่อการพื้นฟูฯ เป็นนิติบุคคลต่างหากจากกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ ตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมายภายในของวัตถุประสงค์ของตน” และแม้จะอ้างว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่จะนำเอาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบรามการทุจริต พ.ศ 2542 หมวด 9 ว่าด้วยการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลปละประโยชน์ส่วนรวมตามมาตรา 100 (1) มาบังคับใช้ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติในมาตรา 100 (1) มิได้บัญญัติหน่วยงานของรัฐประเภท “รัฐวิสหกิจ” ไว้เช่นกันกับบทบัญญัติในมาตรา 100 (3) และสัญญาซื้อขายระหว่าง คุณหญิงพจมาน ชินวัตร กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มิใช่ “สัญญาสัมปทาน”

ข้อ 9. สัญญาซื้อขายที่ดินที่จัดให้มี “การประกวดราคา” ไม่เป็นเรื่องประโยชน์ส่วนบุคคลขัดแย่งกับประโยชน์ส่วนรวม มิได้ลิดรอนผลประโยชน์ของประชาชน ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมประมูลในการประกวดราคาตามประกาศของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้

การกระทำของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ผู้ขายและ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ผู้ซื้อ กระทำโดยสุจริต เปิดเผย มีการแข่งขันราคาโดยชอบด้วยกฎหมาย มีการศึกษา และตรวจสอบแล้วว่า ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ต้องห้ามในการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน

การจำหน่ายที่ดินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นไปตามหลักเกณฑ์การประมูลขายที่ดินและการขายที่ดินเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และเป็นไปตามข้อบังคับและเป็นไปตามมติของคณะกรรมการจัดการกองทุน ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 มาตรา 29 เตรส

ข้อ 10. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไม่ได้รับความเสียหายจากการจำหน่ายที่ดินแปลงพิพาทแต่ได้รับประโยชน์จากการจำหน่ายที่ดิน คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นผู้เสนอราคาสูงสุด เดิมราคาที่ดินที่แท้จริงที่ บริษัท เอราวัณทรัสต์ ซื้อมาเพียงราคา 103 ล้านบาท หากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ไม่จำหน่ายที่ดินต้องมีภาระดอกเบี้ยปีละประมาณ 35 ล้านบาท

การที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ปรับลดราคาที่ดิน และออกหลักเกณฑ์การขาย การประกาศประกวดราคาที่ดิน ราคาที่ดินอนุมัติขาย รวมทั้ง ข้อกำหนดในการส่งมอบที่ดิน กระบวนการ ต้งแต่การประกาศขายจนกระทั่งมีการทำสัญญาซื้อขายทิ่ดนทุกขั้นตอนเป็นไปโดยเปิดเผยสามารถตราจสอบได้ เพราะในเรื่องดังกล่าวกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ทำ รายงานการขายที่ดินถึงสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้เข้าทำการตรวจสอบบัญชีและงบการเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เสร็จสิ้นแล้ว มิได้มีข้อสังเกตหรือมีข้อทักท้วงในรายงานการตรวจสอบบัญชีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินว่า การปรับลดราคาที่ดินและการขายที่ดินในครั้งนี้ ทำให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เสียหาย และการปรับลดราคาที่ดินและการขายที่ดินเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการกองทุน

สำหรับที่มีการกล่าวว่าภายหลัง คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซื้อที่ดิน มีการยกเลิกข้อจำกัดเรื่องความสูงในการก่อสร้างอาการ มีข้อเท็จจริงดังนี้
(1.) ข้อกำหนดตามกฎหมายผังเมืองใหม่ (พ.ศ.2549) ที่ดินที่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซื้อ
มาอยู่ “ประเภท ย 6 “ ซึ่ง “ห้ามสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ” (อาคารที่มีพื้นที่ตั้ง 10,000 ตามรางเมตรขึ้นไป)
(2.) ข้อกำหนดการยกเลิกข้อจำกัดความสูงในการก่อสร้างอาคาร เป็นกรณีที่อาคาร

