WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, January 7, 2009

ศาลฎีการับคำร้อง ส.ส.เพื่อไทย ตั้งผู้ไต่สวนอิสระ เอาผิด ชัย-อภิสิทธิ์-กษิต

ที่มา MCOT News

ศาลฎีกา 7 ม.ค. – ศาลฎีการับคำร้อง 2 ส.ส.เพื่อไทย ร้องตั้งผู้ไต่สวนอิสระ เอาผิด “ชัย-อภิสิทธิ์-กษิต” สั่งย้ายที่ประชุมแถลงนโยบาย อ้างขัด รธน.– ข้อบังคับประชุมสภาฯ–สร้างประเพณีปฏิบัติขัดระบอบประชาธิปไตย ขณะที่โฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุหากศาลไม่รับคำร้อง พร้อมยื่นอัยการสูงสุด- ป.ป.ช.อีก

ศาลฎีกา สนามหลวง วันนี้ (7 ม.ค.) เวลา 15.30 น. พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ และนายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เดินทางมายื่นคำร้องขอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 275 และ 276 เพื่อไต่สวนนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ถูกร้องที่ 1-3 กระทำผิดต่อหน้าที่

โดยคำร้องระบุว่า หลังจากที่ผู้ถูกร้องที่ 2 ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี เพื่อเข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้วตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 176 ซึ่งบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภาภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่เข้ารับหน้าที่ โดยเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2551 ผู้ถูกร้องที่ 2 ได้ทำหนังสือถึงผู้ถูกร้องที่ 1 เรื่องการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา แจ้งว่า มีความพร้อมที่จะแถลงในวันที่ 29 ธันวาคม 2551 และเมื่อผู้ถูกร้องที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วมีคำสั่งให้นายพิฑูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการรัฐสภา ทำหนังสือแจ้ง ส.ส.และ ส.ว.นัดให้เข้าร่วมประชุมในวันดังกล่าว แต่เมื่อถึงวันนัดประชุม ปรากฏว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 แจ้งไปยัง ส.ส. และ ส.ว.ให้เลื่อนประชุมไปเป็นเวลา 14.00 น. และ 17.00 น. ตามลำดับ โดยอ้างเหตุมีประชาชนจำนวนหนึ่งมาชุมนุมปิดล้อมนอกอาคารรัฐสภา ซึ่งการชุมนุมดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และไม่มีการปิดกั้นขวางการประชุมในการแถลงนโยบาย ขณะที่ พ.ต.ท.สมชาย และนายประเสริฐ ผู้ร้องที่ 1-2 สามารถเดินเข้าไปได้ภายในรัฐสภาโดยไม่มีอันตราย แล้วภายหลังก็ให้เลื่อนการประชุมออกไปเป็นวันที่ 30 ธันวาคม 2551 อีก

การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1-3 เป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบท โดยผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา มีเจตนาจงใจที่จะเปลี่ยนแปลงที่ประชุมโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญข้อบังคับ และปราศจากเหตุผล ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งผู้ถูกร้องที่ 1 มีคำสั่งไปยัง ส.ส.และ ส.ว.ผ่านโทรศัพท์มือถือ และการส่งข้อความ SMS ว่าเปลี่ยนสถานที่ประชุมจากอาคารรัฐสภา ไปที่กระทรวงการต่างประเทศของผู้ถูกร้องที่ 3 และผู้ถูกร้องที่ 2 ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลได้ร่วมกระทำความผิดกับผู้ถูกร้องที่ 1 และที่ 3 โดยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 3 จัดสถานที่กระทรวงการต่างประเทศให้พร้อม เพื่อใช้เป็นสถานที่การประชุมของรัฐบาล ซึ่งผู้ถูกร้องที่ 3 ได้ยินยอมร่วมมือสั่งการให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่จัดสถานที่ประชุม การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และขัดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2551

