WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, June 13, 2010

ยิ่งปรองดอง ยิ่ง"แตกแยก"

ที่มา ข่าวสด



เข้าสู่บรรยากาศของฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้

หลายต่อหลายครั้งที่การเมืองเคร่ง เครียด แต่ก็พลิกเปลี่ยนทันทีเมื่อเข้าสู่เทศกาลฟาดแข้งที่ 4 ปีมีครั้ง

แต่ครั้งนี้ปีนี้ ความขัดแย้งลึกซึ้งและเข้มข้นกว่าที่ผ่านๆ มา

อุณหภูมิอาจจะลดลงบ้าง แต่ก็เพื่อรอเวลาปะทุใหม่อีกครั้ง

โจทย์ใหญ่ของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ยังคงเป็นเรื่องการสลายม็อบเสื้อแดง

ตลอดทั้งเหตุการณ์มีผู้เสียชีวิต 90 ชีวิต บาดเจ็บนับพันคน

เป็นบาปลึกในใจผู้เกี่ยวข้อง เหมือนกับอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร กับกรณีฆ่าตัดตอน, ตากใบและกรือเซะ

จุดอ่อนในการชุมนุมของเสื้อแดง คือการมีกองกำลัง การไม่ยุติการชุมนุมในจังหวะอันควร และเกิดความเสียหายมหาศาลจากการเผาสถานที่ต่างๆ

กลายเป็นเงื่อนไขให้รัฐบาลใช้อ้างความชอบธรรม เพื่อให้ตนเองได้อยู่ในตำแหน่งต่อไป

ทั้งที่โดยความรับผิดชอบ นักวิชาการบางคนชี้ว่า รัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์แจกปลากระป๋องเน่าให้ประชา ชนยังต้องลาออกมาแล้ว การสลายม็อบมีคนตายร่วมร้อยคนเป็นเรื่องใหญ่กว่ากันมาก แต่นายกฯยังไม่แสดงความรับผิดชอบ

ท่ามกลางความแตกร้าวของคนในชาติ ก็ไม่แปลกที่รัฐบาลจะชูธง "ปรองดอง" ผืนใหญ่เป็นพิเศษ

นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เปิดแถลงข่าวเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ประกาศแผนปรองดอง พร้อมกับมีชื่อของบุคคลต่างๆ มาทำหน้าที่ต่างๆ

อาทิ นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด มาทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการชุมนุมของเสื้อแดง

นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า มาเป็นประธานกรรมการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ และยังจะไปทาบทามนายอานันท์ ปันยารชุน มาเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย หลังจากที่นายอานันท์ปฏิเสธตำแหน่งประธานสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการชุมนุมไปแล้ว

เห็นชื่อก็นึกออกว่าฝ่ายต่อต้านรัฐบาล จะตอบรับแผนการปรองดองหรือไม่

เลยต้องมีการออกตัวว่า อยากจะเชิญคนเสื้อแดง หรือไปพบคนเสื้อแดงเพื่อขอฟังความคิดเห็น

เป็นงานระดับอภิมหาโปรเจ็กต์ ซึ่งคงต้องประชุมกันอีกยาวนานหลายเดือน ไม่ว่าบทสรุปจะออกมาอย่างไร ก็ทำให้ปฏิทินงานของนายกฯและรัฐบาลเต็มขึ้นมา

ถามว่าใครได้ประโยชน์

รัฐบาลรับไปเต็มๆ เพราะได้ซื้อเวลา ยืดอายุออกไปอีก

และใช้เวลาที่ได้มา ควบคุมผลสะเทือนจากการสลายม็อบ ให้เป็นประโยชน์กับตัวเองมากที่สุด

หากรัฐบาลจริงใจที่จะดำเนินแผนปรองดอง ห้วงเวลานี้ถือเป็นโอกาสดียิ่งของรัฐบาล

เพราะแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือนปช.อยู่ในช่วงพักรบ

แกนนำบ้างถูกจับ บ้างถูกควบคุมตัวและบ้างก็หลบหนี ขณะที่รัฐบาลยังใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน การรวมตัวยังทำไม่ได้

