WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 9, 2009

สื่อไทยพยายามโหมกระแสกันใหญ่ว่า กลุ่มเสื้อแดงเสื่อม ทักษิณเสื่อม กล่อมกันใหญ่

ที่มา thaifreenews
บทความโดย..ลูกชาวนาไทย

ผมไม่ค่อยติดตามสื่อไทยมากมายนัก เพราะในฐานะนักเขียนคอลัมน์เหมือนกัน แม้จะเขียนผ่านอินเตอร์เน็ต ผมได้พบความจริงข้อหนึ่งว่า "สื่อก็ไม่ได้รู้มากกว่าเรา" ข้อมูลข่าวสารทั้งหลายไม่ได้มาจากอากาศ แต่มาจากคนรอบๆ ตัว สื่อที่อ่าน สังคมรอบข้าง รวมทั้ง "ทัศนะคติและค่านิยม" ส่วนตัว ดังนั้น สังคมของคอลัมนิสต์คนนั้นเป็นอย่างไร เขาก็มีข่าวาสารแค่นั้นแหละ ส่วน "ความเห็นของเขา" เป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับ "ความรู้และทฤษฎีที่เขาศึกษามา"

คอลัมนิสต์ ทั้งหลายส่วนใหญ่จบ นิเทศศาสตร์ ดังนั้น ความรู้เรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคมวิทยา ย่อมไม่ลึกซึ้งอะไร ความเห็นของคอลัมนิสต์ต่างๆ ผมจึงไม่ค่อยให้ความสำคัญมากเท่าใดแล้ว พวกเขาได้เปรียบชาวบ้านตรงได้คุยกับคนในสังคมการเมืองมากกว่าเท่านั้น

แต่วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา 3 ปีนี้ ทำให้ผมเรียนรู้ที่สำคัญอย่างหนึ่งว่า "ข้อมูลวงใน" ไม่ได้สำคัญอะไรมากนัก เพราะข้อมูลวงในบอกได้แค่ว่า "ใครอยากทำอะไรที่ไหน เมื่อไหร่ หรือคิดอะไร" เท่านั้น ซึ่งคนอื่นๆ สถานการณ์ สภาพสังคมแวดล้อม กลายเป็นข้อจำกัดว่าใคร "อยากทำอะไร" มันก็ไม่มีทางเป็นไปได้อย่างนั้นแล้ว ผมเรียนรู้อย่างหนึ่งว่า "ข้อสมมุติฐาน" ทางทฤษฎี กับ ปรากฏการณ์ หรือ Event ที่เกิดขึ้นนั้น สำคัญที่สุด

จะวิเคราะห์การเมืองได้อย่างถูกต้อง "ข้อสมมุติฐาน" ต้องมาก่อน เหมือน "การทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์” ทั้งหลาย สมมุติฐานอาจได้มาจากทฤษฎีทางการเมือง สังคมวิทยาต่างๆ แล้วใช้ "ปรากฏการณ์ หรือ Event" ตรวจสอบ หากสอดคล้องกัน แนวคิดเราก็มีความเป็นไปได้สูง

ตอนนี้สื่อทั้งหลายกำลังพยายามสร้างกระแสว่า ทักษิณแย่แล้ว เสื่อมอิทธิพลลงแล้ว ไม่ว่าอ่านค่ายไหนก็เป็นอย่างนี้ทั้งนั้น มันเหมือนกับการ "พยายามสร้างกระแส" อย่างไรอย่างนั้น

ซึ่งความเห็นของสื่อทุกค่าย สวนทางกับข้อสมมุติฐานของผม หรือปรากฏการณ์ทางการเมืองต่างๆ แทบทั้งสิ้น

การสร้างกระแสแบบนี้ ทำให้คนพวกนี้พลาดมาแล้วมากหมาย ก่อนวันที่ 28 ธันวาคม 2551 ก่อนที่มาร์กจะแถลงนโยบาย คนพวกนี้ก็เชื่อว่า เสื้อแดงหมดพลังแล้ว หมดน้ำยาแล้ว เพราะกลุ่มเนวินไปเข้าข้างรัฐบาลแล้ว แต่พอวันที่ 28 ธันวาคม ปรากฏว่าคนเสื้อแดงออกมาอย่างมากมาย จนนายอภิสิทธิ์ต้องหนีไปแถลงนโยบายที่กระทรวงการต่างประเทศ จนพวกเขาประเมินไม่ได้ว่าคนเสื้อแดงออกมามากได้อย่างไร