โดยการเปลี่ยนสถานที่ประชุมจากอาคารรัฐสภา ไปประชุมสถานที่อื่นไม่อาจทำได้ เพราะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ซึ่งก่อนหน้านี้ในการประชุมรัฐสภาวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ในสมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา และในวันดังกล่าวมีประชาชนมาชุมนุมปิดล้อมอาคารรัฐสภาจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งผู้ถูกร้องที่ 1 ในฐานะประธานรัฐสภา ย่อมทราบดีว่าคณะรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 2 สามารถแถลงนโยบายได้ภายใน 15 วันนับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง ดังนั้นในวันสุดท้ายที่คณะรัฐมนตรีจะแถลงนโยบายได้ จึงไม่ใช่วันที่ 30 ธันวาคม 2551 แต่สามารถเลื่อนระยะเวลาออกไปได้อีก การที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ยินยอมให้เปลี่ยนแปลงสถานที่ประชุม โดยผู้ถูกร้องที่ 2 และที่ 3 ยินยอม ทำให้ผู้ร้องทั้งสอง ซึ่งมีความตั้งใจในการอภิปรายท้วงติงและแสดงความคิดเห็นต่อ นโยบายของรัฐบาลอันเป็นการทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของผู้ร้องทั้งสองได้รับความเสียหาย ซึ่งการประชุมรัฐสภาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ โดยการกระทำดังกล่าวของผู้ถูกร้องทั้งสามจะเป็นการสร้างประเพณีปฏิบัติที่ก่อเกิดความเสียหายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การที่ผู้ถูกร้องที่ 1-3 แบ่งหน้าที่กันทำในการเปลี่ยนแปลงสถานที่ประชุม ย่อมทำให้การแถลงนโยบายของรัฐบาลขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขาดความชอบธรรมตามกฎหมาย ทำให้ประชาชน ข้าราชการไม่ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งหรือนโยบายของรัฐบาลได้ เพราะการเข้าสู่ตำแหน่งไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินไม่อาจดำเนินไปได้ ซึ่งผู้ร้องทั้งสองเห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1-3 เป็นการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 275 จึงขอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 276 เพื่อให้ไต่สวนข้อเท็จจริง และถ้าคดีมีมูลแล้ว ขอให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาส่งเรื่องให้มีการถอดถอนผู้ถูกร้องที่ 1-3 ออกจากตำแหน่ง และส่งเรื่องให้อัยการสูงสุด ดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาอาญานักการเมืองเพื่อมีคำพิพากษาต่อไปด้วย

ศาลฎีกา รับคำร้องไว้เพื่อเสนอที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาว่าจะมีคำสั่งรับคำร้องและแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระหรือไม่

ภายหลังการยื่นคำร้อง นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า การยื่นคำร้องครั้งนี้เป็นไปตามมติพรรคเพื่อไทย ที่เห็นว่านายชัย นายอภิสิทธิ์ และนายกษิต สมคบกันเพื่อหลบหลีกเปลี่ยนแปลงสถานที่ประชุม ซึ่งการส่ง SMS ผ่านโทรศัพท์มือถือ ส.ส.และ ส.ว.บางคนไม่ได้รับ ทำให้ไม่มีโอกาสได้เข้าประชุมเพื่ออภิปรายและการเปลี่ยนสถานที่ เป็นการปฏิบัติไม่ชอบตามกฎหมาย หากปล่อยให้ดำเนินการต่อไปจะเป็นกรณีตัวอย่างที่จะสามารถจัดประชุมที่ไหนก็ได้ตามใจชอบ ซึ่งการประชุมดังกล่าวสามารถเลื่อนออกไปได้อีก 1 สัปดาห์ ซึ่งการยื่นคำร้องให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ เพราะเห็นว่าเป็นช่องทางแรกที่จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาคดีได้ แต่หากถูกปฏิเสธ ยังสามารถยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุด และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้อีก. -สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2009-01-07 19:21:20