ถ้าหากรัฐบาลต้องการเจรจา ก็นับว่าบรรยากาศเป็นใจ

แต่รัฐบาลดูจะสนใจใช้โอกาสไปในเรื่องของการเช็กบิลมากยิ่งกว่า

การใช้กฎหมายของรัฐบาลเป็นเรื่องที่สังคมจะต้องสนับสนุน

แต่ควรจะทำอย่างตรงไปตรงมา ด้วยมาตรฐานเดียวกันหมด

ความฉับไวในการติดตามผู้ต้องหาคดีต่างๆ ระหว่างการชุมนุม แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะของเจ้าหน้าที่รัฐ

แต่ก็ทำให้เกิดคำถามเช่นกันว่า ในคดีสำคัญอย่างคดียึดสนามบินทำไมแตกต่างออกไป

ที่น่าวิตกอย่างยิ่ง คือการยกระดับการเช็กบิล จากติดตามตัวมาดำเนินคดี กลายเป็นการไล่ล่าใช้อำนาจทมิฬ ตามสังหาร

สดๆ ร้อนๆ คือกรณีมือปืนควบปิกอัพไปลั่นกระสุนสังหารนายศักรินทร์ กองแก้ว หรืออ้วน บัว ใหญ่ แกนนำนปช.โคราช เสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา

หากการตามเข่นฆ่า กระทำโดยแวดวงอำนาจฝ่ายรัฐบาล แผนการปรองดองของรัฐบาล ซึ่งดูเป็นหัว ข้อการประชุมหรือการปาฐกถา มากกว่าจะเป็นแผนงานที่หวังผลทางปฏิบัติอยู่แล้ว

โอกาสที่ความปรองดองจะเกิดขึ้นจริง ซึ่งยากอยู่แล้ว ก็ยิ่งมืดมน

สถานการณ์หลังการปรับครม. ของรัฐบาล แม้รัฐบาลกับทหารผนึกกำลังกันได้เหนียวแน่น

โดยเฉพาะในการปกป้องปฏิบัติการสลายม็อบที่มีนายอภิสิทธิ์เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุด

แต่ในแง่เสถียรภาพ ไม่อาจกล่าวได้เต็มปากว่าเข้มแข็ง

การปรับครม.ภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 31 พฤษภา คม และ 1 มิถุนายน ไม่ได้ทำให้รัฐบาลแข็งแกร่งขึ้น

การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งอย่างไม่มีหลักเกณฑ์ชัดเจน ทำให้รัฐบาลสูญเสียมิตรสหายไปไม่น้อย

ฝ่ายค้านได้อภิปรายถึงปัญหาการทุจริตในกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคม

จนเกิดปรากฏการณ์ส.ส.พรรค เพื่อแผ่นดินไม่ยกมือไว้วางใจ 2 รัฐมนตรี จากพรรคภูมิใจไทย

แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากกลุ่มโคราชและหนองคาย พรรคเพื่อแผ่นดินต้องพ้นจากรัฐบาลไป

เท่ากับรัฐบาลได้วางเฉยต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งที่ได้ประกาศสัญญาประชาคมไว้อย่างเข้มข้น

ขณะเดียวกัน การดำรงอยู่ของคนเสื้อแดง ก็เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้

ความคิดที่จะกลับมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลก็ยังดำรงอยู่

ทั้งสองประการ ส่งผลกระทบต่ออนาคตของรัฐบาล ที่ตั้งเป้าใหม่ล่าสุดว่าจะอยู่ครบเทอม

ด้วยปัญหาเหล่านี้ พื้นที่อันตรายของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นอีก

ไม่เฉพาะแค่จังหวัดเสื้อแดงที่รัฐบาลจะเหยียบย่างไปไม่ได้เท่านั้น

บางพื้นที่อย่างในสภาผู้แทนฯ เมื่อจำนวนส.ส.รัฐบาลไม่แน่นอน ก็กลายเป็นพื้นที่อันตรายไปด้วย

ความแตกแยกในสังคม บีบให้รัฐบาลไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากเจรจาปรองดอง

ปัญหาอยู่ที่ว่ารัฐบาลจะเลือกปรองดองอย่างแท้จริง

หรือแค่ต้องการสร้างภาพว่าปรองดองเท่านั้นเอง