สำนักงานหรืออาคารประกอบพาณิชยกรรมจะสร้างอาคารสูงประเภทดังกล่าวไม่ได้ เพราะที่ดินที่ประมูลได้มีเขตทางไม่ถึง 30 เมตร (ถนนเทียมร่วมมิตร มีเขตทางเพียง 17-20 เมตรเท่านั้น ตามหนังสือสำนักงานเขตห้วยขวางที่ กท04803/6436 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2550 ) และที่ดินดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายในระยะ 500 เมตรจากศูนย์กลางสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

จากข้อกำหนดที่ (1) และ (2) ข้างต้น สรุปได้ว่าการยกเลิกข้อจำกัดความสูงในการก่อสร้างอาคารไม่ได้ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น เพราะแม้จะให้สร้างอาคารสูงได้ แต่ข้อกำหนดเรื่องอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินตามกฎหมายผังเมืองใหม่ (พ.ศ.2549) กำหนดไว้ไม่เกิน 45 : 1 (ตามกฎหมายผังเมืองใหม่ข้อ 17 (21) ใน (1) ย่อย กล่าวคือ ที่ดิน 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) สามารถสร้างอาคารได้เพียง 7,200 ตารางเมตรเท่านั้น) ซึ่งข้อกำหนดนี้เดิมกฎหมายผังเมืองใหม่ไม่ได้ดำหนดไว้ แต่ใช้กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 หมวดที่ 1 ข้อ 5 กำหนดไว้ที่อัตราส่วนไม่เกิน 10 : 1 กล่าวคือ ที่ดิน 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) สามารถสร้างอาคารได้ 15,000 ตารางเมตร จะเห็นว่าพื้นที่อาคารได้หายไปกว่าครึ่ง

ดังนั้นผังเมืองใหม่ดังกล่าวจึงไม่ได้เอื้อประโยชน์ (ทำให้ราคาสูงขึ้น ให้แก่ที่ดินที่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซื้อแต่อย่างใด แต่ในทางตรงกันข้ามผังเมืองใหม่ดังกล่าวกลับทำให้ราคาที่ดินที่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ซื้อ มีมูลค่าที่ดินลดลง เพราะไม่สามารถสร้างอาคารให้ได้พื้นที่ใช้สอย เท่ากับกฎหมายเดิมตามที่กล่าวมาข้างต้น (ลดลงกว่าครึ่ง)

การจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร จะดำเนินการจัดทำใหม่ทุก 5 ปี ตามพระราชบัญญัติผังเมืองมาตรา 26 ถ้าไม่ทันให้ขยายเวลาการใช้บังคับกฎกระทรวงตามผังรวมเดิมได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี ตามมาตรา 26 วรรคห้า และกระบวนการในการจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร มีขั้นตอนมากมายเช่นต้องผ่าน “คณะกรรมการผังเมือง” ซึ่งตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง (พ.ศ.2518) กำหนดให้ข้าราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการแล้วยังมีผู้ทรงคุณวุฒิทางการผังเมืองหรือสาขาวิชากที่เกี่ยววข้องโดยตรงกับการผังเมืองไม่เกิน 7 คน และผุ้แทนสถาบันองค์กรอิสระและบุคคลอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกับการผังเมืองไม่เกิน 7 คน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาเป็นกรรมการด้วย
นอกจากนี้คณะกรรมการผังเมืองยังมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามความเหมาะสมขึ้นมาพิจารณาดำเนินการได้อีก ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติผังเมือง (พ.ศ.2518) ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน คณะกรรมการร่างกฎหมายกระทรวงมหาดไทย และคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการกฤษฎีกา จะเห็นว่าการจัดผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร จะต้องผ่านขั้นตอนและการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนสถาบันองค์กรอิสระมากมาย และที่สำคัญคือมีการผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การจัดกำหนดผังเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่งจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะนากยรัฐมนตรีในขณะนั้น ไม่ได้กำกับ ควบคุม ดูแลกรุงเทพมหานคร และมีข้อเท็จจริงที่สังคมทราบโดยทั่วไปว่า ในขณะนั้น “กรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครเป็นสมาชิก และผู้บริหารพรรคการเมืองที่เป็นคู่แข่งและเป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองกับพรรคการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะให้อำนาจหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีไปแทรกแซง สั่งการใดๆ ให้กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจากพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับพรรคการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำยอมต้องยกเลิกข้อบังคับเรื่องอาคารสูง เพื่อให้เป็นประโยชน์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ทำให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น