WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, January 8, 2009

การเมืองหางแดง...!!

ที่มา ประชาทรรศน์

คอลัมน์ : ตะแกรงข่าว

โดย อัฐศิริ


คงมั่นใจว่าสามารถเอารัฐบาลประชาธิปัตย์ได้อยู่หมัด กลุ่มพันธมารจึงเปิดเกมรุกเดินหน้าระบอบ “การเมืองใหม่” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สุมหัวกันคิดเอาไว้

การที่ “ปีศาจคาบไปป์” ออกมาพูดอย่างมั่นใจต่อหน้าสาวก “ม็อบโกเต๊กซ์” ถึง “การเมืองใหม่” โดยระบุว่า
ต้องมีการรื้อโครงสร้างการปกครองส่วนท้องถิ่นและยุบเลิก อบต.
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาติดๆ คือ การออกมาคัดค้านของ “คนท้องถิ่น”

ต้องถือเป็นความถูกต้องชอบธรรมด้วยประการทั้งปวง ในการพิทักษ์รักษาศักดิ์ศรีเกียรติยศ ที่ประชาชนมอบมาให้ จากการยอมรับจากประชาชนในท้องถิ่น
โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ที่มีการพูดกันก่อนหน้านี้ว่า “การเมืองใหม่”จะมา ล้มล้างทำลายประชาธิปไตย ก็เป็นความจริงขึ้นมาแล้วครับ
ในที่สุดหางแดงๆ ที่พยายามขมวดซ่อนเอาไว้ ได้โผล่มาให้เห็นจนได้

ขั้นต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของ “กลุ่มพันธมาร” และซากเดนเผด็จการ ผู้สูญเสียผลกระโยชน์ สูญเสียอำนาจ ต้องจับตาดูว่าจะมีคนที่ทำงานรับใช้เผด็จการ จะมามีตำแหน่งแห่งที่ มากน้อยแค่ไหน

จับตาดูว่า สมุนเผด็จการ จะได้รับบำเหน็จรางวัลเป็นการต่างตอบแทนหรือไม่อย่างไร หลังจากที่ได้รับใช้เผด็จการมาอย่างซื่อสัตย์ ชนิดยอมพลีกายถวายชีวิตให้ ประเภทจุดปุ๊บติดปั๊บ จนบรรลุในสิ่งที่ต้องการไปแล้ว แม้จะสร้างความบอบช้ำเสียหายให้กับประเทศชาติไว้อย่างมากมายมหาศาลทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจก็ตาม
ในการพัฒนาประเทศนั้น ต้องยอมรับว่า “ท้องถิ่น” เป็นองค์กรที่มีความสำคัญที่สุด สำหรับเป็นรากฐานของสังคมไทย

ท้องถิ่นเป็นฐานที่บ่งบอกความเป็นไทย ทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ
แทนที่ “กลุ่มพันธมาร” จะให้ความสำคัญ ด้วยการสร้างท้องถิ่นให้แข็งแกร่ง กลับมาคิดทำลายลบล้างการปกครองในระดับท้องถิ่น

วันนี้ “คนท้องถิ่น” มีความรู้ความสามารถ เป็นที่ยอมรับของสังคม เพราะฉะนั้นนี่คือปัญหา เป็นขวากหนามสำคัญในการสืบทอดอำนาจเผด็จการ
เพราะหากประชาชนมีความเข้มแข็ง จะรู้เท่าทันและออกมาขัดขวาง

ฉะนั้นจึงต้องทำลายท้องถิ่น ที่เป็นฐานของประชาธิปไตยลงไปให้ได้

ซึ่งเป็นการทำลายปรัชญาดั้งเดิมที่ว่า แต่ละท้องถิ่นมีวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์รวมถึงปัจจัยต่างๆ ซึ่งประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นจะเป็นผู้ทราบถึงปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นมากที่สุด

เพราะ “ท้องถิ่น” มีขุมทรัพย์ที่ประเมินค่ามิได้อยู่มากมาย อาทิ ขุมทรัพย์ทางธรรมชาติ ขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ขุมทรัพย์ทางสังคม วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม การศึกษา สาธารณสุข ขุมทรัพย์ทางโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงขุมทรัพย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา

องค์กรปกครองท้องถิ่นเท่านั้น ที่จะสามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ

ในขณะเดียวกันก็เป็นการบังคับให้ผู้ที่เสนอตัวและได้รับเลือกเข้ามาทำงาน ต้องเคารพต่อนโยบายของตนที่ประกาศให้ประชาชนได้รับทราบ เพราะฉะนั้นการทำอะไรจึงต้องพิจารณาในแง่ของเจตนารมณ์หรือเป้าหมายในการทำงาน มากกว่าระเบียบหรือสิ่งที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติ ขณะเดียวกันก็มีกลไกตรวจสอบจากประชาชน

เท่ากับให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนตั้งแต่การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนามาจนถึงการตรวจสอบ
ที่สำคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้กล่าวถึงทิศทางในการกระจายอำนาจไว้ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 กำหนดให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเอง และตัดสินใจในกิจกรรมของท้องถิ่นได้เอง

หมวด 9 ด้านการปกครองท้องถิ่น มาตรา 282-290 กำหนดให้รัฐต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักการปกครองตนเอง ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ย่อมมีอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง
โดยรัฐบาลเป็นผู้กำกับดูแลเท่าที่จำเป็นภัยในกรอบของกฎหมาย
การดำเนินการกระจายอำนาจได้ฉายภาพออกมาอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อมีการออกกฎหมายที่สำคัญคือ

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2542 โดยมีมาตราที่สำคัญคือ
มาตรา 6 กำหนดให้คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

นั่นหมายความว่า การกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นมาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ผ่านการพิจารณาจากผู้รู้อย่างรอบคอบ

ที่อ้างกันว่าจะเป็นแหล่งทำมาหากินของคนบางกลุ่มบางพวกนั้น มีการตรวจสอบโดย สตง. ที่ผ่านมามีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง บทบาทของ สตง. ต่อการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันในขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งเพื่อเป็นการรับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งไม่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส และสามารถรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ใช้บริการสาธารณะได้มากขึ้น เพื่อที่ประชาชนจะได้รับบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ มาตรฐานที่ดีขึ้นต่อไป

การกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่นในวันนี้มาไกลมากแล้ว มีการถ่ายโอนภารกิจเรื่องของการศึกษา สาธารณสุข การเงินการคลัง การถ่ายโอนบุคลากร

เดินมาไกลเกินว่าจะมาล้มเลิกล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน ที่ให้สิทธิให้เสียงกับประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง

ต้องยอมรับความจริงกันบ้าง อย่าให้แผ่นดินต้องลุกเป็นไฟ