ที่มา เดลินิวส์
พลันปรากฏว่าจะมีการแต่งตั้ง “นาม ยิ้มแย้ม” อดีตประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือ คตส.
ก็เริ่มมีความ “สับสน” อย่างน้อยจาก 3 ผู้เกี่ยวข้องโดยตรง
คนแรกคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่า “ยังไม่มี ผมสอบถาม ไปแล้วก็ยังไม่มีเรื่องดังกล่าว และถ้าเป็นเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการการเมืองก็ต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ซึ่งยังไม่มีการส่งเรื่องมาเลย”
คนที่ 2 คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ “ผู้จัด การรัฐบาล” ให้ความเห็นว่า “ขอเรียนว่าเป็นเพียงแค่ข่าวโคมลอย ส่วนข้อเท็จจริง คือยังไม่มีการเสนอชื่อผู้หนึ่งผู้ใดเป็นที่ปรึกษาหรือเลขานุ การรัฐมนตรี” และคนที่ 3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ชื่อว่า นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ให้สัมภาษณ์ว่า “ยอมรับว่าได้โทรศัพท์ ทาบทามนายนามมาเป็นคณะทำงาน ไม่ใช่ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรี และที่ยืนยันยังไม่ได้คุยกับนายสุเทพในเรื่องดังกล่าว”
ที่ขณะที่เจ้าตัวคือ นายนาม ให้สัมภาษณ์ว่า “นายพีระพันธุ์ ได้ประสานมาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยตนได้รับปากไปแล้วว่าไม่ขัดข้อง และพร้อมจะร่วมมือทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้ตราบใดที่ยังมีเรี่ยวแรงคล่อง แคล่วอยู่ และเห็นว่าตำแหน่งดังกล่าวเป็นตำแหน่งที่สำคัญในการทำงาน เพื่อประเทศชาติ”
ความจริงก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะเมื่อดูประวัติจะพบว่า นายนามก็เหมาะสมที่จะทำหน้าที่ “ที่ปรึกษา” มีประวัติการทำงานทางกฎหมาย
คดี “ยุบพรรค” ไทยรักไทย ก็มีนายนามเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะประธานอนุกรรมการ ของ กกต.
คตส. ที่ตรวจสอบโครงการทุจริต สารพัด ก็มีนายนามเป็นประธาน หรือแม้แต่คดี “รถดับเพลิง” ที่มีคนของพรรคประชาธิปัตย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ก็มีนายนามทำหน้าที่เป็นประธานคณะอนุกรรมการสอบสวน
แต่ในสถานการณ์ที่ไม่ “ปกติ” ควรหรือไม่ควรที่ทำการแต่งตั้งในลักษณะ “พวกเอ็งพวกข้า”
ไม่มีใครปฏิเสธความเป็นมือกฎหมาย ชั้น “ครู” ของนายนาม แต่สิ่งที่รัฐบาลประชาธิ ปัตย์ ซึ่งประกาศว่าจะ “เลิกแบ่งสี แบ่งข้าง” ต้องตอบให้ได้
ถ้าไม่ใช่นาย “นาม” จะมีใครที่เหมาะสมและอธิบาย “สังคม” ได้ทั้ง 2 ฝ่ายหรือไม่
ในทางความเป็นจริง รัฐมนตรี 1 คนจะแต่งตั้งที่ปรึกษาและเลขานุการรัฐมนตรีได้ตำแหน่งละ 1 คน แต่สามารถแต่งตั้ง “คณะที่ปรึกษา” แบบไม่กินเงินเดือนหลวงได้อีก
หากต้องการ “ความสามารถ” อยู่ตรงไหนก็ “ช่วยชาติ” ได้ไม่ใช่หรือ
เอะอะอะไรก็ “นาม ยิ้มแย้ม” อย่างนี้มันเข้าตำรา “ยาสามัญประจำบ้าน” ชัด ๆ.