ที่จริงพวกสื่อทั้งหลาย ไม่ได้รู้ตัวหรือมีสำนึกเลยว่า วิกฤตการณ์ทางการเมืองสามปีมานี้ สื่อได้เสื่อมไปจนหมดสิ้นแล้ว และสื่อไม่สามารถชี้นำหรือชักจูงสังคมได้อีกต่อไปแล้ว เมื่อสื่อเลือกข้าง “สื่อจึงไม่ได้อยู่ใกล้ชิด” กับกระแสการเปลี่ยนแปลง หรือเข้าใจการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เมื่อสื่อเข้าข้างอำมาตย์ สื่อก็ไม่มีทางรู้แนวคิด การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง จนไม่สามารถจับกระแสได้ว่า คนเสื้อแดงมาจากไหนมากมาย

สื่อพวกนี้ยังตั้งทฤษฎีเดิมๆ ว่า “ทักษิณคือต้นเหตุของปัญหาทั้งหลาย” ทั้งๆ ที่สถานการณ์ตอนนี้ ประชาชนก้าวพ้น “ทักษิณไปแทบหมดสิ้นแล้ว การต่อสู้ถูกยกระดับขึ้นไปสู่การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ความยุติธรรมและไม่ต้องการการแทรกแซงทางการเมือง รวมทั้งเรื่องชนชั้นแล้ว

เมื่อตั้งสมมุติฐานผิด การคาดการณ์ การวิเคราะห์ของสื่อก็ไร้ความหมายอย่างสิ้นเชิง การไปพยายามสร้างกระแสว่าทักษิณกำลังเสื่อม การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงไม่มีความหมายแล้ว หมดพลังไปแล้ว แล้วพยายามใช้กลยุทธ์ทางการเมืองเดิมๆ คือสร้างกระแสป้ายสีม็อบ ที่ขวางไข่ ผมว่ามันหมดความหมายอย่างสิ้นเชิงแล้ว

การต่อสู้ยกระดับขึ้นไปเป็นการต่อสู้ทางชนชั้น การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ รวมทั้งพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนเปลี่ยนไป คนเลือกเป็นพรรค และผู้เลือกตั้งต้องการรัฐสวัสดิการ ดังนั้น การไปวิเคราะห์แบบเดิมว่ากลุ่มเนวิน จะสร้างพรรคขนาดกลางขึ้น มันคือการนำเอา “ความรู้ประสบการณ์” ทางการเมืองก่อนปี 2540 เข้ามาประเมินสภาพการเมือง ยุคปี 2550 ยุคที่อินเตอร์เน็ตได้กลายเป็น “ช่องทางหนึ่ง” เสริมช่องทางต่างๆ ของการ “รับรู้ของประชาชน” ที่มีมากอยู่แล้ว ให้กระจายมากขึ้น ประชาชนสามารถแลกเปลี่ยนความเห็นผ่าน “เว็บไซต์” และ “โทรศัพท์มือถือที่มีครอบคลุม” มากขึ้น

ช่องทางการสื่อสารของสังคมไม่ได้จำกัดแบบยุคก่อนปี 2540 จำนวนโทรศัพท์พื้นฐาน + โทรศัพท์มือถือ ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารรวดเร็วขึ้น และเสริมด้วย “อินเตอร์เน็ต” ทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง คนพวกนี้ยังคิดว่าสังคมไทย ยังคงเหมือนก่อนยุคปี 2540 ที่ “การโฆษณาชวนเชื่อ” มอมเมาประชาชน ผ่านสื่อ ผ่านโทรทัศน์ ยังจะได้ผลอยู่อีก

สุดท้ายคนพวกนี้ยังไม่เข้าใจว่า สังคมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ทำไมพวกเขาแพ้ ทำไมพวกเขาทำให้การต่อสู้ “ยกระดับขึ้นไป” จากการไล่ถล่มทักษิณ กลายเป็นการต่อสู้ทางชนชั้น และทำลายล้างการครอบงำสังคมที่เป็นมากว่าครึ่งศตวรรษ

ทำไม บารมีพวกเขาถึงเสื่อมลง พวกเขายังมึนงงและไม่รู้ตัวอีก